ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บริเวณลานกว้างด้านหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สถานที่รับลงทะเบียนผู้สนใจและประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 9 อำเภอ จ.อุตรดิตถ์ เพื่อเข้าร่วมเวทีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามแผ่นแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย บรรยากาศคึกคักมีประชาชนสนใจเข้าร่วมเวที ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ในการดำเนินการโครงการฯ คือ อำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่า อำเภอเมือง อำเภอพิชัย และอำเภอลับแล กว่า 1,000 คน ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัย คุมเข้มผู้เข้าร่วมเวทีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภ.จว.อุตรดิตถ์ 200 นาย
ขณะที่ภายในหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สถานที่จัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามแผ่นแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ของจังหวัดอุตรดิตถ์ นายชัช กิตตินภดล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดโครงการฯก่อนที่ทีมวิทยากรจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการชี้แจงและแบ่งกลุ่มย่อย 20 กลุ่มตามพื้นที่เป้าหมาย ในการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นต่อการบริการจัดการน้ำของรัฐบาลภายใต้งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่รัฐบาลมุ่งหวังเพื่อใช้แก้ไขปัญหาอุทกภัย พื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่กลางน้ำ
นายชัช กล่าวบรรยากาศพิเศษว่าโครงการเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและการแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยเป็นแผนการดำเนินงานที่เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ การสร้างฝายชะลอน้ำที่พื้นที่กลางน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และพื้นที่ปลายน้ำที่เร่งระบายน้ำและผลักดันน้ำออกสู่ทะเล ที่ดำเนินการ 9 แผนงาน ครอบคลุมพื้นที่ 36 จังหวัดที่รัฐบาลมุ่งหวังเพื่อใช้แก้ไขปัญหาอุทกภัย ซึ่งมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนฯ จังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อนดำเนินโครงการฯ
สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ จะมีแผนงานงานหลัก อยู่ 3 แผนงาน คือ 1.การสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืน โดยมีพื้นที่เก็บกักไม่น้อยกว่า 1,300 ล้าน ลบ.ม. ที่ ตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด ด้วยการสร้าอ่างเก็บน้ำห้วยพังงา และที่ ตำบลฟากท่า อำเภอฟากท่า เป็นอ่างเก็บน้ำ แม่น้ำปาด 2.เป็นการจัดผังการใช้ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งการจัดพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลัก รวมไปถึงพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน มี 2 แห่ง คือ อ.เมืองอุตรดิตถ์ 2 ตำบล คือ ตำบลท่าอิฐ และตำบลท่าเสา กับที่อำเภอลับแล เขตเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ ซึ่งกำหนดเป็นพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากอุทกภัย และ 3.การปรับปรุงขยายลำน้ำสายหลักด้วยการขุดคลอง หรือการดำเนินการป้องกันการกัดเซาะตลิ่งริมแม่น้ำ มีจุดที่จะดำเนินการขุดขยายคลอง 2 ตำบล คือ คลองหกบาท ลุ่มน้ำยม-น่าน ในพื้นที่อำเภอพิชัย ที่ตำบลคอรุม และตำบลไร่อ้อย เวทีดังกล่าว อยากให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ทั้งผลดี ผลกระทบ เพื่อนำมาเป็นส่วนในการพิจารณาดำเนินโครงการฯ
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=701333&lang=T&cat=&key=
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประชาชนออกความเห็นได้เต็มที่จ้า กับโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลเพื่อประชาชนในพื้นที่
ป.ล. เดี๋ยวต้องมีประชาชนนอกพื้นที่ๆ ไม่ได้ร่วมประชุม ออกมาคัดค้านแ่น่ ตามเสต็ป
เวทีบริหารจัดการน้ำที่อุตรดิตถ์เริ่มแล้ว ประชาชนมาเสนอความเห็นกันเยอะแยะ
ขณะที่ภายในหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สถานที่จัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามแผ่นแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ของจังหวัดอุตรดิตถ์ นายชัช กิตตินภดล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดโครงการฯก่อนที่ทีมวิทยากรจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการชี้แจงและแบ่งกลุ่มย่อย 20 กลุ่มตามพื้นที่เป้าหมาย ในการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นต่อการบริการจัดการน้ำของรัฐบาลภายใต้งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่รัฐบาลมุ่งหวังเพื่อใช้แก้ไขปัญหาอุทกภัย พื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่กลางน้ำ
นายชัช กล่าวบรรยากาศพิเศษว่าโครงการเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและการแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยเป็นแผนการดำเนินงานที่เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ การสร้างฝายชะลอน้ำที่พื้นที่กลางน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และพื้นที่ปลายน้ำที่เร่งระบายน้ำและผลักดันน้ำออกสู่ทะเล ที่ดำเนินการ 9 แผนงาน ครอบคลุมพื้นที่ 36 จังหวัดที่รัฐบาลมุ่งหวังเพื่อใช้แก้ไขปัญหาอุทกภัย ซึ่งมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนฯ จังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อนดำเนินโครงการฯ
สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ จะมีแผนงานงานหลัก อยู่ 3 แผนงาน คือ 1.การสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืน โดยมีพื้นที่เก็บกักไม่น้อยกว่า 1,300 ล้าน ลบ.ม. ที่ ตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด ด้วยการสร้าอ่างเก็บน้ำห้วยพังงา และที่ ตำบลฟากท่า อำเภอฟากท่า เป็นอ่างเก็บน้ำ แม่น้ำปาด 2.เป็นการจัดผังการใช้ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งการจัดพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลัก รวมไปถึงพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน มี 2 แห่ง คือ อ.เมืองอุตรดิตถ์ 2 ตำบล คือ ตำบลท่าอิฐ และตำบลท่าเสา กับที่อำเภอลับแล เขตเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ ซึ่งกำหนดเป็นพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากอุทกภัย และ 3.การปรับปรุงขยายลำน้ำสายหลักด้วยการขุดคลอง หรือการดำเนินการป้องกันการกัดเซาะตลิ่งริมแม่น้ำ มีจุดที่จะดำเนินการขุดขยายคลอง 2 ตำบล คือ คลองหกบาท ลุ่มน้ำยม-น่าน ในพื้นที่อำเภอพิชัย ที่ตำบลคอรุม และตำบลไร่อ้อย เวทีดังกล่าว อยากให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ทั้งผลดี ผลกระทบ เพื่อนำมาเป็นส่วนในการพิจารณาดำเนินโครงการฯ
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=701333&lang=T&cat=&key=
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประชาชนออกความเห็นได้เต็มที่จ้า กับโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลเพื่อประชาชนในพื้นที่
ป.ล. เดี๋ยวต้องมีประชาชนนอกพื้นที่ๆ ไม่ได้ร่วมประชุม ออกมาคัดค้านแ่น่ ตามเสต็ป