การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีจากประสบการณ์ของมหาเศรษฐีโลก

กระทู้สนทนา
เมื่อเดือนก่อน ได้อ่านบทความของหนังสือ ฟอบส์เอเชีย ฉบับหน้าปกคุณปู่ วอเรน บัฟเฟต รายงานอันดับเศรษฐีโลกปี2013 คุณปู่ยังติดอันดับ 2 และมีเรื่องน่าสนใจที่ทางฟอบส์ จัดประชุมสัมมนาของพวกมหาเศรษฐี ที่องค์การสหประชาชาติ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกอย่างไรไม่ให้เสียคนและโตขึ้นมาเป็นผู้ที่มีจิตกุศล อ่านแล้วชอบและทึ่งแนวคิดของพวกเศรษฐีฝรั่งมากๆ (เศรษฐีเมืองไทยจะมีสักกี่คนที่คิดถึงคนคนไทยด้วยกัน ) เขาบริจาคเงินจำนวนมหาศาลเพื่อช่วยเหลือคนทั่วโลกยังไม่พอ เขาถ่ายทอดความคิดนี้ให้กับทายาทของเขาด้วย ขอคารวะด้วยใจจริง อยากให้คนไทยได้อ่านบทความดีๆ แบบนี้ ถ้าอยากได้อรรถรส หาต้นฉบับมาอ่านกันก็ดีครับ ลองอ่านดูครับ

เศรษฐีพันล้านกับการอบรมทายาทให้เป็นคนดี
แปล, เรียบเรียง : นพ.ธวัชชัย  ลิมป์สถบดี
แผนกศูนย์คนไข้ญี่ปุ่น, ร.พ.กรุงเทพ
[ตอนที่ 1]
            คนที่ประสบความสำเร็จทางการเงินอย่างยิ่งใหญ่ เขามีวิธีหลีกเลี่ยงอย่างไรไม่ทำให้ลูกเสียคน เศรษฐีจาก 3 ครอบครัวอเมริกันที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจมหาศาล ครอบครัวบัฟเฟต, พริสเกอร์ และ คาลสันจะเล่าประสบการณ์ดีๆให้เราฟัง

                          
                            นาย วอเรน บัฟเฟต มหาเศรษฐีอันดับสองของโลก ปี2013
         ในการสัมมนา การประชุมสุดยอดประจำปีของเศรษฐีผู้มีจิตกุศล ครั้งที่สอง จัดโดยนิตยสารฟอบส์ เมื่อวันที่ 4มิถุนายน 2013ที่องค์การสหประชาชาติ เกี่ยวกับเนื้อหาของเด็กโดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงดูพวกเขาให้มี ความกล้าหาญที่จะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น แทนที่จะมอมเมาเขาด้วยรถสปอต หรูๆในโรงเก็บ นายวอเรน บัฟเฟต (มหาเศรษฐีอันดับสองของโลก ปี2013จากการ จัดลำดับ ของ นิตยสารฟอบส์), นายปีเตอร์ บัฟเฟต (ลูกชาย),มาริลิน คาร์สัน เนลสัน (อดีตประธานบริหารในเครือร้านอาหารและกลุ่มโรงแรมคาร์สัน และเป็น ผู้นำของครอบครัวที่เพศหญิงเป็นแกนนำ) และลีเซล พริสเกอร์ ซิมมอน รุ่นที่สี่ ของครอบครัวในเครือโรงแรม พริสเกอร์โฮเตล ทั้งสี่คนในการประชุมโต็ะกลมของครอบครัวมหาเศรษฐี โดยมีผู้ร่วมฟังอีก150 คนซึ่ง เป็นเศรษฐีระดับพันล้านขึ้นไป หรือเกือบๆจะถึงพันล้าน(เหรียญสหรัฐ)
  
                          

ฟอบส์ / คุณ บัฟเฟต คุณทำอย่างไรถึงทำให้ลูกๆที่เติบโตในครอบครัวร่ำรวยมีส่วนร่วมที่จะแบ่งปันคุณค่าในตัวพวกเขา ซึ่งลูกๆทั้ง 3 คนของคุณล้วนตื่นตัวอย่างมากในงานสาธารณกุศล
วอเรน / ลูกๆ ของเราเติบโตในแบบที่ปกติมากๆ พวกเราอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมที่เราอยู่มาตั้งแต่แรก ผมซื้อมาตั้งแต่ปี 1958 พวกเขาไม่เคยเห็นว่าเราย้ายบ้านไปที่ใหม่ที่หรูหรากว่า ไม่มีเครื่องบินส่วนตัว พวกเขาไปโรงเรียนโดยรถประจำทาง สมาชิกครอบครัวทุกคนในเมืองโอมาฮาที่เราอยู่ เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลที่แม่ของพวกเขาเคยเรียน ชุมชนที่เราอยู่รายได้ของเพื่อนบ้านประมาณ 75,000เหรียญต่อปี(ฐานะปานกลาง) ลูกๆเลยไม่เคยคิดว่าพวกเรามีฐานะแตกต่างจากเพื่อนบ้านเหล่านั้น
ฟอบส์ / ตอนที่พวกคุณฐานะดีขึ้น คุณพยายามที่จะไม่เปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิต?
วอเรน / ไม่เลย ผมและภรรยาเพียงต้องการมีชีวิตในแบบที่เราต้องการ และลูกๆของเราก็โตมาในแบบนั้น ไม่มีอะไรที่เราต้องการแล้วยังไม่มี แต่เราก็ไม่ได้ปรารถนาทรัพย์สมบัติมากมายหรืออะไรทำนองนั้น เรามีความสุขในชีวิต บ้านเป็นศูนย์กลางของกิจกรรม โดยเฉพาะเพื่อนๆของลูกสาว และพวกเพื่อนบ้านก็ไม่คิดว่าพวกเราทำอะไรที่พิเศษกว่าคนอื่น มีบางอย่างที่ผมทำให้เขาประหลาดใจเพราะเป็นเวลา 6 ปีที่ผมไม่มี ออฟฟิส เป็นของตัวเองทำงานที่บ้านในห้องถัดออกมาจากห้องนอน ไม่มีเลขาส่วนตัว ไม่มีสมุห์บัญชีส่วนตัว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะทำให้ลูกๆมีความรู้สึกที่ไม่ปกติเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆ
ฟอบส์ / คุณปีเตอร์ครับ ตอนที่คุณเห็นรูปคุณพ่อในการจัดอันดับเศรษฐีคนอเมริกันของนิตยสารฟอบส์ คุณปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับคุณพ่อ และเขาเลี้ยงดูคุณอย่างไรหลังจากนั้น

                                            
                                            ปีเตอร์ บัฟเฟต อาชีพนักดนตรีและนักประพันธ์ ลูกชายคนเล็ก ของนาย วอเรน บัฟเฟต  

ปีเตอร์ / ครับ น่าจะเป็นตอนที่เราเห็นว่า เงินมากมายที่เรามีก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัว ผมไม่ได้พูดเล่น ตอนนั้นผมอายุราวๆ20กว่าๆ แม่กับผมพูดกันเรื่องที่พ่ออยู่ในรายชื่อนั้นแล้วเราก็หัวเราะ เราพูดว่า มันน่าตลกดีนะ พวกเรารู้ตัวดีว่าพวกเราเป็นใคร แต่ทุกคนกำลังทำกับเราให้แตกต่างไปจากเดิม  เป็นการเปลี่ยนไปอย่างน่าปลื้มใจ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร เพราะเราไม่ได้อยู่ในโลกหรือการตีกรอบของประเพณีที่พวกเศรษฐีจำนวนมากถูกแสดงออกมา  พวกเพื่อนๆก็ประหลาดใจเหมือนกับพวกเรา
วอเรน / พวกเด็กๆถูกสร้างขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป ลูกๆรู้ว่าเพื่อนเขาเป็นใคร และเพื่อนๆคบกับลูกผมเพราะชอบในความเป็นตัวของเขา ไม่ใช่เพราะเขาเป็นเศรษฐีเด็กขึ้นแท่น หรือ อะไรทำนองนั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่