จดหจก. หรือ บจก. ดีครับ หากรายได้เยอะ

1. หากจดนิติบุคคล  ของที่ซื้อมา ไม่มีบิลซื้อ ภาษีซื้อ ก็ไม่มี  จะำทำบัญชีอย่างไร  
2. ขายของปลีกย่อย ลูกค้า ก็ชาวบ้านทั่วไป  เค้าไม่สนใจเรื่องบิล ทางเราจะเก็บนำส่งแวด อย่างไรไหว เพราะเยอะเกิน
3.  เลือก  หจก. หรือ บจก. ดีครับ   (ไม่สนใจเรื่องเครดิตน่าเชื่อถือ, เน้นความไม่ยุ่งยาก,ทำง่ายสำหรับคนไม่ค่อยรู้เรื่อง)

ขอบพระคุณสำหรับทุกคำตอบครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ดูจากรายได้แล้ว... จดเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา
=> เงินเดือน  ............ คุณก็ยื่นเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา ..... ใช้แบบ ภ.ง.ด.91
=> รายได้จากธุรกิจ .... ก็ยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล .............. ใช้แบบ ภ.ง.ด.50 (ประจำปี)  ภ.ง.ด.51 (ภาษีกลางปี)

กรณีจดเป็นนิติบุคคล ....ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม => ค่าทำบัญชี + ค่าตรวจสอบบัญชี

จากคำถาม :
1. หากจดนิติบุคคล  ของที่ซื้อมา ไม่มีบิลซื้อ ภาษีซื้อ ก็ไม่มี  จะทำบัญชีอย่างไร  

    <> รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ....ต้องจดทะเบียน Vat
    <> กรณีซื้อของมา ไม่มีบิล และ ไม่มี Vat ..... ผลที่ตามมา :-
          - ด้านภาษีนิติบุคคล : ไม่สามารถถือเป็นรายจ่ายได้ (ทำให้เสียภาษีสูงกว่าที่ควร)
          - ด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม : ต้องนำส่ง Vat ขายเต็ม (ไม่มี Vat ซื้อมาหัก )
    <> ข้อแนะนำ :
          - ให้ขอใบกำกับภาษีทุกครั้งที่ซื้อ ( กรณีผู้ขายไม่ได้จด Vat ก็ขอเป็นใบเสร็จรับเงิน )
          - ถ้าผู้ขายไม่มีใบเสร็จ.... คุณต้องทำใบสำคัญจ่ายเงิน และแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขาย (เซ็นชื่อรับรอง)
            เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย/ต้นทุนขาย

2. ขายของปลีกย่อย ลูกค้า ก็ชาวบ้านทั่วไป  เค้าไม่สนใจเรื่องบิล ทางเราจะเก็บนำส่งแวด อย่างไรไหว เพราะเยอะเกิน

    <> ถ้าลักษณะธุรกิจเป็นแบบขายปลีกรายย่อย  สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ....
         และลงรายงานภาษีขาย เป็นรายวันได้ (ยอดรวมยอดเดียวในแต่ละวัน)

3.  เลือก  หจก. หรือ บจก. ดีครับ   (ไม่สนใจเรื่องเครดิตน่าเชื่อถือ, เน้นความไม่ยุ่งยาก,ทำง่ายสำหรับคนไม่ค่อยรู้เรื่อง)
     <> หจก. => ข้อดี    : ขั้นตอนต่างๆ ง่ายกว่า บจก.  ( การประชุม การลงมติ การจ่ายส่วนแบ่งกำไร  ฯลฯ )
                                  : ค่าเซ็นงบการเงิน จะถูกกว่า เพราะ สามารถให้ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) เซ็นได้
                                    (ไม่ต้องให้ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA เซ็น ก็ได้)

                        ข้อเสีย : ต้องรับผิดชอบจำนวนไม่จำกัด (ผู้ที่เป็นหันส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ)

     <> บจก. => ข้อดี    : รับผิดชอบจำกัดเฉพาะค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ
                        ข้อเสีย :  ขั้นตอนต่างๆ (ตามที่กล่าว) ยุ่งยากกว่า หจก.
                                     ค่าเซ็นงบการเงิน สูงกว่า หจก. เนื่องจากต้องให้ CPA เซ็นเท่านั้น

     <> ทั้ง หจก. และ บจก. :-
           - เรื่องภาษี  เสียอัตราเดียวกัน :-

              > กรณีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี เข้าข่ายเป็น SMEs
                 - กำไรสุทธิ  300,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้น  
                 - กำไรสุทธิ ส่วนที่เกิน   300,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท เสียภาษี    15%
                 - กำไรสุทธิ ส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท ขึ้นไป  เสียภาษี  20%

            - เรื่องบัญชี  ใช้มาตรฐานการบัญชีเหมือนกัน....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่