การออกมาชุมนุมประท้วงคัดค้านของคนกรุงในรอบนี้ แม้ว่าจะมีให้เห็นไม่บ่อยนักในช่วง 7 ปี หลังรัฐประหารปี 2549 แต่ก็ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ประท้วงในเกาะฮ่องกงเมื่อปี 1973
…เหตุการณ์ประท้วงดังกล่าว มีชื่อว่า Godber’s Corruption
ในช่วงทศวรรษที่ 60-70 ฮ่องกงเต็มไปด้วยปัญหาการคอร์รัปชัน โดยเฉพาะในวงการสีกากีแล้ว ว่ากันว่าตำรวจฮ่องกงยุคนั้นเลวไม่แพ้ตำรวจชาติใดในโลก
Peter Fitzroy Godber เป็นอดีตอธิบดีกรมตำรวจของเกาะฮ่องกง (Chief Superintendent Police) ในช่วงที่ฮ่องกงยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่
กรณีของ Godber พบว่า มีการฉ้อฉลทุจริตกินสินบนและยักย้ายถ่ายโอนเงินหลวงไป 4.3 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือราวๆ 600,000 ดอลลาร์
ต่อมาเงินก้อนนี้ถูกตรวจสอบพบว่าได้มาโดยมิชอบซึ่ง Godber ก็ไม่สามารถอธิบายที่มาของเงินก้อนนี้ได้ ก่อนที่ตัวเองจะหลบหนีออกนอกประเทศไปตามสูตรของคนขี้โกง
การหลบหนีของ Godber ทำให้คนฮ่องกงรู้สึก “เจ็บใจ” และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องคิดบัญชีสะสางเรื่องคอร์รัปชันกันเสียที
ชาวฮ่องกงรู้สึกว่ากรณี Godber สะท้อนให้เห็นความเหลวแหลกของสังคมที่เต็มไปด้วยข้าราชการขี้ฉ้อ ตำรวจขี้โกง นักธุรกิจที่จ้องแต่จะเอาผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว
ท้ายที่สุดความอึดอัดดังกล่าวได้ทำให้พวกเขาลุกขึ้นมาประท้วงและเดินขบวนภายใต้สโลแกนที่ว่า “Fight corruption, arrest Godber”.
กระแสการเรียกร้องต่อต้านคอร์รัปชันและจับ Godber ให้ได้นั้นดูเหมือนจะ “ดังพอ” ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยให้มีการตั้งหน่วยงาน Independent Commission Against Corruption หรือ ICAC ในปี 1974
Peter Fitzroy Godber จุดเริ่มต้นของการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างจริงจังในฮ่องกง
ICAC หรือ ป.ป.ช. ฮ่องกงได้รับการกล่าวขวัญเป็นอย่างมากในเรื่องความตงฉินและกล้าที่จะปราบคอร์รัปชัน อีกทั้งมีความเป็นอิสระในการทำงานโดยไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมที่ไหน
ICAC ได้ลากเอา Godber มาติดคุกในฮ่องกงจนได้ในปี 1975 และหลังจากนั้น ICAC ก็ไล่ตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐขี้โกงทั้งหลายจนทำให้ตำรวจฮ่องกงถึงกับ “สไตรค์” ไม่ยอมทำงานเพราะถูกตรวจสอบจนไม่กล้าที่จะโกงอีกต่อไป
ใครที่สนใจเรื่องของ ICAC ในภาคบันเทิงสามารถหาชมได้จากซีรีส์ชุด War of Bribery (1996) หรือในชื่อไทยว่า “พยัคฆ์ร้าย ICAC”ซึ่งเป็นซีรีส์ฮ่องกงแอคชันแนวสืบสวนที่ได้พล็อตเรื่องจากคดีคอร์รัปชันต่างๆ ในฮ่องกง
ทุกวันนี้ ICAC กลายเป็นอีกหนึ่งโมเดลของการปฏิรูปการปราบปรามการคอร์รัปชันที่ประสบผลสำเร็จ …แต่ก็ไม่แน่ใจว่า ป.ป.ช. บ้านเราหรือเหล่ากรรมาธิการทั้งหลายในสภาชุดต่างๆ จะไปดูงานที่นี่มาแล้วกันกี่ครั้ง
…เพราะดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของบ้านเราก็ยังไม่แตกต่างจากฮ่องกงเมื่อ 50 ปีก่อนที่จะมี ICAC
ส่วนหนึ่งจากบทความ
http://thaipublica.org/2013/11/amnesty-bill-to-godber-corruption/
ใครอยากรู้ ว่า ICAC เกิดขึ้นมาได้อย่างไร คลิกเลยครับ จากรายการ พื้นที่ชีวิต : ยืนหยัด ต้านคอร์รัปชั่น (07 ส.ค. 2556)
http://clip.thaipbs.or.th/home.php?vid=7453&ap=flase
เมื่อราวทศวรรษที่ 60 ฮ่องกงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นแทรกซึงอยู่ในทุกองค์กร จนเป็นบ่อเกิดปัญหาสังคมมากมาย ในที่สุดเมื่อประชาชนทนไม่ไหวกับความฟอนเฟะของสังคมในขณะนั้น จึงมีเกิดการปฏิรูปสังคมขนานใหญ่ นำไปสู่การก่อตั้งองค์การปราบปรามคอร์รับชั่น ที่รู้จักกันในชื่อ icac ติดตามการเดินทางของ “วรรณสิงห์” ไปยังประเทศฮ่องกง เพื่อเรียนรู้ว่า “หน่วย icac” และประชาชนชาวฮ่องกง ทำอย่างไรจึงกำจัดการคอร์รัปชั่นได้เป็นผลสำเร็จ จนทำให้ฮ่องกงเป็นประเทศที่แทบจะปราศจากการคอร์รัปชั่นเช่นในอดีตที่ผ่านมา ในพื้นที่ชีวิต ชุด คอร์รัปชั่น ในตอน "ยืนหยัด ต้านคอร์รัปชั่น" ติดตามชมรายการ พื้นที่ชีวิต ตอน ยืนหยัด ต้านคอร์รัปชั่น
ประเทศไทยจะเหมือนฮ่องกงหรือไม่
…เหตุการณ์ประท้วงดังกล่าว มีชื่อว่า Godber’s Corruption
ในช่วงทศวรรษที่ 60-70 ฮ่องกงเต็มไปด้วยปัญหาการคอร์รัปชัน โดยเฉพาะในวงการสีกากีแล้ว ว่ากันว่าตำรวจฮ่องกงยุคนั้นเลวไม่แพ้ตำรวจชาติใดในโลก
Peter Fitzroy Godber เป็นอดีตอธิบดีกรมตำรวจของเกาะฮ่องกง (Chief Superintendent Police) ในช่วงที่ฮ่องกงยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่
กรณีของ Godber พบว่า มีการฉ้อฉลทุจริตกินสินบนและยักย้ายถ่ายโอนเงินหลวงไป 4.3 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือราวๆ 600,000 ดอลลาร์
ต่อมาเงินก้อนนี้ถูกตรวจสอบพบว่าได้มาโดยมิชอบซึ่ง Godber ก็ไม่สามารถอธิบายที่มาของเงินก้อนนี้ได้ ก่อนที่ตัวเองจะหลบหนีออกนอกประเทศไปตามสูตรของคนขี้โกง
การหลบหนีของ Godber ทำให้คนฮ่องกงรู้สึก “เจ็บใจ” และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องคิดบัญชีสะสางเรื่องคอร์รัปชันกันเสียที
ชาวฮ่องกงรู้สึกว่ากรณี Godber สะท้อนให้เห็นความเหลวแหลกของสังคมที่เต็มไปด้วยข้าราชการขี้ฉ้อ ตำรวจขี้โกง นักธุรกิจที่จ้องแต่จะเอาผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว
ท้ายที่สุดความอึดอัดดังกล่าวได้ทำให้พวกเขาลุกขึ้นมาประท้วงและเดินขบวนภายใต้สโลแกนที่ว่า “Fight corruption, arrest Godber”.
กระแสการเรียกร้องต่อต้านคอร์รัปชันและจับ Godber ให้ได้นั้นดูเหมือนจะ “ดังพอ” ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยให้มีการตั้งหน่วยงาน Independent Commission Against Corruption หรือ ICAC ในปี 1974
Peter Fitzroy Godber จุดเริ่มต้นของการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างจริงจังในฮ่องกง
ICAC หรือ ป.ป.ช. ฮ่องกงได้รับการกล่าวขวัญเป็นอย่างมากในเรื่องความตงฉินและกล้าที่จะปราบคอร์รัปชัน อีกทั้งมีความเป็นอิสระในการทำงานโดยไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมที่ไหน
ICAC ได้ลากเอา Godber มาติดคุกในฮ่องกงจนได้ในปี 1975 และหลังจากนั้น ICAC ก็ไล่ตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐขี้โกงทั้งหลายจนทำให้ตำรวจฮ่องกงถึงกับ “สไตรค์” ไม่ยอมทำงานเพราะถูกตรวจสอบจนไม่กล้าที่จะโกงอีกต่อไป
ใครที่สนใจเรื่องของ ICAC ในภาคบันเทิงสามารถหาชมได้จากซีรีส์ชุด War of Bribery (1996) หรือในชื่อไทยว่า “พยัคฆ์ร้าย ICAC”ซึ่งเป็นซีรีส์ฮ่องกงแอคชันแนวสืบสวนที่ได้พล็อตเรื่องจากคดีคอร์รัปชันต่างๆ ในฮ่องกง
ทุกวันนี้ ICAC กลายเป็นอีกหนึ่งโมเดลของการปฏิรูปการปราบปรามการคอร์รัปชันที่ประสบผลสำเร็จ …แต่ก็ไม่แน่ใจว่า ป.ป.ช. บ้านเราหรือเหล่ากรรมาธิการทั้งหลายในสภาชุดต่างๆ จะไปดูงานที่นี่มาแล้วกันกี่ครั้ง
…เพราะดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของบ้านเราก็ยังไม่แตกต่างจากฮ่องกงเมื่อ 50 ปีก่อนที่จะมี ICAC
ส่วนหนึ่งจากบทความ
http://thaipublica.org/2013/11/amnesty-bill-to-godber-corruption/
ใครอยากรู้ ว่า ICAC เกิดขึ้นมาได้อย่างไร คลิกเลยครับ จากรายการ พื้นที่ชีวิต : ยืนหยัด ต้านคอร์รัปชั่น (07 ส.ค. 2556)
http://clip.thaipbs.or.th/home.php?vid=7453&ap=flase
เมื่อราวทศวรรษที่ 60 ฮ่องกงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นแทรกซึงอยู่ในทุกองค์กร จนเป็นบ่อเกิดปัญหาสังคมมากมาย ในที่สุดเมื่อประชาชนทนไม่ไหวกับความฟอนเฟะของสังคมในขณะนั้น จึงมีเกิดการปฏิรูปสังคมขนานใหญ่ นำไปสู่การก่อตั้งองค์การปราบปรามคอร์รับชั่น ที่รู้จักกันในชื่อ icac ติดตามการเดินทางของ “วรรณสิงห์” ไปยังประเทศฮ่องกง เพื่อเรียนรู้ว่า “หน่วย icac” และประชาชนชาวฮ่องกง ทำอย่างไรจึงกำจัดการคอร์รัปชั่นได้เป็นผลสำเร็จ จนทำให้ฮ่องกงเป็นประเทศที่แทบจะปราศจากการคอร์รัปชั่นเช่นในอดีตที่ผ่านมา ในพื้นที่ชีวิต ชุด คอร์รัปชั่น ในตอน "ยืนหยัด ต้านคอร์รัปชั่น" ติดตามชมรายการ พื้นที่ชีวิต ตอน ยืนหยัด ต้านคอร์รัปชั่น