ขอวิพากษ์สถานการณ์บ้านเมือง ... บนพื้นฐานของตรรกะ วิชาการ เบาบางอคติครับ

กระทู้สนทนา
ขออนุญาตเพื่อนสมาชิกพันทิพ เื่พื่อขอนุญาตแชร์แนวคิด การวิพากษ์สถานการณ์บ้านเมืองและการปกครองในปัจจุบัน
บนพื้นฐานของหลักตรรกะวิชาการ ... และไม่ใช้อคติ ความรัก เกลียด หลง ชอบ เฉพาะตนในการวิพากษ์

...................................................

เพื่อนสมาชิกท่านใด จะแสดงทรรศนะ ข้อวิพากษ์ประการใด ขอให้อยู่บนหลักคิดวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง
ไม่ยุแหย่ หรือตำหนิ โจมตีผู้ที่มีความคิดเห็นต่าง ตรงข้ามกับตนเองนะครับ ... เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านกระทู้ครับ

...................................................

โดยปกติผมเลือกจะไม่วิพากษ์ หรือวิจารณ์ เพราะเกรงความต่างทางแนวคิดจะถูกผลัก หรือทำให้ถูกตัดสินตามความชอบความเชื่อเฉพาะบุคคล

ผมยืนยันทุกคำพูด และการแสดงออกของตัวเองแน่ชัดเสมอ ว่า ณ ตอนนี้ไม่ได้เลือกข้าง จะถูกกล่าวอ้างว่าเป็น "ไทยเฉย" ก็สุดแล้วแต่มโนคติ

แต่การอยู่ในมุมเช่นว่า คือการอยู่บนหลักของตรรกะ แนวคิด ที่พยายามลบอคติเฉพาะตัวบุคคลออกไป ... ตรรกะเช่นว่า คือตรระกะหลักการทางปกครอง กฎหมาย การจัดการ ฯลฯ ที่อยู่บนหลักคิดตามครรลองของวิชาการ และทฤษฎีที่จักใช้ในการอธิบาย และพยากรณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ในฐานะนักวิชาการทางสังคมศาสตร์ ต้องพึงพยายามมองเข้าใจ ... ผมยืนยันอีกครั้งว่า ทักษิณไม่ใช่พระเจ้า สุเทพไม่ใช่เทวดา รัฐบาลก็ทำไม่ถูก ฝ่ายต่อต้านหรือ กปปส. เสื้อแดง คปท. ก็มีทั้งกระทำถูกต้อง และไม่ถูกต้อง

การจะวิพากษ์ มันต้องไม่อยู่บนพื้นฐานเฉพาะความเชื่อเฉพาะตน อันจะถูกเบี่ยงเบนด้วยอคติ ... นักวิชาการที่เบี่ยงเบน ก็จักหาแนวคิดมาสนับสนุนเฉพาะด้าน เฉพาะมุมที่ตนเองเชื่อ และ convince คนอื่นให้คล้ายตามจริตตน

ผมเห็นด้วยกับ กปปส. ที่ว่า รัฐบาลใช้อำนาจเผด็จการประชาธิปไตย กล่าวอ้างว่าตนมี 15 ล้านเสียง ทำให้ตนมีอำนาจในการกระทำอะไรก็ได้ เพียงแค่อ้างคำว่า "ประชาธิปไตย"

อันนี้จริงครับ ... อริสโตเติล (ปราชญ์ทางการปกครอง) กล่าวมาเป็นร้อยปีว่าระบอบการปกครองโดยคนหมู่มากที่เลวที่สุดคือ "ระบอบประชาธิปไตย"

อริสโตเติล แบ่งคนออกเป็นจำพวก เอาง่าย ๆ นะครับ คือ
คนชั้นสูง คนชั้นกลาง และคนชั้นระดับล่าง ... ซึ่งในมิติหลาย ๆ รัฐ หลาย ๆ สังคม คนระดับล่างจะมีสัดส่วนที่มากกว่าคนชั้นอื่นในสังคม และคนระดับล่างก็จะขาดปัจจัยทางเศรษฐกิจ หรือเอาง่าย ๆ ว่าค่อนข้างยากจน การศึกษาค่อนข้างน้อย ขาดโอกาสในการเข้าถึงสิ่งที่ดีในสังคม มักมีแต่ความอยาก ซึ่งคนชั้นสูงบางจำพวก ก็จะอาศัยแนวคิดที่ว่า "คนทุกคนมีสิทธิเท่ากัน" ในการชักจูง ล่อลวง โน้มน้าว ทั้งด้วยปัจจัย 4 เงิน ผลประโยชน์ หรือความสุขเล็ก ๆ น้อย เพื่อโน้มน้าวให้คนระดับล่างมาเป็นฐานเสียงของตนในการเลือกตนเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครอง

และคนระดับสูงเช่นว่านี้ อริสโตเติลก็บอกอีกเช่นกันว่า คนช้นสูงเป็นคนรู้มาก แต่มักไม่เคารพกฎระเบียบ และมักจะแสวงหาผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้น (กิเลส) และคนชั้นสูงบางจำพวกเช่นว่านี้แหล่ะ จะเข้าไปชักจูงคนระดับล่าง เข้ามาเ็ป็นฐานในการปกครอง

เพื่อนสมาชิกพอคุ้น ๆ ไหมครับ ว่าเหมือนกับประเทศใดในปัจจุบัน

อริสโตเติลมีความเชื่อมั่นในชนชั้นกลาง ว่าจะเป็นแนวต้านระหว่างชนชั้นสูง และชนชั้นกลาง กล่าวคือ ชนชั้นกลางจะคอยสอดส่องการกระทำของผู้ปกครอง และกันมิให้ชนชั้นล่างถูกเอาเปรียบ

ยิ่งรัฐใด มีช่องว่างระหว่างชนชั้นสูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งเจอระบอบที่กล่าวมานี้

.....

แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อครับ (ต่อ)

ดังนั้น ด้วยการที่ ระบอบประชาธิปไตย กลายเป็นการปกครองโดยคนหมู่มากที่เลวที่สุดตามแนวคิดอริสโตเติลนั้น !

อริสโตเติลเห็นว่า ระบอบการปกครองโดยคนหมู่มากที่ดีที่สุดคือ "ระบอบการปกครองแบบ Polity" (ท่านใดทราบภาษาไทยวานแจ้งนะครับ)

Polity นั้น อริสโตเติลเชื่อว่า ชนชั้นปกครองที่มาจากการเลือกจากชนชั้นกลาง เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพธรรมชาติของมนุษย์มากที่สุด เนื่องจาก เชื่อว่าชนชั้นกลาง จะสมานประโยชน์ระหว่างเสรีภาพคนชั้นสูง และคนระดับล่าง

ดังนั้น รัฐใดที่มีชนชั้นกลางจำนวนมาก ก็จะยิ่งส่งเสริมเสถียรภาพของรัฐได้มากขึ้น

อริสโตเติล เชื่อว่าชนชั้นกลางจะรับฟังข้อเท็จจริง และมีเหตุผลมากที่สุด ... ทั้งยังมีแนวคิดจำกัดการออกเสียงเลือกตั้ง ตามฐานะทางทรัพย์สิน เพื่อตีกรอบอำนาจในการเลือกของชนชั้น เพื่อป้องกันการโน้มน้าวชนระดับล่าง จากกลุ่มอำนาจชนชั้นสูง

(เดี๋ยวมาต่อนะครับ เผอิญงานเข้าหน่อย)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่