เกริ่น
ศาล คือผู้ดำรงความเป็นกลาง ไม่เลือกข้าง เป็นผู้ตัดสินความขัดแย้ง ข้อพิพาท ที่เกิดขึ้นในสังคม
การตัดสินของศาล ต้องยุติธรรม เป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่แค่คู่ขัดแย้งยอมรับ แต่หมายถึงสังคมโดยรวมก็ยอมรับได้ด้วย
หากเกิดปัญหาการไม่ยอมรับ ศาลย่อมต้องมีเหตุผลสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมจึงตัดสินเช่นนั้น และทำให้เป็นที่ยอมรับได้
ศาลคือผู้สร้างความสงบสุขให้สังคม
แต่ในห้วงระยะเวลาหกเจ็ดปีมานี้ ขบวนการ
"ตุลาการภิวัตน์" ได้กลายเป็นตัวปัญหาของบ้านเมือง
ได้สร้างบรรทัดฐานความอยุติธรรมให้เกิดขึ้น ได้สร้างความขัดแย้งแตกแยกให้ฝังลึกในบ้านเมือง
ตัดสินเรื่องราวหลายเรื่องหลายคดีไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ส่อพฤติกรรมลำเอียงเลือกข้าง
และที่สำคัญ คือไม่สามารถอธิบายเหตุผลให้เป็นที่ยอมรับได้ มีแต่แถไปข้าง ๆ คู ๆ แบบบิดเบือนข้อกฎหมายอย่างไร้ยางอาย
เป็นตัวสร้างปัญหาให้บ้านเมือง เป็นการทำลายหลักยุติธรรม ทำลายความน่าเชื่อถือของศาล ทำให้สังคมขัดแย้งแตกแยกอย่างหนัก
มีแต่อ้างเอาดีเข้าตัวว่า ทุกคนต้องเชื่อศาล ไม่เชื่อศาลแล้วสังคมจะอยู่กันอย่างไร
โดยไม่มีเหตุผลอันสมเหตุสมผลรองรับ ไม่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายให้สังคมยอมรับไ้ด้
ศาลรัฐธรรมนูญเพิกเฉยต่อความผิดส่วนตัว และทำิผิดในเรื่องส่วนรวม
1. เรื่องส่วนตัว
ศาลรัฐธรรมนูญไม่ตรวจสอบ สอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องคลิปการสอบคัดเลือกพนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งที่มีคลิปชัดเจนว่า มีการนำข้อสอบไปให้กันถึงบ้าน เป็นการทุจริตในการสอบคัดเลือก
มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้อง และร่วมกระทำผิด อันเป็นความผิดอาญา (ตามเนื้อหาในคลิป)
แทนที่จะสอบสวนหาผู้กระทำผิด ลงโทษผู้กระทำผิด เปิดสอบคัดเลือกใหม่ ทำให้สังคมเชื่อถือ
ศาลรัฐธรรมนูญกลับแจ้งความเอาผิดผู้นำคลิปมาเผยแพร่ และบอกเพียงว่า เป็นเรื่องไม่จริง เป็นการมุ่งทำลายศาล
ซึ่งเป็นการคุกคามสังคมโดยอ้อม ไม่ให้ใครกล้าวิพากษ์วิจารณ์
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอาเครือญาติมาเป็นเลขานุการส่วนตัว
ได้รับเิงินเดือนแพง ๆ และให้ได้รับเงินเดือนแม้ว่าไม่ได้ปฏิบัติงาน (ไปเรียนต่อ)
อันเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "ตุลาการ"
เมื่อเกิดเป็นประเด็นสาธารณะ ศาลรัฐธรรมนูญก็แถข้าง ๆ คู ๆ ไม่แสดงความรับผิดชอบอะไรในเรื่องที่เกิดขึ้น
ทำเพิกเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำเพิกเฉยเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่เสียหายต่อศาล
วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคนอื่นในเรื่องสภาผัวสภาเมีย จะตัดสินคนอื่นได้อย่างไรล่ะ ?
ในเมื่อตัวเองยังเป็นศาลพ่อศาลลูก
ไม่มีคำตอบอันสมเหตุสมผลจากศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องเหล่านี้
2. เรื่องส่วนรวม
มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. จากเลือกตั้งครึ่ง สรรหาครึ่ง เป็นเลือกตั้งทั้งหมด
ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และศาลรัฐธรรมนูญก็รับเรื่อง และไต่สวน นัดฟังคำวินิจฉัยในวันที่ 20 พ.ย. นี้
แต่ความจริงแล้ว
2.1 ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับเรื่องไว้วินิจฉัย
มาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า
"...เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ..."
ซึ่งตีลังกาอ่านยังไง ก็ตีความตามหลักและความหมายภาษาไทยได้ว่า ผู้ยื่นคำร้องนั้น ต้องยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุด
เพื่อให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกที
คือหมายความว่า หากข้อเท็จจริงมีมูล อัยการก็ยื่นคำร้องต่อไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ
หากข้อเท็จจริงไม่มีมูล อัยการก็ตีเรื่องตกไป
ยิ่งเมื่อดูที่เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ ที่ สสร.2540 ผู้ร่างกฎหมายหมายตรานี้ (มาตรา 63 ใน รธน.40)
ก็ชัดเจนว่า เจตนารมณ์นั้น คือต้องยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น ไม่สามารถยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ตะแบง บิดเบือนกฎหมาย ด้วยการตีความอย่างไร้เหตุผลว่า
สามารถยื่นได้สองทาง คือยื่นผ่านอัยการสูงสุด หรือยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
เป็นการบิดเบือน ตะแบง ตีความกฎหมายเพื่อขยายขอบเขตอำนาจของตัวเองอย่างผิดรัฐธรรมนูญ
เมื่อเกิดเป็นประเด็นสาธารณะในเรื่องการตีความมาตรา 68 ศาลรัฐธรรมนูญก็อ้างข้าง ๆ คู ๆ ว่า
ให้ไปอ่านรัฐธรรมนูญฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษดูสิ เล่นเอาทั้งฮา ทั้งสมเพชกันไปทั้งบ้านทั้งเมือง
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง และทำผิดต่อเนื่อง
สังคมจะเชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร
2.2 เรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. ในวันที่ 20 พ.ย. นี้
เรื่องนี้ ตีลังกาเกลียวห้ารอบดูยังไงก็ไม่ใช่การล้มล้างการปกครอง
จะบอกว่า ที่มาของ ส.ว. จะเป็นการรวบอำนาจ อันเป็นการล้มล้าง มันก็ไม่ใช่
เพราะการที่ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งนี่แหละคือประชาธิปไตยของแท้
การสรรหาจากคนไม่กี่คนต่างหากคือการขัดหลักประชาธิปไตย
ที่จะอ้างว่า การเลือกตั้งจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นสภาผัวสภาเมีย เกิดการรวบดำนาจ
ก็เป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติควบคุมไว้อยู่แล้ว หากใครมีพฤติกรรมอย่างนั้น ก็ดำเนินการไปตามกฎหมายได้
เรื่องผลประโยชน์ เรื่องรวบอำนาจ เรื่องคนใกล้ชิด แม้ไม่ใช่ผัวเมียไม่ใช่เครือญาติ มันก็สามารถเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว
รัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ส.
ทั้งระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ
ก็แก้ไขผ่านและใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ไม่เห็นเป็นการล้มล้างการปกครองแต่อย่างใด
อีกเรื่อง (หากจะหาเรื่องกันจริง ๆ)
คือเรื่องการสอดบัตรแทนกันของ ส.ส.ซีกรัฐบาล ในเรื่องการโหวตลงมติผ่านร่างแก้ไขที่มาของ ส.ว.
เรื่องนี้ ก็ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยว
เป็นเรื่องการทำผิดข้อบังคับ ทำผิดต่อหน้าที่ของ ส.ส. เป็นเรื่องของทางรัฐสภา เป็นเรื่องที่ต้องให้ ปปช. ดำเนินการ
ศาลรัฐธรรมนูญอย่าสะเออะ
ที่สำคัญ การสอดบัตรแทนกันนั้น ชัดเจนว่า ไม่ทำให้ผลการโหวตเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
เพราะคะแนนโหวตเห็นด้วยผ่านร่างแก้ไขที่มาของ ส.ว. มีท่วมท้นสามร้อยกว่าเสียง เกินครึ่งมากมาย
แต่การสอดบัตรแทนกันนั้น มีจำนวนไม่กี่เสียง ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการโหวตโดยรวม
เมื่อยวุ้ย
สรุป
จึงเห็นว่า เรื่องนี้ ศาลรัฐธรรมนูญควรทำงานอย่างตรงไปตรงมา เพื่อลบภาพลักษณ์เสียหายเก่า ๆ
ให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อตัวศาลเอง เพื่อให้สังคมยุติความขัดแย้งแตกแยก เลิกเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ไม่ควรฝืนทำในสิ่งที่ตัวเองไม่มีอำนาจ ไม่ใช่หน้าที่
ส.ส. จะดีจะเลว ส.ว. จะดีจะเลว นักการเมืองจะดีจะเลว
ให้ประชาชนเขาพิจารณา ให้ประชาชนเขาตัดสินใจเอง ศาลรัฐธรรมนูญอย่างทำเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่
ศาลรัฐธรรมนูญอย่ามาทำตัวเป็นเครื่องมือทำลายล้างกันทางการเมือง
ที่ผ่านมาให้ผ่านไป วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญควรตั้งหลักให้มั่น ทำในสิ่งที่ถูกที่ควร
"คนดี" ของสังคมนั้น คือคนที่รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ไม่ใช่คอยกำกับว่าคนอื่นต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ไลค์ไม่ถึงแสน แปลว่าระบอบทักษิณกลั่นแกล้ง จะไปฟ้องปี้เต่ปที่ราชดำเนิน
https://www.facebook.com/trakongkhwan
ราตรีสวัสดิ์ครับ
ศาลรัฐธรรมนูญคือตัวสร้างปัญหาให้บ้านเมือง เพิกเฉยต่อความผิดในเรื่องส่วนตัว และทำผิดในเรื่องต่อส่วนรวม
ศาล คือผู้ดำรงความเป็นกลาง ไม่เลือกข้าง เป็นผู้ตัดสินความขัดแย้ง ข้อพิพาท ที่เกิดขึ้นในสังคม
การตัดสินของศาล ต้องยุติธรรม เป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่แค่คู่ขัดแย้งยอมรับ แต่หมายถึงสังคมโดยรวมก็ยอมรับได้ด้วย
หากเกิดปัญหาการไม่ยอมรับ ศาลย่อมต้องมีเหตุผลสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมจึงตัดสินเช่นนั้น และทำให้เป็นที่ยอมรับได้
ศาลคือผู้สร้างความสงบสุขให้สังคม
แต่ในห้วงระยะเวลาหกเจ็ดปีมานี้ ขบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" ได้กลายเป็นตัวปัญหาของบ้านเมือง
ได้สร้างบรรทัดฐานความอยุติธรรมให้เกิดขึ้น ได้สร้างความขัดแย้งแตกแยกให้ฝังลึกในบ้านเมือง
ตัดสินเรื่องราวหลายเรื่องหลายคดีไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ส่อพฤติกรรมลำเอียงเลือกข้าง
และที่สำคัญ คือไม่สามารถอธิบายเหตุผลให้เป็นที่ยอมรับได้ มีแต่แถไปข้าง ๆ คู ๆ แบบบิดเบือนข้อกฎหมายอย่างไร้ยางอาย
เป็นตัวสร้างปัญหาให้บ้านเมือง เป็นการทำลายหลักยุติธรรม ทำลายความน่าเชื่อถือของศาล ทำให้สังคมขัดแย้งแตกแยกอย่างหนัก
มีแต่อ้างเอาดีเข้าตัวว่า ทุกคนต้องเชื่อศาล ไม่เชื่อศาลแล้วสังคมจะอยู่กันอย่างไร
โดยไม่มีเหตุผลอันสมเหตุสมผลรองรับ ไม่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายให้สังคมยอมรับไ้ด้
ศาลรัฐธรรมนูญเพิกเฉยต่อความผิดส่วนตัว และทำิผิดในเรื่องส่วนรวม
1. เรื่องส่วนตัว
ศาลรัฐธรรมนูญไม่ตรวจสอบ สอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องคลิปการสอบคัดเลือกพนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งที่มีคลิปชัดเจนว่า มีการนำข้อสอบไปให้กันถึงบ้าน เป็นการทุจริตในการสอบคัดเลือก
มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้อง และร่วมกระทำผิด อันเป็นความผิดอาญา (ตามเนื้อหาในคลิป)
แทนที่จะสอบสวนหาผู้กระทำผิด ลงโทษผู้กระทำผิด เปิดสอบคัดเลือกใหม่ ทำให้สังคมเชื่อถือ
ศาลรัฐธรรมนูญกลับแจ้งความเอาผิดผู้นำคลิปมาเผยแพร่ และบอกเพียงว่า เป็นเรื่องไม่จริง เป็นการมุ่งทำลายศาล
ซึ่งเป็นการคุกคามสังคมโดยอ้อม ไม่ให้ใครกล้าวิพากษ์วิจารณ์
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอาเครือญาติมาเป็นเลขานุการส่วนตัว
ได้รับเิงินเดือนแพง ๆ และให้ได้รับเงินเดือนแม้ว่าไม่ได้ปฏิบัติงาน (ไปเรียนต่อ)
อันเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "ตุลาการ"
เมื่อเกิดเป็นประเด็นสาธารณะ ศาลรัฐธรรมนูญก็แถข้าง ๆ คู ๆ ไม่แสดงความรับผิดชอบอะไรในเรื่องที่เกิดขึ้น
ทำเพิกเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำเพิกเฉยเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่เสียหายต่อศาล
วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคนอื่นในเรื่องสภาผัวสภาเมีย จะตัดสินคนอื่นได้อย่างไรล่ะ ?
ในเมื่อตัวเองยังเป็นศาลพ่อศาลลูก
ไม่มีคำตอบอันสมเหตุสมผลจากศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องเหล่านี้
2. เรื่องส่วนรวม
มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. จากเลือกตั้งครึ่ง สรรหาครึ่ง เป็นเลือกตั้งทั้งหมด
ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และศาลรัฐธรรมนูญก็รับเรื่อง และไต่สวน นัดฟังคำวินิจฉัยในวันที่ 20 พ.ย. นี้
แต่ความจริงแล้ว
2.1 ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับเรื่องไว้วินิจฉัย
มาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "...เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ..."
ซึ่งตีลังกาอ่านยังไง ก็ตีความตามหลักและความหมายภาษาไทยได้ว่า ผู้ยื่นคำร้องนั้น ต้องยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุด
เพื่อให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกที
คือหมายความว่า หากข้อเท็จจริงมีมูล อัยการก็ยื่นคำร้องต่อไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ
หากข้อเท็จจริงไม่มีมูล อัยการก็ตีเรื่องตกไป
ยิ่งเมื่อดูที่เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ ที่ สสร.2540 ผู้ร่างกฎหมายหมายตรานี้ (มาตรา 63 ใน รธน.40)
ก็ชัดเจนว่า เจตนารมณ์นั้น คือต้องยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น ไม่สามารถยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ตะแบง บิดเบือนกฎหมาย ด้วยการตีความอย่างไร้เหตุผลว่า
สามารถยื่นได้สองทาง คือยื่นผ่านอัยการสูงสุด หรือยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
เป็นการบิดเบือน ตะแบง ตีความกฎหมายเพื่อขยายขอบเขตอำนาจของตัวเองอย่างผิดรัฐธรรมนูญ
เมื่อเกิดเป็นประเด็นสาธารณะในเรื่องการตีความมาตรา 68 ศาลรัฐธรรมนูญก็อ้างข้าง ๆ คู ๆ ว่า
ให้ไปอ่านรัฐธรรมนูญฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษดูสิ เล่นเอาทั้งฮา ทั้งสมเพชกันไปทั้งบ้านทั้งเมือง
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง และทำผิดต่อเนื่อง
สังคมจะเชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร
2.2 เรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. ในวันที่ 20 พ.ย. นี้
เรื่องนี้ ตีลังกาเกลียวห้ารอบดูยังไงก็ไม่ใช่การล้มล้างการปกครอง
จะบอกว่า ที่มาของ ส.ว. จะเป็นการรวบอำนาจ อันเป็นการล้มล้าง มันก็ไม่ใช่
เพราะการที่ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งนี่แหละคือประชาธิปไตยของแท้
การสรรหาจากคนไม่กี่คนต่างหากคือการขัดหลักประชาธิปไตย
ที่จะอ้างว่า การเลือกตั้งจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นสภาผัวสภาเมีย เกิดการรวบดำนาจ
ก็เป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติควบคุมไว้อยู่แล้ว หากใครมีพฤติกรรมอย่างนั้น ก็ดำเนินการไปตามกฎหมายได้
เรื่องผลประโยชน์ เรื่องรวบอำนาจ เรื่องคนใกล้ชิด แม้ไม่ใช่ผัวเมียไม่ใช่เครือญาติ มันก็สามารถเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว
รัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ส.
ทั้งระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ
ก็แก้ไขผ่านและใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ไม่เห็นเป็นการล้มล้างการปกครองแต่อย่างใด
อีกเรื่อง (หากจะหาเรื่องกันจริง ๆ)
คือเรื่องการสอดบัตรแทนกันของ ส.ส.ซีกรัฐบาล ในเรื่องการโหวตลงมติผ่านร่างแก้ไขที่มาของ ส.ว.
เรื่องนี้ ก็ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยว
เป็นเรื่องการทำผิดข้อบังคับ ทำผิดต่อหน้าที่ของ ส.ส. เป็นเรื่องของทางรัฐสภา เป็นเรื่องที่ต้องให้ ปปช. ดำเนินการ
ศาลรัฐธรรมนูญอย่าสะเออะ
ที่สำคัญ การสอดบัตรแทนกันนั้น ชัดเจนว่า ไม่ทำให้ผลการโหวตเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
เพราะคะแนนโหวตเห็นด้วยผ่านร่างแก้ไขที่มาของ ส.ว. มีท่วมท้นสามร้อยกว่าเสียง เกินครึ่งมากมาย
แต่การสอดบัตรแทนกันนั้น มีจำนวนไม่กี่เสียง ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการโหวตโดยรวม
เมื่อยวุ้ย
สรุป
จึงเห็นว่า เรื่องนี้ ศาลรัฐธรรมนูญควรทำงานอย่างตรงไปตรงมา เพื่อลบภาพลักษณ์เสียหายเก่า ๆ
ให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อตัวศาลเอง เพื่อให้สังคมยุติความขัดแย้งแตกแยก เลิกเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ไม่ควรฝืนทำในสิ่งที่ตัวเองไม่มีอำนาจ ไม่ใช่หน้าที่
ส.ส. จะดีจะเลว ส.ว. จะดีจะเลว นักการเมืองจะดีจะเลว
ให้ประชาชนเขาพิจารณา ให้ประชาชนเขาตัดสินใจเอง ศาลรัฐธรรมนูญอย่างทำเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่
ศาลรัฐธรรมนูญอย่ามาทำตัวเป็นเครื่องมือทำลายล้างกันทางการเมือง
ที่ผ่านมาให้ผ่านไป วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญควรตั้งหลักให้มั่น ทำในสิ่งที่ถูกที่ควร
"คนดี" ของสังคมนั้น คือคนที่รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ไม่ใช่คอยกำกับว่าคนอื่นต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ราตรีสวัสดิ์ครับ