: จริงๆ แล้วเรากำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าไหร่ แม้นั่งอยู่เฉยๆ ?

กระทู้คำถาม
ผมเกิดสงสัยขึ้นมาหลังจากดูสารคดี แล้วเขากระตุ้นความจำวัยเด็กว่า "โลกหมุนรอบตัวเอง"

วงรอบของโลกมีระยะทางเท่าไหร่ มันหมุนมาบรรจบได้ในเวลา 24 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าถ้าคิดด้วยความเร็ว x,xxx ต่อกิโมเมตร เรากำลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสูงมากเลยรึเปล่า ? นี่ยังไม่นับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่มีระยะทางมหาศาล แต่เราบรรลุได้ด้วยเวลา 365 วัน

มันทำให้ผมคิดเลยไปว่า หากเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าการหมุนของโลก "ในทิศทางตรงกันข้าม" จะเกิดการย้อนเวลาหรือเปล่า (อันนี้คิดเล่นๆ) เพราะมันคือข้อจำกัดที่แม้เครื่องบินความเร็วหลายๆ มัค ยังก้าวผ่านไปไม่ได้

ขออภัยหากดูไร้สาระเกินไปในชีวิตประจำวันแต่มันสงสัยจริงๆ ท่านใดสนใจเรื่องเดียวกันและพอมีความรู้ ช่วยสงเคราะห์ทีครับ 555+

----------

ปล. ผมไม่ได้จบฟิสิกซ์แต่เริ่มมีความสนใจภายหลัง ขอพึ่งพาห้องนี้นะครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ขออธิบายตามภาพข้างล่างนี้ครับ
หากพิจารณากรอบอ้างอิงเฉพาะโลกเรา กับ อวกาศข้างนอกโลก
เราจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมตามภาพนี้ครับ
คือ ความเร็วเชิงมุมจะเพิ่มขึ้นตามตำแหน่งที่เรายืน ณ เส้นรอบวงของโลก
การเคลื่อนที่ตามกรอบอ้างอิงนี้ จะไม่มีผลให้เรารู้สึกใด ๆ เพราะเราผสานเป็นหนึ่งเดียวกับบรรยากาศโลกครับ
และโลกหมุนด้วยความเร็วคงที่ ไม่มีความเร่ง เราจึงไม่รู้สึกอะไร
มีเพียงแต่น้ำหนักของเราจะลดลงประมาณ 0.3% ที่บริเวณเส้น Equator
เนื่องจาก centrifugal force กระทำต่อตัวเรา



ส่วนการย้อนเวลานั้น ก็เป็นคนละเรื่องกับการเคลื่อนที่ข้างต้น
เพราะนิยามคนละแบบกันเลย ไม่เกี่ยวข้องต่อกันครับ

และหากพิจารณากรอบอ้างอิงเทียบกับแกนกลางทางช้างเผือก
เราจะโคจรไปพร้อมกับระบบสุริยะตามภาพนี้ครับ
ความเร็วประมาณ 220 กม./วินาที ด้วยระนาบเอียงประมาณ 67 องศา



พูดถึงการย้อนเวลา ผมยังชอบ scene นี้ของเรื่อง Superman มากครับ ... ย้อนได้ตามที่ จขกท.ต้องการ ยิ้ม
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่