“นรินทร์” ขวางบิณฑบาตรอีเว้นท์ ยันไม่ต้องเปลี่ยนวิถีคนน่านเพื่อนักท่องเที่ยว
นรินทร์ เหล่าอารยะ ในฐานะนายกพุทธสมาคมจังหวัดน่าน ขวางผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง เสนอจัดอีเว้นท์พระทุกวันเสาร์ ให้เดินบิณฑบาตรหน้าวัดภูมินทร์ ยันไม่ใช่ฮีตฮอยของคนเมืองน่าน อย่าทำให้น่านเป็นเหมือนปาย ชี้เลียนแบบหลวงพระบาง ไม่ใช่ทางที่ถูก หากดื้อขวางไม่สำเร็จประกาศลาออก นายกฯพุทธ ทันที
ที่มา มีความเห็นของคนน่านด้วย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152010365219598&set=a.377106604597.153926.228430374597&type=1&relevant_count=1
เนื้อข่าวยาวมาก คลิกอ่านเองนะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผู้สื่อข่าว “ถิ่นน่าน” รายงานเหตุการใช้อำนาจของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เสนอการจัดระเบียบการบิณฑบาตรของพระสงฆ์ จนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง วัตรปฏิบัติให้หมู่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนคนเมืองน่าน เกิดขึ้นในการประชุม สำนักพุทธสมาคมจังหวัดน่าน วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง โดยมี นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ในฐานะ นายกพุทธสมาคมจังหวัดน่าน เป็นประธานในการประชุม
โดยในการประชุมมีมาเสนอวาระจรในที่ประชุมพุทธสมาคม ถึงเรื่องขอให้พิจารณาส่งเรื่องให้คณะสงฆ์จัดระเบียบการบิณฑบาตร ให้สวยงามและเหมาะสม เอื้อต่อนักท่องเที่ยว โดยจากนี้ไปทุกวันเสาร์ขอให้พระสงฆ์มาที่วิหารวัดภูมินทร์ทุกวันเสาร์ โดยปิดถนนตั้งแต่สี่แยกศรีพันต้นถึงข่วงเมือง โดยทหารจะเป็นผู้รับ-ส่งพระเณร เพื่อควรสวยงาม เป็นการจัดระเบียบ โดยให้เหตุผลถึง ปัญหาความสวยงามไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ของพระสงฆ์บางองค์เข้าไปตามบ้าน เข้าไปตามตลาดทำให้เกิดภาพที่ไม่สวยงามน่ามอง
ในที่ประชุมได้มีการอภิปราย ของผู้เข้าร่วมประชุม โดยทุกเสียงเห็นด้วยกับคำขอดังกล่าว แต่ประธานในที่ประชุม คือ นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกพุทธสมาคม ได้แสดงความคิดเห็นและอธิบาย โดยเห็นแย้งกับที่ประชุมและไม่เห็นด้วยกับคำขอดังกล่าว และในที่สุดที่ประชุมได้มีมติให้นำเรื่องเข้าหารือกับคณะสงฆ์ ซึ่งจะมีการประชุมคณะสงฆ์ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ที่วัดพญาภู อ.เมืองน่าน ซึ่งผลเป็นประการใด คงให้เป็นไปตามนั้น
ผู้สื่อข่าว สอบถามไปยัง นรินทร์ เหล่าอารยะ นายก อบจ.น่าน ในฐานะนายกพุทธสมาคมจังหวัดน่าน ซึ่งอธิบายว่า “ผมไม่เห็นด้วยกับคำเสนอขอจัดระเบียบพระสงฆ์ และจะให้มีการนำพระสงฆ์ไปบิณบาตรหน้าวัดภูมินทร์ เพราะวันที่ประชุม เขาให้เหตุผลว่าไปเห็นพระบางรูป เข้าไปกดออดที่บ้านของคน แล้วเข้าไปรับบาตร ไปเห็นพระเดินเข้าไปรับบาตรถึงแผงแม่ค้าในตลาด เป็นภาพที่ดูไม่ดี ซึ่งก็ได้อธิบายไปถึงเรื่องของสงฆ์ก็ต้องปฏิบัติไปตามกิจของสงฆ์ เพียงเพราะว่าตาคุณไปเห็นสงฆ์ทำในสิ่งที่คุณไม่คุ้นเคย ก็จะไปจัดระเบียบสงฆ์ มันไม่ถูกต้อง บางทีเห็นพระไปอุ้มบาตร เดินไปในตลาดบิณฑบาตรแม่ค้า บางครั้งก็เป็นการปวารณาตัวของแม่ค้า ที่ไม่สะดวกที่จะต้องหยุดขายของ แล้วเดินออกไปใส่บาตรที่ถนน เขาก็ปวารณาตัวนิมนต์ เหมือนคนเฒ่าคนแก่ ลุกจากเตียง ลุกจากเก้าอี้เข็นไม่ได้ ก็จะปวารณานิมนต์พระที่เดินผ่านมาหน้าบ้าน ให้กดออด มีคนมาเปิดประตู แล้วให้เข้าไปรับบาตร บางคนเห็นก็มองว่าพระไปกดออดขอข้าว ซึ่งในพุทธวินัยบัญญัติไว้ให้สามารถกระทำได้ เป็นการปวารณาให้ปัจจัยสี่ อาหารที่ฉันท์ คือปัจจัยสี่ การบิณบาตรไปโปรดสัตว์ เป็นกิจที่ต้องปฏิบัติ ไม่ใช่กิจที่ควรปฏิบัติ แล้วตาเนื้อของคนธรรมดาถือศิล 5 ไปมองว่าพระไปขอ ก็จะไปจัดระเบียบ พระซึ่งถือศิล 227 ได้อย่างไร”
นายกพุทธสมาคม กล่าวต่อไปว่า “ผมเห็นแย้งว่าในพระธรรมวินัย การบิณฑบาตรไม่ได้เอื้อต่อนักท่องเที่ยว ไม่ได้เป็นการที่ต้องออกไปอีเว้นท์ หรือการจัดการแสดง เป็นการโปรดสัตว์ให้คนได้มีโอกาสได้ให้ทาน เป็นสังฆทาน ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ทราบว่าใครจะมาใส่บาตร หรือรับบาตร เป็นความบังเอิญที่เหมาะเจาะเป็นอานิสงฆ์แห่งสังฆทาน พระพุทธเจ้าปฏิบัติก่อนในการโปรดสัตว์ การที่พระจะบิณฑบาตรเส้นทางไหนก็แล้วแต่พระ ไม่ใช่ไปจัดระเบียบพระให้ออกมาจากวัดภูมินทร์ แต่ที่สำคัญที่สุด เสนอเป็นวาระจร ในที่ประชุมไม่มีเอกสารในมือ เมื่อสอบถามว่าแนวทางการบิณฑบาตรแบบนี้เอามาจากไหน ท่านก็ตอบว่ามาจากหลวงพระบาง ก็ต้องอธิบายให้ความรู้ว่า หลวงพระบางหรือราชอาณาจักรลาวในสมัยนั้น พระมหากษัตริย์ลาว มาเฝ้าพระเจ้าเชียงใหม่ อยากนิมนต์พระสงฆ์ไปเป็นสังฆราชลาว เหตุการนี้เกิดมากว่า 500 ปี ลาวก่อนนั้นไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ นับถือผี พิธีกรรมของหลวง ก็ต้องมีการบวงสรวงผี เซ่นไหว้ ปรากฎว่า พระบิดาของพระเจ้าชัยเชษฐาธิราช องค์มหาราชของลาว ได้มาเฝ้าพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำว่า ให้ไปนิมนต์เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง ใต้คุ้งน้ำเมืองน่าน พระเจ้าลาวก็มานิมนต์เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง ซึ่งปัจจุบัน ก็เป็นวัดศรีบุญเรืองของเรานั่นเอง ไปเป็นสมเด็จพระสังฆราชของลาว ไปถึงท่านก็ให้ทำลายหอผี ก่อสร้างวัดหลวงขึ้นมา เวลาจะทำรัฐพิธี ราชพิธี ทุกอย่างก็ทำกันในวัดหลวง แล้วกระจายการนับถือศาสนาพุทธไปทั่วแผ่นดินลาว โปรดให้มีการบิณฑบาตรโปรดสัตว์ โปรดพสกนิกร เป็นเส้นออกจากวัดหลวง ยึดถือมา 500 ปีจนถึงปัจจุบัน เราไปเห็นก็มองว่าอลังการณ์งานสร้าง แต่พุทธศาสนาไทย ตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งราชฑูต มาเผยแพร่ที่นครศรีธรรมราช นครปฐม นานกว่าพันปี แล้วเขาเป็นลูก เราเป็นพ่อ เพราะเขานิมนต์พระของเราไปเป็นสังฆราช เราจะไปเลียนแบบเขา ที่พูดออกมามีหลักฐานยืนยันที่หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยืนยันชัดเจนว่าศาสนาพุทธของหลวงพระบาง จริงๆ แล้วมาจากไทยเรานี่เอง แม่วัวจะไปดูดนมลูกวัวให้มันเป็นไปตามพุทธทำนาย คนไม่รู้มาเปลี่ยนแปลงบ้านเรา หลายคนบอกว่า อย่าทำน่านให้เหมือนปายเหตุการณ์นี้ กำลังจะทำให้น่าน เปลี่ยนเป็นเหมือนปาย ผู้หลักผู้ใหญ่ตาเห็น ใจไม่บริสุทธิ์ ก็เลยคิดถึงความไม่บริสุทธิ์ ควรคิดในแง่ดีก่อน แล้วค่อยมาเปลี่ยนแปลง”
นายกฯ นรินทร์ กล่าวต่อไปว่า “ถามว่าคุณถือศิล 5 พระสงฆ์ถือศิล 227 ถ้าวันนั้นที่ประชุม เกิดมีมติรับไป เชื่อว่าจะเกิดความเดือดร้อนรุนแรงแก่คณะสงฆ์ ที่ประชุมเมื่อมีการเสนอ ไม่มีใครแย้ง มีแต่เห็นชอบหมดพอได้อธิบายในฐานะนายกพุทธสมาคม ซึ่งได้อภิปรายเป็นคนสุดท้าย จึงได้เล่าเรื่องนี้ให้รับฟัง ที่ประชุมจึงมีมติให้ไปหารือกับคณะสงฆ์ ซึ่งคงทราบผลเร็วๆ นี้ ถ้าทุกคนยังยืนยันเอาใจผู้หลักผู้ใหญ่ ผมก็คงต้องลาออกจากนายกพุทธสมาคมจังหวัดน่าน ต้องรับผิดชอบคำพูดตัวเอง ถ้าเป็นแล้วปกป้องสงฆ์ไม่ได้ ก็คงไม่เป็น ขอย้ำครับว่า การบิณบาตรเป็นกิจของสงฆ์ เป็นพุทธวินัย ไม่ใช่เอาการบิณฑบาตรเป็นการแสดง งานอีเว้นท์เอาใจนักท่องเที่ยว ถ้าอยากเห็นแบบนั้นต้องไปที่สิบสองปันนา ที่เขาเอาพระมาแสดงบนเวทีให้นักท่องเที่ยวชม จะเอาอย่างนั้นหรือ”
“น่าน มีการบิณฑบาตรเป็นชุมชน หมู่บ้าน แยกย่อยเป็นค้อๆ ศรัทธาวัดไหนพระก็บิณฑบาตรบ้านนั้น แต่ละที่เขาปวารณากันไว้ ตกออกตกเสียยึดถือตามวัด ปิ่นโต เช้าเอามาวัด ตกเย็น เณรหรือเด็กวัดเอามาส่งที่บ้าน แล้วเช้าก็เอาปิ่นโตไปวัดอีก เป็นการปวารณากันไว้ ซึ่งเป็นไปตามพุทธวินัย ว่าจะดูแลในปัจจัยที่พระควรได้ เรื่องนี้หากวันพระไปตรงกับวันเสาร์ ศรัทธาญาติโยมจะไปวัด ฟังธรรม ใส่บาตรเจริญภาวนา ให้ทาน บางวัดมีพระรูปเดียว บางวัดมีพระ 2 รูป หากขนกันมาวัดภูมินทร์วันเสาร์ ญาติโยมก็ไม่ได้ปฏิบัติกิจของพุทธศานิกชน สงฆ์ก็ไม่ได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ แม่เรา พ่อเรา ยายเรา บางท่านลุกไปไกลไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น ท่านทำบุญใส่บาตรทุกวัน เป็นนิจ คือทำทุกวัน วันเสาร์จะให้พ่อเราแม่เรา ยายเรา ไปใส่บาตรที่ไหน ห้ามท่านใส่ ให้ท่านหยุดทำบุญวันเสาร์ เพื่อจะเอาพระสงฆ์ไปแสดงให้นักท่องเที่ยวชมกระนั้นหรือ การทำบุญของพ่อแม่เรา ก็เพื่อจะได้บุญ มีการทำวัตรเช้า วัตรเย็น ทุกวัน จะให้หยุดไม่ได้ทำสักวัน คุณมีสิทธิอะไรไปสั่งเขา นักท่องเที่ยวอยากมาน่าน มาดูวิถีชีวิตของคนน่าน อยากใส่บาตร ก็ไปใส่ตามหมู่บ้าน ตลาด ก็มีใส่ไม่ใช่ไปปรุงแต่งให้เขา ถามเขาหรือยังว่าอยากจะได้ชมสิ่งปรุงแต่ง หรืออยากดูแบบเดิมๆ ทำไมต้องมาเปลี่ยนฮีตฮอย วิถีปฏิบัติของเราเพื่อนักท่องเที่ยว” นายกพุทธสมาคมจังหวัดน่าน กล่าวในท้ายสุด
ปล.อยากให้น่านคงวัฒนธรรมเอาไว้ค่ะ อย่าให้เหมือนปายหรือเชียงคานเลย นักท่องเที่ยวมาน่านก็เพราะความเป็นน่าน จะไปทำเลียนแบบวัฒนธรรมที่อื่นทำไม
“นรินทร์” ขวางบิณฑบาตรอีเว้นท์ ยันไม่ต้องเปลี่ยนวิถีคนน่านเพื่อนักท่องเที่ยว
นรินทร์ เหล่าอารยะ ในฐานะนายกพุทธสมาคมจังหวัดน่าน ขวางผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง เสนอจัดอีเว้นท์พระทุกวันเสาร์ ให้เดินบิณฑบาตรหน้าวัดภูมินทร์ ยันไม่ใช่ฮีตฮอยของคนเมืองน่าน อย่าทำให้น่านเป็นเหมือนปาย ชี้เลียนแบบหลวงพระบาง ไม่ใช่ทางที่ถูก หากดื้อขวางไม่สำเร็จประกาศลาออก นายกฯพุทธ ทันที
ที่มา มีความเห็นของคนน่านด้วย https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152010365219598&set=a.377106604597.153926.228430374597&type=1&relevant_count=1
เนื้อข่าวยาวมาก คลิกอ่านเองนะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปล.อยากให้น่านคงวัฒนธรรมเอาไว้ค่ะ อย่าให้เหมือนปายหรือเชียงคานเลย นักท่องเที่ยวมาน่านก็เพราะความเป็นน่าน จะไปทำเลียนแบบวัฒนธรรมที่อื่นทำไม