"ปริญญา เทวานฤมิตรกุล" วิเคราะห์ม็อบนกหวีดได้หรือเสีย?
updated: 19 พ.ย. 2556 เวลา 14:30:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
สัมภาษณ์พิเศษ
"โดยสรุปอาจพูดได้ว่า เหมือนพรรคประชาธิปัตย์มาช่วยพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำ"
ให้หลังพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยอมถอยร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย หรือเหมาเข่ง
กระแสกดดันก็ตีกลับไปยังการชุมนุมต้าน โดยเฉพาะเวทีราชดำเนินภายใต้การนำของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์
ภาคเอกชนถึงขนาดเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม เพราะหวั่นจะกระทบกับเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์การชุมนุมและนำเสนอแง่มุมไว้หลากหลาย
การชุมนุมหลังรัฐบาลถอยร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม มองอย่างไร
ต้องวิเคราะห์ก่อนว่าทำไมทั้งที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลชนะการลงมติร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในสภาแต่กลับยอมถอย
สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ทำผิดพลาดไปคือลืมคิดไปว่าการเมืองมีคนตรงกลางด้วย ประชาชนไม่ได้มีแค่ข้างเราข้างเดียว แต่มีความหลากหลาย
พ.ต.ท.ทักษิณกับพรรคเพื่อไทย คำนึงถึงคนตรงกลางน้อยเกินไป และยังคำนึงถึงฐานเสียงตัวเองน้อยไปด้วย เพราะคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยสับสนกับรัฐบาล ทำให้สับสนในท่าทีของตัวเองว่าจะเอาอย่างไรดีกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม
เขาไม่อยากให้มีการนิรโทษกรรมผู้สั่งการ เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ถูกอัยการสั่งฟ้องแล้ว ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีตที่ผู้สั่งการสลายการชุมนุมแล้วมีคนเสียชีวิตถูกสั่งฟ้อง
คนเสื้อแดงเฝ้ารอตรงนี้มา 3 ปี ตอนนี้เดินมาถึงแล้วแต่อยู่ดีๆ จะมานิรโทษกรรมทำให้ทุกอย่างเป็นศูนย์ และคนตรงกลางก็ไม่เอาด้วย ทำให้เกิดการออกมาของคนจำนวนมากที่ไม่ใช่คนพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลจึงต้องถอย
ถ้าม็อบยังไม่หยุดใครจะได้-เสีย
วันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา คือจุดสูงสุดของการชุมนุม ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ 1.ประกาศชัยชนะ และ 2.ไปต่อ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เลือกจะเดินต่อ
ผลที่เกิดขึ้น ในด้านของพรรคเพื่อไทยทำให้ฐานของมวลชนที่เคยสับสนต่อพรรคเพื่อไทยเรื่องร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอย เลิกตั้งคำถามแล้วกลับมาปกป้องรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งของเขา
โดยสรุปอาจพูดได้ว่าเหมือนพรรคประชาธิปัตย์มาช่วยพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำ เพราะเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนไปล้มระบอบทักษิณ คนเสื้อแดงที่ตั้งคำถามรัฐบาลก็มารวมกันเพื่อปกป้อง
และตอนนี้ไม่มีปัญหาเฉพาะหน้าแล้วด้วย เนื่องจากร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมตกไปแล้ว การถูกคว่ำครั้งนี้ในทางการเมืองจบไปแล้ว
ถ้านำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกลับมาใหม่หลังครบ 180 วัน คิดว่าประชาชนจะออกมาชุมนุมมากกว่านี้ รัฐบาลจะพังลงอย่างแท้จริง เชื่อว่ารัฐบาลมองออกจึงจะไม่นำเข้ามาอีกแน่นอน
ดังนั้น เรื่องร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอในการชุมนุมต่อ พรรคประชาธิปัตย์จึงเดินหน้าเรื่องระบอบทักษิณ
ส.ส.ประชาธิปัตย์บางคนลาออกมาเดินเกมนอกสภาเต็มรูปแบบ
คล้ายกับการทุบหม้อข้าวก่อนเข้าตีเมือง ทำให้คล่องตัว ต้องการให้เป็นเรื่องตัวบุคคลไม่ใช่พรรค แต่ก็จะมีผลเสียที่พรรคประชาธิปัตย์เองก็ต้องตอบคำถามนี้ในอนาคต และงบประมาณที่ต้องเสียสำหรับการเลือกตั้งซ่อมใครจะรับผิดชอบ
ไม่ได้บอกว่าผิดหรือถูกที่ลาออกแต่พรรคประชาธิปัตย์จะถูกตั้งคำถาม ถ้าส่งคนลงแข่งก็จะถูกตั้งคำถามอีกว่าแล้วลาออกทำไม แต่ถ้าไม่ส่งลงแข่งก็จะเสียที่นั่งไปอีก 8 ที่ ซึ่งเป็นประเด็นที่เขาต้องแก้
เมื่อเปลี่ยนมาเป็นเกมโค่นระบอบทักษิณ จะสร้างความได้เปรียบหรือไม่
ความจริงคะแนนนิยมของพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ในรอบหลายปีที่ผ่านมาไม่เคยมีครั้งใดที่พรรคประชาธิปัตย์จะมีคะแนนเบียดกับพรรคเพื่อไทยมากขนาดนี้
สูสีกันขนาดที่ว่าถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 12-13 พ.ย.เป็นต้น น่าคิดเหมือนกันว่าพรรคเพื่อไทยยังจะชนะการเลือกตั้งอยู่หรือไม่
เพราะคนที่ออกมาคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมไม่ได้มีเฉพาะคนที่อยู่ตรงกลาง คนที่เป็นแนวร่วมของพรรคเพื่อไทยจำนวนมากก็เปลี่ยนข้างทันที นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับพรรคเพื่อไทยเพราะตัดสินใจผิดทางการเมือง
คำถามต่อมาคือถ้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ คะแนนนิยมที่ขึ้นมาสูสีแล้วจะเป็นอย่างไรต่อก็คงต้องติดตามกันต่อไป แต่คนตรงกลางน่าจะไม่ชอบอะไรที่สุดโต่ง
และคนตรงกลางที่ออกมาส่วนใหญ่เพราะต้องการคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม คนตรงกลางจำนวนมากก็อาจไม่ไปต่อ แต่แน่นอนว่าคนจำนวนไม่น้อยอาจไปต่อเพราะว่าจุด ติดแล้ว
จุดที่เป็นตัวตัดสินจริงๆ คือการเลือกตั้งครั้งหน้าว่าใครจะชนะการเลือกตั้ง สองพรรคต้องคำนึงว่าการเมืองระบอบประชาธิปไตยคือการเอาชนะใจประชาชน ไม่ใช่แค่เอาชนะใจมวลชนตัวเอง
พ.ต.ท.ทักษิณและรัฐบาลเคยประเมินผิดเรื่องนิรโทษกรรม ตอนนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประเมินผิดหรือไม่ที่เดินเกมโค่นระบอบทักษิณ
อาจตั้งคำถามได้ว่าที่ยังไม่ลงเป็นเพราะไม่ได้ต้องการล้มร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเท่านั้นมาตั้งแต่แรกอยู่แล้วหรือไม่ อาจเป็นระบอบทักษิณมาตั้งแต่ต้นก็ได้ การนิรโทษกรรมเป็นเพียงเรื่องหนึ่ง
ดังนั้น บอกได้ไม่ถนัดนักว่าพรรคประชาธิปัตย์เดินผิดหรือเปล่า แต่จุดสำคัญมากคือการประเมินเสียงตอบรับจากคน ตรงกลาง
แต่อย่างน้อยวิธีการที่ใช้ยังเป็นวิถีทางที่เรียกว่าเปิดรัฐธรรมนูญสู้ ถ้าเทียบกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิป ไตยที่ยึดทำเนียบ ชุมนุมในสนามบิน การเข้าชื่อถอดถอนส.ส.อย่างน้อยก็เป็นการสู้ในกติกา
ประเด็นการแก้ไขที่มาส.ว.กับการซักฟอก จะแรงพอปิดเกมรัฐบาลหรือไม่
การที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้มาตรการทางรัฐธรรมนูญ กระบวนการกลไกต่างๆ คู่ขนาน ไม่ว่าจะเป็นการถอดถอนส.ส. หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ
การอภิปรายฯ อาจมีเจตนาอื่นด้วยก็ได้ เช่น รัฐธรรมนูญบัญญัติเป็นหลักไว้ว่าหากมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะยุบสภาไม่ได้ ไม่ทราบว่าประชาธิปัตย์มีเจตนานี้หรือไม่
เพราะรู้ว่าการชุมนุมอย่างเดียวไม่ชนะจึงต้องเดินคู่ขนาน แรงกดดันจะไปอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรอิสระ วันที่ 20 พ.ย.จะวินิจฉัยการแก้ไขที่มา ส.ว.
การจะบอกว่าการแก้ให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คงจะไปลำบาก
เพราะรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มี ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด ไม่เห็นมีปัญหาอะไรกับระบอบประชาธิปไตย ศาลไม่น่าจะไปทางนี้
ที่มีโอกาสมากกว่าคือกระบวนการ เช่น เสียบบัตรแทนกัน แต่ก็ต้องอธิบายเยอะว่ามีผลถึงขนาดทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียหายไปเลยหรือ คำถามคือแล้วถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ คิดว่าลำบาก
ต่อให้ไปถึงขั้นยุบพรรครัฐบาลก็ไม่ล้ม เพราะน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค สามารถไปหาพรรคอื่นสังกัดได้และรัฐบาลอยู่ต่อ เป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยได้สรุปบทเรียนมาแล้ว
จึงเป็นจุดที่เชื่อว่าจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองต่อให้ถึงขั้นยุบพรรคก็ตาม ขณะที่การถอดถอนส.ส.ก็เป็นเรื่องที่ป.ป.ช.ต้องใช้เวลา ไม่ได้จบง่ายๆ
ความยากลำบากของพรรคประชาธิปัตย์ในการนำม็อบต่อจากนี้
การชุมนุมที่คนไทยเรียกว่าปลุกม็อบ พอปลุกมากๆ แล้วถึงจุดหนึ่งไม่ใช่แกนนำควบคุมม็อบ แต่เป็นม็อบมาควบคุมมากกว่า ไม่ว่าสีไหนพอปลุกไปถึงจุดหนึ่งแล้วย่อมลงลำบาก
ยิ่งถ้าเป็นการชุมนุมแบบยืดเยื้อไม่ชนะไม่เลิก ยิ่งปลุกเร้ามาก อารมณ์ของมวลชนที่เข้าร่วมยิ่งรู้สึกมีส่วนร่วมมากเท่าไหร่ ยิ่งยกระดับยิ่งลงยากมากเท่านั้น
สถานการณ์นี้เคยเกิดมาแล้วกับพันธมิตรฯ กับคนเสื้อแดงในปี 2553 และสิ่งนี้กำลังเกิดกับพรรคประชาธิปัตย์ ปรากฏการณ์สำคัญประการหนึ่งคือคนที่เข้ามาร่วมชุมนุมย่อมหมายถึงคนที่อินมาก เร่าร้อนมาก ต้องการเห็นการจบเร็วๆ ทำให้แนวโน้มการชุมนุมลักษณะไม่ชนะไม่เลิกต้องยกระดับไปเรื่อยๆ
สุดท้ายแล้วแกนนำจะถูกกดดันจากสิ่งที่ตัวเองสร้างไว้เอง ซึ่งเป็นข้อที่ยากสำหรับการชุมนุมในประเทศไทย จึงอยากให้สรุปบทเรียนการชุมนุมที่ผ่านๆ มาด้วย
พรรคประชาธิปัตย์คงดูจังหวะที่จะจบแล้วสวยที่สุดสำหรับพรรคของเขา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384846953
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384846953
"ปริญญา เทวานฤมิตรกุล" วิเคราะห์ม็อบนกหวีดได้หรือเสีย?
updated: 19 พ.ย. 2556 เวลา 14:30:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
สัมภาษณ์พิเศษ
"โดยสรุปอาจพูดได้ว่า เหมือนพรรคประชาธิปัตย์มาช่วยพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำ"
ให้หลังพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยอมถอยร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย หรือเหมาเข่ง
กระแสกดดันก็ตีกลับไปยังการชุมนุมต้าน โดยเฉพาะเวทีราชดำเนินภายใต้การนำของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์
ภาคเอกชนถึงขนาดเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม เพราะหวั่นจะกระทบกับเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์การชุมนุมและนำเสนอแง่มุมไว้หลากหลาย
การชุมนุมหลังรัฐบาลถอยร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม มองอย่างไร
ต้องวิเคราะห์ก่อนว่าทำไมทั้งที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลชนะการลงมติร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในสภาแต่กลับยอมถอย
สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ทำผิดพลาดไปคือลืมคิดไปว่าการเมืองมีคนตรงกลางด้วย ประชาชนไม่ได้มีแค่ข้างเราข้างเดียว แต่มีความหลากหลาย
พ.ต.ท.ทักษิณกับพรรคเพื่อไทย คำนึงถึงคนตรงกลางน้อยเกินไป และยังคำนึงถึงฐานเสียงตัวเองน้อยไปด้วย เพราะคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยสับสนกับรัฐบาล ทำให้สับสนในท่าทีของตัวเองว่าจะเอาอย่างไรดีกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม
เขาไม่อยากให้มีการนิรโทษกรรมผู้สั่งการ เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ถูกอัยการสั่งฟ้องแล้ว ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีตที่ผู้สั่งการสลายการชุมนุมแล้วมีคนเสียชีวิตถูกสั่งฟ้อง
คนเสื้อแดงเฝ้ารอตรงนี้มา 3 ปี ตอนนี้เดินมาถึงแล้วแต่อยู่ดีๆ จะมานิรโทษกรรมทำให้ทุกอย่างเป็นศูนย์ และคนตรงกลางก็ไม่เอาด้วย ทำให้เกิดการออกมาของคนจำนวนมากที่ไม่ใช่คนพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลจึงต้องถอย
ถ้าม็อบยังไม่หยุดใครจะได้-เสีย
วันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา คือจุดสูงสุดของการชุมนุม ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ 1.ประกาศชัยชนะ และ 2.ไปต่อ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เลือกจะเดินต่อ
ผลที่เกิดขึ้น ในด้านของพรรคเพื่อไทยทำให้ฐานของมวลชนที่เคยสับสนต่อพรรคเพื่อไทยเรื่องร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอย เลิกตั้งคำถามแล้วกลับมาปกป้องรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งของเขา
โดยสรุปอาจพูดได้ว่าเหมือนพรรคประชาธิปัตย์มาช่วยพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำ เพราะเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนไปล้มระบอบทักษิณ คนเสื้อแดงที่ตั้งคำถามรัฐบาลก็มารวมกันเพื่อปกป้อง
และตอนนี้ไม่มีปัญหาเฉพาะหน้าแล้วด้วย เนื่องจากร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมตกไปแล้ว การถูกคว่ำครั้งนี้ในทางการเมืองจบไปแล้ว
ถ้านำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกลับมาใหม่หลังครบ 180 วัน คิดว่าประชาชนจะออกมาชุมนุมมากกว่านี้ รัฐบาลจะพังลงอย่างแท้จริง เชื่อว่ารัฐบาลมองออกจึงจะไม่นำเข้ามาอีกแน่นอน
ดังนั้น เรื่องร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอในการชุมนุมต่อ พรรคประชาธิปัตย์จึงเดินหน้าเรื่องระบอบทักษิณ
ส.ส.ประชาธิปัตย์บางคนลาออกมาเดินเกมนอกสภาเต็มรูปแบบ
คล้ายกับการทุบหม้อข้าวก่อนเข้าตีเมือง ทำให้คล่องตัว ต้องการให้เป็นเรื่องตัวบุคคลไม่ใช่พรรค แต่ก็จะมีผลเสียที่พรรคประชาธิปัตย์เองก็ต้องตอบคำถามนี้ในอนาคต และงบประมาณที่ต้องเสียสำหรับการเลือกตั้งซ่อมใครจะรับผิดชอบ
ไม่ได้บอกว่าผิดหรือถูกที่ลาออกแต่พรรคประชาธิปัตย์จะถูกตั้งคำถาม ถ้าส่งคนลงแข่งก็จะถูกตั้งคำถามอีกว่าแล้วลาออกทำไม แต่ถ้าไม่ส่งลงแข่งก็จะเสียที่นั่งไปอีก 8 ที่ ซึ่งเป็นประเด็นที่เขาต้องแก้
เมื่อเปลี่ยนมาเป็นเกมโค่นระบอบทักษิณ จะสร้างความได้เปรียบหรือไม่
ความจริงคะแนนนิยมของพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ในรอบหลายปีที่ผ่านมาไม่เคยมีครั้งใดที่พรรคประชาธิปัตย์จะมีคะแนนเบียดกับพรรคเพื่อไทยมากขนาดนี้
สูสีกันขนาดที่ว่าถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 12-13 พ.ย.เป็นต้น น่าคิดเหมือนกันว่าพรรคเพื่อไทยยังจะชนะการเลือกตั้งอยู่หรือไม่
เพราะคนที่ออกมาคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมไม่ได้มีเฉพาะคนที่อยู่ตรงกลาง คนที่เป็นแนวร่วมของพรรคเพื่อไทยจำนวนมากก็เปลี่ยนข้างทันที นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับพรรคเพื่อไทยเพราะตัดสินใจผิดทางการเมือง
คำถามต่อมาคือถ้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ คะแนนนิยมที่ขึ้นมาสูสีแล้วจะเป็นอย่างไรต่อก็คงต้องติดตามกันต่อไป แต่คนตรงกลางน่าจะไม่ชอบอะไรที่สุดโต่ง
และคนตรงกลางที่ออกมาส่วนใหญ่เพราะต้องการคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม คนตรงกลางจำนวนมากก็อาจไม่ไปต่อ แต่แน่นอนว่าคนจำนวนไม่น้อยอาจไปต่อเพราะว่าจุด ติดแล้ว
จุดที่เป็นตัวตัดสินจริงๆ คือการเลือกตั้งครั้งหน้าว่าใครจะชนะการเลือกตั้ง สองพรรคต้องคำนึงว่าการเมืองระบอบประชาธิปไตยคือการเอาชนะใจประชาชน ไม่ใช่แค่เอาชนะใจมวลชนตัวเอง
พ.ต.ท.ทักษิณและรัฐบาลเคยประเมินผิดเรื่องนิรโทษกรรม ตอนนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประเมินผิดหรือไม่ที่เดินเกมโค่นระบอบทักษิณ
อาจตั้งคำถามได้ว่าที่ยังไม่ลงเป็นเพราะไม่ได้ต้องการล้มร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเท่านั้นมาตั้งแต่แรกอยู่แล้วหรือไม่ อาจเป็นระบอบทักษิณมาตั้งแต่ต้นก็ได้ การนิรโทษกรรมเป็นเพียงเรื่องหนึ่ง
ดังนั้น บอกได้ไม่ถนัดนักว่าพรรคประชาธิปัตย์เดินผิดหรือเปล่า แต่จุดสำคัญมากคือการประเมินเสียงตอบรับจากคน ตรงกลาง
แต่อย่างน้อยวิธีการที่ใช้ยังเป็นวิถีทางที่เรียกว่าเปิดรัฐธรรมนูญสู้ ถ้าเทียบกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิป ไตยที่ยึดทำเนียบ ชุมนุมในสนามบิน การเข้าชื่อถอดถอนส.ส.อย่างน้อยก็เป็นการสู้ในกติกา
ประเด็นการแก้ไขที่มาส.ว.กับการซักฟอก จะแรงพอปิดเกมรัฐบาลหรือไม่
การที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้มาตรการทางรัฐธรรมนูญ กระบวนการกลไกต่างๆ คู่ขนาน ไม่ว่าจะเป็นการถอดถอนส.ส. หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ
การอภิปรายฯ อาจมีเจตนาอื่นด้วยก็ได้ เช่น รัฐธรรมนูญบัญญัติเป็นหลักไว้ว่าหากมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะยุบสภาไม่ได้ ไม่ทราบว่าประชาธิปัตย์มีเจตนานี้หรือไม่
เพราะรู้ว่าการชุมนุมอย่างเดียวไม่ชนะจึงต้องเดินคู่ขนาน แรงกดดันจะไปอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรอิสระ วันที่ 20 พ.ย.จะวินิจฉัยการแก้ไขที่มา ส.ว.
การจะบอกว่าการแก้ให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คงจะไปลำบาก
เพราะรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มี ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด ไม่เห็นมีปัญหาอะไรกับระบอบประชาธิปไตย ศาลไม่น่าจะไปทางนี้
ที่มีโอกาสมากกว่าคือกระบวนการ เช่น เสียบบัตรแทนกัน แต่ก็ต้องอธิบายเยอะว่ามีผลถึงขนาดทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียหายไปเลยหรือ คำถามคือแล้วถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ คิดว่าลำบาก
ต่อให้ไปถึงขั้นยุบพรรครัฐบาลก็ไม่ล้ม เพราะน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค สามารถไปหาพรรคอื่นสังกัดได้และรัฐบาลอยู่ต่อ เป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยได้สรุปบทเรียนมาแล้ว
จึงเป็นจุดที่เชื่อว่าจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองต่อให้ถึงขั้นยุบพรรคก็ตาม ขณะที่การถอดถอนส.ส.ก็เป็นเรื่องที่ป.ป.ช.ต้องใช้เวลา ไม่ได้จบง่ายๆ
ความยากลำบากของพรรคประชาธิปัตย์ในการนำม็อบต่อจากนี้
การชุมนุมที่คนไทยเรียกว่าปลุกม็อบ พอปลุกมากๆ แล้วถึงจุดหนึ่งไม่ใช่แกนนำควบคุมม็อบ แต่เป็นม็อบมาควบคุมมากกว่า ไม่ว่าสีไหนพอปลุกไปถึงจุดหนึ่งแล้วย่อมลงลำบาก
ยิ่งถ้าเป็นการชุมนุมแบบยืดเยื้อไม่ชนะไม่เลิก ยิ่งปลุกเร้ามาก อารมณ์ของมวลชนที่เข้าร่วมยิ่งรู้สึกมีส่วนร่วมมากเท่าไหร่ ยิ่งยกระดับยิ่งลงยากมากเท่านั้น
สถานการณ์นี้เคยเกิดมาแล้วกับพันธมิตรฯ กับคนเสื้อแดงในปี 2553 และสิ่งนี้กำลังเกิดกับพรรคประชาธิปัตย์ ปรากฏการณ์สำคัญประการหนึ่งคือคนที่เข้ามาร่วมชุมนุมย่อมหมายถึงคนที่อินมาก เร่าร้อนมาก ต้องการเห็นการจบเร็วๆ ทำให้แนวโน้มการชุมนุมลักษณะไม่ชนะไม่เลิกต้องยกระดับไปเรื่อยๆ
สุดท้ายแล้วแกนนำจะถูกกดดันจากสิ่งที่ตัวเองสร้างไว้เอง ซึ่งเป็นข้อที่ยากสำหรับการชุมนุมในประเทศไทย จึงอยากให้สรุปบทเรียนการชุมนุมที่ผ่านๆ มาด้วย
พรรคประชาธิปัตย์คงดูจังหวะที่จะจบแล้วสวยที่สุดสำหรับพรรคของเขา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384846953
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384846953