กรณีม็อบกดดันสรยุทธ : เสียงสะท้อนบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน

ผมก็เป็นคนนึงที่ไปม็อบหน้าช่อง3เมื่อวาน โดยส่วนตัวไม่ได้มองว่าการเป่าหรือไม่เป่านกหวีดของสรยุทธนั้นสำคัญแต่ประการใด

เพราะความประสงค์ที่แท้จริงของกลุ่มผู้ชุมนุมก็คือ อยากให้ช่อง3(รวมถึงสื่ออื่นๆ) นำเสนอข่าวอย่างถูกต้องและเป็นธรรม

เราทุกคนปฏิเสธไม่ได้ว่าการนำเสนอข่าวของสื่อนั้นสำคัญต่อบ้านนี้เมืองนี้ขนาดไหน  ความเชื่อของคนถูกกำหนดโดยสื่อซะกว่าครึ่ง ส่วนอีกครึ่งที่เหลือคือการเลือกตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ส่วนตัวผมมองว่า สื่อนั้นไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่านักการเมืองเลยเสียด้วยซ้ำ  เผลอๆยังจะมีอิทธิพลต่อประชาชนมากกว่านักการเมืองซะอีก  เราเห็นหน้านักข่าว  เราอ่านหนังสือพิมพ์  บ่อยกว่าเห็นหน้านักการเมืองซะอีก  จริงไหม


ใครเคยตระหนักถึงบทบาทของสื่อต่อผลทางการเมืองบ้าง  แต่ผมเคย  และเคยพยามเรียกร้องต่อสมาคมสื่อ  รวมถึงไปยื่นหนังสือถึงสถานีโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ แล้วเกือบครบทุกแห่ง

การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาที่พรรคเพื่อไทยชนะนั้น  หากใครจำได้  อ่านหนังสือพิมพ์บางวัน นึกว่าเลือกตั้งเสร็จไปแล้ว  พาดหัวข่าว "เพื่อไทยกวาดเรียบ300ที่นั่ง" อะไรประมาณนี้  ลงข่าวแบบนี้ซ้ำๆทุกวันร่วมเดือน

ส่วนโทรทัศน์ก็พอกัน  นำเสนอข่าวโพลที่ใครๆก็รู้ว่าเป็นโพลรับจ้างตามใบสั่ง  นำเสนอแล้วนำเสนอเล่า ว่าพรรคนั้นมาแรง  โดยไม่ได้ตระหนักหรือกรองสิ่งที่ตัวเองก็รู้อยู่แก่ใจ ว่ามันถูกต้องโปร่งใสหรือไม่


กลับมาที่เรื่องของสรยุทธ ที่ถูกม็อบบุกไปหาเมื่อวาน  ซึ่งอย่างที่บอกข้างต้น ว่าม็อบไม่ได้ต้องการให้สรยุทธเลือกข้างอย่างที่คนเข้าใจกันแต่อย่างใดเลย

แต่เค้าต้องการในสิ่งที่เรียกว่า "จริยธรรมของสื่อมวลชน"  จากสรยุทธ

แล้วทำไมต้องเป็นสรยุทธ คงไม่ต้องอธิบายมาก  เพราะทิศทางการนำเสนอข่าวของช่อง3 จะถูกกำหนดโดยสรยุทธแทบทั้งสิ้น

แต่ก็พอเข้าใจอยู่ว่าสรยุทธเองก็ต้องรับนโยบายจากทางผู้บริหารช่อง3 ซึ่งเราทุกคนก็รู้ว่าใคร  อยู่ฝั่งไหน


หากใครเคยสัมผัสการเมือง พรรคการเมือง หรือทำงานอยู่อาคารใกล้ชิดห้องรัฐมนตรีตามกระทรวงต่างๆ  ก็จะทราบดีว่าเหล่านักการเมืองนั้นดูแลนักข่าวสายการเมือง  นักข่าวประจำกระทรวง  รวมถึงตากล้อง และทีมงาน  ดีแค่ไหน

สิ่งเหล่านี้มันก็เลยกลายเป็นบุญคุณ  ซึ่งบางครั้งก็เกิดจากน้ำใจทั่วๆไป  แต่บางครั้งน้ำใจเหล่านั้นอาจถือได้ว่า เป็นการ"ติดสินบน"


แล้วทำไมคราวนี้ม็อบต้องบุกไปหาสื่อ  ก็เพราะตั้งแต่ช่วงที่มีการชุมนุมบนถนนราชดำเนิน  การนำเสนอข่าวของสื่อหลายช่องเป็นไปอย่างไม่เป็นธรรมชาติ

ผมไปม็อบบ่อยมาก  สัมผัสบรรยากาศจริง  พอกลับมาดูข่าวกลับไม่มีข่าวเลย หรือมีก็น้อยมาก  หนำซ้ำยังไปเอาภาพที่ให้ความรู้สึกว่าคนน้อยมานำเสนอ  ไม่รู้ว่าตั้งใจไปถ่ายซอกหลืบไหน ช่วงเวลาไหน  เพราะตอนที่ผมอยู่นั้น แทบไม่มีที่จะยืนจะเดิน

ในขณะเดียวกันกลับมีการนำเสนอข่าวการชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่พยายามเน้นให้ภาพที่ออกมานั้นเป็นไปในเชิงบวก


โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา  ผมต้องจอดรถไว้สี่แยกปิ่นเกล่า แล้วเดินข้ามสะพานพระปิ่นมาราชดำเนิน  ระหว่างทางคนเต็มถนนไปหมด  จนถึงราชดำเนิน  และยิ่งไปกว่านั้น  จากราชดำเนินคนล้นถนนยาวไปถึงยมราช  คิดดูว่าเป็นระยะทางเท่าไร

แต่สิ่งที่ผมได้รับรู้จากการดูข่าวทีวี และอ่านหนังสือพิมพ์ก็คือ  คนมา 1 แสน  บอกตามตรงว่ารู้สึกผิดหวังกับสื่อมวลชนของประเทศชาตินี้มาก  คนที่ไปม็อบทุกคนต่างรู้ดีว่าวันนั้น  คนเกินล้านแน่ๆ


จากเหตุการณ์ที่เล่าไปนั้น เหมือนเป็นฟางเส้นสุดท้าย ที่ทำให้มวลชนจำเป็นต้องบุกไปหาสื่อ  เพื่อไปทวงถามความยุติธรรม  

สื่อไหนดีเมื่อไปหาก็ได้เห็นรอยยิ้ม คำชม และกำลังใจ  

สื่อไหนไม่ดีก็ได้เห็นการแสดงออกซึ่งความเกลียด ประนาม และคำด่า  

แค่นั้นเองครับ..

.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่