ขออภัยนะครับถ้าผมแสดงความเห็นต่างกับพ่อตัวเองในนี้ แต่แค่อยากรู้ว่ามีคนคิดเหมือนผมหรือเปล่า
วันนี้พ่อผมดูข่าวแล้ววิเคราะห์สถานการณ์ว่า เริ่มเหมือนสมัย 14 กับ 6 ตุลา ที่รัฐบาลอ่วมหนัก ทุกฝ่ายของสังคมออกรุมต้าน นักศึกษาเริ่มออกมารวมกลุ่มกันนำการต่อต้านรัฐบาล อาจเกิดการปะทะกันครั้งใหญ่ และตระกูลชินวัตรอาจต้องออกนอกประเทศ เหมือนจอมพลถนอมกับจอมพลประภาส
แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น....
ตระกูลชินวัตรต้องออกนอกประเทศหรือเปล่า มีแต่กาลเวลา คดีความอาญา และตัวพวกเขาเอง ที่ตอบได้
เรื่องรัฐบาลอ่วม ก็เห็นๆกันอยู่ ตั้งแต่พรรคเพื่อไทยก่อตั้งมา 5 ปี ครั้งนี้เป็นการระเบิดตัวเองที่น่าอนาถที่สุด และโดนแรงต้านหนักหนาสาหัสที่สุด
แต่เรื่องนักศึกษาออกมานำการต่อต้านเนี่ย ไม่ใช่เลย
ถ้าจะดูแค่ม็อบ คปท ที่มีนักศึกษาเป็นแกนนำ และมีนักเรียนอาชีวะร่วมกิจกรรม แล้วตีความว่า นักศึกษาออกมานำการประท้วง ก็ด่วนสรุปไปหน่อย
เพราะเอาเข้าจริง แม้แต่สื่อต่างๆยังรายงานตรงกันว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคนถึงสูงอายุ
ส่วนนักศึกษาและคนหนุ่มสาวน่ะหรือ เขาก็ไปเป่านกหวีดกันตามสี่แยกต่างๆในเวลากลางวัน หรือไม่ก็ออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับสถาบันการศึกษา อยู่สัก 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันทางใครทางมัน
และแม้แต่นักศึกษาในสถาบันเดียวกัน ยังเห็นต่างกัน ทั้ง ม.รามฯ ที่แถลงให้แกนนำ คปท หยุดใช้ชื่อสถาบันมาอ้าง หรือนักศึกษาบางส่วนในธรรมศาสตร์ขึ้นป้ายแสดงความไม่เห็นด้วยต่อเอาชื่อสถาบันไปใช้คัดค้านรัฐบาล
อีกทั้งมวลชนในสมัย 14 กับ 6 ตุลา นั้น มีความเป็นเอกภาพสูงมาก ทุกคนทุกฝ่ายพร้อมใจกันต่อต้านรัฐบาลอย่างแท้จริง รวมกลุ่มกันเป็นก้อนใหญ่ ด้วยเป้าหมายร่วมกัน และไม่มีฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลเหมือนสมัยนี้
แต่มาสมัยนี้ นอกจากฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลแล้ว ในแต่ละฝ่ายยังแบ่งซอยเป็นกลุ่มย่อยๆอีกมากมาย แล้วในบรรดากลุ่มย่อยเหล่านี้ บางกลุ่มก็ไม่กินเส้นกัน ไม่ต้องการร่วมมือกันอย่างเป็นเอกภาพ (ไม่งั้นเราคงเห็นจำลองไปขึ้นเวทีม็อบ ปชป แล้ว)
อีกทั้งคนสมัยนี้เริ่มเล็งเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนหรือฝ่ายต่อต้าน ล้วนแต่มีนักการเมืองหนุนหลัง ผิดจากสมัย 14 กับ 6 ตุลา ที่ภาพลักษณ์ของนักศึกษาดูเป็นพลังบริสุทธิ์
คนสมัยนี้ที่ไม่อยากตกเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองใดๆ และเบื่อหน่ายกับการชุมนุมใหญ่ใน กทม ก็เริ่มไม่อยากออกไปร่วมการชุมนุมที่หวังผลถึงขั้นล้มรัฐบาล
การจะล้มรัฐบาลด้วยการอาศัยมวลชนแต่เพียงอย่างเดียว จนอาจเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ครั้งใหญ่ และมีผลให้ตระกูลใดตระกูลหนึ่งต้องออกนอกประเทศ ด้วยเหตุการณ์เพียงจุดๆเดียวนั้น จึงเป็นไปได้ยากในสมัยนี้
ในสถานการณ์ปัจจุบัน อำนาจที่จะล้มรัฐบาลได้อย่างแท้จริง มีแต่ทหารเท่านั้น (ศาล รธน. ยังทำไม่ได้เลย เพราะนายกฯไม่ได้เป็น กก.บริหารพรรค พรรคโดนยุบไป นายกฯก็ยังอยู่ในตำแหน่งได้)
พ่อผมบอกว่า สถานการณ์ตอนนี้อาจเหมือน 14 กับ 6 ตุลา เพราะ นศ. เริ่มออกมาต่อต้านรัฐบาล?
วันนี้พ่อผมดูข่าวแล้ววิเคราะห์สถานการณ์ว่า เริ่มเหมือนสมัย 14 กับ 6 ตุลา ที่รัฐบาลอ่วมหนัก ทุกฝ่ายของสังคมออกรุมต้าน นักศึกษาเริ่มออกมารวมกลุ่มกันนำการต่อต้านรัฐบาล อาจเกิดการปะทะกันครั้งใหญ่ และตระกูลชินวัตรอาจต้องออกนอกประเทศ เหมือนจอมพลถนอมกับจอมพลประภาส
แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น....
ตระกูลชินวัตรต้องออกนอกประเทศหรือเปล่า มีแต่กาลเวลา คดีความอาญา และตัวพวกเขาเอง ที่ตอบได้
เรื่องรัฐบาลอ่วม ก็เห็นๆกันอยู่ ตั้งแต่พรรคเพื่อไทยก่อตั้งมา 5 ปี ครั้งนี้เป็นการระเบิดตัวเองที่น่าอนาถที่สุด และโดนแรงต้านหนักหนาสาหัสที่สุด
แต่เรื่องนักศึกษาออกมานำการต่อต้านเนี่ย ไม่ใช่เลย
ถ้าจะดูแค่ม็อบ คปท ที่มีนักศึกษาเป็นแกนนำ และมีนักเรียนอาชีวะร่วมกิจกรรม แล้วตีความว่า นักศึกษาออกมานำการประท้วง ก็ด่วนสรุปไปหน่อย
เพราะเอาเข้าจริง แม้แต่สื่อต่างๆยังรายงานตรงกันว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคนถึงสูงอายุ
ส่วนนักศึกษาและคนหนุ่มสาวน่ะหรือ เขาก็ไปเป่านกหวีดกันตามสี่แยกต่างๆในเวลากลางวัน หรือไม่ก็ออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับสถาบันการศึกษา อยู่สัก 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันทางใครทางมัน
และแม้แต่นักศึกษาในสถาบันเดียวกัน ยังเห็นต่างกัน ทั้ง ม.รามฯ ที่แถลงให้แกนนำ คปท หยุดใช้ชื่อสถาบันมาอ้าง หรือนักศึกษาบางส่วนในธรรมศาสตร์ขึ้นป้ายแสดงความไม่เห็นด้วยต่อเอาชื่อสถาบันไปใช้คัดค้านรัฐบาล
อีกทั้งมวลชนในสมัย 14 กับ 6 ตุลา นั้น มีความเป็นเอกภาพสูงมาก ทุกคนทุกฝ่ายพร้อมใจกันต่อต้านรัฐบาลอย่างแท้จริง รวมกลุ่มกันเป็นก้อนใหญ่ ด้วยเป้าหมายร่วมกัน และไม่มีฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลเหมือนสมัยนี้
แต่มาสมัยนี้ นอกจากฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลแล้ว ในแต่ละฝ่ายยังแบ่งซอยเป็นกลุ่มย่อยๆอีกมากมาย แล้วในบรรดากลุ่มย่อยเหล่านี้ บางกลุ่มก็ไม่กินเส้นกัน ไม่ต้องการร่วมมือกันอย่างเป็นเอกภาพ (ไม่งั้นเราคงเห็นจำลองไปขึ้นเวทีม็อบ ปชป แล้ว)
อีกทั้งคนสมัยนี้เริ่มเล็งเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนหรือฝ่ายต่อต้าน ล้วนแต่มีนักการเมืองหนุนหลัง ผิดจากสมัย 14 กับ 6 ตุลา ที่ภาพลักษณ์ของนักศึกษาดูเป็นพลังบริสุทธิ์
คนสมัยนี้ที่ไม่อยากตกเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองใดๆ และเบื่อหน่ายกับการชุมนุมใหญ่ใน กทม ก็เริ่มไม่อยากออกไปร่วมการชุมนุมที่หวังผลถึงขั้นล้มรัฐบาล
การจะล้มรัฐบาลด้วยการอาศัยมวลชนแต่เพียงอย่างเดียว จนอาจเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ครั้งใหญ่ และมีผลให้ตระกูลใดตระกูลหนึ่งต้องออกนอกประเทศ ด้วยเหตุการณ์เพียงจุดๆเดียวนั้น จึงเป็นไปได้ยากในสมัยนี้
ในสถานการณ์ปัจจุบัน อำนาจที่จะล้มรัฐบาลได้อย่างแท้จริง มีแต่ทหารเท่านั้น (ศาล รธน. ยังทำไม่ได้เลย เพราะนายกฯไม่ได้เป็น กก.บริหารพรรค พรรคโดนยุบไป นายกฯก็ยังอยู่ในตำแหน่งได้)