กระทู้สรรเสริญคุณของพระมหาโมคคัลลานะ เนื่องในวันคล้ายวันปรินิพพาน แรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒

วันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เป็นวันคล้ายวันปรินิพพานของพระมหาโมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้าย เอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวงในฝ่ายผู้มีฤทธิ์มาก ท่านเป็นสหายและ
คู่อัครสาวกอันเจริญกับพระสารีบุตร ท่านทั้งสองมีความคุ้นเคยกันมาก บำเพ็ญบารมีร่วมกัน
สิ้น ๑ อสงไขย กำไรแสนกัป มีความคุ้นเคยกับพระผู้มีพระภาคเจ้ามาก และมีอุปการะแก่
พระศาสนาเหลือประมาณ ควรที่พุทธบริษัทจะระลึกถึงคุณูปการและจริยาของท่าน

             จริงอยู่ ท่านพระสารีบุตรเป็นยอดของสาวกทั้งปวงเพราะเป็นผู้มีปัญญามาก
ถึงกระนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งปวงในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ คือ สมาธิ
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญ และพระสารีบุตรกล่าวสรรเสริญไว้ว่า:-

             [๑๑๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ ประสงค์จะ
ให้เธอทั้งหลายสังเวช จึงทำปราสาทของมิคารมารดาให้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่
เท้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญธรรมเหล่าไหน เพราะได้กระทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่าไหน?
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6750&Z=6795

             ม. ดูกรอาวุโสสารีบุตร น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ท่านพระสารีบุตร
มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ยักษ์ตนหนึ่งได้ประหารศีรษะของท่านในที่นี้ การประ
หารเป็นการประหารใหญ่เพียงนั้น ยักษ์นั้นพึงยังพระยาช้างสูงตั้ง ๗ ศอก ๘ ศอก
ให้จมลงไปก็ได้ หรือพึงทำลายยอดภูเขาใหญ่ก็ได้ ด้วยการประหารนั้น ก็แล
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสโมคคัลลานะ ผมพึงอดทนได้ พึง
ยังอัตภาพให้เป็นไปได้ แต่บนศีรษะของผมมีทุกข์หน่อยหนึ่ง ฯ
             สา. ดูกรอาวุโสโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ท่านมหา-
โมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ที่เห็นยักษ์ ส่วนผมไม่เห็นแม้ซึ่งปีศาจ
ผู้เล่นฝุ่นในบัดนี้ ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=2618&Z=2661

             สา. เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ไกลนัก ท่านมหาโมคคัลลานะไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาท่านมหา-
โมคคัลลานะด้วยฤทธิ์ ฯ
             ม. ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้
เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าพระผู้มี
พระภาค แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม ฯ
......
             [๖๙๔] สา. อาวุโส เปรียบเหมือนก้อนหินเล็กๆ ที่บุคคลเอาไปวาง
เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ฉันใด เราเมื่อเปรียบเทียบเคียงกับท่านมหาโมค-
คัลลานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านมหาโมคคัลลานะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มี
อานุภาพมาก เมื่อจำนงอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปแล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7246&Z=7292



             ฤทธิ์ของท่านพระมหาโมคคัลลานะนั้นวิจิตรประณีตมาก เป็นรองก็แต่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังจะพิจารณาได้จากเรื่องที่พระสาวกหลายรูป
อาสาแสดงปาฏิหาริย์เพื่อกำราบเดียรถีย์ ณ ควงคัณฑามพพฤกษ์:-

               ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูล
ว่า "ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอะไร?"
จึงกราบทูลว่า " ข้าพระองค์จักวางเขาหลวงชื่อสิเนรุไว้ในระหว่างฟัน แล้วเคี้ยวกินภูเขานั้นดุจ
พืชเมล็ดผักกาดพระเจ้าข้า."
... ข้าพระองค์จักม้วนแผ่นดินใหญ่นี้ดุจเสื่อลำแพนแล้วใส่เข้าไว้ (หนีบไว้) ในระหว่างนิ้วมือ.
... ข้าพระองค์จักหมุนแผ่นดินใหญ่ ให้เป็นเหมือนแป้นหมุนภาชนะดินของช่างหม้อ แล้วให้
มหาชนเคี้ยวกินโอชะแผ่นดิน.
... ข้าพระองค์จักทำแผ่นดินไว้ในมือเบื้องซ้ายแล้ว วางสัตว์เหล่านี้ไว้ในทวีปอื่นด้วยมือเบื้องขวา.
... ข้าพระองค์จักทำเขาสิเนรุให้เป็นด้ามร่ม ยกแผ่นดินใหญ่ขึ้นวางไว้ข้างบนของภูเขาสิเนรุนั้น
เอามือข้างหนึ่งถือไว้ คล้ายภิกษุมีร่มในมือ จงกรมไปในอากาศ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2

------------------------------


             ท่านพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ เป็นคู่อัครสาวกอันเจริญในสมัยของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา จึงมีพระพุทธพจน์ที่สรรเสริญคู่อัครสาวกนี้ปรากฏมาก:-

             [๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึง
อ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุโมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุ
สาวกของเรา ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=2295&Z=2375

             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดูกรโมคคัลลานะ
เมื่อเราประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของเธอได้มีอย่างไร?
             ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาค
ทรงประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความ
ขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ เรา และท่านพระสารีบุตร
จักช่วยกันปกครองภิกษุสงฆ์ในบัดนี้.
             ดีละ โมคคัลลานะ ความจริงเรา หรือสารีบุตรและโมคคัลลานะเท่านั้น พึงปกครอง
ภิกษุสงฆ์.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3508&Z=3666

             [๗๔๑] สมัยหนึ่ง เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะปรินิพพานแล้วไม่นาน พระ
ผู้มีพระภาคประทับอยู่แทบฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้อุกกเจลนคร ในแคว้นวัชชี กับพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งที่กลางแจ้ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระ
ภาค ทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งอยู่ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทของ
เรานี้ปรากฏเหมือนว่างเปล่า เมื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะยังไม่ปรินิพพาน สารีบุตรและโมคคัล-
ลานะอยู่ในทิศใด ทิศนั้นของเราย่อมไม่ว่างเปล่า ความไม่ห่วงใยย่อมมีในทิศนั้น.
             [๗๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใดได้มีมาแล้ว
ในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้น ก็มีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตร
และโมคคัลลานะของเรา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใด จักมีในอนาคตกาล พระ
ผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้น ก็จักมีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะ
ของเรา.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=4327&Z=4362

----------------------------------------------------------------------------


             พระเถระใด มีคุณมาก มีฤทธิ์มาก ดังพรรณนามาฉะนี้
             ข้าพเจ้าขอขอบน้อมพระเถระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

----------------------------------------------------------------------------

แนะนำ:-

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
             มหาวรรค ภาค ๑
             พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=1358&Z=1513

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
             อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
             โมคคัลลานสูตร
             ว่าด้วยท่านพระมหาโมคคัลลานะบรรลุพระอรหัต
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1873&Z=1938
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=58

             อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
             เรื่องสญชัย
             บุรพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสอง  
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=8#บุรพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสอง

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
             ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
             มหาโมคคัลลานเถรคาถา
             คาถาสุภาษิตของพระมหาโมคคัลลานเถระ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=8478&Z=8642
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=400

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
             ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
             มหาโมคคัลลานเถราปทานที่ ๔ (๒)
             ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาโมคคัลลาน์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=676&Z=717
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=4

             พระมหาโมคคัลลานะปรินิพพาน
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=7

            อ่าน และค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
            อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง             
            พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
            พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/

             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
             สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php?          

             หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่