ที่มาจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1384172169&grpid=00&catid=01&subcatid=0100
สำหรับผู้สนใจที่การหาอ่านแบบละเอียด
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานจากพระราชวังสันติภาพ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับไทยเวลา 16.00 น.)
ผู้พิพากษา นายปีเตอร์ ทอมก้า ประธานองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกขึ้นนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษา เริ่มด้วยการแสดงความเสียใจต่อผู้นำไทย ในกรณีสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นต่อด้วยคำพิพากษา มีเนื้อหาโดยสรุป ดังต่อไปนี้
ศาลสรุปว่า ข้อพิพาทมีความสัมพันธ์ใน 3 แง่ 1.มีข้อพิพาทว่า คำพิพากษาปี 1962 นั้น ได้ตัดสินหรือไม่ได้ตัดสินว่ามีข้อผูกพันเส้นแบ่งเขตแดนในแผนที่ภาคผนวก 1 ให้เป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.จะมีความสัมพันธ์ในกรณีพิพาท แง่ความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณดินแดนกัมพูชาในบทปฏิบัติที่ 2 ของคำพิพากษาปี 1962 ศาลได้พูดว่าเป็นผลที่ตามมาจากข้อบทปฏิบัติที่ 1 ยืนยันว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา และ 3.ข้อพิพาทเรื่องพันธะกรณีของไทย เรื่องการถอนกำลังทหาร เป็นไปตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 โดยคำนึงถึงความเห็นที่ต่างกัน
ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องตีความข้อบทปฏิบัติการที่ 2 และผลของกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 ภายในขอบเขตนี้ กัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องของกัมพูชา ด้วยเหตุข้างต้น ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของสองฝ่าย เรื่องในมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีขอบเขตอำนาจในการตีความ คำพิพากษาปี 1962 จึงรับคำร้องไว้พิจารณา" ผู้พิพากษา กล่าว
ไทยได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของคู่ความ เมื่อเดือนมิถุนายน 1962 และช่วงที่มีการอ่านคำพิพาษาเดือนธันวาคม 2008 ไทยได้กล่าวว่าพฤิตกรรมดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำพิพากษา แต่ไม่ได้มีส่วนผูกพันคู่ความการตีความซึ่งอาจกระทบต่อพฤติกรรมต่อๆไป อาจดูได้จากสนธิสัญญากรุงเวียนนา คำพิพากษามีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล หรือการวินิจฉัยว่าศาลพิจารณาอะไร ไม่ได้อยู่ที่ความเข้าใจของคู่ความ และขอบเขตและความหมายนั้นไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของคู่ความในภายหลังในการตีความนั้น ศาลจะไม่เข้าไปพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ในประเด็นนั้น ศาลเห็นว่าคำพิพากษาเมื่อปี 1962 (พ.ศ.2505) นั้นมีลักษณะ 3 ประการที่เห็นได้ชัด
คำตัดสินศาลโลกกรณีเขาเพราะวิหาร ฉบับเต็ม(แปลไทย)
สำหรับผู้สนใจที่การหาอ่านแบบละเอียด
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานจากพระราชวังสันติภาพ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับไทยเวลา 16.00 น.)
ผู้พิพากษา นายปีเตอร์ ทอมก้า ประธานองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกขึ้นนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษา เริ่มด้วยการแสดงความเสียใจต่อผู้นำไทย ในกรณีสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นต่อด้วยคำพิพากษา มีเนื้อหาโดยสรุป ดังต่อไปนี้
ศาลสรุปว่า ข้อพิพาทมีความสัมพันธ์ใน 3 แง่ 1.มีข้อพิพาทว่า คำพิพากษาปี 1962 นั้น ได้ตัดสินหรือไม่ได้ตัดสินว่ามีข้อผูกพันเส้นแบ่งเขตแดนในแผนที่ภาคผนวก 1 ให้เป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.จะมีความสัมพันธ์ในกรณีพิพาท แง่ความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณดินแดนกัมพูชาในบทปฏิบัติที่ 2 ของคำพิพากษาปี 1962 ศาลได้พูดว่าเป็นผลที่ตามมาจากข้อบทปฏิบัติที่ 1 ยืนยันว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา และ 3.ข้อพิพาทเรื่องพันธะกรณีของไทย เรื่องการถอนกำลังทหาร เป็นไปตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 โดยคำนึงถึงความเห็นที่ต่างกัน
ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องตีความข้อบทปฏิบัติการที่ 2 และผลของกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 ภายในขอบเขตนี้ กัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องของกัมพูชา ด้วยเหตุข้างต้น ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของสองฝ่าย เรื่องในมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีขอบเขตอำนาจในการตีความ คำพิพากษาปี 1962 จึงรับคำร้องไว้พิจารณา" ผู้พิพากษา กล่าว
ไทยได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของคู่ความ เมื่อเดือนมิถุนายน 1962 และช่วงที่มีการอ่านคำพิพาษาเดือนธันวาคม 2008 ไทยได้กล่าวว่าพฤิตกรรมดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำพิพากษา แต่ไม่ได้มีส่วนผูกพันคู่ความการตีความซึ่งอาจกระทบต่อพฤติกรรมต่อๆไป อาจดูได้จากสนธิสัญญากรุงเวียนนา คำพิพากษามีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล หรือการวินิจฉัยว่าศาลพิจารณาอะไร ไม่ได้อยู่ที่ความเข้าใจของคู่ความ และขอบเขตและความหมายนั้นไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของคู่ความในภายหลังในการตีความนั้น ศาลจะไม่เข้าไปพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ในประเด็นนั้น ศาลเห็นว่าคำพิพากษาเมื่อปี 1962 (พ.ศ.2505) นั้นมีลักษณะ 3 ประการที่เห็นได้ชัด