“ข้าราชการคนสุดท้าย ก.มหาดไทยที่ไม่ยอมก้มหัวให้พวกม๊อบ เขาคือใคร?”

กระทู้สนทนา
คุณวชิระ โชติรสเศรณี The Last Warrior ของ ก.มหาดไทย




"ภารกิจกรมการปกครอง ในการดูแลพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
เริ่มขึ้นต้นที่ พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านใหม่ในสอย ต.ปางหมู อ.เมืองแม่ฮ่องสอน แห่งนี้
บนเนื้อที่ 1,600 ไร่ ส่วนหนึ่งของเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปาย เป็นที่ตั้งของบ้านปางควาย และบ้านปางแทรกเตอร์
ซึ่งมีผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในสถานะผู้หนีภัยการสู้รบ และผู้ที่อยู่ในโครงการคัดกรองผู้หนีภัยสัญชาติพม่า
เข้ากระบวนการ Pre-screening อาศัยอยู่กว่า 1.2 หมื่นชีวิต 3,511 ครอบครัว

พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านใหม่ในสอย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณ 40 กม.
ปัจจุบันมีกำลังสมาชิก อส.ปฏิบัติหน้าที่ประจำ ประมาณ 40 นาย ตามแนวนโยบายกระทรวงมหาดไทย
และคำสั่งศูนย์ราชการชายแดนไทย-พม่า จ.แม่ฮ่องสอน ด้วยการกำหนดแนวเขตให้ ผู้หนีภัย พักอาศัย
ประกอบชีวิตประจำวันภายในพื้นที่พักพิงฯเท่านั้น



นอกจากนี้กองอาสารักษาดินแดน (อส.) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ยังทำหน้าที่สร้างงานสร้างอาชีพติดตัว
ให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาในวันข้างหน้าภายใต้การนำของปลัดอำเภอคนเก่ง "วชิระ โชติรสเศรณี"
ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านใหม่ในสอย ซึ่งเป็นการต่อยอดจากภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน
ที่ชื่อ "เดวิด ซอวาร์" หนึ่งในผู้หนีภัยจากการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราวแห่งนี้ ที่ปัจจุบันเดินทางไปยังประเทศที่สามเรียบร้อยแล้ว

"เริ่มต้นจากว่าถ่านที่องค์กร TBBC เข้ามาช่วยเหลือนำถ่านมาแจกเพื่อให้ผู้ลี้ภัยได้ใช้ หุงข้าว ต้มน้ำ แต่ปริมาณไม่พอ
จึงเป็นเหตุให้ผู้ลี้ภัยต้องไปลักลอบตัดไม้บริเวณป่าใกล้เคียงมาทำฟืน เราจึงได้พูดคุยกับคณะกรรมการของศูนย์
โดยเฉพาะ เดวิด ซอวา ช่วยเราคิด แกบอกว่ามันมีวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่พักพิง เช่นกระดาษ เศษไม้ใบหญ้า
อีกอย่างทุกปีเรามีปัญหาเรื่องไฟป่าต้องมาทำแนวกันไฟ ทำไมเราไม่เอาใบไม้แห้งเหล่านี้มาแปรรูปเป็นถ่านหุงต้ม
เมื่อครั้งที่อยู่รัฐคะยาในพม่า แกก็ทำแบบนี้" วชิระ โชติรสเศรณี ปลัดอำเภอคนเก่งกล่าว



เขาอธิบายถึงขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจากนำกระดาษ เศษใบไม้ใบหญ้าแห้ง มาตำให้ละเอียด
เติมน้ำลงไปแล้วหมักไว้ประมาณ 3-4 วันเพื่อให้ไฟเบอร์อ่อนลง จากนั้นนำมาผสมกับผงถ่าน
แล้วก็คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาใส่บล็อกที่เตรียมไว้บีบอัดให้แน่น ก่อนนำมาผึ่งแดดตากให้แห้ง
แล้วจึงนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้มต่อไป ส่วนบล็อกบีบอัดก้อนถ่านก็ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง
จากไม้และท่อพีวีซี โดยเดวิด ซอวา

ถ่านนี้เขาเป็นคนทำแล้วก็นำไปแจกจ่ายให้แก่คนในกลุ่มของเขาเอง จึงอยากให้เขาทำกันเยอะๆ
เพื่อลดปัญหาไฟป่า และนำวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่พักพิงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และเป็นถ่านสำหรับการจำหน่ายต่อไปได้
ตอนนี้ทำเพื่อใช้ ยังไม่พอเหลือจำหน่าย



หมายเหตุ : ปัจจุบันมีผู้หนีภัยฯ จำนวนประมาณ 114,026 คน อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวต่าง ๆ รวม 9 แห่งใน 4 จังหวัด คือ
แม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี และกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังมีบุคคลสัญชาติพม่าอีกกลุ่มหนึ่งจำนวนประมาณ4,000 คน
ซึ่งลักลอบเข้าเขตไทย วัตถุประสงค์ขอให้ UNHCR พิจารณาให้สถานะ Persons of Concern – POC เพื่อส่งต่อไปยังประเทศที่ 3
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่