อ่านแล้วรู้สึกไม่สบายใจเลนครับ ใครคิดเหมือนกันบ้าง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1425971930
ไม่ว่าการเมืองนำการทหาร หรือทหารนำการเมือง ข่าวการเมืองก็คือข่าวการเคลื่อนไหวในวงการทหาร
นั่นคือส่วนข้อมูลดิบเล็กๆ น้อยๆ ครับ ส่วนงานวิเคราะห์ของอาจารย์สุรชาติในตัววิทยานิพนธ์ลุ่มลึกกว่ามาก และจะว่าไปแล้วงานเรื่องการเมืองกับทหารที่ดีๆ ในยุคนั้น คือยุคต่อจากงานของท่านอาจารย์สุจิต บุญบงการ อาจารย์ชัยอนันต์ (ยังเติร์กกับทหารประชาธิปไตย) และงานของอาจารย์เฉลิมเกียรติ ผิวนวล (ความคิดทางการเมืองของทหารไทย 2519-2529) ก็เป็นงานที่น่าสนใจทั้งสิ้น แต่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกภาษาอังกฤษ ที่เริ่มทยอยออกมา ตั้งแต่งานของอาจารย์ชลิดาพร ส่งสัมพันธ์ ที่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ว่าด้วยเรื่องอิทธิพลของความคิดเรื่องการทำนายด้วยพลังเหนือธรรมชาติ (Supernatural prophecy) กับการตัดสินใจทำรัฐประหาร งานวิทยานิพนธ์ของปริญญาเอกของอาจารย์สุรชาติ เรื่องบทบาทของทหารกับการเมืองไทย โดยเน้นที่ว่าเงื่อนไขอะไรบ้างที่จะทำให้ทหารนั้นรุกและถอยทางการเมือง (2516-2535) และงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของท่านทูตวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ที่ว่าด้วยการเมืองของทหารตั้งแต่ยุครัฐบาลหอย ถึงครึ่งแรก (กว่าๆ) ในยุคป๋า (2519-2529) ซึ่งเต็มไปด้วยรายละเอียดที่น่ามหัศจรรย์ในการตั้งคำถามว่าตกลงทหารนั้นทำให้บ้านเมืองพัฒนาหรือล้าหลัง
เขียนมายืดยาวให้ฝ่ายความมั่นคงงงเล่นเท่านั้นล่ะครับ... อยากจะบอกสั้นๆ แค่ว่า จนถึงปีที่ผมช่วยอาจารย์สุรชาติเก็บข้อมูลทำปริญญาเอกเนี่ย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็น "วุ้น" อยู่เลยครับ
อธิบายก็คือ ถ้าลองดูประวัติของ พล.อ.ประยุทธ์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย (ดูได้ที่เว็บไซต์รัฐบาลครับ ลงละเอียดซะแบบว่าอ่านบทความนี้จบคงจะต้องถามว่าควรจะลงไหม ฮ่าๆ
http://www.thaigov.go.th/th/news1/item/85486-85486.html) จะพบว่าเราอาจจะต้องดูข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจมากกว่าที่เราเข้าใจกันในแง่ของนักข่าวสายทหาร/การเมือง นั่นก็คือ เราไม่ควรตัดสินง่ายๆ ด้วยคำอธิบายหลักว่า อ่อ...พล.อ.ประยุทธ์แกเป็นบูรพาพยัคฆ์เนาะ แกเป็นบูรพาพยัคฆ์มาตลอด เป็นน้องที่ดีๆ ของพี่ประวิตร พี่อนุพงศ์... หรือมองแค่แกเป็นเด็กตั้งใจเรียนก่อนเป็นทหาร แต่ถ้าลองมองอีกมุมจะพบว่า พล.อ.ประยุทธ์นั้นรับการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารถึงโรงเรียนนายร้อย ในช่วง 2510 กว่าๆ ถึงจบ 2519 เป็น จปร.23 และขึ้นตำแหน่งนายพัน คือเริ่มถูกบันทึกในเอกสารที่ พล.อ.ประยุทธ์เผยแพร่เองเมื่อปี พ.ศ.2533 ในฐานะผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารบกที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
พูดง่ายๆ ว่า ในยุคที่การศึกษาเรื่องทหารกับการเมืองรุ่งเรืองคือช่วงงานวิจัยเรื่องป๋า ก่อนจะเข้ามาสู่ยุครัฐประหาร คสช. เมื่อ 2534 นั้น พล.อ.ประยุทธ์เพิ่งจะเริ่มเป็นนายพันเท่านั้นเอง
ถามง่ายที่สุดก็คือ ถ้าการเมืองวันนี้ยังทำรัฐประหารกันเป็นวังวนแบบนี้ เราอาจจะต้องมีคนมาช่วยคุณวาสนาอีกหลายคน เพื่อมาดูสิว่า นายพันในวันนี้ที่ไปจับตัวนักศึกษา หรือที่ปฏิบัติการต่างๆ อีกยี่สิบกว่าปีข้างหน้าเขาจะเป็นหัวหน้าคณะยึดอำนาจหรือไม่ ซึ่งการมองเช่นนี้ทำให้มองกว้างกว่าการดูแค่ว่าในบรรดาห้าเสือ ทบ. ใครจะได้ขึ้นตำแหน่งเพื่อเป็น ผบ.ทบ.ในรุ่นต่อไป
จบเท่านี้แหละครับ เรื่องที่เกี่ยวกับเมืองไทย มาเข้าเรื่องที่อยากเขียนจริงๆ ดีกว่า นั่นก็คือในบรรดางานเขียนว่าด้วยเรื่องทหารกับการเมืองที่พอจะผ่านตาของผมมานั้น ผมยกให้งานของ อัลเฟรด แมคคอย ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน เป็นงานในดวงใจ โดยเฉพาะงานที่ชื่อ "Closer than Brothers: Manhood at the Philippine Military Academy" (Yale University Press, 1999) ซึ่งถ้าแปลตรงๆ แล้วอาจไม่เข้าใจประเด็นว่ามันเกี่ยวอะไรกับความเป็นชายชาตรี และความใกล้ชิดกันมากกว่าพี่น้องในหมู่นักเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์
แมคคอย ทำงานวิจัยเรื่องทหารกับการเมืองแบบพิสดาร คือไม่ได้มองทหารในฐานะเป็นเพียงตัวแสดงทางการเมืองที่เหมือนกันไปหมด และถูกกระทบจากภายนอก แต่เขาดำดิ่งลงไปดูตั้งแต่ว่าทหารนั้น "เป็นทหาร" ได้อย่างไร
ตั้งหลักดีๆ ครับ ทหารไม่ได้เกิดมาเป็นทหาร แต่เขา "กลายเป็นทหาร"... คนทำรัฐประหารไม่ได้เกิดมาทำรัฐประหาร (เว้นแต่จะมาแนวพวกโหร แบบว่า โอ้เด็กคนนี้เกิดมาจะต้องทำรัฐประหารแน่นอน) แต่เขา "กลายเป็นคนที่แก้ปัญหาด้วยการรัฐประหาร" ได้อย่างไร?
ประเด็นตรงนี้ขีดเส้นใต้สามเส้นเลยครับ เพราะงานของแมคคอยไม่ได้มีแนวโน้มแบบซ้ำเติมเหยื่อ แบบว่า อ่อ...สังคมนี้เป็นสังคมที่ทหารปกครองก็เพราะมีวัฒนธรรมแบบที่ชอบให้ทหารปกครอง แต่เขาถามประเด็นที่ผมคิดว่าทหารก็ควรอ่าน คนธรรมดาก็ควรอ่าน และนักข่าวสายทหารก็ควรอ่าน เพราะนักข่าวสายทหารก็ไม่รู้หรอกครับในประเด็นที่แมคคอยสนใจ เพราะแมคคอยเขาเข้าไปศึกษาทหารตั้งแต่ที่เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อย และเมื่อจบออกมาใหม่ๆ
สรุปประเด็นก่อนที่ฝ่ายความมั่นคงจะนำเสนอนายแบบผิดๆ (หรือก่อนที่ฝ่ายความมั่นคงที่อาจมีโอกาสเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารในอีกยี่สิบกว่าปีข้างหน้าจะงง) ก็คือว่า แมคคอยเขาเน้นว่าการศึกษาว่าทหารนั้นเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างไรนั้น จะต้องดูด้วยว่าทหารนั้นกลายเป็นทหารได้อย่างไร โดยดูองค์ประกอบสองด้านหลักๆ คือ การเรียนการสอน และการกล่อมเกลาทางวัฒนธรรมในสังคมการศึกษาของทหารเอง และสองก็คือ การดูประสบการณ์ของทหารที่จบการศึกษาออกมาใหม่ๆ ในช่วงแรกของการรับราชการว่าพวกเขาออกมาอยู่ในสังคมการเมืองแบบไหน
กลุ่มที่แมคคอยศึกษานั้นมีด้วยกันสองกลุ่มคือ นักเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์รุ่นหนึ่ง (จบปี คศ.1940) กับนักเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์รุ่น 32 (จบปี 1971) หลักสูตรนักเรียนนายร้อยที่นับรุ่นนั้นก็คือเอามาจากเวสต์ปอยต์นั่นแหละครับ เหมือนบ้านเราก็เข้าใจว่านับรุ่นหนึ่งของบิ๊กจิ๋วบิ๊กจ๊อด จากหลักสูตรเวสต์ปอยต์เหมือนกัน
สองรุ่นนี้มีความโดดเด่นที่ต่างกัน รุ่น 1 นั้นเป็น "ทหารอาชีพ" แบบอเมริกามาก คือทหารอาชีพแบบยังไงก็ไม่ทำรัฐประหาร แต่เจ้ารุ่น 32 นี้ถ้ามองแบบไทยๆ ก็คือเป็น "ทหารอาชีพอีกแบบหนึ่ง" คือพยายามจะมี "อาชีพทำรัฐประหาร" คือทำรัฐประหารบ่อยมาก แต่ไม่สำเร็จสักที
รุ่นหนึ่งเติบโตมาในยุคสร้างชาติของประธานาธิบดี เกซอน ส่วนรุ่น 32 เติบโตมาในยุคประธานาธิบดีมาร์กอส ซึ่งปกครองประเทศด้วยกฎอัยการศึก และเพิ่มอัตราและบทบาทของทหารในการป้องกันประเทศ (และจัดการศัตรูทางการเมือง) แน่นอนครับว่าในบริบทของสงครามเย็นท่ามกลางการโอบอุ้มเป็นอย่างดีของพญาอินทรี
แหม... อดนึกถึงบ้านเรานะครับ ทำรัฐประหารตั้งแต่ก่อนรุ่นหนึ่งอีกต่างหาก คริคริ
แต่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่ารุ่น 32 นี้จะโกงหรือเกเรทำนองนี้นะครับ รุ่น 32 นี่อาจจะคล้ายกับพวกยังเติร์กบ้านเราสมัยก่อน คือเชื่อว่ากองทัพจะต้องร่วมปกครองประเทศ โดยการ "ปฏิรูปกองทัพ" โดยผู้การกริงโก้ ฮอนนาซัน ซึ่งเป็นหัวหน้ารุ่น สังกัดหน่วยรบพิเศษ
เรื่องเล่าที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าจะต่างกันถึงสามสิบปี นายทหารสองรุ่นนี้มีอะไรที่น่าสนใจคล้ายกัน คือ เมื่อการเลือกตั้งปี 1953 ฝ่ายค้านเชื่อว่ารัฐบาลจะโกงการเลือกตั้งจนชนะ ก็บีบให้รุ่นหนึ่งทำรัฐประหาร แต่รุ่นหนึ่งปฏิเสธ และนับตั้งแต่ที่เริ่มรับราชการจนเกษียณอายุ นายทหารรุ่นหนึ่งนั้นมีความภูมิใจว่าเขามีความเป็นทหารอาชีพในแบบที่ไม่โกง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ยิ่งเมื่อตอนที่มาร์กอสเริ่มจะเรืองอำนาจ ซึ่งพวกเขาเองก็อยู่ในในตำแหน่งระดับสูง พวกเขาก็ถูกบีบโดยมาร์กอสให้มาเป็นเครื่องมือของมาร์กอสในการปกครองใต้กฎอัยการศึก
ขณะที่เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี1986 ฝ่ายค้านตอนนั้นก็เชื่อว่ารัฐบาลมาร์กอสจะโกงเลือกตั้ง และสถานการณ์ก็บีบให้รุ่น 32 ทำรัฐประหาร โดยการยึดทำเนียบรัฐบาลและพยายามจับตัวมาร์กอส แต่แผนการรั่วไหล เกมส์การเมืองในปี 1986 เป็นปีที่เข้มข้นมาก เพราะเอนริเล่ และฟิเดล รามอส สอง "นาย" ทหารผู้ใหญ่ต้องออกมาช่วยรุ่น 32 เอาไว้ โดยประกาศว่าตนขอยุติการสนับสนุนมาร์กอส และจากนั้นก็นำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของ
มาร์กอส และการลุกฮือของมวลมหาประชาชนริบบิ้นเหลืองของฟิลิปปินส์ ที่สนับสนุนภรรยาม่ายของเบนิกโน อาคีโน ภายหลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งที่ตกลงไม่ได้ และศาสนจักรประกาศหนุน คอราซอน อาคีโน รวมทั้งอเมริกาพยายามให้แบ่งอำนาจกันแต่ อาคีโนไม่ยอม สุดท้ายมาร์กอสก็บินออกไปฮาวาย ภายหลังที่ประชาชนลุกฮือขึ้นขับไล่บนถนนเอ็ดซ่าด้วยมวลมหาประชาชน 2 ล้านกว่าคน
นายทหารรุ่น 32 นี้ (หรือแปลตรงๆ ว่านายทหารปฏิรูป The Reform the Armed Forces Movement (RAM)) เริ่มเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น เพราะได้รับการสนับสนุนจากคอราซอน อาคีโน เองในการเลื่อนชั้น จากนั้นพวกเขาก็หันมาคิดว่าพวกเขาจะหันมาเปลี่ยนแปลงประเทศด้วยกำลังให้สุดซอยได้อย่างไรอีกไม่ต่ำกว่าห้าครั้งแถมต้องหนีหัวซุกหัวซุนจากการตามล่าของรัฐบาล เพราะการทำรัฐประหารล้มเหลว แต่สุดท้ายในยุครามอสเป็นรองประธานาธิบดีเองก็นิรโทษกรรมให้พวกเขา และหัวหน้ารุ่นอย่างผู้การฮอนนาซันก็หันกลับมาเล่นการเมืองและเป็นวุฒิสมาชิกหลายสมัย
งานของแมคคอยชี้ว่าจะต้องดูวงจรชีวิตของทหารฟิลิปปินส์ประมาณสามสิบปี คือปีที่เขาเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย (แม้ว่ากองทัพกับนักเรียนนายร้อยไม่ได้เท่ากัน เพราะมีนายทหารจากแหล่งการศึกษาอื่นก็จริง แต่สถิติของฟิลิปปินส์ชี้ว่า ผู้นำรัฐประหารส่วนใหญ่คือทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อย) ซึ่งแมคคอยชี้ว่าหลักสูตรนักเรียนนายร้อยได้สร้างความเป็นชายชาตรีโดยกการขัดเกลานิสัยให้เกิดลักษณะสำคัญสองอย่างหนึ่งคือการภักดีต่อระบบพลเรือนเป็นใหญ่ (civil supremacy) รวมทั้งรักและหวงแหนประชาธิปไตยที่นำโดยประธานาธิบดีที่เป็นผู้นำที่มาจากประชาชน และสองคือการหลอมรวมเป็นเพื่อนร่วมรุ่น (classmate) การฝึกให้รับคำสั่งและภักดีต่อเจ้านายนั้นมีลักษณะที่เป็นลำดับชั้นและเชื่อว่าความเป็นชายชาตรีก็คือ ความกล้าหาญที่เต็มไปด้วยการเชื่อฟังและอดทนอดกลั้น
ในส่วนประสบการณ์ชีวิตส่วนที่สองของนักเรียนนายร้อย อยู่ที่เมื่อจบออกมาแล้วรับราชการใหม่ๆ เพราะในช่วงนี้พวกเขาจะเผชิญกับประสบการณ์ใหม่นอกโรงเรียน ที่มีทั้งภารกิจและความสัมพันธ์ใหม่ๆ เข้ามา ตั้งแต่เป็นลูกน้องแล้วเริ่มเติบโตขึ้นตามสายงาน ซึ่งในแง่นี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แค่ว่า อ่อ... ปีไหนได้เลื่อนขึ้นตำแหน่งไหน เป็นคนโปรดของพี่คนไหนแบบนักข่าวไทยชอบว่ากัน แต่แมคคอยชี้ว่า เรื่องใหญ่มันอยู่ที่ความสัมพันธ์ของนายทหารเหล่านั้นกับระบอบการเมืองที่พวกเขาเติบโตขึ้น ว่าระบอบการเมืองนั้นต้องการเอาทหารไปไว้ทำอะไร ซึ่งตรงนี้กินเวลายาวนานกว่าสี่ปีในโรงเรียนนายร้อย คือจนกระทั่งเกษียณอายุ ซึ่งรวมทั้งลักษณะที่ว่ารุ่นหนึ่งนั้นไม่มีผู้นำที่เข้มแข็งเท่ากับรุ่น 32 ที่มีผู้นำที่เข้มแข็งเสียจนชักจูงเพื่อนๆ มาร่วมก่อการได้
ซึ่งหมายถึงว่าระบบรุ่นนั้นมันทำงานต่อเนื่องตั้งแต่ในโรงเรียนนายร้อยมาจนถึงวันสิ้นสุดชีวิตราชการนั่นแหละครับ
นอกจากนั้นแล้ว เรื่องของทหารกับการเมืองนั้นซับซ้อนมาก เพราะทหารนั้นก่อรูปชีวทัศน์และโลกทัศน์ของเขาผ่านประสบการณ์ตรงกับการเมือง นั่นคือรุ่นหนึ่งนั้นพูดง่ายๆ คือรุ่นสร้างชาติ และรบจริงกับศัตรูนอกประเทศในตอนก่อตั้งประเทศกับเกซอน และพวกเขาต้องเผชิญกับควมเย้ายวนทางอำนาจอย่างมากมาย ก่อนที่เมื่อวันที่เขาพ้นจากราชการ งานบรรยายของแมคคอยกล่าวถึงสุนทรพจน์ของประธานรุ่นต่อหน้าโลงศพของรุ่นน้องที่กำลังเรียนอยู่คือ รุ่น 32 ให้เข้มแข็งอดทน แล้วหัวหน้ารุ่นหนึ่งก็ลงจากเวทีด้วยการขับรถโฟล์คเต่าเก่าๆ จากหน่วยทหารออกไปพร้อมกับความภูมิใจว่าพวกเขามือสะอาดและไม่มีประวัติด่างพร้อยทางการเมือง
แต่รุ่น32 นั้นเล่า จบการศึกษาเพียงปีกว่าๆ หลังจากที่มาร์กอสประกาศกฎอัยการศึกแล้วพวกเขา 85 คนถูกส่งไปสู้กับนักรบแบ่งแยกดินแดนทางใต้ และปราบปรามคนในมะนิลาผู้เห็นต่างกับมาร์กอสที่พยายามจะอยู่ในอำนาจต่อเนื่องเป็นครั้งที่สามซึ่งผิดรัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์(แต่มาร์กอสใช้คำสั่งฉุกเฉินของประธานาธิบดี และแก้รัฐ
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เค้าเป็นใครเก่งมาจากไหนเหรอครับถึงวิจารณ์ระบบการศึกษาของ รร.นายร้อย
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1425971930
ไม่ว่าการเมืองนำการทหาร หรือทหารนำการเมือง ข่าวการเมืองก็คือข่าวการเคลื่อนไหวในวงการทหาร
นั่นคือส่วนข้อมูลดิบเล็กๆ น้อยๆ ครับ ส่วนงานวิเคราะห์ของอาจารย์สุรชาติในตัววิทยานิพนธ์ลุ่มลึกกว่ามาก และจะว่าไปแล้วงานเรื่องการเมืองกับทหารที่ดีๆ ในยุคนั้น คือยุคต่อจากงานของท่านอาจารย์สุจิต บุญบงการ อาจารย์ชัยอนันต์ (ยังเติร์กกับทหารประชาธิปไตย) และงานของอาจารย์เฉลิมเกียรติ ผิวนวล (ความคิดทางการเมืองของทหารไทย 2519-2529) ก็เป็นงานที่น่าสนใจทั้งสิ้น แต่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกภาษาอังกฤษ ที่เริ่มทยอยออกมา ตั้งแต่งานของอาจารย์ชลิดาพร ส่งสัมพันธ์ ที่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ว่าด้วยเรื่องอิทธิพลของความคิดเรื่องการทำนายด้วยพลังเหนือธรรมชาติ (Supernatural prophecy) กับการตัดสินใจทำรัฐประหาร งานวิทยานิพนธ์ของปริญญาเอกของอาจารย์สุรชาติ เรื่องบทบาทของทหารกับการเมืองไทย โดยเน้นที่ว่าเงื่อนไขอะไรบ้างที่จะทำให้ทหารนั้นรุกและถอยทางการเมือง (2516-2535) และงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของท่านทูตวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ที่ว่าด้วยการเมืองของทหารตั้งแต่ยุครัฐบาลหอย ถึงครึ่งแรก (กว่าๆ) ในยุคป๋า (2519-2529) ซึ่งเต็มไปด้วยรายละเอียดที่น่ามหัศจรรย์ในการตั้งคำถามว่าตกลงทหารนั้นทำให้บ้านเมืองพัฒนาหรือล้าหลัง
เขียนมายืดยาวให้ฝ่ายความมั่นคงงงเล่นเท่านั้นล่ะครับ... อยากจะบอกสั้นๆ แค่ว่า จนถึงปีที่ผมช่วยอาจารย์สุรชาติเก็บข้อมูลทำปริญญาเอกเนี่ย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็น "วุ้น" อยู่เลยครับ
อธิบายก็คือ ถ้าลองดูประวัติของ พล.อ.ประยุทธ์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย (ดูได้ที่เว็บไซต์รัฐบาลครับ ลงละเอียดซะแบบว่าอ่านบทความนี้จบคงจะต้องถามว่าควรจะลงไหม ฮ่าๆ http://www.thaigov.go.th/th/news1/item/85486-85486.html) จะพบว่าเราอาจจะต้องดูข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจมากกว่าที่เราเข้าใจกันในแง่ของนักข่าวสายทหาร/การเมือง นั่นก็คือ เราไม่ควรตัดสินง่ายๆ ด้วยคำอธิบายหลักว่า อ่อ...พล.อ.ประยุทธ์แกเป็นบูรพาพยัคฆ์เนาะ แกเป็นบูรพาพยัคฆ์มาตลอด เป็นน้องที่ดีๆ ของพี่ประวิตร พี่อนุพงศ์... หรือมองแค่แกเป็นเด็กตั้งใจเรียนก่อนเป็นทหาร แต่ถ้าลองมองอีกมุมจะพบว่า พล.อ.ประยุทธ์นั้นรับการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารถึงโรงเรียนนายร้อย ในช่วง 2510 กว่าๆ ถึงจบ 2519 เป็น จปร.23 และขึ้นตำแหน่งนายพัน คือเริ่มถูกบันทึกในเอกสารที่ พล.อ.ประยุทธ์เผยแพร่เองเมื่อปี พ.ศ.2533 ในฐานะผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารบกที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
พูดง่ายๆ ว่า ในยุคที่การศึกษาเรื่องทหารกับการเมืองรุ่งเรืองคือช่วงงานวิจัยเรื่องป๋า ก่อนจะเข้ามาสู่ยุครัฐประหาร คสช. เมื่อ 2534 นั้น พล.อ.ประยุทธ์เพิ่งจะเริ่มเป็นนายพันเท่านั้นเอง
ถามง่ายที่สุดก็คือ ถ้าการเมืองวันนี้ยังทำรัฐประหารกันเป็นวังวนแบบนี้ เราอาจจะต้องมีคนมาช่วยคุณวาสนาอีกหลายคน เพื่อมาดูสิว่า นายพันในวันนี้ที่ไปจับตัวนักศึกษา หรือที่ปฏิบัติการต่างๆ อีกยี่สิบกว่าปีข้างหน้าเขาจะเป็นหัวหน้าคณะยึดอำนาจหรือไม่ ซึ่งการมองเช่นนี้ทำให้มองกว้างกว่าการดูแค่ว่าในบรรดาห้าเสือ ทบ. ใครจะได้ขึ้นตำแหน่งเพื่อเป็น ผบ.ทบ.ในรุ่นต่อไป
จบเท่านี้แหละครับ เรื่องที่เกี่ยวกับเมืองไทย มาเข้าเรื่องที่อยากเขียนจริงๆ ดีกว่า นั่นก็คือในบรรดางานเขียนว่าด้วยเรื่องทหารกับการเมืองที่พอจะผ่านตาของผมมานั้น ผมยกให้งานของ อัลเฟรด แมคคอย ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน เป็นงานในดวงใจ โดยเฉพาะงานที่ชื่อ "Closer than Brothers: Manhood at the Philippine Military Academy" (Yale University Press, 1999) ซึ่งถ้าแปลตรงๆ แล้วอาจไม่เข้าใจประเด็นว่ามันเกี่ยวอะไรกับความเป็นชายชาตรี และความใกล้ชิดกันมากกว่าพี่น้องในหมู่นักเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์
แมคคอย ทำงานวิจัยเรื่องทหารกับการเมืองแบบพิสดาร คือไม่ได้มองทหารในฐานะเป็นเพียงตัวแสดงทางการเมืองที่เหมือนกันไปหมด และถูกกระทบจากภายนอก แต่เขาดำดิ่งลงไปดูตั้งแต่ว่าทหารนั้น "เป็นทหาร" ได้อย่างไร
ตั้งหลักดีๆ ครับ ทหารไม่ได้เกิดมาเป็นทหาร แต่เขา "กลายเป็นทหาร"... คนทำรัฐประหารไม่ได้เกิดมาทำรัฐประหาร (เว้นแต่จะมาแนวพวกโหร แบบว่า โอ้เด็กคนนี้เกิดมาจะต้องทำรัฐประหารแน่นอน) แต่เขา "กลายเป็นคนที่แก้ปัญหาด้วยการรัฐประหาร" ได้อย่างไร?
ประเด็นตรงนี้ขีดเส้นใต้สามเส้นเลยครับ เพราะงานของแมคคอยไม่ได้มีแนวโน้มแบบซ้ำเติมเหยื่อ แบบว่า อ่อ...สังคมนี้เป็นสังคมที่ทหารปกครองก็เพราะมีวัฒนธรรมแบบที่ชอบให้ทหารปกครอง แต่เขาถามประเด็นที่ผมคิดว่าทหารก็ควรอ่าน คนธรรมดาก็ควรอ่าน และนักข่าวสายทหารก็ควรอ่าน เพราะนักข่าวสายทหารก็ไม่รู้หรอกครับในประเด็นที่แมคคอยสนใจ เพราะแมคคอยเขาเข้าไปศึกษาทหารตั้งแต่ที่เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อย และเมื่อจบออกมาใหม่ๆ
สรุปประเด็นก่อนที่ฝ่ายความมั่นคงจะนำเสนอนายแบบผิดๆ (หรือก่อนที่ฝ่ายความมั่นคงที่อาจมีโอกาสเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารในอีกยี่สิบกว่าปีข้างหน้าจะงง) ก็คือว่า แมคคอยเขาเน้นว่าการศึกษาว่าทหารนั้นเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างไรนั้น จะต้องดูด้วยว่าทหารนั้นกลายเป็นทหารได้อย่างไร โดยดูองค์ประกอบสองด้านหลักๆ คือ การเรียนการสอน และการกล่อมเกลาทางวัฒนธรรมในสังคมการศึกษาของทหารเอง และสองก็คือ การดูประสบการณ์ของทหารที่จบการศึกษาออกมาใหม่ๆ ในช่วงแรกของการรับราชการว่าพวกเขาออกมาอยู่ในสังคมการเมืองแบบไหน
กลุ่มที่แมคคอยศึกษานั้นมีด้วยกันสองกลุ่มคือ นักเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์รุ่นหนึ่ง (จบปี คศ.1940) กับนักเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์รุ่น 32 (จบปี 1971) หลักสูตรนักเรียนนายร้อยที่นับรุ่นนั้นก็คือเอามาจากเวสต์ปอยต์นั่นแหละครับ เหมือนบ้านเราก็เข้าใจว่านับรุ่นหนึ่งของบิ๊กจิ๋วบิ๊กจ๊อด จากหลักสูตรเวสต์ปอยต์เหมือนกัน
สองรุ่นนี้มีความโดดเด่นที่ต่างกัน รุ่น 1 นั้นเป็น "ทหารอาชีพ" แบบอเมริกามาก คือทหารอาชีพแบบยังไงก็ไม่ทำรัฐประหาร แต่เจ้ารุ่น 32 นี้ถ้ามองแบบไทยๆ ก็คือเป็น "ทหารอาชีพอีกแบบหนึ่ง" คือพยายามจะมี "อาชีพทำรัฐประหาร" คือทำรัฐประหารบ่อยมาก แต่ไม่สำเร็จสักที
รุ่นหนึ่งเติบโตมาในยุคสร้างชาติของประธานาธิบดี เกซอน ส่วนรุ่น 32 เติบโตมาในยุคประธานาธิบดีมาร์กอส ซึ่งปกครองประเทศด้วยกฎอัยการศึก และเพิ่มอัตราและบทบาทของทหารในการป้องกันประเทศ (และจัดการศัตรูทางการเมือง) แน่นอนครับว่าในบริบทของสงครามเย็นท่ามกลางการโอบอุ้มเป็นอย่างดีของพญาอินทรี
แหม... อดนึกถึงบ้านเรานะครับ ทำรัฐประหารตั้งแต่ก่อนรุ่นหนึ่งอีกต่างหาก คริคริ
แต่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่ารุ่น 32 นี้จะโกงหรือเกเรทำนองนี้นะครับ รุ่น 32 นี่อาจจะคล้ายกับพวกยังเติร์กบ้านเราสมัยก่อน คือเชื่อว่ากองทัพจะต้องร่วมปกครองประเทศ โดยการ "ปฏิรูปกองทัพ" โดยผู้การกริงโก้ ฮอนนาซัน ซึ่งเป็นหัวหน้ารุ่น สังกัดหน่วยรบพิเศษ
เรื่องเล่าที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าจะต่างกันถึงสามสิบปี นายทหารสองรุ่นนี้มีอะไรที่น่าสนใจคล้ายกัน คือ เมื่อการเลือกตั้งปี 1953 ฝ่ายค้านเชื่อว่ารัฐบาลจะโกงการเลือกตั้งจนชนะ ก็บีบให้รุ่นหนึ่งทำรัฐประหาร แต่รุ่นหนึ่งปฏิเสธ และนับตั้งแต่ที่เริ่มรับราชการจนเกษียณอายุ นายทหารรุ่นหนึ่งนั้นมีความภูมิใจว่าเขามีความเป็นทหารอาชีพในแบบที่ไม่โกง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ยิ่งเมื่อตอนที่มาร์กอสเริ่มจะเรืองอำนาจ ซึ่งพวกเขาเองก็อยู่ในในตำแหน่งระดับสูง พวกเขาก็ถูกบีบโดยมาร์กอสให้มาเป็นเครื่องมือของมาร์กอสในการปกครองใต้กฎอัยการศึก
ขณะที่เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี1986 ฝ่ายค้านตอนนั้นก็เชื่อว่ารัฐบาลมาร์กอสจะโกงเลือกตั้ง และสถานการณ์ก็บีบให้รุ่น 32 ทำรัฐประหาร โดยการยึดทำเนียบรัฐบาลและพยายามจับตัวมาร์กอส แต่แผนการรั่วไหล เกมส์การเมืองในปี 1986 เป็นปีที่เข้มข้นมาก เพราะเอนริเล่ และฟิเดล รามอส สอง "นาย" ทหารผู้ใหญ่ต้องออกมาช่วยรุ่น 32 เอาไว้ โดยประกาศว่าตนขอยุติการสนับสนุนมาร์กอส และจากนั้นก็นำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของ
มาร์กอส และการลุกฮือของมวลมหาประชาชนริบบิ้นเหลืองของฟิลิปปินส์ ที่สนับสนุนภรรยาม่ายของเบนิกโน อาคีโน ภายหลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งที่ตกลงไม่ได้ และศาสนจักรประกาศหนุน คอราซอน อาคีโน รวมทั้งอเมริกาพยายามให้แบ่งอำนาจกันแต่ อาคีโนไม่ยอม สุดท้ายมาร์กอสก็บินออกไปฮาวาย ภายหลังที่ประชาชนลุกฮือขึ้นขับไล่บนถนนเอ็ดซ่าด้วยมวลมหาประชาชน 2 ล้านกว่าคน
นายทหารรุ่น 32 นี้ (หรือแปลตรงๆ ว่านายทหารปฏิรูป The Reform the Armed Forces Movement (RAM)) เริ่มเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น เพราะได้รับการสนับสนุนจากคอราซอน อาคีโน เองในการเลื่อนชั้น จากนั้นพวกเขาก็หันมาคิดว่าพวกเขาจะหันมาเปลี่ยนแปลงประเทศด้วยกำลังให้สุดซอยได้อย่างไรอีกไม่ต่ำกว่าห้าครั้งแถมต้องหนีหัวซุกหัวซุนจากการตามล่าของรัฐบาล เพราะการทำรัฐประหารล้มเหลว แต่สุดท้ายในยุครามอสเป็นรองประธานาธิบดีเองก็นิรโทษกรรมให้พวกเขา และหัวหน้ารุ่นอย่างผู้การฮอนนาซันก็หันกลับมาเล่นการเมืองและเป็นวุฒิสมาชิกหลายสมัย
งานของแมคคอยชี้ว่าจะต้องดูวงจรชีวิตของทหารฟิลิปปินส์ประมาณสามสิบปี คือปีที่เขาเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย (แม้ว่ากองทัพกับนักเรียนนายร้อยไม่ได้เท่ากัน เพราะมีนายทหารจากแหล่งการศึกษาอื่นก็จริง แต่สถิติของฟิลิปปินส์ชี้ว่า ผู้นำรัฐประหารส่วนใหญ่คือทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อย) ซึ่งแมคคอยชี้ว่าหลักสูตรนักเรียนนายร้อยได้สร้างความเป็นชายชาตรีโดยกการขัดเกลานิสัยให้เกิดลักษณะสำคัญสองอย่างหนึ่งคือการภักดีต่อระบบพลเรือนเป็นใหญ่ (civil supremacy) รวมทั้งรักและหวงแหนประชาธิปไตยที่นำโดยประธานาธิบดีที่เป็นผู้นำที่มาจากประชาชน และสองคือการหลอมรวมเป็นเพื่อนร่วมรุ่น (classmate) การฝึกให้รับคำสั่งและภักดีต่อเจ้านายนั้นมีลักษณะที่เป็นลำดับชั้นและเชื่อว่าความเป็นชายชาตรีก็คือ ความกล้าหาญที่เต็มไปด้วยการเชื่อฟังและอดทนอดกลั้น
ในส่วนประสบการณ์ชีวิตส่วนที่สองของนักเรียนนายร้อย อยู่ที่เมื่อจบออกมาแล้วรับราชการใหม่ๆ เพราะในช่วงนี้พวกเขาจะเผชิญกับประสบการณ์ใหม่นอกโรงเรียน ที่มีทั้งภารกิจและความสัมพันธ์ใหม่ๆ เข้ามา ตั้งแต่เป็นลูกน้องแล้วเริ่มเติบโตขึ้นตามสายงาน ซึ่งในแง่นี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แค่ว่า อ่อ... ปีไหนได้เลื่อนขึ้นตำแหน่งไหน เป็นคนโปรดของพี่คนไหนแบบนักข่าวไทยชอบว่ากัน แต่แมคคอยชี้ว่า เรื่องใหญ่มันอยู่ที่ความสัมพันธ์ของนายทหารเหล่านั้นกับระบอบการเมืองที่พวกเขาเติบโตขึ้น ว่าระบอบการเมืองนั้นต้องการเอาทหารไปไว้ทำอะไร ซึ่งตรงนี้กินเวลายาวนานกว่าสี่ปีในโรงเรียนนายร้อย คือจนกระทั่งเกษียณอายุ ซึ่งรวมทั้งลักษณะที่ว่ารุ่นหนึ่งนั้นไม่มีผู้นำที่เข้มแข็งเท่ากับรุ่น 32 ที่มีผู้นำที่เข้มแข็งเสียจนชักจูงเพื่อนๆ มาร่วมก่อการได้
ซึ่งหมายถึงว่าระบบรุ่นนั้นมันทำงานต่อเนื่องตั้งแต่ในโรงเรียนนายร้อยมาจนถึงวันสิ้นสุดชีวิตราชการนั่นแหละครับ
นอกจากนั้นแล้ว เรื่องของทหารกับการเมืองนั้นซับซ้อนมาก เพราะทหารนั้นก่อรูปชีวทัศน์และโลกทัศน์ของเขาผ่านประสบการณ์ตรงกับการเมือง นั่นคือรุ่นหนึ่งนั้นพูดง่ายๆ คือรุ่นสร้างชาติ และรบจริงกับศัตรูนอกประเทศในตอนก่อตั้งประเทศกับเกซอน และพวกเขาต้องเผชิญกับควมเย้ายวนทางอำนาจอย่างมากมาย ก่อนที่เมื่อวันที่เขาพ้นจากราชการ งานบรรยายของแมคคอยกล่าวถึงสุนทรพจน์ของประธานรุ่นต่อหน้าโลงศพของรุ่นน้องที่กำลังเรียนอยู่คือ รุ่น 32 ให้เข้มแข็งอดทน แล้วหัวหน้ารุ่นหนึ่งก็ลงจากเวทีด้วยการขับรถโฟล์คเต่าเก่าๆ จากหน่วยทหารออกไปพร้อมกับความภูมิใจว่าพวกเขามือสะอาดและไม่มีประวัติด่างพร้อยทางการเมือง
แต่รุ่น32 นั้นเล่า จบการศึกษาเพียงปีกว่าๆ หลังจากที่มาร์กอสประกาศกฎอัยการศึกแล้วพวกเขา 85 คนถูกส่งไปสู้กับนักรบแบ่งแยกดินแดนทางใต้ และปราบปรามคนในมะนิลาผู้เห็นต่างกับมาร์กอสที่พยายามจะอยู่ในอำนาจต่อเนื่องเป็นครั้งที่สามซึ่งผิดรัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์(แต่มาร์กอสใช้คำสั่งฉุกเฉินของประธานาธิบดี และแก้รัฐ