ญี่ปุ่น อีก 15 ปีข้างหน้าจะยังเก่งอยู่หรือป่าว เมื่อวันนี้ อายุอานามก็ปาเข้าไป 45 ขวบแล้ว?

ญี่ปุ่นนั้นดังช่วงปี 70 ปลายๆ จนกระทั่งถึงปี 2000 ต้นๆ  ช่วงนั้นโซนี่ออก Walkman ->เขย่าตลาด ออก Playstation แล้วก็มี นินเทนโด้ออกเกมส์ดีๆ  แล้วก็มีเครื่องใช้ไฟฟ้า ชาร์บ โตชิบา  พานาโซนิค  เครื่องเล่นวิดีโอ โทรทัศน์ วิทยุ   แต่ชื่อเหล่านี้กำลังหายไป หลังจากนั้นก็ดับมาเรื่อย

ทำไมผมถึงพูดแบบนั้น

เนื่องจากผมจะรู้แค่อุตสาหกรรม Electronic & Telecom ผมจะโฟกัสที่ผมรู้

- กลุ่มไฟฟ้า  ชาร์บ  พานาโซนิค โตชิบา  กำลังจะตาย LG , Sumsung, Hier กำลังมาแทน

- ดูConsumer อิเลคโทรนิค   วิทยุ เทป CD DVD ตายยกอุตสหกรรม ชาร์บ โซนี่ พานา ไปด้วย  ส่วนโทรทัศน์ขอให้ไปดูหมวด LCD คอมพิวเตอร์ด้านล่าง   มือถือทำได้ทุกอย่าง Flash Disk จำได้ทุกอย่าง  การมาของมือถือ Smart Phone ที่มี OS เก่งๆ ทำลายตลาด consumer electronic ซึ่งเคยเป็น Pillar ของญี่ปุ่นในช่วง 70-2000  ผมไม่รู้ตลาดญี่ปุ่น แต่ในตลาดโลก มือถือญี่ปุ่นแทบไม่ได้ยินชื่อเลย  มีส่วนเดียวที่ดีอยู่คือตลาดกล้องถ่ายรูป แต่ก็โดนมือถือแย่งตลาดไปบางส่วน
เหตุหนึ่งคือ  เขาเข้าตลาดช้า  ถ้าใครยังจำได้ถึง Sony ต้องไปซื้อบริษัททำมือถือของ Erricsson กลายเป็น Sony-Erricson ความพ่ายแพ้ในตลาดมือถือส่งผลให้แพ้ในตลาด consumer electronic โดยตรง เพราะมือถือกลายเป็น consumer electronic

- กลุ่ม Telecommunication System เมื่อก่อนต้องใช้ PBX จนกระทั่งถึงตู้ชุมสายโทรศัพท์ก็ใช้ NEC, SIEMENS เดี๋ยวนี้หัวเหว่ย(จีน)กินตลาดหมด ตั้งแต่3G,4G, ชุมสายโทรศัพท์จนกระทั่งถึงตัวมือถือเอง เรียกได้ว่าครบวงจร    และญี่ปุ่นก็ไม่ได้พัฒนา Server เจ๋งๆอย่าง SUN แม้ว่าตนจะมีเทคโนโลยี CPU ที่ดีไว้ในมือ  ดูเหมือนจะไม่มีพัฒนาใหม่ๆออกมาเลย   แพคเก็ตสวิชชิ่งซึ่งเป็นพื้นฐานของอินเตอร์เน็ตและ3Gดูจะเป็นเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นด้อย  ทำให้แพ้ในตลาดนี้

- กลุ่มคอมพิวเตอร์ พวก Printer อย่าง Brother ยังคงโอเค  แต่ว่าก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ๆออกมา ในขณะที่ Router ไม่มียี่ห้อญี่ปุ่นเลยสักอันเดียวส่วนมากใต้หวัน ส่วนพวกเมาส์ คีย์บอร์ด สายไฟ พี่จีนกินหมด, CPU, GPU, chipset สหรัฐกินรวบ, Mainboard ใต้หวันกินรวบ, โทรทัศน์และมอนิเตอร์  จอLCD ใต้หวัน เกาหลี จีน (พี่จีนไปซื้อเทคโนจากเกาหลีแบบซื้อมาทั้งบริษัทตอนวิกฤติเศรษฐกิจ97)  

- R&D ของญี่ปุ่นดูจะไม่ออกอะไรใหม่ๆมาเป็นสินค้า  ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะอายุอานามปาเข้าไป 45 แล้ว  สาเหตุที่ จขกท คิดว่าอายุเกี่ยวข้อง เพราะว่าต้องเข้าใจว่าคนเราทำงานร่วมกันย่อมมีวัฒนธรรมองค์กรณ์  เมื่อคนส่วนใหญ่ในบริษัทอายุเยอะก็จะออกแนวอนุรักษ์ของเก่าต่อต้านของใหม่โดยเฉพาะวัฒนธรรมญี่ปุ่น (เดาล้วนๆ)  แต่ว่าความกระฉับกระเฉงที่ดูลดลงของญี่ปุ่นมันออกแนวคนที่อายุเยอะขึ้น กินบุญเก่าสมัยหนุ่มเคยขยันจริงๆ

นี่เลยก่อให้เกิดข้อสงสัยว่า อีก 15 ปี จะอายุเท่าไหร่กัน ? แล้วจะมี R&D อะไรใหม่ๆออกมาหรือไม่  ตัวผมเป็นนักศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวะคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์ ขอบอกว่า  เปเปอร์ดีๆของญี่ปุ่นแทบไม่มีอยู่เลยใน international Journal อาจจะเพราะว่าตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นหรือป่าวไม่แน่ใจ  แต่ใน conference ที่อ่านๆอยู่ และเปเปอร์ที่อ่านๆมาเป็นหลายร้อยฉบับแล้วมั้ง เคยเห็นแค่ 1-2 เปเปอร์มาจากญี่ปุ่นแบบมหาวิทยาลัยจากญี่ปุ่น  นอกนั้นก็ไม่เห็นเลย   ชื่อญี่ปุ่นในการตีพิมพ์ของมหาวิทยาลัยสหรัฐก็แทบจะไม่มี เคยเห็นไม่เกิน 5 เปเปอร์   ในขณะที่เปเปอร์เก่าๆ (ผมไม่ค่อยได้อ่านนะ) กลับมีชื่อญี่ปุ่นอยู่เยอะ  ใน 10 เปเปอร์เก่าๆที่ผมอ่าน มี 3-4 เปเปอร์ที่มีชื่อญี่ปุ่นอยู่  อาจารย์ดังๆสมัยปี 80-90 ก็มีชื่อญี่ปุ่นผมเอ่ยได้  แต่ไม่มีเลยในปัจจุบัน  

ผมคิดว่า  เรื่องรถยนต์ที่ขายให้คนทั่วไป ญี่ปุ่นคงจะผูกขาดไปอีกนาน  แต่รถยนต์หรือเครื่องจักรกลที่ใช้ในบริษัทหรือโรงงาน เช่น รถเครน เครน รถบรรทุก จีนคงจะเข้ามาแซงเร็วๆนี้ อย่างเช่น บริษัทอย่างซันนี่จะมาแทนโคเบลโค

โดยสรุป หลังๆ สินค้าญี่ปุ่นไม่ได้มี R&D อะไรใหม่ๆออกมา แบบเปลี่ยนตลาด  ซึ่งอาจจะเกิดจากมัถยฐานอายุ(การคาดเดา)45 ขวบ  ถ้าสิ่งนี้เป็นจริง ญี่ปุ่นในวันข้างหน้าคงเหมือนบิลเกต ที่ไม่ค่อยออกอะไรใหม่ๆแล้ว ขายสิ่งที่มี และค่อยๆจางไปจากตลาด อย่างที่ ชาร์บ พานาโซนิค โตชิบา ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง

เนื่องจากผมก็พูดตามกะลาส่วนที่ผมเห็น  ผมไม่ทราบว่าส่วนที่ไม่เห็นเป็นอย่างไรและไม่ได้รู้จริง  อยากถามท่านๆว่าจริงหรือไม่ อย่างไรครับ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 54
ประเทศไหน ที่โดนภัยพิบัตื แต่ประชาชนยังเข้าคิวซื้อของ

......

เชื่อเหอะ เขาไม่เจ๊งง่ายๆหรอก


มือถือ ทีวี อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ คนอาจจะเปลี่ยนไปใช้ของเกาหลีกันเยอะ (ตามคห.15เลย)

แต่คุณลองดูบนท้องถนนซิ

โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มาซด้า ซูซูกิ อิซุซุ พออะไรที่เกี่ยวกับชีวิตและครอบครัว คนก็มองที่ยุโรปกับญี่ปุ่นอยู่ดี คนข้างกายคุณมีกี่คนที่กล้าใช้รถเกาหลี

ญี่ปุ่นเสียตลาดสินค้าประเภทอิเลคทรอนิคส์ให้เกาหลี (ซึ่งไม่เกินสิบปีเกาหลีก็จะเสียให้จีน) แต่มาตีตลาดสินค้าประเภทอื่นจากอเมริกาและยุโรปแทน


Made in Japan .......................................สำหรับผม ขายโลกได้อีกเป็นร้อยปี จากความทนทานและความมีชื่อเสียง
Made in Korea ......................................ผมให้สิบปี ก่อนจะล่มสลาย ทั้งบอยแอนด์เกิร์ลแบนหน้าพลาสติก แล้วก็พวกมือถือ จอทีวี ใช้ปีสองปีพัง (ของผม โน้ตบุ้คซัมซุง ใช้มาแปปเดียวแบตเสื่อม - -")
Made in China.......................................LG โดน Huawei เขี่ยตกอันดับไปแล้ว ถ้าโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ที่วัดกันแค่ ราคากับความแรง Cpu Gpu แนวนี้ ผมไม่คิดว่าเกาหลีจะต้านประเทศผู้ผลิตได้นานเท่าไรนัก รอดูซัมซุงพวกตระกูล Sโดน Xiaomi  ตีอยู่ ไม่น่าเกินห้าปี จีนคงจะครองความยิ่งใหญ่ในทุกสินค้าเร็วๆนี้

Made in Thailand..............................คนไทย ประเทศไทย เราผงาดในตลาดโลกได้แน่นอน ถ้าไม่มี "นักการเมืองไทย"
ความคิดเห็นที่ 15
ผมว่า ญี่ปุ่น เขาอ่านเกมส์ผิดนะ

ญี่ปุ่น เทคโนโลยี ไม่ได้ด้อยกว่า เกาหลีเลย แต่เขาเด่นเรื่องความทน ซื้อมาแล้วใช้ทน

ในอดีตอาจจะดี เพราะเทคโนโลยี้ มันยังพัฒนาช้าอยู่ โมเดลออกมา ที อยู่กันได้เป็น 10 ๆปี เลยดี ไม่คอยเห็นผล

และยึดติดจนถึงทุกวันนี้ คือ เทคโนโลยี้ดี ทน แพง แต่ลืมไปว่าเดียวนี้เทคโนโลยี้มันไปไวมาก แค่ 3 ปี ก็พัฒนาไปไกลแล้ว

ดังนั้น โมเดล ชีวิต ของผลิตภัณฑ์ ไม่จำเป็นต้อง ทน ใช้ได้นาน แต่ต้องเปลี่ยนมาเน้น ดีไซน์ ถูก เทคโนโลยีดี

เกาหลีเลยเอาไปกิน เพราะอะไร ถูก ดี สวย 3 ปีเปลี่ยนปี ก็ไม่รู้สึกเสียดายเพราะซื้อมาไม่แพง ซื้อใหม่ ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ

ไม่เหมือนซื้อของญี่ปุ่น ดีไซน์งันๆ แพง เทคโนลียี้ดี 3 ปี เทคโนโลยีไปไกลแล้ว แต่ยังไม่เปลี่ยนเพราะซื้อมาแพง ไงเสียดาย

ดูอย่าง เครื่องเล่น DVD ก็ได้ ของญี่ปุ่นถูกๆก็ 3000 ++ ของไทย ของจีน 600 - 800 ซื้อมาใช้ 1-2 ปี พังก็ทิ้งเลยไม่ซ้อม เพราะซื้อมาถูก

แล้วเป็นไงตอนนี้ ไปบูลเรย์ HD กันหมดแล้ว ที่ซื้อมาก็เสียดาย

ถ้าญี่ปุ่น ยังไม่ปรับตรงนี้ คงไปอีกไม่นาน ถ้ายังชอบกั๊กเทคโนโลยี จะไปเหมือนโนเกีย

ต้องปรับตัว อย่ากั๊กเทคโนโลยี ใส่มาเลยใหม่ๆ ดีไซน์ให้สวย เอาให้ถูก ชนกับ เกาหลีเลย
ความคิดเห็นที่ 16
ญี่ปุ่น สังคมที่กลืนกินตัวเอง - โดย ปิยมิตร ปัญญา


สังคมญี่ปุ่นเต็มไปด้วยปัญหา
ระดับ "คนยากจน" เพิ่มขึ้นตามอัตราว่างงาน เช่นเดียวกับอัตราการฆ่าตัวตาย
โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้กระทำอัตวินิบาตกรรมในญี่ปุ่นมากกว่า 30,000 คนต่อปี
มากถึงขนาดตามเส้นทางรถไฟในกรุงโตเกียว
จำเป็นต้องติดไฟสีน้ำเงินนวลตาเอาไว้เรียงรายตลอดแนวราง
โดยหวังว่ามันจะช่วยปลอบประโลม หรือเปลี่ยนการตัดสินใจใครก็ตามที่มาที่นี่เพื่อปลิดชีวิตตัวเอง


"ไม่มีใครสนใจเพื่อนบ้านกันอีกต่อไป" เขาบอก
ไม่แม้แต่บ้านที่รั้วติดกัน หรืออพาร์ตเมนต์ที่ช่องประตูห่างกันเพียงไม่กี่เมตร
ยิ่งนับวัน คนญี่ปุ่นยิ่งหดตัวเองแคบลง แคบลงเรื่อยๆ เหลือเพียงรัศมีโดยรอบตัวเองไม่กี่ตารางเมตร
เริ่มจากผู้สูงอายุ แล้วลุกลามต่อไปยังลูกๆ หลานๆ ทั้งหมดพยายามอยู่ได้ด้วยตัวเอง
ใช้จ่ายให้น้อยที่สุด เพื่อดำรงตนให้อยู่ได้นานที่สุด

"ทุกคนคิดถึงแต่เงิน เงินที่ไม่มากมายเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว"

มันเริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคงและแน่วแน่อย่างยิ่ง
เริ่มจากซัพพลายเออร์ในอาดาชิ หดหายไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ล้มละลายก็โยกย้ายไปยังจีนพร้อม ๆ กับบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น
ถัดมาร้านรวงในย่านนั้นก็เริ่มปิดตัวลง สุดท้ายแหล่งพบปะของชุมชนคนย่านเดียวกัน ที่มีอยู่แห่งเดียวก็ร้างราตามไปด้วย
ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่มีอนาคต คือ สิ่งที่วนเวียนอยู่ในหัวของผู้คนในญี่ปุ่น
ความเชื่อมั่นทะยานอยาก หดหายไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป


ประเทศชาติที่เคยมั่งคั่งและยังมั่งคั่งอยู่ในบางแง่มุมในเวลานี้ ก็เริ่มเสื่อมทรุด ค่านิยมใหม่เริ่มชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ
โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว "ความมัธยัสถ์"กลายเป็นเรื่องที่ต้องทำ "ความเสี่ยง" อย่างองอาจและกล้าหาญ คือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
คน รุ่นใหม่ เจเนอเรชั่นใหม่ ในวัยยี่สิบ คิดเห็นเช่นนี้
เพราะในชีวิตของพวกเขา
ไม่เคยพานพบความอหังการ์ของญี่ปุ่น
ไม่เคยลิ้มลองความรุ่งโรจน์ของอาทิตย์ยามอุทัย
พวกเขารับรู้และมีประสบการณ์อยู่แต่กับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ และภาวะเงินฝืด เงินหาได้ยากเย็นอย่างยิ่ง
ไม่แปลก ที่พวกเขาปฏิเสธที่จะซื้อรถยนต์หรือโทรทัศน์ ไม่แปลกที่มีน้อยมากที่ตัดสินใจไปศึกษาต่อในต่างแดนชนิดไปตายดาบหน้า
ชาติที่เคยเปี่ยมด้วยพลวัต ท้าทายทุกอุปสรรคกลายเป็นสังคมที่คับแคบ วัฒนธรรมที่คับแคบอย่างน่าสะพรึงกลัว
โลกที่ชาวญี่ปุ่นเห็นเป็นโลกในแง่ร้ายที่หดหู่ น่าหวาดหวั่น ไร้ความหวังจนกลัวที่จะเสี่ยง
เกาะกินสัญชาตญาณดั้งเดิมให้ลังเลที่จะควักกระเป๋า หรือ ลงทุน
แต่ยิ่งกลัว ยิ่งผลักดันให้อุปสงค์ในประเทศลดลงมากยิ่งขึ้นและราคาของทุกอย่าง ยิ่งหดหายไปมากยิ่งขึ้นไปอีก


ฮิซากาซุ มัตสึดะ ประธานสถาบันวิจัยการตลาดบริโภคแห่งญี่ปุ่น (เจซีเอ็มอาร์ไอ)
เรียกเจเนอเรชั่นใหม่ในวัย 20 เศษเหล่านี้ว่า "คนยุครังเกียจบริโภค"
เขาประเมินเอาไว้ว่า เมื่อคนยุคนี้อายุถึง 60 ปี นิสัยมัธยัสถ์ร่วมสมัยของพวกเขา
จะส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องสูญเสียมูลค่าการบริโภคไปราว 420,000 ล้านดอลลาร์

"ในโลกนี้ไม่มีเจเนอเรชั่นที่ไหนเหมือนที่นี่อีกแล้ว" มัตสึดะบอก

คนพวกนี้คิดว่าการควักกระเป๋าจ่ายคือความโง่เขลาเบาปัญญาไปแล้ว

ในทรรศนะของนักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นคือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า
"ทุนนิยม" กลืนกินตัวเองได้อย่างไร และผู้นำทางการเมืองของญี่ปุ่นล้มเหลวคนแล้วคนเล่าได้อย่างไร

"แจแปนิฟิเคชั่น" คือการตกลึกลงไปใน "กับดักภาวะเงินฝืด" ที่เกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์ล่มสลายจากการที่ผู้บริโภคปฏิเสธที่จะใช้จ่าย ส่งผลต่อไปยังบริษัทธุรกิจที่ขยาดกับการลงทุน และบรรดาธนาคารทั้งหลายนั่งอยู่บนกองเงินออมก้อนมหึมา

มันกลายเป็นวัฏจักรของความเลวร้าย ที่อยู่ได้ด้วยตัวเองและกลืนกินตัวเองไปเรื่อยๆ ยิ่งไม่มีการจับจ่าย ยิ่งกดดันให้ราคาข้าวของลดลงมากขึ้น งานหายไปมากขึ้น เงินในกระเป๋าผู้บริโภคยิ่งลดลงและยิ่งมัธยัสถ์มากยิ่งชึ้น ซึ่งยิ่งทำให้ธุรกิจยิ่งตัดทอนรายจ่ายมากยิ่งขึ้น ชะลอแผนขยายตัวออกไปอีกเรื่อยๆ และดูเหมือนยังไม่มีที่สิ้นสุด

ผู้นำญี่ปุ่นผิดพลาดตั้งแต่ปฏิเสธความหนักหนาสาหัสของปัญหาที่ประเทศเผชิญในตอนแรกและยิ่งผิดซ้ำซากด้วยการใช้เวลาเนิ่นนานอัดฉีด เม็ดเงินเพื่อการสร้างงานผ่านโครงการใหญ่โตของรัฐ ที่ทำได้ก็เพียงแค่ เลื่อนระยะเวลาของการ "ปรับโครงสร้าง" เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่เจ็บปวดกว่า ยากเย็นกว่า ออกไปเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

จนอาจบางที อาทิตย์อุทัย อาจไม่หลงเหลือให้คาดหวังอีกต่อไปในญี่ปุ่น!!!

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290840867
ความคิดเห็นที่ 4
เค้าลอยลำไปแล้ว

ห่วงประเทศไทยดีกว่ามั้ยคับ

ล่าสุดเขมรเปิดตัวรถไฟฟ้าแล้ว



[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 6
ผมยังนิยมของญี่ปุ่นอยู่ครับ
โดยเฉพาะสาวๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่