เรื่องแปลกหรือไม่? ดูเหมือนดีแต่ดีจริงหรือ? ป้องกันไม่แปลก แปลกหรือไม่ที่ออก"พรบ.ก่อน" ช่วยคิดดีไหมคาฟ?

"8 องค์กรภาคปชช."ร่อนแถลงค้านรบ. งัดพ.ร.บ.ความมั่นคงฯสยบม็อบในเขต "พระนคร-ป้อมปราบฯ-ดุสิต" ชี้ไม่เคารพตรธน. -ขัดเจตนารมณ์กม. พร้อมบี้ยกเลิก-ให้เคารพเสรีภาพปชช.



ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ ( 1 ส.ค.)  องค์กรภาคประชาชนจำนวน 8 องค์กร ประกอบด้วย

1.สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
2.มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
3.สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
4.ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ศกส.)
5.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
6.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
7.มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC)
และ 8. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)

     ได้ออกแถลงการ การคัดค้านการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยระบุว่า   ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยการอ้างเหตุว่า ได้มีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มปลุกระดมมวลชนให้เข้าร่วมการชุมนุม หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร

ซึ่งไม่เป็นไปตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบสุขในบ้านเมืองนั้น  ++(อันนี้ใครทราบลองอธิบายหน่อย ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจอ่ะคาฟ ประกาศก่อนได้หรือไ่ม่)

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรข้างต้น ขอคัดค้านการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลไม่เป็นไปเจตนารมณ์ของกฎหมาย   โดยที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรของรัฐบาล พ.ศ. 2551 มาตรา 15 ได้ให้อำนาจรัฐบาลในการประกาศใช้กฎหมายนี้ได้ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย โดยมีความมุ่งหมายเป็นการจัดการกับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะจัดการไม่ได้โดยภาวะปกติ หรือโดยกลไกปกติ ดังนั้น การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อนและเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน แต่การที่รัฐบาล อ้างเหตุว่า การชุมนุมของกองทัพประชาชนหรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเป็นเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยยังไม่มีเหตุการณ์การชุมนุมเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงเป็นการใช้อำนาจเกินความจำเป็นและเกินสมควรสมควรแก่เหตุ เนื่องจากกลไกตามกฎหมายที่มีอยู่ตามปกติก็เพียงพอที่รัฐจะสามารถจัดการณ์ให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบได้อยู่แล้ว  จึงไม่มีเงื่อนไขที่จะประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงแต่อย่างใด การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

2.การกระทำของรัฐบาลเป็นการไม่เคารพต่อรัฐธรรมนูญ  กลุ่มผู้ชุมนุมย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 63 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 21 การที่ประชาชนใช้เสรีภาพดังกล่าว รัฐบาลจะกล่าวอ้างว่าเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาลไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวอ้างเหตุผลว่าผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล  ถ้ารัฐบาลจัดการกับความเห็นที่แตกต่างด้วยการใช้มาตรการนี้ ย่อมเป็นการหยุดยั้งการใช้เสรีภาพของประชาชนโดยปกติ ซึ่งเป็นกลไกที่ไม่ควรมีและไม่อาจยอมรับได้ในสังคมประชาธิปไตย อีกทั้งการชุมนุมย่อมไม่ได้คุกคามต่อความอยู่รอดของชาติ หรือเป็นอาชญากรรมที่จะเป็นภัยต่อรัฐบาล

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรข้างท้ายนี้ จึงขอเรียกร้องและขอเสนอแนะให้รัฐบาล

1.ยกเลิกการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

2.ใช้อำนาจบริหาร ตามเจตนารมณ์ของหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน ในการจัดการกับการชุมนุมของประชาชนโดยเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

cr: http://www.tnews.co.th/html/news/65104/%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99!!!8-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%99-%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่