โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
“มองวิกฤติเป็นเรื่องท้าทาย” หัวใจบริหารงานตลอด 4 ปี ของ “จาว-โสภาวดี เลิศมนัสชัย” เลขาธิการ กบข. กดปุ่มให้คะแนนตัวเองเท่าไรไม่บอก
เมื่อความไว้ใจส่อแวว “หดหาย” กลยุทธ์ระดมมันสมองปลุกความเชื่อมั่น ถือเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดของ “จาว-โสภาวดี เลิศมนัสชัย” อดีตรองผู้จัดการสายงานการตลาดและงานบริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท.หลังเข้ารับตำแหน่ง “เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.” เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2553
ครานั้น “หญิงเก่ง” ผู้คลุกคลีในตลาดหลักทรัพย์มานานกว่า 30 ปี ขนทีมงานบริหาร “หัวกระทิ” มาช่วยทำงาน ไล่มาตั้งแต่ “ติ้ง-ยิ่งยง นิลเสนา” รองเลขาธิการกลุ่มงานบริหารเงินลงทุน อดีตผู้บริหาร บลจ.กสิกรไทย
“ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ” ผู้อำนวยการฝ่ายลงทุนต่างประเทศและบริหารผู้จัดการกองทุน “ดอกเตอร์” จบปริญญาโทและปริญญาเอก คณะเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ จาก Claremont Graduate University อดีตเคยเป็นเศรษฐกรและนักวิเคราะห์อาวุโส สถาบันวิจัยตลาดทุนระดับโลก "Milken Institute"
นอกจากนั้นยังมี “ดร.จักรพันธ์ ติระศิริชัย” ผู้จัดการลงทุนต่างประเทศและบริหารผู้จัดการกองทุน ดีกรีปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะสอบชิงทุนเรียนต่อปริญญาโทวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (เมดิสัน) และปริญญาเอกทางด้าน Financial Engineer มหาวิทยาลัยมิสซูรี่
คนสุดท้าย คือ “ดร.แมน ชุติชูเดช” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารความเสี่ยงการลงทุน เขาจบปริญญาเอก ด้าน Financial Engineer มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกับ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” มหาเศรษฐีคนดังของโลก เขาเคยผ่านงานที่บลจ.กสิกรไทย ,ธนาคารแห่งประเทศไทย,บล.ทิสโก้ และฝ่ายวิเคราะห์โครงการลงทุนของบีโอไอ
“ชนวนแห่งความวุ่นวาย”
เกิดขึ้นในปี 2551 เมื่อเหล่าสมาชิก กบข. ประสงค์จะขอลาออก หลังพบว่า การบริหารกองทุนของกบข.ที่ดำเนินมากกว่า 10 ปี สมัย “วิสิฐ ตันติสุนทร” นั่งเป็นเลขาธิการฯเกิด “ภาวะขาดทุน” ติดลบ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยมีวิกฤติเศรษฐกิจซับไพร์มในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นต้นเหตุ สถานการณ์นครั้งนั้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทย “ทิ่มหัวลง” เฉลี่ย 40 เปอรเซ็นต์ ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกถูกเทขายถล่มทลายเช่นกัน
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด!!
เมื่อ “วิสิฐ ตันติสุนทร” ถูกกล่าวหาว่า ซื้อขายหลักทรัพย์ส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ได้รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ส่วนตัวให้ถูกต้องครบถ้วน ตามประกาศ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่า ด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงาน ส่งผลให้เขาต้องประกาศลาออกเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2552 จากตำแหน่งที่นั่งมาตั้งแต่ปี 2544
ท้ายที่สุด “วิสิฐ” หลุดพ้นข้อกล่าวหา หลังผลสอบสวนออกมาไม่พบว่า เขาใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศด้านการลงทุนที่จะมีข้อมูลว่ากบข.จะซื้อขายหุ้นตัวใดบ้าง และไม่มีพฤติกรรมชักชวนให้บุคคลภายในเข้าซื้อขายหุ้นที่กบข.ลงทุน เพราะไม่มีหลักฐานความผิดใดที่จะนำมาชี้ชัด
“ตลอดปี 4 มีโอกาสได้ทำงานทุกอย่างในกบข.แต่ละเรื่องเต็มไปด้วย “ความท้าทาย” เพราะช่วงนั้นเป็น “ยุควิกฤติศรัทธา” เหล่าสมาชิกเกิดความไม่พอใจในการบริหารกองทุนของกบข.เดินไปทางไหนมีแต่คนจับกลุ่มขึ้นเวทีประท้วง แรกๆที่เข้ามาทำงานเกิดอาการงง นี่มันเกิดอะไรขึ้น” “โสภาวดี เลิศมนัสชัย” เลขาธิการ กบข. ระบายความในใจให้ฟัง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง ประเทศมาเลเซีย หลังนำทีมพาสื่อมวลชนร่วมกิจกรรม “กบข.สื่อสัมพันธ์ประจำปี 2556”
เธอบอกว่า ช่วงนั้นแอบคิดในใจ “ทำไมต้องเข้ามาเป็นจำเลย” เราเข้ามาทำงานแบบไม่รู้เรื่องมาก่อนว่า เกิดอะไรขึ้นกับองค์กรแห่งนี้ แต่เมื่อเข้ามาแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนความคิดใหม่ ด้วยการมองเป็นเรื่องท้าทาย เหตุการณ์ร้อนแรงทั้งหลายไม่ใช่ “ปัญหา” แต่เป็น “โจทย์ท้าทาย” ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ทำงานมา 4 ปี ให้คะแนนตัวเองเท่าไหร่? เธอ หัวเราะก่อนตอบว่า ขอไม่ประเมินแล้วกัน อยากให้คนอื่นคนประเมินน่าจะดีกว่า การให้คะแนนตัวเองไม่ใช่หน้าที่เรา แต่ถ้าถามว่า ตั้งใจทำงานเต็มที่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือไม่ ตอบเลยว่า ที่ผ่านมาตั้งใจและทุ่มเทกับการทำงานเต็มที
มองทุกโจทย์ที่ได้รับคือ “เรื่องท้าทาย” เธอย้ำ เรามีทีมงานที่ช่วยกันทำงานมากมาย ลำพังเราคนเดียวคงไม่สามารถทำงานได้ดีขนาดนี้ ทีมงานเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรเดินหน้าต่อไป ฉะนั้น “เลขาธิการกบข.คนใหม่” ไม่ต้องห่วงรับรองสานต่องานได้ไม่มีสะดุด เธอชื่นชมทีมงาน
ถามถึง “ความประทับใจที่มีต่อองค์กรแห่งนี้” นายหญิงคนปัจจุบัน บอกว่า ที่ผ่านมาไม่เคยทำงานในหน่วยงานราชการมาก่อน เมื่อมีโอกาสเข้ามาสัมผัสทำให้เข้าใจรูปแบบการทำงานมากขึ้น ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีในชีวิตการทำงาน ถ้าวันนั้นไม่ได้รับโอกาส ชีวิตการทำงานคงอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนถึงวัยเกษียณ
ก่อนจะกลายเป็น “อดีตเลขาธิการ กบข.” เพราะจะหมดวาระสิ้นปี 2556 เธอถือโอกาสแชร์ประสบการณ์หลังได้ทำงานในกบข.มา 4 ปีว่า องค์กรแห่งนี้ ทำให้เรารับรู้ถึงปัญหาของระบบบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ จากเดิมที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน เธอย้ำ
วาระแรก คือ สร้างกบข.ให้เป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาล ด้วยการห้ามไม่ให้พนักงานที่เกี่ยวข้องการ "ซื้อขายหุ้น" อธิบายง่ายๆ เราต้องเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นขององค์กร รวมถึงความไว้วางใจจากเหล่าสมาชิก ส่วนตัวถือเป็น “ภารกิจเร่งด่วนสุดๆ”
ช่วงนั้นเราวางแนวทางเรียกความเชื่อมั่นไว้ 3 ข้อ โดย “ข้อแรก” คือ เรื่องการลงทุนโจทย์ของเรา คือ ทำอย่างไรจึงจะสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้เหล่าสมาชิก เมื่อเขาเกษียณจะได้มีเงินก้อนเพียงพอต่อการใช้จ่าย
ความคิดของทีมงานสะเด็ดน้ำใน 2 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์แรก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินลงทุน เราจัดทำแผนการลงทุนระยะยาวใหม่ จากเดิมเน้นลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ตามประเภท เปลี่ยนเป็นลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ตามบทบาท
รูปแบบลักษณะนี้จะทำให้เราสามารถจัดสรรสินทรัพย์ได้ตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นเรายังปรับปรังโครงสร้างการลงทุนต่างประเทศ ด้วยการนำหลักการกลยุทธ์หลักและเฉพาะทางมาปรับใช้ รวมถึงหลักการจัดสรรการลงทุนระยะสั้น
กลยทุธ์ที่ 2 คือ ขยายการลงทุนสินทรัพย์ทางเลือก เน้นกระจายไปในสินทรัพย์หลากหลายประเภท อาทิเช่น อสังหาริมทรัพย์โลก ,โครงสร้างพื้นฐาน, ไพรเวทอิควิตี้ไทย และไพรเวทอิควิตี้โลก การลงทุนในลักษณะนี้จะทำให้ผลตอบแทนของกบข.เติบโตสม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะยาว
สำหรับ “วาระสอง” เราได้เดินหน้าสร้างความเข้าใจกับเหล่าสมาชิกว่า การเป็นสมาชิกดีกว่าไม่เป็นอย่างไร และบอกเล่าถึงโอกาสและความเสี่ยงจากการลงทุน จริงอยู่ภาวะเศรษฐกิจมีขึ้นและลง แต่หากเรามองการลงทุนในระยะยาว การออมเงินผ่านกองทุนกบข.ถือเป็นเรื่องที่ดี หากเราเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง
“สร้างความเข้าใจสักพักพบว่า เหล่าสมาชิกพอใจมากขึ้นถึง 95 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมมีจำนวนน้อยมากที่เห็นด้วยกับเรา”
วาระสุดท้าย คือ ตอนนั้นเราคิดว่า จะทำอย่างไรให้กบข.เป็นสถาบันการออมเงินชั้นนำที่มีความโปร่งใสเชื่อถือได้ และเป็นต้นแบบของสถาบันในเรื่องการออม ท้ายที่สุดเราเดินไปพูดคุยกับเหล่าโบรกเกอร์ เพื่อให้เขารับหลักการเรื่องธรรมภิบาลก่อนเข้าลงทุน
เธอยอมรับว่า ช่วงรับตำแหน่งใหม่ๆ เคยคิดว่า งานนี้คงสบายมาก เพราะทั่วโลกเพิ่งผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาหมาดๆ แถมเศรษฐกิจยังมีโอกาสฟื้นตัว แต่ในความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างกลับไม่เป็นเหมือนอย่างที่คิดไว้ “ตลาดหุ้น-ตลาดตราสารหนี้” เกิดความผันผวน จากการอัดเม็ดเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ
ตอนนั้นเราต้องกลับมาทบทวนการจัดพอร์ตลงทุนของกบข. ใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในแง่ของผลตอบแทนจากการลงทุน เรื่องนี้ถือเป็น “หัวใจ” หลัก เราบอกเหล่าสมาชิกทุกคนว่า “ผลตอบแทนของกบข.ต้องชนะเงินฝากทุกปี” ฉะนั้นต้องพยายามทำให้ได้..
“โสภาวดี” ถือโอกาสแจกแจงผลการดำเนินงานของกบข.ในช่วงปี 2553-2556 ว่า หากจะบอกว่าประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นขององค์กรและเหล่าสมาชิกคงไม่ผิด เห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของ “สินทรัพย์สุทธิ” ณ วันที่ 31 ต.ค. 2556 จาก 428,849.15 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 624,531.99 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ในฝั่งของ “สมาชิก” ตัวเลขเพิ่มขึ้นจาก 1,882 คน ในปี 2552 เป็น 21,117 คนในปี 2556 เท่ากับว่า การเดินสายสร้างความเข้าใจใช้ได้ผล ขณะที่ในฟากของสวัสดิการ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การสร้างความสุข เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกทุกช่วงชีวิต ด้วยการผลักดันแก้กฎหมายกบข.ตามคำเรียกร้องของสมาชิก เราก็ทำได้ดี
ปัจจุบันกบข. มีพันธมิตรตัวแทน 7,434 คน เพื่อช่วยสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกบข.ให้สมาชิก พันธมิตรวิทยากร 4,242 คน ให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก และพันธมิตรสื่อส่วนราชการ 228 หน่วยงาน
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุนของกบข.ในปี 2557 เธอบอกว่า เราจะให้น้ำหนักการลงทุน ในตลาดตราสารทุนของประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มยุโรป เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สำหรับตลาดสหรัฐฯจะเน้นลงทุนกลุ่มหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ
ส่วนตลาดหุ้นในแถบยุโรปจะเลือกลงทุนหุ้นขนาดกลางในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่เรายังคงรอจังหวะเข้าลงทุน หากเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของภาคส่งออก และการปรับตัวดีขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์
สำหรับตราสารหนี้ เราจะลงทุนในตราสารหนี้ประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านเครดิตต่ำ ส่วนการลงทุนในประเทศยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตัวเทียบวัด แม้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนอาจอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังมีความเสี่ยงเรื่องการเมือง เราจะเน้นลงทุนหุ้นพื้นฐานที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีสภาพคล่อง ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นใน SET 50 หรือ SET 100
“กบข.มีแผนเข้าลงทุนโดยตรงในประเทศจีน หลังจากได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประเทศจีนให้เข้าลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้และตราสารทุน วงเงินลงทุนรวม 100 ล้านเหรียญสหรัฐ”
เธอ ปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2557 ว่า ยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ คาดว่าจะเติบโตประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ โดยจะได้แรงหนุนหลักจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ส่วนเศรษฐกิจยุโรปคงเริ่มออกจากภาวะถดถอย แต่ยังใช้เวลาอีกสักระยะเพื่อปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่
ขณะที่เศรษฐกิจจีนเริ่มขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ คาดว่าจะเติบโตประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก และการเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น
สำหรับเศรษฐกิจไทยคงโต 4.5-5 เปอร์เซ็ฯต์ โดยจะได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกขยายตัว และอาจได้รับแรงหนุนจากโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทที่มีความชัดเจนมากขึ้น
พิชิต "ปัญหา" ด้วย "ปัญญา" "โสภาวดี เลิศมนัสชัย"
“มองวิกฤติเป็นเรื่องท้าทาย” หัวใจบริหารงานตลอด 4 ปี ของ “จาว-โสภาวดี เลิศมนัสชัย” เลขาธิการ กบข. กดปุ่มให้คะแนนตัวเองเท่าไรไม่บอก
เมื่อความไว้ใจส่อแวว “หดหาย” กลยุทธ์ระดมมันสมองปลุกความเชื่อมั่น ถือเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดของ “จาว-โสภาวดี เลิศมนัสชัย” อดีตรองผู้จัดการสายงานการตลาดและงานบริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท.หลังเข้ารับตำแหน่ง “เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.” เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2553
ครานั้น “หญิงเก่ง” ผู้คลุกคลีในตลาดหลักทรัพย์มานานกว่า 30 ปี ขนทีมงานบริหาร “หัวกระทิ” มาช่วยทำงาน ไล่มาตั้งแต่ “ติ้ง-ยิ่งยง นิลเสนา” รองเลขาธิการกลุ่มงานบริหารเงินลงทุน อดีตผู้บริหาร บลจ.กสิกรไทย
“ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ” ผู้อำนวยการฝ่ายลงทุนต่างประเทศและบริหารผู้จัดการกองทุน “ดอกเตอร์” จบปริญญาโทและปริญญาเอก คณะเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ จาก Claremont Graduate University อดีตเคยเป็นเศรษฐกรและนักวิเคราะห์อาวุโส สถาบันวิจัยตลาดทุนระดับโลก "Milken Institute"
นอกจากนั้นยังมี “ดร.จักรพันธ์ ติระศิริชัย” ผู้จัดการลงทุนต่างประเทศและบริหารผู้จัดการกองทุน ดีกรีปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะสอบชิงทุนเรียนต่อปริญญาโทวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (เมดิสัน) และปริญญาเอกทางด้าน Financial Engineer มหาวิทยาลัยมิสซูรี่
คนสุดท้าย คือ “ดร.แมน ชุติชูเดช” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารความเสี่ยงการลงทุน เขาจบปริญญาเอก ด้าน Financial Engineer มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกับ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” มหาเศรษฐีคนดังของโลก เขาเคยผ่านงานที่บลจ.กสิกรไทย ,ธนาคารแห่งประเทศไทย,บล.ทิสโก้ และฝ่ายวิเคราะห์โครงการลงทุนของบีโอไอ
“ชนวนแห่งความวุ่นวาย”
เกิดขึ้นในปี 2551 เมื่อเหล่าสมาชิก กบข. ประสงค์จะขอลาออก หลังพบว่า การบริหารกองทุนของกบข.ที่ดำเนินมากกว่า 10 ปี สมัย “วิสิฐ ตันติสุนทร” นั่งเป็นเลขาธิการฯเกิด “ภาวะขาดทุน” ติดลบ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยมีวิกฤติเศรษฐกิจซับไพร์มในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นต้นเหตุ สถานการณ์นครั้งนั้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทย “ทิ่มหัวลง” เฉลี่ย 40 เปอรเซ็นต์ ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกถูกเทขายถล่มทลายเช่นกัน
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด!!
เมื่อ “วิสิฐ ตันติสุนทร” ถูกกล่าวหาว่า ซื้อขายหลักทรัพย์ส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ได้รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ส่วนตัวให้ถูกต้องครบถ้วน ตามประกาศ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่า ด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงาน ส่งผลให้เขาต้องประกาศลาออกเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2552 จากตำแหน่งที่นั่งมาตั้งแต่ปี 2544
ท้ายที่สุด “วิสิฐ” หลุดพ้นข้อกล่าวหา หลังผลสอบสวนออกมาไม่พบว่า เขาใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศด้านการลงทุนที่จะมีข้อมูลว่ากบข.จะซื้อขายหุ้นตัวใดบ้าง และไม่มีพฤติกรรมชักชวนให้บุคคลภายในเข้าซื้อขายหุ้นที่กบข.ลงทุน เพราะไม่มีหลักฐานความผิดใดที่จะนำมาชี้ชัด
“ตลอดปี 4 มีโอกาสได้ทำงานทุกอย่างในกบข.แต่ละเรื่องเต็มไปด้วย “ความท้าทาย” เพราะช่วงนั้นเป็น “ยุควิกฤติศรัทธา” เหล่าสมาชิกเกิดความไม่พอใจในการบริหารกองทุนของกบข.เดินไปทางไหนมีแต่คนจับกลุ่มขึ้นเวทีประท้วง แรกๆที่เข้ามาทำงานเกิดอาการงง นี่มันเกิดอะไรขึ้น” “โสภาวดี เลิศมนัสชัย” เลขาธิการ กบข. ระบายความในใจให้ฟัง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง ประเทศมาเลเซีย หลังนำทีมพาสื่อมวลชนร่วมกิจกรรม “กบข.สื่อสัมพันธ์ประจำปี 2556”
เธอบอกว่า ช่วงนั้นแอบคิดในใจ “ทำไมต้องเข้ามาเป็นจำเลย” เราเข้ามาทำงานแบบไม่รู้เรื่องมาก่อนว่า เกิดอะไรขึ้นกับองค์กรแห่งนี้ แต่เมื่อเข้ามาแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนความคิดใหม่ ด้วยการมองเป็นเรื่องท้าทาย เหตุการณ์ร้อนแรงทั้งหลายไม่ใช่ “ปัญหา” แต่เป็น “โจทย์ท้าทาย” ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ทำงานมา 4 ปี ให้คะแนนตัวเองเท่าไหร่? เธอ หัวเราะก่อนตอบว่า ขอไม่ประเมินแล้วกัน อยากให้คนอื่นคนประเมินน่าจะดีกว่า การให้คะแนนตัวเองไม่ใช่หน้าที่เรา แต่ถ้าถามว่า ตั้งใจทำงานเต็มที่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือไม่ ตอบเลยว่า ที่ผ่านมาตั้งใจและทุ่มเทกับการทำงานเต็มที
มองทุกโจทย์ที่ได้รับคือ “เรื่องท้าทาย” เธอย้ำ เรามีทีมงานที่ช่วยกันทำงานมากมาย ลำพังเราคนเดียวคงไม่สามารถทำงานได้ดีขนาดนี้ ทีมงานเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรเดินหน้าต่อไป ฉะนั้น “เลขาธิการกบข.คนใหม่” ไม่ต้องห่วงรับรองสานต่องานได้ไม่มีสะดุด เธอชื่นชมทีมงาน
ถามถึง “ความประทับใจที่มีต่อองค์กรแห่งนี้” นายหญิงคนปัจจุบัน บอกว่า ที่ผ่านมาไม่เคยทำงานในหน่วยงานราชการมาก่อน เมื่อมีโอกาสเข้ามาสัมผัสทำให้เข้าใจรูปแบบการทำงานมากขึ้น ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีในชีวิตการทำงาน ถ้าวันนั้นไม่ได้รับโอกาส ชีวิตการทำงานคงอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนถึงวัยเกษียณ
ก่อนจะกลายเป็น “อดีตเลขาธิการ กบข.” เพราะจะหมดวาระสิ้นปี 2556 เธอถือโอกาสแชร์ประสบการณ์หลังได้ทำงานในกบข.มา 4 ปีว่า องค์กรแห่งนี้ ทำให้เรารับรู้ถึงปัญหาของระบบบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ จากเดิมที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน เธอย้ำ
วาระแรก คือ สร้างกบข.ให้เป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาล ด้วยการห้ามไม่ให้พนักงานที่เกี่ยวข้องการ "ซื้อขายหุ้น" อธิบายง่ายๆ เราต้องเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นขององค์กร รวมถึงความไว้วางใจจากเหล่าสมาชิก ส่วนตัวถือเป็น “ภารกิจเร่งด่วนสุดๆ”
ช่วงนั้นเราวางแนวทางเรียกความเชื่อมั่นไว้ 3 ข้อ โดย “ข้อแรก” คือ เรื่องการลงทุนโจทย์ของเรา คือ ทำอย่างไรจึงจะสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้เหล่าสมาชิก เมื่อเขาเกษียณจะได้มีเงินก้อนเพียงพอต่อการใช้จ่าย
ความคิดของทีมงานสะเด็ดน้ำใน 2 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์แรก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินลงทุน เราจัดทำแผนการลงทุนระยะยาวใหม่ จากเดิมเน้นลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ตามประเภท เปลี่ยนเป็นลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ตามบทบาท
รูปแบบลักษณะนี้จะทำให้เราสามารถจัดสรรสินทรัพย์ได้ตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นเรายังปรับปรังโครงสร้างการลงทุนต่างประเทศ ด้วยการนำหลักการกลยุทธ์หลักและเฉพาะทางมาปรับใช้ รวมถึงหลักการจัดสรรการลงทุนระยะสั้น
กลยทุธ์ที่ 2 คือ ขยายการลงทุนสินทรัพย์ทางเลือก เน้นกระจายไปในสินทรัพย์หลากหลายประเภท อาทิเช่น อสังหาริมทรัพย์โลก ,โครงสร้างพื้นฐาน, ไพรเวทอิควิตี้ไทย และไพรเวทอิควิตี้โลก การลงทุนในลักษณะนี้จะทำให้ผลตอบแทนของกบข.เติบโตสม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะยาว
สำหรับ “วาระสอง” เราได้เดินหน้าสร้างความเข้าใจกับเหล่าสมาชิกว่า การเป็นสมาชิกดีกว่าไม่เป็นอย่างไร และบอกเล่าถึงโอกาสและความเสี่ยงจากการลงทุน จริงอยู่ภาวะเศรษฐกิจมีขึ้นและลง แต่หากเรามองการลงทุนในระยะยาว การออมเงินผ่านกองทุนกบข.ถือเป็นเรื่องที่ดี หากเราเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง
“สร้างความเข้าใจสักพักพบว่า เหล่าสมาชิกพอใจมากขึ้นถึง 95 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมมีจำนวนน้อยมากที่เห็นด้วยกับเรา”
วาระสุดท้าย คือ ตอนนั้นเราคิดว่า จะทำอย่างไรให้กบข.เป็นสถาบันการออมเงินชั้นนำที่มีความโปร่งใสเชื่อถือได้ และเป็นต้นแบบของสถาบันในเรื่องการออม ท้ายที่สุดเราเดินไปพูดคุยกับเหล่าโบรกเกอร์ เพื่อให้เขารับหลักการเรื่องธรรมภิบาลก่อนเข้าลงทุน
เธอยอมรับว่า ช่วงรับตำแหน่งใหม่ๆ เคยคิดว่า งานนี้คงสบายมาก เพราะทั่วโลกเพิ่งผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาหมาดๆ แถมเศรษฐกิจยังมีโอกาสฟื้นตัว แต่ในความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างกลับไม่เป็นเหมือนอย่างที่คิดไว้ “ตลาดหุ้น-ตลาดตราสารหนี้” เกิดความผันผวน จากการอัดเม็ดเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ
ตอนนั้นเราต้องกลับมาทบทวนการจัดพอร์ตลงทุนของกบข. ใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในแง่ของผลตอบแทนจากการลงทุน เรื่องนี้ถือเป็น “หัวใจ” หลัก เราบอกเหล่าสมาชิกทุกคนว่า “ผลตอบแทนของกบข.ต้องชนะเงินฝากทุกปี” ฉะนั้นต้องพยายามทำให้ได้..
“โสภาวดี” ถือโอกาสแจกแจงผลการดำเนินงานของกบข.ในช่วงปี 2553-2556 ว่า หากจะบอกว่าประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นขององค์กรและเหล่าสมาชิกคงไม่ผิด เห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของ “สินทรัพย์สุทธิ” ณ วันที่ 31 ต.ค. 2556 จาก 428,849.15 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 624,531.99 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ในฝั่งของ “สมาชิก” ตัวเลขเพิ่มขึ้นจาก 1,882 คน ในปี 2552 เป็น 21,117 คนในปี 2556 เท่ากับว่า การเดินสายสร้างความเข้าใจใช้ได้ผล ขณะที่ในฟากของสวัสดิการ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การสร้างความสุข เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกทุกช่วงชีวิต ด้วยการผลักดันแก้กฎหมายกบข.ตามคำเรียกร้องของสมาชิก เราก็ทำได้ดี
ปัจจุบันกบข. มีพันธมิตรตัวแทน 7,434 คน เพื่อช่วยสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกบข.ให้สมาชิก พันธมิตรวิทยากร 4,242 คน ให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก และพันธมิตรสื่อส่วนราชการ 228 หน่วยงาน
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุนของกบข.ในปี 2557 เธอบอกว่า เราจะให้น้ำหนักการลงทุน ในตลาดตราสารทุนของประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มยุโรป เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สำหรับตลาดสหรัฐฯจะเน้นลงทุนกลุ่มหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ
ส่วนตลาดหุ้นในแถบยุโรปจะเลือกลงทุนหุ้นขนาดกลางในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่เรายังคงรอจังหวะเข้าลงทุน หากเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของภาคส่งออก และการปรับตัวดีขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์
สำหรับตราสารหนี้ เราจะลงทุนในตราสารหนี้ประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านเครดิตต่ำ ส่วนการลงทุนในประเทศยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตัวเทียบวัด แม้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนอาจอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังมีความเสี่ยงเรื่องการเมือง เราจะเน้นลงทุนหุ้นพื้นฐานที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีสภาพคล่อง ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นใน SET 50 หรือ SET 100
“กบข.มีแผนเข้าลงทุนโดยตรงในประเทศจีน หลังจากได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประเทศจีนให้เข้าลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้และตราสารทุน วงเงินลงทุนรวม 100 ล้านเหรียญสหรัฐ”
เธอ ปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2557 ว่า ยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ คาดว่าจะเติบโตประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ โดยจะได้แรงหนุนหลักจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ส่วนเศรษฐกิจยุโรปคงเริ่มออกจากภาวะถดถอย แต่ยังใช้เวลาอีกสักระยะเพื่อปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่
ขณะที่เศรษฐกิจจีนเริ่มขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ คาดว่าจะเติบโตประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก และการเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น
สำหรับเศรษฐกิจไทยคงโต 4.5-5 เปอร์เซ็ฯต์ โดยจะได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกขยายตัว และอาจได้รับแรงหนุนจากโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทที่มีความชัดเจนมากขึ้น