ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
คงไม่มีใครปฏิเสธว่า "ถนนราชดำเนิน" คือ ถนนสายประชาธิปไตย เนื่องจากถนนสายนี้ถูกใช้เป็นสมรภูมิการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศไทยมายาวนาน เหตุการณ์สำคัญๆ ทางการเมืองไทยที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นบนถนนสายนี้ทั้งนั้น ตั้งแต่
"เหตุการณ์ 14 ตุลามหาวิปโยค" เมื่อปี พ.ศ. 2516,
"เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" เมื่อปี พ.ศ. 2535,
"เหตุการณ์ม็อบพันธมิตรฯ" เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ
"เมษาเลือด" กรณี
"ม็อบ นปช." เมื่อปี พ.ศ. 2553
จวบจนปี พ.ศ. 2556 กงล้อแห่งประวัติศาสตร์กำลังหมุนกลับมาอีกครั้ง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ยึดถนนราชดำเนินเป็นสถานที่เคลื่อนไหวและยกระดับการชุมนุม เป็น "ม็อบขับไล่ระบอบทักษิณ"
ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้าสู่ "ถนนราชดำเนิน" ด้วยเป้าหมายเดียวกัน บางรายหมุนเปลี่ยนเวียนมาอยู่เป็นประจำ และอีกจำนวนไมน้อยถือเป็น "อาคันตุกะ" หน้าใหม่ เพิ่งมีโอกาสมาเยือน "ราชดำเนิน" เป็นครั้งแรก และเป็นครั้งเดียวที่เข้าร่วมม็อบ ขณะที่อีกหลายคนมาแล้วมาอีก ด้วยอุดมการณ์ที่เรียกหา "ประชาธิปไตย"
"อาคันตุกะ" มาแล้วกลับไปหลังการชุมนุมยุติ และอาจจะกลับมาอีกครั้งในการชุมนุมครั้งใหม่ แต่ "เจ้าบ้าน" อย่างร้านค้า รวมถึงประชาชนที่พักอาศัยอยู่ย่านนั้น ต้องประสบกับวิถีชีวิตที่แปรเปลี่ยนไปทุกครั้งที่มีการชุมนุม เป็นเรื่องท้าทายที่ผู้คนที่นั่นต้องย่างก้าวข้ามผ่านสถานการณ์เหล่านั้นไปให้ได้
"สร้อย ก้อนสำโรง" วัย 62 ปี ผู้จัดการร้านอาหารสกายไฮ ซึ่งเปิดกิจการเคียงคู่กับถนนสายราชดำเนินมานานกว่า 38 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะเจ้าบ้านซึ่งผ่านประสบการณ์ม็อบมาเยือนไม่ขาดสายว่า รู้สึกชาชินกับการชุมนุมทางการเมือง ความรู้สึกเหมือนเทศกาล พอถึงฤดูกาลม็อบก็มา ตั้งแต่เข้าทำงานที่ร้านแห่งนี้ผ่านม็อบใหญ่ๆ มาแล้ว 4 ครั้ง ไล่มาตั้งแต่ "พฤษภาทมิฬ" , ม็อบพันธมิตรฯ , "ม็อบ นปช." และล่าสุด ม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
หน้าร้านอาหารสกายไฮ
ภาพจาก: http://www.aroiclub.com/tag/%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%94-%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2
"ม็อบมามีทั้งที่ส่งผลดีและผลเสียต่อกิจการร้าน อยู่ที่เราจะรู้จักปรับตัวให้อยู่รอดได้หรือไม่ มีม็อบลูกค้าก็มีมาก เขามาชุมนุมเหนื่อยๆ ก็เข้ามารับประทานอาหารที่ร้าน แกนนำม็อบ นักการเมือง หรือแม้กระทั่งนักข่าว ก็เข้ามาพูดคุยหารือกันที่ร้าน และสั่งอาหาร เครื่องดื่ม เพิ่มยอดขายให้ทางร้าน ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจ แต่เรื่องน่าวิตกก็มี เวลาที่เกิดปะทะหรือเกิดเหตุรุนแรง ทางร้านจำเป็นต้องประกาศปิดร้านชั่วคราว ผลกระทบมีแน่ๆ คือ ขาดรายได้" ผู้จัดการร้านอาหารสกายไฮบอก
พร้อมกับขยายความว่า หากเปรียบเทียบการชุมนุมที่ผ่านมาทั้งหมด ส่วนตัวแล้วคิดว่า ชุมนุมทางการเมืองสมัยเหตุการณ์
"พฤษภาทมิฬ" เมื่อปี พ.ศ. 2535 รุนแรงที่สุด และส่งผลกระทบต่อกิจการของร้านอย่างมาก เนื่องจากสมัยนั้นบริเวณใกล้เคียงของร้านสกายไฮเป็นที่ตั้งของกรมประชาสัมพันธ์ ขณะมีการชุมนุม ทหารใช้พื้นที่เป็นจุดเข้าแถวจัดเตรียมกำลัง ส่วนหน้าร้านก็มีผู้ชุมนุมนอนค้างคืนค้างแรมเต็มไปหมด โดยเฉพาะช่วงก่อนจะมีการปะทะกันนั้น สถานการณ์ของทุกฝ่ายตึงเครียดไปหมด จำเป็นต้องปิดร้านตั้งแต่ช่วงบ่าย พอเช้ามาเจอรอยกระสุนที่ต้นประดู่หน้าร้านเต็มไปหมด แม้แต่ที่ประตูหน้าร้านก็มีรอยกระสุนเช่นเดียวกัน
"ทุกครั้งที่มีม็อบมารวมตัวกันเยอะๆ ผมตื่นเต้นนะ ลุ้นว่าคราวนี้จะรุนแรงหรือเปล่า ต้องเฝ้าประเมินสถานการณ์กันตลอดทุกชั่วโมง ต้องมีวิธีการสังเกตว่าจะปะทะกันรุนแรงหรือไม่ วิธีการง่ายๆ เบื้องต้นคือ ฟังว่ามีเสียงปืนหรือยัง กองทัพทหารเริ่มเข้ามาหรือเปล่า ถ้าเห็นทหารมาจะรีบปิดประตูร้านทันที รอจนเงียบ ยิงกันเงียบไป ค่อยเปิดร้านใหม่ เพราะมีลูกค้าขาประจำมาขอใช้บริการอยู่ตลอดเวลา ร้านอาหารของเราต้องปิดๆ เปิดๆ ถ้าไม่เปิดก็กังวลและเป็นห่วงว่าพวกเขาจะไปหาอะไรกินที่ไหน สรุปว่าร้านเราเป็นทั้งที่รับประทานอาหารและสถานที่หลับภัยในคราวเดียวกัน"
ผู้จัดการร้านอาหารสกายไฮเล่าต่อว่า การชุมนุมแต่ละครั้งจะส่งผลดีต่อกิจการร้านในช่วงแรกๆ เพราะปริมาณลูกค้าเพิ่มขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัด ล่าสุดกลุ่มม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม วันแรกที่ย้ายจากสามเสนเดินขบวนเข้ามาถนนราชดำเนิน ทุกคนเหน็ดเหนื่อยมาก เข้ามาแวะรับประทานอาหาร พวกน้ำและเครื่องดื่มขายดีเป็นพิเศษ ทุกวันนี้ลูกค้ายังคึกคัก เข้ามาอุดหนุนตลอด ทางร้านเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส สามารถขายอาหารได้เพิ่มขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่ง ถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมอยู่นานหลายอาทิตย์ หรือนานเป็นเดือนๆ จะส่งผลกระทบต่อทางร้าน เพราะลูกค้าเดิมที่มีอยู่จำนวนไม่น้อยก็หายไปเช่นกัน เพราะไม่มั่นใจและไม่รู้ว่าถ้าเดินทางเข้ามาถนนราชดำเนินจะปลอดภัยหรือเปล่า
ร้าน
"เมธาวลัย ศรแดง" กิจการเก่าแก่เคียงคู่ถนนราชดำเนินมากว่าครึ่งศตวรรษ กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แตกต่างจากกิจการร้านค้าอื่นๆ ในย่านนี้ โดย
"ธนวัฒน์ ศรีวัย" วัย 40 ปี ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน ถ่ายทอดประสบการณ์การฝ่าวิกฤติสารพัดม็อบว่า ทุกครั้งที่ม็อบมาเยือนต้องเตรียมการรับมืออย่างเป็นขั้นเป็นตอน ต้องปรับกิจการที่ดำเนินการมาหลายสิบปีให้รับมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมให้ได้
หน้าร้านอาหารเมธาวลัย ศรแดง
ภาพจาก: http://www.painaidii.com/business/4985/album/
"ที่หนักสุดเป็นเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 เราต้องปิดร้านไปตั้งแต่ช่วงเย็น หลังจากนั้นก็ปะทะกันยิงกันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โชคดีที่ร้านไม่ได้รับความเสียหายอะไรมากนัก ไม่มีรอยกระสุน กระจกก็ไม่แตก ทุกครั้งที่มีม็อบเราต้องประเมินสถานการณ์เบื้องต้นไว้เลย หากไม่น่าไว้วางใจ เสี่ยงต่อความรุนแรง ต้องรีบปิดร้านไว้ก่อน" ผู้ช่วยผู้จัดการร้านเมธาวลัย ศรแดง กล่าว
ธนวัฒน์ บอกด้วยว่า ทุกครั้งที่มีม็อบจะส่งผลกระทบต่อลูกค้าขาประจำเป็นหลัก เพราะส่วนใหญ่สั่งจองโต๊ะไว้ล่วงหน้า กลุ่มนี้จะขอยกเลิกแทบทั้งหมด โดยเฉพาะลูกค้าหลักที่เป็นชาวต่างประเทศที่มาเที่ยวกันเป็นกรุ๊ปทัวร์ เช่น ฮ่องกง จีน ไต้หวัน ตอนนี้ยกเลิกไปแล้วหลายกรุ๊ป แต่ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้ เพราะมีลูกค้ากลุ่มใหม่เข้ามาทดแทน นั่นคือ กลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุม ร้านอาหารต้องปรับวิกฤติให้เป็นโอกาส
ขณะที่ร้าน
"Sidewalk" เพิ่งเปิดกิจการได้ 3 ปี
"กฤษรา ทับไกร" วัย 45 ปี เจ้าของร้าน บอกว่า เคยเจอเหตุการณ์รุนแรงเมื่อปี 2553 ทำให้ต้องปรับตัวพอสมควร ส่วนการชุมนุมครั้งนี้พยายามหาช่องทางใหม่ๆ หลังประเมินว่าผู้คนจะเข้ามาปักหลักร่วมเวทีราชดำเนินมากขึ้น ก็ได้จ้างพนักงานเพิ่มขึ้นทันที เพื่อรองรับลูกค้า มีผู้ชุมนุมจำนวนมากกลายเป็นลูกค้าของร้านเรา อย่างไรก็ตามต้องคอยติดตามเหตุการณ์เคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ประเมินสถานการณ์วันต่อวัน หากม็อบมีท่าทีหรืออะไรที่ดูแล้วอาจรุนแรงมากขึ้น ก็จะสั่งปิดร้านทันที
หน้าร้านอาหาร Sidewalk
ภาพจาก: http://www.wongnai.com/restaurants/9912Dz-sidewalk-caf%C3%A9/photos/00b17a6859ad463184d9854799d71fae
แผนที่จาก Google Maps
ทีมข่าวรายงานพิเศษ
ตำนาน 'ร้านดัง' ผ่าวิกฤติม็อบ 'ราชดำเนิน'
คงไม่มีใครปฏิเสธว่า "ถนนราชดำเนิน" คือ ถนนสายประชาธิปไตย เนื่องจากถนนสายนี้ถูกใช้เป็นสมรภูมิการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศไทยมายาวนาน เหตุการณ์สำคัญๆ ทางการเมืองไทยที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นบนถนนสายนี้ทั้งนั้น ตั้งแต่ "เหตุการณ์ 14 ตุลามหาวิปโยค" เมื่อปี พ.ศ. 2516, "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" เมื่อปี พ.ศ. 2535, "เหตุการณ์ม็อบพันธมิตรฯ" เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ "เมษาเลือด" กรณี "ม็อบ นปช." เมื่อปี พ.ศ. 2553
จวบจนปี พ.ศ. 2556 กงล้อแห่งประวัติศาสตร์กำลังหมุนกลับมาอีกครั้ง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ยึดถนนราชดำเนินเป็นสถานที่เคลื่อนไหวและยกระดับการชุมนุม เป็น "ม็อบขับไล่ระบอบทักษิณ"
ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้าสู่ "ถนนราชดำเนิน" ด้วยเป้าหมายเดียวกัน บางรายหมุนเปลี่ยนเวียนมาอยู่เป็นประจำ และอีกจำนวนไมน้อยถือเป็น "อาคันตุกะ" หน้าใหม่ เพิ่งมีโอกาสมาเยือน "ราชดำเนิน" เป็นครั้งแรก และเป็นครั้งเดียวที่เข้าร่วมม็อบ ขณะที่อีกหลายคนมาแล้วมาอีก ด้วยอุดมการณ์ที่เรียกหา "ประชาธิปไตย"
"อาคันตุกะ" มาแล้วกลับไปหลังการชุมนุมยุติ และอาจจะกลับมาอีกครั้งในการชุมนุมครั้งใหม่ แต่ "เจ้าบ้าน" อย่างร้านค้า รวมถึงประชาชนที่พักอาศัยอยู่ย่านนั้น ต้องประสบกับวิถีชีวิตที่แปรเปลี่ยนไปทุกครั้งที่มีการชุมนุม เป็นเรื่องท้าทายที่ผู้คนที่นั่นต้องย่างก้าวข้ามผ่านสถานการณ์เหล่านั้นไปให้ได้
"สร้อย ก้อนสำโรง" วัย 62 ปี ผู้จัดการร้านอาหารสกายไฮ ซึ่งเปิดกิจการเคียงคู่กับถนนสายราชดำเนินมานานกว่า 38 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะเจ้าบ้านซึ่งผ่านประสบการณ์ม็อบมาเยือนไม่ขาดสายว่า รู้สึกชาชินกับการชุมนุมทางการเมือง ความรู้สึกเหมือนเทศกาล พอถึงฤดูกาลม็อบก็มา ตั้งแต่เข้าทำงานที่ร้านแห่งนี้ผ่านม็อบใหญ่ๆ มาแล้ว 4 ครั้ง ไล่มาตั้งแต่ "พฤษภาทมิฬ" , ม็อบพันธมิตรฯ , "ม็อบ นปช." และล่าสุด ม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
หน้าร้านอาหารสกายไฮ
ภาพจาก: http://www.aroiclub.com/tag/%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%94-%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2
"ม็อบมามีทั้งที่ส่งผลดีและผลเสียต่อกิจการร้าน อยู่ที่เราจะรู้จักปรับตัวให้อยู่รอดได้หรือไม่ มีม็อบลูกค้าก็มีมาก เขามาชุมนุมเหนื่อยๆ ก็เข้ามารับประทานอาหารที่ร้าน แกนนำม็อบ นักการเมือง หรือแม้กระทั่งนักข่าว ก็เข้ามาพูดคุยหารือกันที่ร้าน และสั่งอาหาร เครื่องดื่ม เพิ่มยอดขายให้ทางร้าน ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจ แต่เรื่องน่าวิตกก็มี เวลาที่เกิดปะทะหรือเกิดเหตุรุนแรง ทางร้านจำเป็นต้องประกาศปิดร้านชั่วคราว ผลกระทบมีแน่ๆ คือ ขาดรายได้" ผู้จัดการร้านอาหารสกายไฮบอก
พร้อมกับขยายความว่า หากเปรียบเทียบการชุมนุมที่ผ่านมาทั้งหมด ส่วนตัวแล้วคิดว่า ชุมนุมทางการเมืองสมัยเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" เมื่อปี พ.ศ. 2535 รุนแรงที่สุด และส่งผลกระทบต่อกิจการของร้านอย่างมาก เนื่องจากสมัยนั้นบริเวณใกล้เคียงของร้านสกายไฮเป็นที่ตั้งของกรมประชาสัมพันธ์ ขณะมีการชุมนุม ทหารใช้พื้นที่เป็นจุดเข้าแถวจัดเตรียมกำลัง ส่วนหน้าร้านก็มีผู้ชุมนุมนอนค้างคืนค้างแรมเต็มไปหมด โดยเฉพาะช่วงก่อนจะมีการปะทะกันนั้น สถานการณ์ของทุกฝ่ายตึงเครียดไปหมด จำเป็นต้องปิดร้านตั้งแต่ช่วงบ่าย พอเช้ามาเจอรอยกระสุนที่ต้นประดู่หน้าร้านเต็มไปหมด แม้แต่ที่ประตูหน้าร้านก็มีรอยกระสุนเช่นเดียวกัน
"ทุกครั้งที่มีม็อบมารวมตัวกันเยอะๆ ผมตื่นเต้นนะ ลุ้นว่าคราวนี้จะรุนแรงหรือเปล่า ต้องเฝ้าประเมินสถานการณ์กันตลอดทุกชั่วโมง ต้องมีวิธีการสังเกตว่าจะปะทะกันรุนแรงหรือไม่ วิธีการง่ายๆ เบื้องต้นคือ ฟังว่ามีเสียงปืนหรือยัง กองทัพทหารเริ่มเข้ามาหรือเปล่า ถ้าเห็นทหารมาจะรีบปิดประตูร้านทันที รอจนเงียบ ยิงกันเงียบไป ค่อยเปิดร้านใหม่ เพราะมีลูกค้าขาประจำมาขอใช้บริการอยู่ตลอดเวลา ร้านอาหารของเราต้องปิดๆ เปิดๆ ถ้าไม่เปิดก็กังวลและเป็นห่วงว่าพวกเขาจะไปหาอะไรกินที่ไหน สรุปว่าร้านเราเป็นทั้งที่รับประทานอาหารและสถานที่หลับภัยในคราวเดียวกัน"
ผู้จัดการร้านอาหารสกายไฮเล่าต่อว่า การชุมนุมแต่ละครั้งจะส่งผลดีต่อกิจการร้านในช่วงแรกๆ เพราะปริมาณลูกค้าเพิ่มขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัด ล่าสุดกลุ่มม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม วันแรกที่ย้ายจากสามเสนเดินขบวนเข้ามาถนนราชดำเนิน ทุกคนเหน็ดเหนื่อยมาก เข้ามาแวะรับประทานอาหาร พวกน้ำและเครื่องดื่มขายดีเป็นพิเศษ ทุกวันนี้ลูกค้ายังคึกคัก เข้ามาอุดหนุนตลอด ทางร้านเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส สามารถขายอาหารได้เพิ่มขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่ง ถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมอยู่นานหลายอาทิตย์ หรือนานเป็นเดือนๆ จะส่งผลกระทบต่อทางร้าน เพราะลูกค้าเดิมที่มีอยู่จำนวนไม่น้อยก็หายไปเช่นกัน เพราะไม่มั่นใจและไม่รู้ว่าถ้าเดินทางเข้ามาถนนราชดำเนินจะปลอดภัยหรือเปล่า
ร้าน "เมธาวลัย ศรแดง" กิจการเก่าแก่เคียงคู่ถนนราชดำเนินมากว่าครึ่งศตวรรษ กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แตกต่างจากกิจการร้านค้าอื่นๆ ในย่านนี้ โดย "ธนวัฒน์ ศรีวัย" วัย 40 ปี ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน ถ่ายทอดประสบการณ์การฝ่าวิกฤติสารพัดม็อบว่า ทุกครั้งที่ม็อบมาเยือนต้องเตรียมการรับมืออย่างเป็นขั้นเป็นตอน ต้องปรับกิจการที่ดำเนินการมาหลายสิบปีให้รับมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมให้ได้
หน้าร้านอาหารเมธาวลัย ศรแดง
ภาพจาก: http://www.painaidii.com/business/4985/album/
"ที่หนักสุดเป็นเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 เราต้องปิดร้านไปตั้งแต่ช่วงเย็น หลังจากนั้นก็ปะทะกันยิงกันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โชคดีที่ร้านไม่ได้รับความเสียหายอะไรมากนัก ไม่มีรอยกระสุน กระจกก็ไม่แตก ทุกครั้งที่มีม็อบเราต้องประเมินสถานการณ์เบื้องต้นไว้เลย หากไม่น่าไว้วางใจ เสี่ยงต่อความรุนแรง ต้องรีบปิดร้านไว้ก่อน" ผู้ช่วยผู้จัดการร้านเมธาวลัย ศรแดง กล่าว
ธนวัฒน์ บอกด้วยว่า ทุกครั้งที่มีม็อบจะส่งผลกระทบต่อลูกค้าขาประจำเป็นหลัก เพราะส่วนใหญ่สั่งจองโต๊ะไว้ล่วงหน้า กลุ่มนี้จะขอยกเลิกแทบทั้งหมด โดยเฉพาะลูกค้าหลักที่เป็นชาวต่างประเทศที่มาเที่ยวกันเป็นกรุ๊ปทัวร์ เช่น ฮ่องกง จีน ไต้หวัน ตอนนี้ยกเลิกไปแล้วหลายกรุ๊ป แต่ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้ เพราะมีลูกค้ากลุ่มใหม่เข้ามาทดแทน นั่นคือ กลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุม ร้านอาหารต้องปรับวิกฤติให้เป็นโอกาส
ขณะที่ร้าน "Sidewalk" เพิ่งเปิดกิจการได้ 3 ปี "กฤษรา ทับไกร" วัย 45 ปี เจ้าของร้าน บอกว่า เคยเจอเหตุการณ์รุนแรงเมื่อปี 2553 ทำให้ต้องปรับตัวพอสมควร ส่วนการชุมนุมครั้งนี้พยายามหาช่องทางใหม่ๆ หลังประเมินว่าผู้คนจะเข้ามาปักหลักร่วมเวทีราชดำเนินมากขึ้น ก็ได้จ้างพนักงานเพิ่มขึ้นทันที เพื่อรองรับลูกค้า มีผู้ชุมนุมจำนวนมากกลายเป็นลูกค้าของร้านเรา อย่างไรก็ตามต้องคอยติดตามเหตุการณ์เคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ประเมินสถานการณ์วันต่อวัน หากม็อบมีท่าทีหรืออะไรที่ดูแล้วอาจรุนแรงมากขึ้น ก็จะสั่งปิดร้านทันที
หน้าร้านอาหาร Sidewalk
ภาพจาก: http://www.wongnai.com/restaurants/9912Dz-sidewalk-caf%C3%A9/photos/00b17a6859ad463184d9854799d71fae
แผนที่จาก Google Maps
ทีมข่าวรายงานพิเศษ