<<< ดาวเทียมจิ๋วสามดวง ArduSat-1, ArduSat-X, PicoDragon ปล่อยจาก ISS สู่วงโคจรแล้ว >>>

ดาวเทียมขนาดเล็กทั้งสามดวง ถูกปล่อยออกจาก สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เข้าสู่วงโคจรแล้ว
โดยการปล่อยออก จากแขนกลบนสถานี เมื่อวานนี้ (19 พ.ย. 56)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

โครงการ ArduSat เป็นการสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก (nanosatellite) โดยใช้บอร์ด Arduino และชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

โครงการนี้สนับสนุนโดยบริษัท NanoSatisfi ผู้ขายอุปกรณ์สำหรับสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก
และระดมทุนจาก Kickstarter เพื่อส่งดาวเทียมขนาด 1U โดยใช้ระวางบรรทุกเหลือของโครงการอื่นๆ
เป็นจำนวน 35,000 ดอลลาร์ จนประสบความสำเร็จเมื่อปี 2012

เงินทุนที่ระดมมาถูกนำไปสร้างดาวเทียมสองดวงชื่อ ArduSat-1 และ ArduSat-X
จากนั้นมันถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ร่วมกับดาวเทียมอื่นๆ อีก 2 ดวง) เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

เป้าหมายของดาวเทียม ArduSat คือ ให้ทุกคนเข้าถึงการสำรวจอวกาศได้ (provide affordable space exploration for everyone)
และบริษัท NanoSatisfi ก็เปิดรับไอเดียว่าอยากเห็น ArduSat ทำอะไรบนอวกาศบ้าง
(เช่น มีข้อเสนอให้ไปตรวจสอบสนามแม่เหล็กโลก หรือ ถ่ายภาพตามจุดต่างๆ ของโลก)

เบื้องต้น ArduSat ทั้งสองดวง จะปล่อยสัญญาณ beacon ที่ความถี่ 437 เมกกะเฮิร์ต เพื่อยืนยันวงโคจรไปเรื่อยๆ ระหว่างที่อยู่ในอวกาศ
โดย ArduSat-1 จะใช้ชื่อเรียกขาน WG9XFC-1 และ ArduSat-X ใช้ชื่อ WG9XFC-X
ในข้อความจะแสดงสถานะแบตเตอรี่, ข้อมูลที่ได้รับเข้า, และข้อมูลที่ส่งออก

โดยทาง NanoSatisfi ขอให้นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก ช่วยกันฟังข้อความเหล่านี้ บันทึกเสียง
แล้วส่งไปที่ nanosatisfi@gmail.com

ส่วนอนาคต ArduSat จะถูกนำไปใช้ทำอะไรก็คงต้องติดตามกันต่อไป

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

นอกจาก ArduSat แล้ว การปล่อยรอบนี้ยังมี PicoDragon
ที่ร่วมกันพัฒนาระหว่าง IHI Aerospace กับมหาวิทยาลัยในเวียดนามและญี่ปุ่นอีกหนึ่งดวง
และมีอีกดวงหนึ่งที่มีกำหนดการจะปล่อยภายในอาทิตย์นี้ คือ TechSatEd-3 จาก Ames Research Centre

เดบิต http://jusci.net/node/3171
http://www.blognone.com/node/50967
http://www.theregister.co.uk/2013/11/19/ardusats_launched_first_beacon_caught/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่