สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 34
ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างที่คนไทยในต่างประเทศจำนวนมากให้ข้อมูลที่ทำให้ภาพออกมาผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง นั่นคือการให้ภาพที่แสดงให้เห็นว่า เด็กๆ ในประเทศตะวันตกทั้งหลายแหล่เรียนกันน้อย การสอนไม่เคร่งเครียด มีเวลาเล่นสนุกสนานกันเยอะ ในขณะเดียวกันประเทศยังสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นไปได้
ซึ่งผมเห็นว่านั่นไม่ใช่ภาพที่แท้จริง เพราะไม่ว่าระบบการเรียนการศึกษาแบบไหนก็ตาม ถ้าเด็กไม่สนใจการเรียนหรือให้เวลากับการเรียนน้อยเสียแล้วก็ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จในการศึกษาได้
ถึงแม้ว่าในประเทศตะวันตกจะมีระบบการเรียนที่แตกต่างไปจากไทย เนื่องจากการวางนโยบายสวัสดิการการศึกษาสำหรับประชาชนที่ต่างกัน เช่น การให้การศึกษาฟรีกับประชาชน บางประเทศจนถึงมัธยมปลาย บางประเทศไปจนถึงจบมหาลัย ทำให้การแข่งขันที่จะต้องสอบเข้าสถาบันการศึกษาจึงไม่โหดร้ายมากจนกลายเป็นกำเนิดธุรกิจการสอนพิเศษที่บานสะพรั่งในสังคมไทย แต่เด็กที่ประสบความสำเร็จในการเรียนไปจนถึงระดับชั้นนำทุกคนก็หมายถึงเด็กที่เรียนหนักกว่าคนอื่นๆ แน่นอน ไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่าในประเทศใด
ถ้าพ่อแม่ไทยที่มีลูกเรียนอยู่ในประเทศตะวันตกแล้วบอกว่า ลูกไม่ต้องเรียนหนัก ไปแบบสบายๆ ก็จะเห็นกันอยู่ทุกวันนี้แล้วว่าเด็กไทยในต่างประเทศไม่ได้ขึ้นไปประสบความสำเร็จในระดับประเทศ ไม่ว่าจะในด้านวิชาการ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ กฏหมาย การเมือง ฯลฯ
แต่เรากลับเห็นเด็กต่างชาติจาก จีน เกาหลี ญึ่ปุ่น เวียตนาม ที่ประสบความสำเร็จจากการเรียนหนักแล้วขึ้นไปประสบความสำเร็จในสังคมให้เห็นมากมายอย่างชัดเจน
ผมเห็นอย่างที่บางคนบอกไว้ว่า ในประเทศตะวันตกก็ไม่ได้แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆ เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีทั้งหลายจะได้รับการทุ่มเทจากพ่อแม่ทุกวิถีทางที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้ลูกของตนก้าวหน้าไปอยู่ในระดับบน เราจะเรียกวิธีการนี้ว่า "เรียนพิเศษ" เหมือนในไทยหรือไม่นั่นต่างหาก
ลองดูผลจากการทดสอบความรู้ของ PISA ก็จะเห็นชัดเจนว่า เด็กในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเรียนหนักส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับดีสุด 10 อันดับแรก ไม่ว่าจะเป็น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ มีประเทศตะวันตกที่เข้ามาสอดแทรกได้อยู่ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
ยกเว้นฟินแลนด์ที่อยู่อันดับ 1 ซึ่งมีระบบการศึกษาที่จำนวนครูต่อการดูแลเด็กจำนวนน้อยเพื่อให้คุณภาพออกมาทั่วถึงมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นระบบการศึกษาที่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากที่สุด การที่จะลอกเลียนแบบจึงไม่สามารถทำได้ในประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่
ฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับเยอรมนี จะเรียนหนักกว่า ชั่วโมงเรียนยาวนานกว่า เพราะฝรั่งเศสมีระบบที่แยกมหาลัยระดับ top-ranking university หรือ Grandes écoles ทั้งๆ ที่ฝรั่งเศสมีกฏหมายว่าทุกคนสามารถเข้าเรียนมหาลัยได้ แต่เนื่องจากมหาลัย Grandes écoles มีน้อยและรับนักศึกษาจำนวนจำกัดไม่เกิน 5000 คนต่อปี ฉะนั้นจึงมีการแข่งขันในการเรียนระดับมัธยมอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน มีการเรียนพิเศษไม่แตกต่างไปจากเมืองไทย พ่อแม่ทุ่มเทสุดตัวทุกวิถีทางและไปนั่งเฝ้าหน้าห้องสอบเหมือนกัน เพราะเด็กที่ผ่านมหาลัยประเภทนี้เท่านั้นที่จะขึ้นไปสู่ตำแหน่งระดับประเทศได้ คนที่สอบเข้าไม่ได้จึงผิดหวังหมดอาลัยกันไปทั้งครอบครัว ถือว่าเป็นระบบการศึกษาของประเทศในยุโรปประเทศหนึ่งที่สร้างผลกระทบทางด้านจิตใจไม่ต่างไปจาก ประเทศเอเชียตะวันออกอื่นๆ
เยอรมนีทุกวันนี้ ธุรกิจการสอนพิเศษกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากทุกปี ปีหนึ่งๆ พ่อแม่ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ลูกเรียนพิเศษรวมแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยล้านยูโร ทั้งๆ ที่ไม่ต้องมีการสอบเข้ามหาลัย และเป็นธุรกิจที่บูมมากในครอบครัวฐานะปานกลางขึ้นไป แต่เมื่อจำนวนนักศึกษาที่ต้องการเรียนในมหาลัยมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ยิ่งคณะที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ แพทย์ วิศวฯ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ซึ่งคนที่จะเรียนได้ผ่านต้องมีความรู้ระดับดีเด่นซึ่งต้องทำคะแนนมาแล้วตั้งแต่ระดับมัธยม การเรียนพิเศษจึงมีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆ ที่ในปรัชญาการศึกษาของเยอรมันนั้น การเรียนรู้และศึกษาจะต้องลงมือพยายาม คิดค้น และพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ผมยกตัวอย่างเด็กชายคนหนึ่ง สมัยเมื่อเป็นเด็กที่ต้องทำการบ้านคณิตศาสตร์หลังเลิกเรียน เนื่องจากที่บ้านทำธุรกิจผลิตอิฐจึงมีพนักงานทำงานในสำนักงานด้วย และหนึ่งในนั้นคือพนักงานบัญชีหญิงคนหนึ่ง ปู่ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานมอบหมายให้พนักงานบัญชีหญิงคนนี้ควบคุมดูแลเรื่องการบ้าน เมื่อเด็กทำเสร็จ โดยที่หญิงคนนี้ไม่ช่วยเหลือเลย บอกให้ทำเองก่อน ก็เอางานไปให้ตรวจคำตอบ เธอตรวจงานจำนวน 10 ข้อ และส่งงานคืนมาให้และบอกว่ามีอยู่ 2 ข้อที่คำตอบผิด ให้ไปจัดการหาทางแก้ไขโดยไม่บอกว่าผิดตรงไหน และแก้ไขอย่างไร จนเมื่อให้ลองทำเองแล้วเป็นเวลานานถ้ายังทำไม่ถูกต้อง จึงจะบอกในที่สุด นี่คือวิธีการสอนของคนเยอรมัน
ฉะนั้น ใครก็ตามที่บอกว่าเด็กในประเทศตะวันตกไม่ต้องเคร่งเครียดกับการเรียนแล้วประสบความสำเร็จนั้น ไม่เป็นความจริงแน่นอน เพียงแต่ว่าการเรียนพิเศษในไทยที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้นั้น เป็นความล้มเหลวทางการบริหารการศึกษาของประเทศไทยเอง ที่ปล่อยในการศึกษากลายเป็นธุรกิจการค้าไปจนเลยเถิดเกินที่จะควบคุมได้ ผลลัพธ์การศึกษาจึงออกมาในทางตรงกันข้ามทั้งๆ ที่ต้องจ่ายเงินไปอย่างมหาศาล
ซึ่งผมเห็นว่านั่นไม่ใช่ภาพที่แท้จริง เพราะไม่ว่าระบบการเรียนการศึกษาแบบไหนก็ตาม ถ้าเด็กไม่สนใจการเรียนหรือให้เวลากับการเรียนน้อยเสียแล้วก็ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จในการศึกษาได้
ถึงแม้ว่าในประเทศตะวันตกจะมีระบบการเรียนที่แตกต่างไปจากไทย เนื่องจากการวางนโยบายสวัสดิการการศึกษาสำหรับประชาชนที่ต่างกัน เช่น การให้การศึกษาฟรีกับประชาชน บางประเทศจนถึงมัธยมปลาย บางประเทศไปจนถึงจบมหาลัย ทำให้การแข่งขันที่จะต้องสอบเข้าสถาบันการศึกษาจึงไม่โหดร้ายมากจนกลายเป็นกำเนิดธุรกิจการสอนพิเศษที่บานสะพรั่งในสังคมไทย แต่เด็กที่ประสบความสำเร็จในการเรียนไปจนถึงระดับชั้นนำทุกคนก็หมายถึงเด็กที่เรียนหนักกว่าคนอื่นๆ แน่นอน ไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่าในประเทศใด
ถ้าพ่อแม่ไทยที่มีลูกเรียนอยู่ในประเทศตะวันตกแล้วบอกว่า ลูกไม่ต้องเรียนหนัก ไปแบบสบายๆ ก็จะเห็นกันอยู่ทุกวันนี้แล้วว่าเด็กไทยในต่างประเทศไม่ได้ขึ้นไปประสบความสำเร็จในระดับประเทศ ไม่ว่าจะในด้านวิชาการ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ กฏหมาย การเมือง ฯลฯ
แต่เรากลับเห็นเด็กต่างชาติจาก จีน เกาหลี ญึ่ปุ่น เวียตนาม ที่ประสบความสำเร็จจากการเรียนหนักแล้วขึ้นไปประสบความสำเร็จในสังคมให้เห็นมากมายอย่างชัดเจน
ผมเห็นอย่างที่บางคนบอกไว้ว่า ในประเทศตะวันตกก็ไม่ได้แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆ เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีทั้งหลายจะได้รับการทุ่มเทจากพ่อแม่ทุกวิถีทางที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้ลูกของตนก้าวหน้าไปอยู่ในระดับบน เราจะเรียกวิธีการนี้ว่า "เรียนพิเศษ" เหมือนในไทยหรือไม่นั่นต่างหาก
ลองดูผลจากการทดสอบความรู้ของ PISA ก็จะเห็นชัดเจนว่า เด็กในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเรียนหนักส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับดีสุด 10 อันดับแรก ไม่ว่าจะเป็น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ มีประเทศตะวันตกที่เข้ามาสอดแทรกได้อยู่ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
ยกเว้นฟินแลนด์ที่อยู่อันดับ 1 ซึ่งมีระบบการศึกษาที่จำนวนครูต่อการดูแลเด็กจำนวนน้อยเพื่อให้คุณภาพออกมาทั่วถึงมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นระบบการศึกษาที่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากที่สุด การที่จะลอกเลียนแบบจึงไม่สามารถทำได้ในประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่
ฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับเยอรมนี จะเรียนหนักกว่า ชั่วโมงเรียนยาวนานกว่า เพราะฝรั่งเศสมีระบบที่แยกมหาลัยระดับ top-ranking university หรือ Grandes écoles ทั้งๆ ที่ฝรั่งเศสมีกฏหมายว่าทุกคนสามารถเข้าเรียนมหาลัยได้ แต่เนื่องจากมหาลัย Grandes écoles มีน้อยและรับนักศึกษาจำนวนจำกัดไม่เกิน 5000 คนต่อปี ฉะนั้นจึงมีการแข่งขันในการเรียนระดับมัธยมอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน มีการเรียนพิเศษไม่แตกต่างไปจากเมืองไทย พ่อแม่ทุ่มเทสุดตัวทุกวิถีทางและไปนั่งเฝ้าหน้าห้องสอบเหมือนกัน เพราะเด็กที่ผ่านมหาลัยประเภทนี้เท่านั้นที่จะขึ้นไปสู่ตำแหน่งระดับประเทศได้ คนที่สอบเข้าไม่ได้จึงผิดหวังหมดอาลัยกันไปทั้งครอบครัว ถือว่าเป็นระบบการศึกษาของประเทศในยุโรปประเทศหนึ่งที่สร้างผลกระทบทางด้านจิตใจไม่ต่างไปจาก ประเทศเอเชียตะวันออกอื่นๆ
เยอรมนีทุกวันนี้ ธุรกิจการสอนพิเศษกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากทุกปี ปีหนึ่งๆ พ่อแม่ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ลูกเรียนพิเศษรวมแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยล้านยูโร ทั้งๆ ที่ไม่ต้องมีการสอบเข้ามหาลัย และเป็นธุรกิจที่บูมมากในครอบครัวฐานะปานกลางขึ้นไป แต่เมื่อจำนวนนักศึกษาที่ต้องการเรียนในมหาลัยมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ยิ่งคณะที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ แพทย์ วิศวฯ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ซึ่งคนที่จะเรียนได้ผ่านต้องมีความรู้ระดับดีเด่นซึ่งต้องทำคะแนนมาแล้วตั้งแต่ระดับมัธยม การเรียนพิเศษจึงมีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆ ที่ในปรัชญาการศึกษาของเยอรมันนั้น การเรียนรู้และศึกษาจะต้องลงมือพยายาม คิดค้น และพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ผมยกตัวอย่างเด็กชายคนหนึ่ง สมัยเมื่อเป็นเด็กที่ต้องทำการบ้านคณิตศาสตร์หลังเลิกเรียน เนื่องจากที่บ้านทำธุรกิจผลิตอิฐจึงมีพนักงานทำงานในสำนักงานด้วย และหนึ่งในนั้นคือพนักงานบัญชีหญิงคนหนึ่ง ปู่ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานมอบหมายให้พนักงานบัญชีหญิงคนนี้ควบคุมดูแลเรื่องการบ้าน เมื่อเด็กทำเสร็จ โดยที่หญิงคนนี้ไม่ช่วยเหลือเลย บอกให้ทำเองก่อน ก็เอางานไปให้ตรวจคำตอบ เธอตรวจงานจำนวน 10 ข้อ และส่งงานคืนมาให้และบอกว่ามีอยู่ 2 ข้อที่คำตอบผิด ให้ไปจัดการหาทางแก้ไขโดยไม่บอกว่าผิดตรงไหน และแก้ไขอย่างไร จนเมื่อให้ลองทำเองแล้วเป็นเวลานานถ้ายังทำไม่ถูกต้อง จึงจะบอกในที่สุด นี่คือวิธีการสอนของคนเยอรมัน
ฉะนั้น ใครก็ตามที่บอกว่าเด็กในประเทศตะวันตกไม่ต้องเคร่งเครียดกับการเรียนแล้วประสบความสำเร็จนั้น ไม่เป็นความจริงแน่นอน เพียงแต่ว่าการเรียนพิเศษในไทยที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้นั้น เป็นความล้มเหลวทางการบริหารการศึกษาของประเทศไทยเอง ที่ปล่อยในการศึกษากลายเป็นธุรกิจการค้าไปจนเลยเถิดเกินที่จะควบคุมได้ ผลลัพธ์การศึกษาจึงออกมาในทางตรงกันข้ามทั้งๆ ที่ต้องจ่ายเงินไปอย่างมหาศาล
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบว่า เด็กฝรั่งเมืองนอกเขาเรียนพิเศษกันไหมคะ
อยากรู้ว่าเด็กฝรั่งเขามีเรียนพิเศษในวิชาเกี่ยวกับวิชาการกันไหม เ่ช่น คณิต วิทย์ ....คือเราคิดว่าจะให้ลูกเรียนพิเศษเฉพาะเรื่องกีฬา ภาษาที่ 3,4...และอื่นๆ ที่ไม่มีสอนในโรงเรียนเท่านั้นคะ