Zhengquanzhi Top's photo.
บทเรียนของเพื่อนบ้าน น่าสนใจ
"บทเรียน #นิรโทษกรรม ที่ฟิลิปปินส์"
เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ชาวฟิลิปปินส์ได้ลุกฮือขึ้นขับไล่ผู้นำเผด็จการ เฟอร์ดินาน มาร์กอส จนเป็นที่มาของ “ขบวนการพลังประชาชน” ที่เป็นต้นแบบให้กับหลายชาติอาเซียน หลังจากนั้นในปี 2001 ชาวฟิลิปปินส์ก็ได้ลุกฮือขึ้นอีกครั้งเพื่อขับไล่ประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราด้า ในข้อหาคอร์รับชั่น แต่วันนี้ “ขบวนการพลังประชาชน” แทบแทรกแผ่นดินด้วยความอดสู เมื่อตระกูลนักการเมืองฉ้อราษฎร์อย่างมาร์กอสกลับเข้าสู่รัฐสภาอย่างสง่าผ่าเผย ส่วนนายโจเซฟ เอสตราด้า ก็ได้รับการ “นิรโทษกรรม” ซ้ำยังชนะเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศ
เฟอร์ดินาน มาร์กอส ปกครองฟิลิปปินส์ในช่วงปี 1965 ถึง 1986 ในช่วงแรกในตำแหน่งประธานาธิบดี เขาใช้นโยบายซื้อใจชาวรากหญ้าจนได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันก็ได้เพิ่มอำนาจกองทัพเพื่อให้ค้ำจุนบังลังก์อำนาจของตัวเอง
รัฐบาลมาร์กอสกู้เงินจากต่างชาติเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อนำมาใช้ในนโยบายประชาชานิยม หนี้สินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัวในระยะเวลาเพียงกว่า 20 ปีที่มาร์กอสเป็นผู้นำประเทศ ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินมากที่สุดในเอเชีย และจนถึงทุกวันนี้ชาวฟิลิปปินส์ยังต้องแบกรับหนี้สินของอดีตรัฐบาล รายได้ของประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่ง ต้องถูกนำไปจ่ายดอกเบี้ยจากหนี้สินที่รัฐบาลมาร์กอสก่อขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อน
รัฐบาลมาร์กอสอยู่ได้ด้วยการค้ำจุนของสหรัฐอเมริกา มาร์กอสเปิดทางให้ทหารสหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศเพื่อสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งเกิดเหตุลอบสังหารนายเบนนินโย่ อาคิโน่ ผู้นำฝ่ายค้าน ทำให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นประท้วง และมาร์กอสต้องขอให้สหรัฐฯ ช่วยเหลือให้เขาไปลี้ภัยที่เกาะฮาวายจนสิ้นชีวิตที่นั่น
ในระหว่างลี้ภัยออกนอกประเทศ มาร์กอสและครอบครัวได้นำทองคำแท่งและเพชรพลอยบรรจุเต็มกระเป๋าเดินทาง 24 ใบ ขณะที่ในตู้เสื้อผ้าในทำเนียบประธานาธิบดีพบว่า ภรรยาของท่านประธานาธิบดีมีรองเท้ามากถึง 2700 คู่ ประเมินกันว่า ตระกูลมาร์กอสฉ้อราษฎร์บังหลวงไปมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาห์ ทุกวันนี้เงินทุจริตยังคงถูกซุกซ่อนอยู่ในต่างประเทศ และนางอีเมลด้า ภรรยาของมาร์กอส ก็ยังคงรั้งตำแหน่งบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 2 ของฟิลิปปินส์
ผู้คนไม่น้อยแปลกใจที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่กระตือรือร้นในการไล่ล่าเงินทุจริตของมาร์กอส แต่นั่นไม่เท่ากับที่ชาวฟิลิปปินส์เลือกให้ นางอีเมลด้า ภรรยาของอดีตผู้นำโกงชาติ กลับมาเป็น สส. ถึง 2 สมัย ส่วนลูกชายและลูกสาวของเธอก็ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี และสมาชิกวุฒิสภาด้วย
น้ำมือนักการเมืองทำให้ฟิลิปปินส์ตกต่ำจนถูกนิยามว่าเป็น “คนป่วยแห่งอาเซียน” เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทำให้ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมหาศาลต้องเร่ร่อนไปขายแรงงานในต่างแดน สาวใช้ฟิลิปปินส์เป็นที่รู้จักกันกันดีในฮ่องกงและสิงคโปร์ ทุกวันนี้เงินที่แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างแดนส่งกลับบ้านเกิดถือเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่งของประเทศ
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เพิ่งฟื้นฟูเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นเพราะอานิสงค์จากความเข้มแข็งของอาเซียนมากกว่าการพัฒนาภายในประเทศ กรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง แต่ทุกวันนี้กลับรกร้าง และเต็มไปด้วยอาชญากรรม...นี่อาจเป็นสาเหตุให้ชาวฟิลิปปินส์เลือกอดีต “พระเอก” อย่างนายโจเซฟ เอสตราด้า ให้เป็นผู้นำประเทศ
นายเอสตราด้า อดีตพระเอกภาพยนตร์ที่เคยถูกไล่ออกจากโรงเรียน เป็นประธานาธิบดีได้ไม่ถึง 3 ปีก็ถูกประชาชนประท้วงขับไล่ในข้อหาคอร์รับชั่น จากนั้นก็ถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
นางกลอเรีย อาโรโย่ รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหญิงต่อจากเอสตราด้า ท่ามกลางข้อครหาว่าบริหารประเทศภายใต้เงาของสามี จนถูกแซวว่า "เธอชอบกินทุเรียน แต่สามีกินเงินหลวง" นางอาโรโย่ยังได้ใช้สิทธิพิเศษในฐานะประธานาธิบดีประกาศ “นิรโทษกรรม” ให้กับอดีตประธานาธิบดีเอสตราด้า โดยอ้างว่าต้องการ “เซ็ท ซีโร่” เพื่อให้ประเทศ “นับหนึ่งใหม่”
เอสตราด้าไม่เพียงหลุดพ้นจากโทษทั้งหมด แต่ยังได้คืนสิทธิทางการเมือง ล่าสุด เขาชนะเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีกรุงมะนิลา โดยลูกชายและญาติของเขาได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาด้วย ขณะที่อดีตประธานาธิบดีอาโรโย่ ก็ถูกดำเนินคดีคอร์รับชั่น และต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจนถึงขณะนี้ ก็ยังได้รับเลือกตั้งเป็น สส. พร้อมกับลูกชายของเธอ
การเมืองฟิลิปปินส์กลายเป็นเรื่องตลกร้าย นักการเมืองผู้โกงชาติจนถูกประชาชนโค่นล้ม แต่ประชาชนกลับเลือกคนเหล่านี้กลับเข้ามาปกครองประเทศ สส. สว. มากกว่า 2 ใน 3 ของสภาเป็นญาติพี่น้องของตระกูลการเมือง อดีตประธานาธิบดี 3 คนถูกดำเนินคดีคอรํรับชั่น แต่ต่อมาก็ได้รับการอภัยโทษ และกลับเข้าสู่สภาได้อย่างทรงเกียรติ์
ทำไมชาวฟิลิปปินส์ถึงเลือกผู้นำที่ไร้ความสามารถให้บริหารประเทศ ? ทำไมจึงนิรโทษกรรมให้กับผู้นำที่โกงชาติ? ทำไมประชาชนต้องเดือดร้อนเพราะความไร้วิสัยทัศน์ของผู้นำ? เป็นคำถามที่ชาวฟิลิปปินส์อาจจะไม่อยากตอบ เพราะเพื่อนบ้านบางประเทศก็กำลังทำเช่นเดียวกัน.
*
** Zhengquanzhi Top ผู้เขียนยินดีอย่างยิ่งและขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันแชร์บทความนี้ออกไป เพื่อไม่ให้ ประเทศไทยต้องเดินซ้ำรอยกรรมด้วยน้ำมือของผู้นำไร้ความสามารถและฉ้อราษฎร์ ปกติแล้วเรามักจะเขียนบทความเกี่ยวกับ "ภาษาจีน" และ "ประเทศจีน" แต่เรื่องนี้ถูกเขียนอย่างฉุกเฉิน เพื่อชาติและบ้านเมือง หากมีคำแนะนำอะไร เรายินดีน้อมรับอย่างยิ่ง
การ คอรัปชั่น และ นิรโทษกรรม ยกความผิดให้ทั้งหมด.. เปรียบเทียบ ไทย ฟิลิปปินส์..
บทเรียนของเพื่อนบ้าน น่าสนใจ
"บทเรียน #นิรโทษกรรม ที่ฟิลิปปินส์"
เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ชาวฟิลิปปินส์ได้ลุกฮือขึ้นขับไล่ผู้นำเผด็จการ เฟอร์ดินาน มาร์กอส จนเป็นที่มาของ “ขบวนการพลังประชาชน” ที่เป็นต้นแบบให้กับหลายชาติอาเซียน หลังจากนั้นในปี 2001 ชาวฟิลิปปินส์ก็ได้ลุกฮือขึ้นอีกครั้งเพื่อขับไล่ประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราด้า ในข้อหาคอร์รับชั่น แต่วันนี้ “ขบวนการพลังประชาชน” แทบแทรกแผ่นดินด้วยความอดสู เมื่อตระกูลนักการเมืองฉ้อราษฎร์อย่างมาร์กอสกลับเข้าสู่รัฐสภาอย่างสง่าผ่าเผย ส่วนนายโจเซฟ เอสตราด้า ก็ได้รับการ “นิรโทษกรรม” ซ้ำยังชนะเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศ
เฟอร์ดินาน มาร์กอส ปกครองฟิลิปปินส์ในช่วงปี 1965 ถึง 1986 ในช่วงแรกในตำแหน่งประธานาธิบดี เขาใช้นโยบายซื้อใจชาวรากหญ้าจนได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันก็ได้เพิ่มอำนาจกองทัพเพื่อให้ค้ำจุนบังลังก์อำนาจของตัวเอง
รัฐบาลมาร์กอสกู้เงินจากต่างชาติเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อนำมาใช้ในนโยบายประชาชานิยม หนี้สินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัวในระยะเวลาเพียงกว่า 20 ปีที่มาร์กอสเป็นผู้นำประเทศ ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินมากที่สุดในเอเชีย และจนถึงทุกวันนี้ชาวฟิลิปปินส์ยังต้องแบกรับหนี้สินของอดีตรัฐบาล รายได้ของประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่ง ต้องถูกนำไปจ่ายดอกเบี้ยจากหนี้สินที่รัฐบาลมาร์กอสก่อขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อน
รัฐบาลมาร์กอสอยู่ได้ด้วยการค้ำจุนของสหรัฐอเมริกา มาร์กอสเปิดทางให้ทหารสหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศเพื่อสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งเกิดเหตุลอบสังหารนายเบนนินโย่ อาคิโน่ ผู้นำฝ่ายค้าน ทำให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นประท้วง และมาร์กอสต้องขอให้สหรัฐฯ ช่วยเหลือให้เขาไปลี้ภัยที่เกาะฮาวายจนสิ้นชีวิตที่นั่น
ในระหว่างลี้ภัยออกนอกประเทศ มาร์กอสและครอบครัวได้นำทองคำแท่งและเพชรพลอยบรรจุเต็มกระเป๋าเดินทาง 24 ใบ ขณะที่ในตู้เสื้อผ้าในทำเนียบประธานาธิบดีพบว่า ภรรยาของท่านประธานาธิบดีมีรองเท้ามากถึง 2700 คู่ ประเมินกันว่า ตระกูลมาร์กอสฉ้อราษฎร์บังหลวงไปมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาห์ ทุกวันนี้เงินทุจริตยังคงถูกซุกซ่อนอยู่ในต่างประเทศ และนางอีเมลด้า ภรรยาของมาร์กอส ก็ยังคงรั้งตำแหน่งบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 2 ของฟิลิปปินส์
ผู้คนไม่น้อยแปลกใจที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่กระตือรือร้นในการไล่ล่าเงินทุจริตของมาร์กอส แต่นั่นไม่เท่ากับที่ชาวฟิลิปปินส์เลือกให้ นางอีเมลด้า ภรรยาของอดีตผู้นำโกงชาติ กลับมาเป็น สส. ถึง 2 สมัย ส่วนลูกชายและลูกสาวของเธอก็ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี และสมาชิกวุฒิสภาด้วย
น้ำมือนักการเมืองทำให้ฟิลิปปินส์ตกต่ำจนถูกนิยามว่าเป็น “คนป่วยแห่งอาเซียน” เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทำให้ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมหาศาลต้องเร่ร่อนไปขายแรงงานในต่างแดน สาวใช้ฟิลิปปินส์เป็นที่รู้จักกันกันดีในฮ่องกงและสิงคโปร์ ทุกวันนี้เงินที่แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างแดนส่งกลับบ้านเกิดถือเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่งของประเทศ
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เพิ่งฟื้นฟูเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นเพราะอานิสงค์จากความเข้มแข็งของอาเซียนมากกว่าการพัฒนาภายในประเทศ กรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง แต่ทุกวันนี้กลับรกร้าง และเต็มไปด้วยอาชญากรรม...นี่อาจเป็นสาเหตุให้ชาวฟิลิปปินส์เลือกอดีต “พระเอก” อย่างนายโจเซฟ เอสตราด้า ให้เป็นผู้นำประเทศ
นายเอสตราด้า อดีตพระเอกภาพยนตร์ที่เคยถูกไล่ออกจากโรงเรียน เป็นประธานาธิบดีได้ไม่ถึง 3 ปีก็ถูกประชาชนประท้วงขับไล่ในข้อหาคอร์รับชั่น จากนั้นก็ถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
นางกลอเรีย อาโรโย่ รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหญิงต่อจากเอสตราด้า ท่ามกลางข้อครหาว่าบริหารประเทศภายใต้เงาของสามี จนถูกแซวว่า "เธอชอบกินทุเรียน แต่สามีกินเงินหลวง" นางอาโรโย่ยังได้ใช้สิทธิพิเศษในฐานะประธานาธิบดีประกาศ “นิรโทษกรรม” ให้กับอดีตประธานาธิบดีเอสตราด้า โดยอ้างว่าต้องการ “เซ็ท ซีโร่” เพื่อให้ประเทศ “นับหนึ่งใหม่”
เอสตราด้าไม่เพียงหลุดพ้นจากโทษทั้งหมด แต่ยังได้คืนสิทธิทางการเมือง ล่าสุด เขาชนะเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีกรุงมะนิลา โดยลูกชายและญาติของเขาได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาด้วย ขณะที่อดีตประธานาธิบดีอาโรโย่ ก็ถูกดำเนินคดีคอร์รับชั่น และต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจนถึงขณะนี้ ก็ยังได้รับเลือกตั้งเป็น สส. พร้อมกับลูกชายของเธอ
การเมืองฟิลิปปินส์กลายเป็นเรื่องตลกร้าย นักการเมืองผู้โกงชาติจนถูกประชาชนโค่นล้ม แต่ประชาชนกลับเลือกคนเหล่านี้กลับเข้ามาปกครองประเทศ สส. สว. มากกว่า 2 ใน 3 ของสภาเป็นญาติพี่น้องของตระกูลการเมือง อดีตประธานาธิบดี 3 คนถูกดำเนินคดีคอรํรับชั่น แต่ต่อมาก็ได้รับการอภัยโทษ และกลับเข้าสู่สภาได้อย่างทรงเกียรติ์
ทำไมชาวฟิลิปปินส์ถึงเลือกผู้นำที่ไร้ความสามารถให้บริหารประเทศ ? ทำไมจึงนิรโทษกรรมให้กับผู้นำที่โกงชาติ? ทำไมประชาชนต้องเดือดร้อนเพราะความไร้วิสัยทัศน์ของผู้นำ? เป็นคำถามที่ชาวฟิลิปปินส์อาจจะไม่อยากตอบ เพราะเพื่อนบ้านบางประเทศก็กำลังทำเช่นเดียวกัน.
*
** Zhengquanzhi Top ผู้เขียนยินดีอย่างยิ่งและขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันแชร์บทความนี้ออกไป เพื่อไม่ให้ ประเทศไทยต้องเดินซ้ำรอยกรรมด้วยน้ำมือของผู้นำไร้ความสามารถและฉ้อราษฎร์ ปกติแล้วเรามักจะเขียนบทความเกี่ยวกับ "ภาษาจีน" และ "ประเทศจีน" แต่เรื่องนี้ถูกเขียนอย่างฉุกเฉิน เพื่อชาติและบ้านเมือง หากมีคำแนะนำอะไร เรายินดีน้อมรับอย่างยิ่ง