สวัสดีครับวันนี้ท่านทูตเนมพาทุกท่านมาชมหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงถึง 132.2 เมตร ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้ถึงศรีราชา เขตเขาเขียวเลยทีเดียวครับ แต่โชคไม่เข้าข้างผมวันนี้ผมขึ้นไปด้านบนชั้น T6 สภาพอากาศไม่เป็นใจเลยอดชมทัศนียภาพที่สามารถมองได้ไกลถึงเขาเขียว เสียดายนิดๆๆ แต่ก็คุ้มครับที่ได้มาเยือนหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลกซึ่งอยู่ใน ประเทศไทยและได้มาชมการทำงาน อีกทั้งได้เรียนรู้การทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งผมมีรายละเอียดต่างๆมาให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจไปพร้อมๆกัน เป็นสาระน่ารู้ที่หาได้ยากครับขอพาทุกท่านมาเจาะลึกอาชีพที่ต้องทำงานบนความ สูง132.2เมตรและอาคารนี้เป็นการทำงานที่ไม่มีคำว่า “ หยุด ” เปิดทำการตลอด 24ชั่วโมงครับ
จากภาพ; Air Traffic Control Tower หรือ ATCT ซึ่งอยู่ในการดูแลของAEROTHAI บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (Aeronautical Radio of Thailand Ltd.)
ในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศนั้น มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้
-เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานที่บินอยู่ในอากาศ
- เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานกับสิ่งกีดขวางภาคพื้น
-เพื่อให้การจราจรทางอากาศเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
เรามาเริ่มต้นจากการเดินทางขึ้นไปด้านบนกันเลยนะครับ จากภาพ เป็นป้ายด้านหน้าหอบังคับการบิน ซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยสูงมากๆ เพราะเป็นสถานที่สำคัญ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทย ให้เป็นหน่วยงานผู้ให้บริการการเดินอากาศของประเทศ อันสืบเนื่องมาจากการจัดตั้งและแบ่งอาณาเขตแถลงข่าวการบิน (Flight Information Region) ของแต่ละประเทศ ในการประชุม ICAO 1st Southeast Asia Regional Air Navigation Meeting, New Delhi,1948 โดยมีงานด้านเส้นทางบิน(En-Epute)ส่วนงานด้านบริการสนามบิน(Terminal)ที่ จัดการจราจร ทางอากาศโดยรอบๆ แต่ละสนามบินยังเป็นงานของกรมการบินพานิชย์ กระทรวงคมนาคม และกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้โอนความรับผิดชอบมาให้บริษัทฯทั้งหมด
นอกจากนั้นยังมี งานแถลงข่าวการบิน(Flight Information Service)อันเป็นงานที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำ และให้ข่าวสาร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัยในการบินและให้การบินลุล่วงไปอย่างมีผลกับ งานอีกสองด้านคืองานเตือนภัยการบิน (Alerting Service)กับงานด้านค้นหาและช่วยเหลือ(Search and Rescue)อัน เป็นงานที่มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วย งานที่เหมาะสมในกรณีที่อากาศยานต้องการความช่วยเหลือ งานบริการควบคุมจราจร ทางอากาศนับได้ว่าเป็นงานที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการจัดการให้อากาศยานลำ หนึ่ง เริ่มทำการบินจนกระทั่งบินถึงท่าอากาศยานปลายทางได้เพราะเป็นงานเพื่อการ ป้องกันไม่ให้อากาศยานชนกันเอง รวมถึงการป้องกันไม่ให้อากาศยานชนกับสิ่งกีดขวางทั้งในพื้นที่ปฏิบัติการและ สิ่งกีดขวางอื่นในขณะทำการบิน เช่น บอลลูน ภูเขา รถที่แล่นไปมาในพื้นที่ที่เป็นลานจอดหรือทางวิ่งเป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้การจราจรทางอากาศ เกิดความคล่องตัวและเป็นระเบียบอีกด้วย
งานควบคุมการจราจรทางอากาศตามแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบันแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ชนิด โดยจำแนกตามบริเวณที่ควบคุมคือ
การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน
( Aerodrome Control Service )
การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน
( ApproachControl Service )
การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน
( Area Control Service )
มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
1.การบริหารจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management)
2.การบริหารระบบสื่อสาร ระบบช่วยการเดินอากาศ และระบบติดตามอากาศยาน (Aeronautical Communiction,Navigation and Surveillance System/Services)
3.การบริการข่าวสารการเดินอากาศและงานแผนที่เดินอากาศ (Aeronautical Information Services and aeronautical Charts)รวมทั้ง บริการเกี่ยวเนื่อง และงานตามนโยบายรัฐบาล
จากภาพ; ลิฟต์ขึ้นไปยังแต่ละชั้น ซึ่ง จนท. บอกผมว่าถ้าต้องเดินขึ้นกันจริงๆใช้เวลาเดินถึงชั้นบนสุด ในเวลา50นาที ในอาคารหลังนี้ประกอบด้วย ห้องนอน ห้องพักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่วิทยุการบิน ซึ่งการทำงานของเจ้าหน้าที่จะทำงานโดยมีการพัก เช่น ทำ2ชั่วโมงพัก1ชั่วโมง เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดเพื่อให้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้
และเมื่อขึ้นลิฟต์มาแล้วยังไม่หมดครับ ยังมีระบบรักาาความปลอดภัยอีกชั้นนึง คือ ต้องทาบบัตรพนักงานหรือบัตรอนุญาติและเดินวนขึ้นบันไดไปอีกครับ เล่นเอาผมเหนื่อยกับการขึ้นนิดๆแต่ไม่ท้อครับ
และเมื่อขึ้นมาถึงชั้นบนที่เป็นส่วนของการสื่อสารการจราจรทางอากาศระหว่าง เจ้าหน้าที่หอบังคับการบินกับนักบิน ผมก็ตื่นเต้นอย่างมากครับ บรรยากาศแบบว่า เจ้าหน้าที่ทำงานกันอย่างเคร่งเครียดและขยันทุกท่าน อีกทั้งจะต้องคุยกับนักบินตลอดการสนทนาจนกว่าเครื่องจะลงจอดแล้วเสร็จหรือ เครื่องบินได้ผ่านน่านฟ้าของประเทศไทยไปแล้ว
เอาเป็นว่าเรามาดูสาระสำคัญที่ผมอยากให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงอาชีพอาชีพหนึ่ง ที่มีความขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์อีกเยอะครับ ปัจจุบัน เองมีเจ้าหน้าที่ประมาณไม่เกิน250คน ซึ่งถ้าเฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงานแล้วยังขาดแคลนอีกกว่า 70คน ซึ่งต้องมีถึง320คนโดยประมาณ การทำงานแบ่งออกเป็น4กะ
ซึ่งหอบังคับการบินแห่งนี้ ณ ท่าอากาสยานสุวรรณภูมิ เจ้าหน้าที่ทั้งหมดใน1วันต้องทำงานรองรับเที่ยวบินถึง803เที่ยวบิน/ต่อวัน (ข้อมูล ณ 4พ.ย. 2556) และมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง950เที่ยวบิน/ต่อวัน หรือทั้ง2ทางวิ่ง 68เที่ยวบิน/ต่อชั่วโมง ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเที่ยวบินจากสายการบินที่บินเข้าและออกตามปกติแล้ว ยังมีเที่ยวบินเช่าเหมาลำจากจีนและรัสเซียอีกด้วย ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น
หากรวมกับที่สนามบินดอนเมืองแล้ว ที่สนามบินดอนเมืองมีเที่ยวบินถึง450เที่ยวบิน/ต่อวัน และมีโอกาสเพิ่มสูงถึง500เที่ยวบิน/ต่อวัน เฉลี่ยแล้วAEROTHAIต้องทำงานถึงวันละ1,000กว่าเที่ยวบิน
เฉพาะในกรุงเทพฯ
ถ้าทุกท่านอ่านแล้วจินตนาการตามผมท่านจะทราบว่า บนท้องฟ้านั้นแทบจะเล็กมากๆๆเพราะถ้าท่านได้ชมจากภาพซึ่งไม่สามารถเผยแพร่ ได้ และบนท้องฟ้ามีเครื่องบินที่บินสวนกันและที่อยู่ในระดับห่างกันเพียงไม่เท่า ไหร่ นั่นหมายถึงการจราจรทางอากาศที่หนาแน่นมากๆ และหากท่านจินตนาการตามสนามบินดังๆที่มีเที่ยวบินเยอะกว่าประเทศ ไทยอย่างParis CDG ท่านคงอึ้งเหมือนกับผม ว่าท้องฟ้าเล็กจริงๆ
ด้านปฏิบัติการ มีหน้าที่รับผิดชอบแบ่งได้ดังนี้
1. การควบคุมจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบิน (Approach Control) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมจราจร และจัดการจราจรทางอากาศ เพื่อนำอากาศยาน เข้า-ออก และบินผ่านในพื้นที่ความรับผิดชอบบริเวณโดยรอบสนามบินระยะ 50 ไมล์ทะเล (1 ไมล์ทะเลเท่ากับ 1.852 กิโลเมตร) ระยะสูง 16,000 ฟุต ซึ่งจะครอบคลุมทั้งท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากมีระยะทางที่ใกล้กันมาก (มีระยะห่างกันประมาณ 15 ไมล์ทะเล) โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ (Bangkok Area Control Center) และหน่วยควบคุมจราจรทางอากาศเขตบริเวณสนามบิน (Aerodrome Control) หรือหน่วยงานอื่นที่มีเขตประชิดกับพื้นที่รับผิดชอบแล้วแจ้งเตือนนักบินให้ ใช้เส้นทางบิน เข้า-ออก หรือบินผ่านตามวิธีการหรือข้อกำหนด ตลอดทั้งการให้ข้อมูลของสภาพทั่วไปของสนามบิน เช่น ข่าวอากาศการบิน และข่าวเกี่ยวกับสภาพสนามบิน นอกจากนั้นการจัดอันดับการเข้า – ออก ของอากาศยาน ณ ท่าอากาศยาน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และปลอดภัยต่ออากาศยาน ด้วยการใช้ระบบ/อุปกรณ์สื่อสารการเดินอากาศ และอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวเนื่องในการติดต่อประสานงาน
2. การควบคุมจราจรทางอากาศเขตบริเวณสนามบิน (Aerodrome Control) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมจราจรทางอากาศให้กับอากาศยานที่ ขึ้น-ลง ในพื้นที่รับผิดชอบโดยรอบสนามบินต่อจาก Approach Control ที่ระยะประมาณ 5 ไมล์ทะเลจนถึงสนามบิน
รวมทั้งอากาศยานบนทางวิ่ง ทางขับ และลานจอด โดยผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจะปฏิบัติงานอยู่บนหอบังคับการบิน ซึ่งสูงพอที่จะสามารถมองเห็นอากาศยานได้ชัดเจนโดยรอบสนามบินประกอบด้วยการ ควบคุมจราจรอากาศ 2 ตำแหน่งคือ
Local Control หรือ Tower Control รับผิดชอบการควบคุมจราจรของอากาศยานบนทางวิ่งและในอากาศโดยรอบสนามบิน หรือตามพื้นที่ที่กำหนดในเขตจราจรโดยรอบของท่าอากาศยาน และมีหน้าที่ในการกำหนดทางวิ่งขึ้น-ลง ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ (สวนทางกับทิศทางลม) ติดต่อประสานงานกับ Approach Control ในการจัดลำดับให้แก่อากาศยานเข้า-ออก และแจ้งเตือนนักบินให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดการบิน
Ground Control มีหน้าที่รับผิดชอบการควบคุมจราจรของอากาศยานและยานพาหนะบนทางขับและลานจอด ให้ขับเคลื่อนด้วยความปลอดภัย เป็นระเบียบ และรวดเร็ว ให้คำอนุญาตการขับเคลื่อนของอากาศยาน และยานพาหนะอื่นๆ บนทางขับ/ลานจอด ตลอดทั้งการแจ้งข่าวสารข้อมูลแก่นักบิน และหน่วยสนับสนุนภาคพื้นดินหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการอำนวยความสะดวกให้แก่อากาศยานที่มาใช้บริการ
3. การให้บริการสื่อสารการบินและการเดินอากาศ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ โดยให้บริการสื่อสารการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเกี่ยวกับการรับ – ส่ง ถ่ายทอดและ/หรือกระจายข่าวแผนการบิน ข่าวอากาศการบิน ข่าวประกาศนักบิน และข่าวอื่นๆ ที่นักบินและผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจำเป็นต้องรับทราบ
4. ด้านการบริการเครื่องช่วยการเดินอากาศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อากาศยานที่ทำการขึ้น-ลงได้อย่างปลอดภัย ประกอบด้วย
เครื่องช่วยการเดินอากาศบอกทิศทางจากสนามบิน (DVOR) หรือ ( Doppler Very High Frequency Omni-directional Range)
เครื่องช่วยการเดินอากาศบอกระยะทางระหว่างสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศกับตำแหน่งที่เครื่องบินกำลังบินอยู่ (DME) หรือ (Distance Measuring Equipment)
เครื่องช่วยในการนำเครื่องบินลงสู่สนามบิน (ILS) หรือ (Instrument Landing System)
RMMC (Remote maintenance and Monitoring Configuration ) เป็นระบบตรวจสอบสภาวะและควบคุมการทำงานของระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ ที่ติดตั้งใช้งานในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะเชื่อมข้อมูลของแต่ละสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศมายัง RMMC
อุปกรณ์ดังกล่าวได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล และอยู่ในสภาพสมบูรณ์ใช้งานได้ตลอดเวลา
5. ด้านซ่อมบำรุง จัดซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้ง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แต่สำหรับการควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน ( Area Control Service )
รับผิดชอบควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินทั่วอาณาเขตของประเทศไทย (Bangkok FIR)
โดยมี ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ (ทุ่งมหาเมฆ) สามารถแบ่งการควบคุมได้เป็น 8 ส่วน ตามภูมิภาค
ติดตามต่อภาค2นะ ครับ เนื่องจากพิมพ์ข้อความจะใกล้เกิน10,000ตัวอักษรแล้ว
[CR] ATCT ที่สูงที่สุดในโลก มาเจาะลึกการทำงานไม่มีคำว่า “ หยุด ” (Part1)
จากภาพ; Air Traffic Control Tower หรือ ATCT ซึ่งอยู่ในการดูแลของAEROTHAI บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (Aeronautical Radio of Thailand Ltd.)
ในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศนั้น มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้
-เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานที่บินอยู่ในอากาศ
- เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานกับสิ่งกีดขวางภาคพื้น
-เพื่อให้การจราจรทางอากาศเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
เรามาเริ่มต้นจากการเดินทางขึ้นไปด้านบนกันเลยนะครับ จากภาพ เป็นป้ายด้านหน้าหอบังคับการบิน ซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยสูงมากๆ เพราะเป็นสถานที่สำคัญ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทย ให้เป็นหน่วยงานผู้ให้บริการการเดินอากาศของประเทศ อันสืบเนื่องมาจากการจัดตั้งและแบ่งอาณาเขตแถลงข่าวการบิน (Flight Information Region) ของแต่ละประเทศ ในการประชุม ICAO 1st Southeast Asia Regional Air Navigation Meeting, New Delhi,1948 โดยมีงานด้านเส้นทางบิน(En-Epute)ส่วนงานด้านบริการสนามบิน(Terminal)ที่ จัดการจราจร ทางอากาศโดยรอบๆ แต่ละสนามบินยังเป็นงานของกรมการบินพานิชย์ กระทรวงคมนาคม และกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้โอนความรับผิดชอบมาให้บริษัทฯทั้งหมด
นอกจากนั้นยังมี งานแถลงข่าวการบิน(Flight Information Service)อันเป็นงานที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำ และให้ข่าวสาร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัยในการบินและให้การบินลุล่วงไปอย่างมีผลกับ งานอีกสองด้านคืองานเตือนภัยการบิน (Alerting Service)กับงานด้านค้นหาและช่วยเหลือ(Search and Rescue)อัน เป็นงานที่มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วย งานที่เหมาะสมในกรณีที่อากาศยานต้องการความช่วยเหลือ งานบริการควบคุมจราจร ทางอากาศนับได้ว่าเป็นงานที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการจัดการให้อากาศยานลำ หนึ่ง เริ่มทำการบินจนกระทั่งบินถึงท่าอากาศยานปลายทางได้เพราะเป็นงานเพื่อการ ป้องกันไม่ให้อากาศยานชนกันเอง รวมถึงการป้องกันไม่ให้อากาศยานชนกับสิ่งกีดขวางทั้งในพื้นที่ปฏิบัติการและ สิ่งกีดขวางอื่นในขณะทำการบิน เช่น บอลลูน ภูเขา รถที่แล่นไปมาในพื้นที่ที่เป็นลานจอดหรือทางวิ่งเป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้การจราจรทางอากาศ เกิดความคล่องตัวและเป็นระเบียบอีกด้วย
งานควบคุมการจราจรทางอากาศตามแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบันแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ชนิด โดยจำแนกตามบริเวณที่ควบคุมคือ
การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน
( Aerodrome Control Service )
การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน
( ApproachControl Service )
การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน
( Area Control Service )
มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
1.การบริหารจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management)
2.การบริหารระบบสื่อสาร ระบบช่วยการเดินอากาศ และระบบติดตามอากาศยาน (Aeronautical Communiction,Navigation and Surveillance System/Services)
3.การบริการข่าวสารการเดินอากาศและงานแผนที่เดินอากาศ (Aeronautical Information Services and aeronautical Charts)รวมทั้ง บริการเกี่ยวเนื่อง และงานตามนโยบายรัฐบาล
จากภาพ; ลิฟต์ขึ้นไปยังแต่ละชั้น ซึ่ง จนท. บอกผมว่าถ้าต้องเดินขึ้นกันจริงๆใช้เวลาเดินถึงชั้นบนสุด ในเวลา50นาที ในอาคารหลังนี้ประกอบด้วย ห้องนอน ห้องพักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่วิทยุการบิน ซึ่งการทำงานของเจ้าหน้าที่จะทำงานโดยมีการพัก เช่น ทำ2ชั่วโมงพัก1ชั่วโมง เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดเพื่อให้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้
และเมื่อขึ้นลิฟต์มาแล้วยังไม่หมดครับ ยังมีระบบรักาาความปลอดภัยอีกชั้นนึง คือ ต้องทาบบัตรพนักงานหรือบัตรอนุญาติและเดินวนขึ้นบันไดไปอีกครับ เล่นเอาผมเหนื่อยกับการขึ้นนิดๆแต่ไม่ท้อครับ
และเมื่อขึ้นมาถึงชั้นบนที่เป็นส่วนของการสื่อสารการจราจรทางอากาศระหว่าง เจ้าหน้าที่หอบังคับการบินกับนักบิน ผมก็ตื่นเต้นอย่างมากครับ บรรยากาศแบบว่า เจ้าหน้าที่ทำงานกันอย่างเคร่งเครียดและขยันทุกท่าน อีกทั้งจะต้องคุยกับนักบินตลอดการสนทนาจนกว่าเครื่องจะลงจอดแล้วเสร็จหรือ เครื่องบินได้ผ่านน่านฟ้าของประเทศไทยไปแล้ว
เอาเป็นว่าเรามาดูสาระสำคัญที่ผมอยากให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงอาชีพอาชีพหนึ่ง ที่มีความขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์อีกเยอะครับ ปัจจุบัน เองมีเจ้าหน้าที่ประมาณไม่เกิน250คน ซึ่งถ้าเฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงานแล้วยังขาดแคลนอีกกว่า 70คน ซึ่งต้องมีถึง320คนโดยประมาณ การทำงานแบ่งออกเป็น4กะ
ซึ่งหอบังคับการบินแห่งนี้ ณ ท่าอากาสยานสุวรรณภูมิ เจ้าหน้าที่ทั้งหมดใน1วันต้องทำงานรองรับเที่ยวบินถึง803เที่ยวบิน/ต่อวัน (ข้อมูล ณ 4พ.ย. 2556) และมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง950เที่ยวบิน/ต่อวัน หรือทั้ง2ทางวิ่ง 68เที่ยวบิน/ต่อชั่วโมง ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเที่ยวบินจากสายการบินที่บินเข้าและออกตามปกติแล้ว ยังมีเที่ยวบินเช่าเหมาลำจากจีนและรัสเซียอีกด้วย ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น
หากรวมกับที่สนามบินดอนเมืองแล้ว ที่สนามบินดอนเมืองมีเที่ยวบินถึง450เที่ยวบิน/ต่อวัน และมีโอกาสเพิ่มสูงถึง500เที่ยวบิน/ต่อวัน เฉลี่ยแล้วAEROTHAIต้องทำงานถึงวันละ1,000กว่าเที่ยวบิน
เฉพาะในกรุงเทพฯ
ถ้าทุกท่านอ่านแล้วจินตนาการตามผมท่านจะทราบว่า บนท้องฟ้านั้นแทบจะเล็กมากๆๆเพราะถ้าท่านได้ชมจากภาพซึ่งไม่สามารถเผยแพร่ ได้ และบนท้องฟ้ามีเครื่องบินที่บินสวนกันและที่อยู่ในระดับห่างกันเพียงไม่เท่า ไหร่ นั่นหมายถึงการจราจรทางอากาศที่หนาแน่นมากๆ และหากท่านจินตนาการตามสนามบินดังๆที่มีเที่ยวบินเยอะกว่าประเทศ ไทยอย่างParis CDG ท่านคงอึ้งเหมือนกับผม ว่าท้องฟ้าเล็กจริงๆ
ด้านปฏิบัติการ มีหน้าที่รับผิดชอบแบ่งได้ดังนี้
1. การควบคุมจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบิน (Approach Control) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมจราจร และจัดการจราจรทางอากาศ เพื่อนำอากาศยาน เข้า-ออก และบินผ่านในพื้นที่ความรับผิดชอบบริเวณโดยรอบสนามบินระยะ 50 ไมล์ทะเล (1 ไมล์ทะเลเท่ากับ 1.852 กิโลเมตร) ระยะสูง 16,000 ฟุต ซึ่งจะครอบคลุมทั้งท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากมีระยะทางที่ใกล้กันมาก (มีระยะห่างกันประมาณ 15 ไมล์ทะเล) โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ (Bangkok Area Control Center) และหน่วยควบคุมจราจรทางอากาศเขตบริเวณสนามบิน (Aerodrome Control) หรือหน่วยงานอื่นที่มีเขตประชิดกับพื้นที่รับผิดชอบแล้วแจ้งเตือนนักบินให้ ใช้เส้นทางบิน เข้า-ออก หรือบินผ่านตามวิธีการหรือข้อกำหนด ตลอดทั้งการให้ข้อมูลของสภาพทั่วไปของสนามบิน เช่น ข่าวอากาศการบิน และข่าวเกี่ยวกับสภาพสนามบิน นอกจากนั้นการจัดอันดับการเข้า – ออก ของอากาศยาน ณ ท่าอากาศยาน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และปลอดภัยต่ออากาศยาน ด้วยการใช้ระบบ/อุปกรณ์สื่อสารการเดินอากาศ และอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวเนื่องในการติดต่อประสานงาน
2. การควบคุมจราจรทางอากาศเขตบริเวณสนามบิน (Aerodrome Control) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมจราจรทางอากาศให้กับอากาศยานที่ ขึ้น-ลง ในพื้นที่รับผิดชอบโดยรอบสนามบินต่อจาก Approach Control ที่ระยะประมาณ 5 ไมล์ทะเลจนถึงสนามบิน
รวมทั้งอากาศยานบนทางวิ่ง ทางขับ และลานจอด โดยผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจะปฏิบัติงานอยู่บนหอบังคับการบิน ซึ่งสูงพอที่จะสามารถมองเห็นอากาศยานได้ชัดเจนโดยรอบสนามบินประกอบด้วยการ ควบคุมจราจรอากาศ 2 ตำแหน่งคือ
Local Control หรือ Tower Control รับผิดชอบการควบคุมจราจรของอากาศยานบนทางวิ่งและในอากาศโดยรอบสนามบิน หรือตามพื้นที่ที่กำหนดในเขตจราจรโดยรอบของท่าอากาศยาน และมีหน้าที่ในการกำหนดทางวิ่งขึ้น-ลง ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ (สวนทางกับทิศทางลม) ติดต่อประสานงานกับ Approach Control ในการจัดลำดับให้แก่อากาศยานเข้า-ออก และแจ้งเตือนนักบินให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดการบิน
Ground Control มีหน้าที่รับผิดชอบการควบคุมจราจรของอากาศยานและยานพาหนะบนทางขับและลานจอด ให้ขับเคลื่อนด้วยความปลอดภัย เป็นระเบียบ และรวดเร็ว ให้คำอนุญาตการขับเคลื่อนของอากาศยาน และยานพาหนะอื่นๆ บนทางขับ/ลานจอด ตลอดทั้งการแจ้งข่าวสารข้อมูลแก่นักบิน และหน่วยสนับสนุนภาคพื้นดินหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการอำนวยความสะดวกให้แก่อากาศยานที่มาใช้บริการ
3. การให้บริการสื่อสารการบินและการเดินอากาศ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ โดยให้บริการสื่อสารการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเกี่ยวกับการรับ – ส่ง ถ่ายทอดและ/หรือกระจายข่าวแผนการบิน ข่าวอากาศการบิน ข่าวประกาศนักบิน และข่าวอื่นๆ ที่นักบินและผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจำเป็นต้องรับทราบ
4. ด้านการบริการเครื่องช่วยการเดินอากาศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อากาศยานที่ทำการขึ้น-ลงได้อย่างปลอดภัย ประกอบด้วย
เครื่องช่วยการเดินอากาศบอกทิศทางจากสนามบิน (DVOR) หรือ ( Doppler Very High Frequency Omni-directional Range)
เครื่องช่วยการเดินอากาศบอกระยะทางระหว่างสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศกับตำแหน่งที่เครื่องบินกำลังบินอยู่ (DME) หรือ (Distance Measuring Equipment)
เครื่องช่วยในการนำเครื่องบินลงสู่สนามบิน (ILS) หรือ (Instrument Landing System)
RMMC (Remote maintenance and Monitoring Configuration ) เป็นระบบตรวจสอบสภาวะและควบคุมการทำงานของระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ ที่ติดตั้งใช้งานในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะเชื่อมข้อมูลของแต่ละสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศมายัง RMMC
อุปกรณ์ดังกล่าวได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล และอยู่ในสภาพสมบูรณ์ใช้งานได้ตลอดเวลา
5. ด้านซ่อมบำรุง จัดซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้ง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แต่สำหรับการควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน ( Area Control Service )
รับผิดชอบควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินทั่วอาณาเขตของประเทศไทย (Bangkok FIR)
โดยมี ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ (ทุ่งมหาเมฆ) สามารถแบ่งการควบคุมได้เป็น 8 ส่วน ตามภูมิภาค
ติดตามต่อภาค2นะ ครับ เนื่องจากพิมพ์ข้อความจะใกล้เกิน10,000ตัวอักษรแล้ว