สำนักข่าวออนไลน์ พีเพิล ยูนิตี้ – ช่วงเช้าของวันที่ 3 ธันวาคม 2556 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวภายหลังการร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต ถึงสถานการณ์การชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ตึงเครียดในขณะนี้ว่า ต้องปล่อยให้การเมืองแก้ปัญหากันเอง ทหารจะคอยดูอยู่ห่างๆ
ก่อนหน้านั้น ในช่วงกลางคืนของวันที่ 1 ธันวาคม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำของการชุมนุม ได้เปิดเผยต่อผู้ชุมนุมระหว่างการปราศรัยว่า ในตอนค่ำได้พบปะกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามคำเชิญของผู้บัญชาการทหารบก และเปิดเผยด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวว่า ทหารยืนอยู่ข้างประเทศไทย
นั่นคือท่าทีหรือจุดยืนล่าสุดของกองทัพ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะจากปากของ ผบ.ทบ.เอง และจากการเปิดเผยของนายสุเทพ
นี่เป็นสิ่งที่คนไทยทั้งประเทศอยากรู้เป็นอย่างยิ่งว่าภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ กองทัพมีจุดยืนอย่างไรและในตอนนี้คนไทยทั้งประเทศก็ได้รู้แล้ว
อันที่จริงท่าทีหรือจุดยืนดังกล่าวไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรวมทั้ง พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็เคยแสดงท่าทีในลักษณะนี้มาแล้วหลายครั้ง โดยระบุว่าทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง และอย่าดึงทหารเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ต่างให้เหตุผลคล้ายๆกันว่า ทหารมีบทเรียนที่เจ็บปวดกับเหตุการณ์ทำนองนี้มาแล้ว
ทหารมีบทเรียนที่เจ็บปวดอะไร
หนึ่ง เจ็บปวดจากการเข้าไปทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 ทั้งที่ต้องการเข้าไปยุติวิกฤตทางการเมืองและป้องกันไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างประชาชนสองฝ่าย เมื่อเข้าไปเป็นวีรบุรุษ แต่หลังจากนั้นกลายเป็นผู้ร้าย ถูกด่าจากประชาชนฝ่ายหนึ่งว่าเป็นการทำรัฐประหารที่เสียของ ขณะที่อีกด้านหนึ่งทหารกลายเป็นศัตรูของประชาชนอีกฝ่ายหนึ่ง
สอง เจ็บปวดจากการเข้าไปมีส่วนแก้ปัญหาบ้านเมืองด้วยการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร เสียภาพพจน์ และยิ่งทำให้ทหารกลายเป็นศัตรูของประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้น
สาม เจ็บปวดจากการเข้าไปคลี่คลายสถานการณ์ความไม่สงบในปี 2552 และ 2553 ซึ่งทำให้ทหารถูกกล่าวหาว่าฆ่าประชาชน ทั้งที่ทหารก็เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนไม่น้อย
ทั้งหมดเป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับทหาร จนไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองอีก เพราะเข้าไปก็มีแต่เปลืองตัวและเจ็บตัว
แต่เหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ทหารต้องถอยห่างออกจากความขัดแย้งทางการเมืองคือ หากทหารเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็จะเป็นเงื่อนไขให้ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งรวมตัวกันออกมาต่อต้านทหาร ซึ่งจะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองยุ่งยากและอันตรายยิ่งขึ้น ทหารจึงไม่กล้าออกไปเสี่ยง และไม่มั่นใจว่าถ้าออกไปแล้วจะเอาอยู่
ก็นับเป็นเหตุผลที่น่าเห็นใจทหารอย่างมาก
ทว่า ท่าทีของทหารดังกล่าวย่อมจะต้องทำให้ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งเกิดความรู้สึกว่า ทหารกำลังเอาตัวรอดจากความขัดแย้งในบ้านเมือง และร้ายไปกว่านั้นถูกกล่าวหาว่าทหารกลายเป็นฝักฝ่ายเดียวกันกับอีกฝ่ายหนึ่งไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์ในขณะนี้ที่มีประชาชนจำนวนมากรวมทั้งภาคส่วนต่างๆกำลังออกมาต่อต้านรัฐบาลและระบอบทักษิณ เมื่อทหารแสดงท่าทีว่าปล่อยให้การเมืองแก้ปัญหากันเอง ทหารจะคอยดูอยู่ห่างๆยิ่งทำให้ทหารถูกเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้น
ดังนั้น ทหารจะต้องพิจารณาถึงท่าทีหรือจุดยืนของตนเองอย่างเร่งด่วนในเวลานี้ว่า ภายใต้สถานการณ์ ณ ขณะนี้ จุดยืนดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
สิ่งที่ทหารจะต้องนำมาพิจารณาเกี่ยวกับจุดยืนของตนเองในตอนนี้คือ
หนึ่ง ต้องพิจารณาว่าสิ่งที่ผู้ชุมนุมต่อต้านและต้องการกำจัดในขณะนี้คือระบอบทักษิณนั้น ระบอบทักษิณเป็นภัยต่อชาติบ้านเมืองและสถาบันสำคัญของชาติจริงอย่างที่ผู้ชุมนุมต่อต้านหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าจริง ทหารก็ต้องไม่ลังเลที่จะแสดงจุดยืนหรือกระทำการใดๆในการร่วมกับประชาชนกำจัดระบอบทักษิณ เพราะการชุมนุมครั้งนี้ถือว่าเป็นความสุกงอมของประชาชนแล้วในการไม่เอาระบอบทักษิณ ซึ่งจะไม่มีโอกาสแบบนี้เกิดขึ้นอีก
ทหารจะต้องตระหนักว่านี่เป็นสงครามครั้งสุดท้าย หากฝ่ายใดชนะฝ่ายใดแพ้ จะไม่มีโอกาสของอีกฝ่ายหนึ่งอีก
สอง ทหารถึงเวลาจะต้องพิจารณาแล้วว่า การที่ประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงและเยาวชนคนรุ่นใหม่ แสดงความกล้าหาญที่จะออกมาต่อกรกับรัฐบาลและระบอบทักษิณด้วยมือเปล่านั้น คือความกล้าหาญที่ทหารจะต้องละอายตัวเองในทุกเรื่องๆ
สาม ทหารจะต้องตีความคำว่า “ยืนอยู่ข้างประเทศไทย” ให้ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นแค่วาทกรรมใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงและเลิกใช้วาทกรรมเก่าที่ว่าทหารยืนอยู่ข้างประชาชน ซึ่งต่อมาทหารเลือกไม่ถูกว่าจะยืนอยู่ข้างประชาชนฝ่ายไหนดี เพราะกลัวประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรู จนต้องเปลี่ยนมาใช้วาทกรรมใหม่
วาทกรรมยืนอยู่ข้างประเทศไทย จึงเป็นวาทกรรมแห่งการเอาตัวรอด โดยไม่รู้ว่าประเทศไทยคืออะไร
หนึ่ง ประเทศไทยคือประเทศที่จะต้องเดินไปบนหนทางแห่งความดีงามความถูกต้อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้คำสอนและทรงให้แนวทางเอาไว้มากมาย
สอง ประเทศไทยคือประเทศที่หากเห็นว่าระบอบทักษิณคือความเลวร้าย ประเทศไทยก็จะต้องไม่ใช่ประเทศที่มีระบอบทักษิณครอบงำ แต่หากเห็นว่าระบอบทักษิณดี ประเทศไทยก็ควรเป็นประเทศที่มีระบอบทักษิณ
สุดท้าย ทหารจะต้องหลุดพ้นจากคำว่าการเมืองตั้งแต่บัดนี้ เพราะบริบทการต่อต้านรัฐบาลและระบอบทักษิณในตอนนี้ แม้จะมีกลิ่นอายการเมืองอยู่ไม่น้อย แต่เนื้อหาหลักของการต่อต้านเลยพ้นจากเรื่องการเมืองไปแล้ว แต่เป็นเรื่องของประเทศ
ประเทศที่กองทัพอ้างว่ายืนอยู่ข้างนั่นไง
โดย – อาทิตย์ สิงหา
4 ธันวาคม 2556
http://peopleunitynews.com/web02/2013/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97/
ข่าวเจาะ // จุดยืนของกองทัพ บนวาทกรรมใหม่
สำนักข่าวออนไลน์ พีเพิล ยูนิตี้ – ช่วงเช้าของวันที่ 3 ธันวาคม 2556 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวภายหลังการร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต ถึงสถานการณ์การชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ตึงเครียดในขณะนี้ว่า ต้องปล่อยให้การเมืองแก้ปัญหากันเอง ทหารจะคอยดูอยู่ห่างๆ
ก่อนหน้านั้น ในช่วงกลางคืนของวันที่ 1 ธันวาคม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำของการชุมนุม ได้เปิดเผยต่อผู้ชุมนุมระหว่างการปราศรัยว่า ในตอนค่ำได้พบปะกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามคำเชิญของผู้บัญชาการทหารบก และเปิดเผยด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวว่า ทหารยืนอยู่ข้างประเทศไทย
นั่นคือท่าทีหรือจุดยืนล่าสุดของกองทัพ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะจากปากของ ผบ.ทบ.เอง และจากการเปิดเผยของนายสุเทพ
นี่เป็นสิ่งที่คนไทยทั้งประเทศอยากรู้เป็นอย่างยิ่งว่าภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ กองทัพมีจุดยืนอย่างไรและในตอนนี้คนไทยทั้งประเทศก็ได้รู้แล้ว
อันที่จริงท่าทีหรือจุดยืนดังกล่าวไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรวมทั้ง พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็เคยแสดงท่าทีในลักษณะนี้มาแล้วหลายครั้ง โดยระบุว่าทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง และอย่าดึงทหารเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ต่างให้เหตุผลคล้ายๆกันว่า ทหารมีบทเรียนที่เจ็บปวดกับเหตุการณ์ทำนองนี้มาแล้ว
ทหารมีบทเรียนที่เจ็บปวดอะไร
หนึ่ง เจ็บปวดจากการเข้าไปทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 ทั้งที่ต้องการเข้าไปยุติวิกฤตทางการเมืองและป้องกันไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างประชาชนสองฝ่าย เมื่อเข้าไปเป็นวีรบุรุษ แต่หลังจากนั้นกลายเป็นผู้ร้าย ถูกด่าจากประชาชนฝ่ายหนึ่งว่าเป็นการทำรัฐประหารที่เสียของ ขณะที่อีกด้านหนึ่งทหารกลายเป็นศัตรูของประชาชนอีกฝ่ายหนึ่ง
สอง เจ็บปวดจากการเข้าไปมีส่วนแก้ปัญหาบ้านเมืองด้วยการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร เสียภาพพจน์ และยิ่งทำให้ทหารกลายเป็นศัตรูของประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้น
สาม เจ็บปวดจากการเข้าไปคลี่คลายสถานการณ์ความไม่สงบในปี 2552 และ 2553 ซึ่งทำให้ทหารถูกกล่าวหาว่าฆ่าประชาชน ทั้งที่ทหารก็เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนไม่น้อย
ทั้งหมดเป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับทหาร จนไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองอีก เพราะเข้าไปก็มีแต่เปลืองตัวและเจ็บตัว
แต่เหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ทหารต้องถอยห่างออกจากความขัดแย้งทางการเมืองคือ หากทหารเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็จะเป็นเงื่อนไขให้ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งรวมตัวกันออกมาต่อต้านทหาร ซึ่งจะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองยุ่งยากและอันตรายยิ่งขึ้น ทหารจึงไม่กล้าออกไปเสี่ยง และไม่มั่นใจว่าถ้าออกไปแล้วจะเอาอยู่
ก็นับเป็นเหตุผลที่น่าเห็นใจทหารอย่างมาก
ทว่า ท่าทีของทหารดังกล่าวย่อมจะต้องทำให้ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งเกิดความรู้สึกว่า ทหารกำลังเอาตัวรอดจากความขัดแย้งในบ้านเมือง และร้ายไปกว่านั้นถูกกล่าวหาว่าทหารกลายเป็นฝักฝ่ายเดียวกันกับอีกฝ่ายหนึ่งไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์ในขณะนี้ที่มีประชาชนจำนวนมากรวมทั้งภาคส่วนต่างๆกำลังออกมาต่อต้านรัฐบาลและระบอบทักษิณ เมื่อทหารแสดงท่าทีว่าปล่อยให้การเมืองแก้ปัญหากันเอง ทหารจะคอยดูอยู่ห่างๆยิ่งทำให้ทหารถูกเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้น
ดังนั้น ทหารจะต้องพิจารณาถึงท่าทีหรือจุดยืนของตนเองอย่างเร่งด่วนในเวลานี้ว่า ภายใต้สถานการณ์ ณ ขณะนี้ จุดยืนดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
สิ่งที่ทหารจะต้องนำมาพิจารณาเกี่ยวกับจุดยืนของตนเองในตอนนี้คือ
หนึ่ง ต้องพิจารณาว่าสิ่งที่ผู้ชุมนุมต่อต้านและต้องการกำจัดในขณะนี้คือระบอบทักษิณนั้น ระบอบทักษิณเป็นภัยต่อชาติบ้านเมืองและสถาบันสำคัญของชาติจริงอย่างที่ผู้ชุมนุมต่อต้านหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าจริง ทหารก็ต้องไม่ลังเลที่จะแสดงจุดยืนหรือกระทำการใดๆในการร่วมกับประชาชนกำจัดระบอบทักษิณ เพราะการชุมนุมครั้งนี้ถือว่าเป็นความสุกงอมของประชาชนแล้วในการไม่เอาระบอบทักษิณ ซึ่งจะไม่มีโอกาสแบบนี้เกิดขึ้นอีก
ทหารจะต้องตระหนักว่านี่เป็นสงครามครั้งสุดท้าย หากฝ่ายใดชนะฝ่ายใดแพ้ จะไม่มีโอกาสของอีกฝ่ายหนึ่งอีก
สอง ทหารถึงเวลาจะต้องพิจารณาแล้วว่า การที่ประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงและเยาวชนคนรุ่นใหม่ แสดงความกล้าหาญที่จะออกมาต่อกรกับรัฐบาลและระบอบทักษิณด้วยมือเปล่านั้น คือความกล้าหาญที่ทหารจะต้องละอายตัวเองในทุกเรื่องๆ
สาม ทหารจะต้องตีความคำว่า “ยืนอยู่ข้างประเทศไทย” ให้ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นแค่วาทกรรมใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงและเลิกใช้วาทกรรมเก่าที่ว่าทหารยืนอยู่ข้างประชาชน ซึ่งต่อมาทหารเลือกไม่ถูกว่าจะยืนอยู่ข้างประชาชนฝ่ายไหนดี เพราะกลัวประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรู จนต้องเปลี่ยนมาใช้วาทกรรมใหม่
วาทกรรมยืนอยู่ข้างประเทศไทย จึงเป็นวาทกรรมแห่งการเอาตัวรอด โดยไม่รู้ว่าประเทศไทยคืออะไร
หนึ่ง ประเทศไทยคือประเทศที่จะต้องเดินไปบนหนทางแห่งความดีงามความถูกต้อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้คำสอนและทรงให้แนวทางเอาไว้มากมาย
สอง ประเทศไทยคือประเทศที่หากเห็นว่าระบอบทักษิณคือความเลวร้าย ประเทศไทยก็จะต้องไม่ใช่ประเทศที่มีระบอบทักษิณครอบงำ แต่หากเห็นว่าระบอบทักษิณดี ประเทศไทยก็ควรเป็นประเทศที่มีระบอบทักษิณ
สุดท้าย ทหารจะต้องหลุดพ้นจากคำว่าการเมืองตั้งแต่บัดนี้ เพราะบริบทการต่อต้านรัฐบาลและระบอบทักษิณในตอนนี้ แม้จะมีกลิ่นอายการเมืองอยู่ไม่น้อย แต่เนื้อหาหลักของการต่อต้านเลยพ้นจากเรื่องการเมืองไปแล้ว แต่เป็นเรื่องของประเทศ
ประเทศที่กองทัพอ้างว่ายืนอยู่ข้างนั่นไง
โดย – อาทิตย์ สิงหา
4 ธันวาคม 2556
http://peopleunitynews.com/web02/2013/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97/