แฮโรลด์ เมลวิน แอกนิว หนึ่งในสมาชิกคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ของ ทีมที่เปิดยุคของสงครามนิวเคลียร์ได้เสียชีวิตในวันที่ 29 กันยายน 2013 หลังจบเพียงระดับปริญญาตรี แฮโรลด์ เมลวิน แอกนิวได้มีส่วนช่วย ในการตั้งค่าการเริ่มเคลื่อนที่อัตโนมัติ (motion the first controlled ) ควบคุมความเสถียรของปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำงานเกี่ยวกับ ระเบิดปรมาณูและ ร่วมสังเกตการณ์จากภายในเครื่องบินที่ทำการทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิมาในประเทศญี่ปุ่น
http://www.nuclearfiles.org/menu/key-issues/nuclear-weapons/history/prez_policies/truman/truman_events.htm
แอกนิวเดิมเป็นชาวเมืองโคโลลาโด ได้รับการศึกษาสาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยเดนเวอร์ ที่นั่นแอกนิวได้เป็นผู้ขว้างให้กับทีมที่เป็นแชมป์ซอฟท์บอล และได้รับทุนไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยเยลในนิวฮาเวน รัฐคอนเนคติกัต ในช่วงต้น ปี 1942 แอกนิวได้รับตำแหน่ง เป็นผู้ช่วยวิจัยที่ห้องปฏิบัติการทางโลหะวิทยาที่มหาวิทยาลัยชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นที่ๆ ริเริ่มการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แห่งแรกของโลก ภายใต้อัฒจันทร์ของ สนามกีฬา และในวันที่ 2 ธันวาคม ของปีเดียวกันนั้นเอง แอกนิวก็ได้เป็นผู้ร่วมสังเกตุการณ์การเกิดปฏิกิริยา นิวเคลียร์ที่ควบคุมได้เป็นครั้งแรก
งานต่อไปของแอกนิวเริ่มขึ้นในช่วงต้นปี 1943 ก็คือการทำงานร่วมกับทีมเล็กๆในการแยกประกอบชิ้นส่วนเครื่องเร่งอนุภาคที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และจัดเรียงสำหรับการขนส่งไปยังสำนักงานในลอส อาลามอส เมืองนิวเมกซิโก ที่เป็นบ้านใหม่ ของโครงการแมนฮัตตันในการสร้างระเบิดปรมาณูลูกแรก ในทีมนั้นมีนางเบเวอร์ลี่ที่เป็นภรรยาของแอกนิวร่วมอยู่ด้วย โดยแอกนิวได้พบกับภรรยาของเค้าที่โรงเรียนมัธยม และเธอคนนั้นก็ได้มาเป็นเลขาและผู้ช่วยในการจัดการในสำนักงานใหม่นี้อีกด้วย
ในขณะที่การสร้างระเบิดปรมาณูใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ นักฟิสิกส์นาม หลุยส์ อัลวาเรส (เข้าร่วมโครงการลอสอาลามอสในปี 1944) ได้รวบรวมทีมงานที่จะเดินทางเข้าสู่สมรภูมิรบไปพร้อมกับอาวุธปรมาณู แอกนิวเป็นอาสาสมัครกลุ่มแรกที่ร่วมเดินทางไปด้วย โดยในภายหลังแอกนิวได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เขาต้องการที่จะเข้าสู่สงคราม"
http://www.nuclearfiles.org/menu/key-issues/nuclear-weapons/history/prez_policies/truman/truman_events.htm
งานได้เริ่มต้นในช่วงปลายปี 1944 โดยทีมงานใช้เวลาหกเดือนในการพัฒนาและทดสอบการใช้เครื่องมือและขั้นตอนที่จะช่วยให้พวกเขาตรวจสอบการระเบิดของนิวเคลียร์จากเครื่องบินได้ กลุ่มของอัลวาเสรได้ตัดสินใจที่จะใช้ ไมโครโฟนติดกับวงจรที่จะแปลงคลื่นกระแทกของการระเบิดเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถบันทึกไว้ในกล้องที่ติดกับปืนของเครื่องบินแทนที่จะพยายามวัดระดับของรังสีที่ปล่อยออกาหลังจากการระเบิด
แอกนิวและทีมได้เริ่มการเดินทางไปสู่สงครามที่ฐานทัพอากาศแวนโดเวอร์ ในยูทาห์ ที่ฐานทัพไทเนี่ยน ทางเหนือของหมู่เกาะมาเรียอาน่าซึ่งเป็นฐานทัพของอากาศยาน B-29 ที่จะถูกส่งไปเผาเมืองต่างๆของญี่ปุ่นให้ราบเรียบ พวกเค้าจะต้องแต่งตัวด้วย เครื่องแบบทหาร และได้รับการสอนวิธีการวันทยาหัตถ์
ที่เวลา 02:45 ของวันที่ 6 สิงหาคม 1945 เครื่องบิน B-29 กับระเบิดยูเรเนียมเครื่องแรกที่เรียกชื่อว่า อีโนลาเกย์ บินออกจากรันเวย์ของไทเนี่ยนเพื่อบินไปยังเมืองฮิโระชิมะ ในขณะที่เครื่องบิน B-29 ลำที่สองในชื่อว่า เดอะเกรท อาทิสตี้ ได้บินขึ้นในอีกสองนาทีต่อมา โดยในเครื่องบินลำที่สองที่มีลูกเรืออยู่สิบคนรวมถึงนักวิทยาศาสตร์สามคนที่เป็นผู้สังเกตการณ์คือ อัลวาเรส ลอว์เรนซ์ จอห์นสัน และ แอกนิว ณ เวลา 8:15 พลทหารปืนใหญ่นาม เคอร์มิต เบฮานได้เปิดท้องเครื่องบินและหย่อนร่มชูชีพที่มีอุปกรณ์วัดแรงระเบิด ที่ออกแบบมาเพื่อส่งความแรงและระยะเวลาของคลื่นระเบิด แล้วส่งมาที่ตัวรับ สัญญาณบนเครื่องบิน โดยนักวิทย์แต่ละคนจะทำหน้าที่ปรับความถี่ของตัวรับ-ส่งในแต่ละชุด เมื่อระเบิดถูกทิ้งอัลวาเรสไม่สามารถหาความถี่ของเขาเจอ ในขณะที่แอกนิวและจอห์นสันสามารถให้ข้อมูลทั้งหมดของคลื่นกระแทกที่สะท้อนมาจากการระเบิดได้
http://en.wikipedia.org/wiki/File:B-29_Enola_Gay_w_Crews.jpg
http://www.mphpa.org/classic/NEW_PHOTOS/NEW_PHOTOS_01.htm
เมื่องานหลักของเขาประสบความสำเร็จแอกนิวได้นำเอากล้องถ่ายวีดีโอส่วนตัวขนาด 16 มิลลิเมตรออกมาเพื่อบันทึกเมฆรูปเห็ดที่เกิดจากระเปิดปรมาณูนั้น แม้ว่าเครื่องบินเดอะเกรท อาร์เตติส ที่ห่างออกไปห้ากิโลเมตรจะมีกล้องถ่ายภาพนิ่งความเร็วสูงอยู่ แต่ฟิล์มที่อัดไว้อย่างไม่เป็นทางการของแอกนิวก็เป็นภาพเคลื่อนไหวเพียงชิ้นเดียวที่บันทึกการระเบิดฮิโรชิมาไว้ได้ สามวันต่อมาแอกนิวได้ติดตั้งกล้องฟิล์มไว้ที่ปลายกระบอกปืนเครื่องบินที่ปฏิบัติภารกิจเป็นครั้งที่สองในนางาซากิ ภาพเคลื่อนไหวของการทิ้งระเบิดปรมณูลูกที่สองจึงได้รับการบันทึกนั่นเอง
ท้ายสุดแอกนิวก็ได้ส่งฟิล์มม้วนนั้นให้กับสถาบันเพื่อการสงคราม การเปลี่ยนแปลงและสันติภาพ ฮูเวอร์ ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในภายหลังแอกนิวได้บอกว่า "ฉันควรจะเก็บมันไว้จนถึงวันนี้" เขา ตั้งข้อสังเกตต่อมาว่า "ถ้าขายฟิล์มเหล่านั้นบนอีเบย์ เค้าจะกลายเป็นมหาเศรษฐี"
เมื่อสงครามจบลงแอกนิวได้รับ ปริญญาเอกในปี 1949 ในการทำงานภายใต้สาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ที่สถาบันเอนริโก้ เฟอร์มี่ ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก หลังจากนั้นแอกนิวได้กลับมายังลอสอาลามอสและเข้าร่วมโครงการพัฒนาระเบิดไฮโดรเจน และระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ต่อมาแอกนิวได้เป็นผู้จัดการโครงการทดสอบระเบิดบนแนวปะการังบิกินี่ในปี 1954 และกลายมาเป็นผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสอาลามอสในปี 1970
ภาพการทดสอบระเบิดปรมาณูที่แนวปะการัรบบิกินี่
http://www.reals.net/2008/04/15/half-a-century-after-being-subjected-to-more-than-20-nuclear-tests-bikini-atoll-boasts-a-flourishing-coral-reef-%E2%80%93-but-the-coconuts-are-radioactive/
http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-1016157/Coral-flourishing-Bikini-Atoll-nuclear-test-site--humans-driven-away.html
แอกนิวเกษียณตัวเองหลังปี1979 แล้วไปเป็นประธานและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเจนเนอรัลอะตอมมิคซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในซานดิเอโก แคลิฟอร์เนีย จนถึงปี 1985 เขารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ให้กับกองบัญชาการทหารสูงสุดพันธมิตรยุโรป (เป็นหนึ่งในสองของผู้บัญชาการทหารระดับสูงของนาโต)ในต้นปี 1960 และได้เป็นปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของไวท์เฮาส์ในช่วยปี1980 นอกจากนี้เขายังเป็นประธาน และทำหน้าที่ในคณะกรรมการที่ปรึกษาในกลาโหมและเป็นสมาชิกคนหนึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และสถาบันการศึกษาสาขาวิศวกรรม และได้รับรางวัลต่างๆ
ในการสงครามนักวิทยาศาสตร์จะได้รับฉายาว่า “นักรบเย็น” แอกนิวไม่เคยแสดงความเสียใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเขาในโครงการแมนฮัตตัน เขาตั้งข้อสังเกตไว้ในปี 1984 ว่า "ความรู้สึกของฉันที่มีต่อฮิโรชิมา และสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวญี่ปุ่น พวกเขาสมควรได้รับการหลั่งเลือด" แอกนิวสนับสนุนการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในประเทศเวียดนามและประสบความสำเร็จในการต่อต้านสนธิสัญญาห้ามการทดสอบนิวเคลียร์ แม้ว่าเขาจะเคยบอกว่าเขาต้องการให้ผู้นำระดับโลกทุกคน มาเป็นพยานการระเบิดของระเบิดปรมณูในขณะที่ยืนอยู่ในชุดชั้นในเพียงตัวเดียว " พวกเค้าเหล่านั้นจะรู้สึกถึงความร้อนและเข้าใจว่าเค้ากำลังเล่นกับอะไร"
จนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต แอกนิวประสบความสำเร็จในรุ่นอายุของเขาด้วยความภาคภูมิใจ "พวกเราได้นำมาซึ่งการจบสงครามแห่งการทำลายล้างได้อย่างรวดเร็ว และการบำรุงรักษาสันติภาพและในที่สุดก็ได้เห็นประชาธิปไตยมีอยู่ทั่วไปและเป็นสิ่งที่คุณสามารถพึ่งพาได้ "
ปิดท้ายด้วยวีดีโอประกอบการไปเยือนฮิโรีชิม่าของแอกนิว (ช่วงต้นแอกนิวบอกว่าวีดีโอการระเบิดที่ฮิโรชิม่าเค้าเป็นคนถ่ายไว้เองด้วย)
บทความนี้ตีพิมพิ์ในวารสาร Nature 503, 40 (07 November 2013) doi:10.1038/503040a Published online 06 November 2013
บางส่วนผมอาจแปลผิดบ้างนะครับเพราะไม่รู้เรื่องทางการทหารเท่าไรนัก ผิดถูกอย่างไรแจ้งได้ครับ ขอบคุณครับ
Harold Melvin Agnew (1921—2013) นักฟิสิกส์และผู้มีส่วนร่วมในโครงการแมนฮัตตัน
แฮโรลด์ เมลวิน แอกนิว หนึ่งในสมาชิกคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ของ ทีมที่เปิดยุคของสงครามนิวเคลียร์ได้เสียชีวิตในวันที่ 29 กันยายน 2013 หลังจบเพียงระดับปริญญาตรี แฮโรลด์ เมลวิน แอกนิวได้มีส่วนช่วย ในการตั้งค่าการเริ่มเคลื่อนที่อัตโนมัติ (motion the first controlled ) ควบคุมความเสถียรของปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำงานเกี่ยวกับ ระเบิดปรมาณูและ ร่วมสังเกตการณ์จากภายในเครื่องบินที่ทำการทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิมาในประเทศญี่ปุ่น
http://www.nuclearfiles.org/menu/key-issues/nuclear-weapons/history/prez_policies/truman/truman_events.htm
แอกนิวเดิมเป็นชาวเมืองโคโลลาโด ได้รับการศึกษาสาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยเดนเวอร์ ที่นั่นแอกนิวได้เป็นผู้ขว้างให้กับทีมที่เป็นแชมป์ซอฟท์บอล และได้รับทุนไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยเยลในนิวฮาเวน รัฐคอนเนคติกัต ในช่วงต้น ปี 1942 แอกนิวได้รับตำแหน่ง เป็นผู้ช่วยวิจัยที่ห้องปฏิบัติการทางโลหะวิทยาที่มหาวิทยาลัยชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นที่ๆ ริเริ่มการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แห่งแรกของโลก ภายใต้อัฒจันทร์ของ สนามกีฬา และในวันที่ 2 ธันวาคม ของปีเดียวกันนั้นเอง แอกนิวก็ได้เป็นผู้ร่วมสังเกตุการณ์การเกิดปฏิกิริยา นิวเคลียร์ที่ควบคุมได้เป็นครั้งแรก
งานต่อไปของแอกนิวเริ่มขึ้นในช่วงต้นปี 1943 ก็คือการทำงานร่วมกับทีมเล็กๆในการแยกประกอบชิ้นส่วนเครื่องเร่งอนุภาคที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และจัดเรียงสำหรับการขนส่งไปยังสำนักงานในลอส อาลามอส เมืองนิวเมกซิโก ที่เป็นบ้านใหม่ ของโครงการแมนฮัตตันในการสร้างระเบิดปรมาณูลูกแรก ในทีมนั้นมีนางเบเวอร์ลี่ที่เป็นภรรยาของแอกนิวร่วมอยู่ด้วย โดยแอกนิวได้พบกับภรรยาของเค้าที่โรงเรียนมัธยม และเธอคนนั้นก็ได้มาเป็นเลขาและผู้ช่วยในการจัดการในสำนักงานใหม่นี้อีกด้วย
ในขณะที่การสร้างระเบิดปรมาณูใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ นักฟิสิกส์นาม หลุยส์ อัลวาเรส (เข้าร่วมโครงการลอสอาลามอสในปี 1944) ได้รวบรวมทีมงานที่จะเดินทางเข้าสู่สมรภูมิรบไปพร้อมกับอาวุธปรมาณู แอกนิวเป็นอาสาสมัครกลุ่มแรกที่ร่วมเดินทางไปด้วย โดยในภายหลังแอกนิวได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เขาต้องการที่จะเข้าสู่สงคราม"
http://www.nuclearfiles.org/menu/key-issues/nuclear-weapons/history/prez_policies/truman/truman_events.htm
งานได้เริ่มต้นในช่วงปลายปี 1944 โดยทีมงานใช้เวลาหกเดือนในการพัฒนาและทดสอบการใช้เครื่องมือและขั้นตอนที่จะช่วยให้พวกเขาตรวจสอบการระเบิดของนิวเคลียร์จากเครื่องบินได้ กลุ่มของอัลวาเสรได้ตัดสินใจที่จะใช้ ไมโครโฟนติดกับวงจรที่จะแปลงคลื่นกระแทกของการระเบิดเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถบันทึกไว้ในกล้องที่ติดกับปืนของเครื่องบินแทนที่จะพยายามวัดระดับของรังสีที่ปล่อยออกาหลังจากการระเบิด
แอกนิวและทีมได้เริ่มการเดินทางไปสู่สงครามที่ฐานทัพอากาศแวนโดเวอร์ ในยูทาห์ ที่ฐานทัพไทเนี่ยน ทางเหนือของหมู่เกาะมาเรียอาน่าซึ่งเป็นฐานทัพของอากาศยาน B-29 ที่จะถูกส่งไปเผาเมืองต่างๆของญี่ปุ่นให้ราบเรียบ พวกเค้าจะต้องแต่งตัวด้วย เครื่องแบบทหาร และได้รับการสอนวิธีการวันทยาหัตถ์
ที่เวลา 02:45 ของวันที่ 6 สิงหาคม 1945 เครื่องบิน B-29 กับระเบิดยูเรเนียมเครื่องแรกที่เรียกชื่อว่า อีโนลาเกย์ บินออกจากรันเวย์ของไทเนี่ยนเพื่อบินไปยังเมืองฮิโระชิมะ ในขณะที่เครื่องบิน B-29 ลำที่สองในชื่อว่า เดอะเกรท อาทิสตี้ ได้บินขึ้นในอีกสองนาทีต่อมา โดยในเครื่องบินลำที่สองที่มีลูกเรืออยู่สิบคนรวมถึงนักวิทยาศาสตร์สามคนที่เป็นผู้สังเกตการณ์คือ อัลวาเรส ลอว์เรนซ์ จอห์นสัน และ แอกนิว ณ เวลา 8:15 พลทหารปืนใหญ่นาม เคอร์มิต เบฮานได้เปิดท้องเครื่องบินและหย่อนร่มชูชีพที่มีอุปกรณ์วัดแรงระเบิด ที่ออกแบบมาเพื่อส่งความแรงและระยะเวลาของคลื่นระเบิด แล้วส่งมาที่ตัวรับ สัญญาณบนเครื่องบิน โดยนักวิทย์แต่ละคนจะทำหน้าที่ปรับความถี่ของตัวรับ-ส่งในแต่ละชุด เมื่อระเบิดถูกทิ้งอัลวาเรสไม่สามารถหาความถี่ของเขาเจอ ในขณะที่แอกนิวและจอห์นสันสามารถให้ข้อมูลทั้งหมดของคลื่นกระแทกที่สะท้อนมาจากการระเบิดได้
http://en.wikipedia.org/wiki/File:B-29_Enola_Gay_w_Crews.jpg
http://www.mphpa.org/classic/NEW_PHOTOS/NEW_PHOTOS_01.htm
เมื่องานหลักของเขาประสบความสำเร็จแอกนิวได้นำเอากล้องถ่ายวีดีโอส่วนตัวขนาด 16 มิลลิเมตรออกมาเพื่อบันทึกเมฆรูปเห็ดที่เกิดจากระเปิดปรมาณูนั้น แม้ว่าเครื่องบินเดอะเกรท อาร์เตติส ที่ห่างออกไปห้ากิโลเมตรจะมีกล้องถ่ายภาพนิ่งความเร็วสูงอยู่ แต่ฟิล์มที่อัดไว้อย่างไม่เป็นทางการของแอกนิวก็เป็นภาพเคลื่อนไหวเพียงชิ้นเดียวที่บันทึกการระเบิดฮิโรชิมาไว้ได้ สามวันต่อมาแอกนิวได้ติดตั้งกล้องฟิล์มไว้ที่ปลายกระบอกปืนเครื่องบินที่ปฏิบัติภารกิจเป็นครั้งที่สองในนางาซากิ ภาพเคลื่อนไหวของการทิ้งระเบิดปรมณูลูกที่สองจึงได้รับการบันทึกนั่นเอง
ท้ายสุดแอกนิวก็ได้ส่งฟิล์มม้วนนั้นให้กับสถาบันเพื่อการสงคราม การเปลี่ยนแปลงและสันติภาพ ฮูเวอร์ ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในภายหลังแอกนิวได้บอกว่า "ฉันควรจะเก็บมันไว้จนถึงวันนี้" เขา ตั้งข้อสังเกตต่อมาว่า "ถ้าขายฟิล์มเหล่านั้นบนอีเบย์ เค้าจะกลายเป็นมหาเศรษฐี"
เมื่อสงครามจบลงแอกนิวได้รับ ปริญญาเอกในปี 1949 ในการทำงานภายใต้สาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ที่สถาบันเอนริโก้ เฟอร์มี่ ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก หลังจากนั้นแอกนิวได้กลับมายังลอสอาลามอสและเข้าร่วมโครงการพัฒนาระเบิดไฮโดรเจน และระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ต่อมาแอกนิวได้เป็นผู้จัดการโครงการทดสอบระเบิดบนแนวปะการังบิกินี่ในปี 1954 และกลายมาเป็นผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสอาลามอสในปี 1970
ภาพการทดสอบระเบิดปรมาณูที่แนวปะการัรบบิกินี่ http://www.reals.net/2008/04/15/half-a-century-after-being-subjected-to-more-than-20-nuclear-tests-bikini-atoll-boasts-a-flourishing-coral-reef-%E2%80%93-but-the-coconuts-are-radioactive/
http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-1016157/Coral-flourishing-Bikini-Atoll-nuclear-test-site--humans-driven-away.html
แอกนิวเกษียณตัวเองหลังปี1979 แล้วไปเป็นประธานและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเจนเนอรัลอะตอมมิคซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในซานดิเอโก แคลิฟอร์เนีย จนถึงปี 1985 เขารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ให้กับกองบัญชาการทหารสูงสุดพันธมิตรยุโรป (เป็นหนึ่งในสองของผู้บัญชาการทหารระดับสูงของนาโต)ในต้นปี 1960 และได้เป็นปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของไวท์เฮาส์ในช่วยปี1980 นอกจากนี้เขายังเป็นประธาน และทำหน้าที่ในคณะกรรมการที่ปรึกษาในกลาโหมและเป็นสมาชิกคนหนึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และสถาบันการศึกษาสาขาวิศวกรรม และได้รับรางวัลต่างๆ
ในการสงครามนักวิทยาศาสตร์จะได้รับฉายาว่า “นักรบเย็น” แอกนิวไม่เคยแสดงความเสียใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเขาในโครงการแมนฮัตตัน เขาตั้งข้อสังเกตไว้ในปี 1984 ว่า "ความรู้สึกของฉันที่มีต่อฮิโรชิมา และสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวญี่ปุ่น พวกเขาสมควรได้รับการหลั่งเลือด" แอกนิวสนับสนุนการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในประเทศเวียดนามและประสบความสำเร็จในการต่อต้านสนธิสัญญาห้ามการทดสอบนิวเคลียร์ แม้ว่าเขาจะเคยบอกว่าเขาต้องการให้ผู้นำระดับโลกทุกคน มาเป็นพยานการระเบิดของระเบิดปรมณูในขณะที่ยืนอยู่ในชุดชั้นในเพียงตัวเดียว " พวกเค้าเหล่านั้นจะรู้สึกถึงความร้อนและเข้าใจว่าเค้ากำลังเล่นกับอะไร"
จนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต แอกนิวประสบความสำเร็จในรุ่นอายุของเขาด้วยความภาคภูมิใจ "พวกเราได้นำมาซึ่งการจบสงครามแห่งการทำลายล้างได้อย่างรวดเร็ว และการบำรุงรักษาสันติภาพและในที่สุดก็ได้เห็นประชาธิปไตยมีอยู่ทั่วไปและเป็นสิ่งที่คุณสามารถพึ่งพาได้ "
ปิดท้ายด้วยวีดีโอประกอบการไปเยือนฮิโรีชิม่าของแอกนิว (ช่วงต้นแอกนิวบอกว่าวีดีโอการระเบิดที่ฮิโรชิม่าเค้าเป็นคนถ่ายไว้เองด้วย)
บทความนี้ตีพิมพิ์ในวารสาร Nature 503, 40 (07 November 2013) doi:10.1038/503040a Published online 06 November 2013
บางส่วนผมอาจแปลผิดบ้างนะครับเพราะไม่รู้เรื่องทางการทหารเท่าไรนัก ผิดถูกอย่างไรแจ้งได้ครับ ขอบคุณครับ