ประเทศไหนบ้างที่เด็กต้องไปเรียนพิเศษเยอะเหมือนประเทศไทย?

ดูข่าวเรื่องภาษีที่จะเก็บจากโรงเรียนสอนพิเศษ เลยอยากรู้ว่ามีประเทศไหนที่มีโรงเรียนสอนพิเศษ ขึ้นเป็นดอกเห็ดแบบประเทศไทยบ้าง ส่วนสาเหตุของการไปเรียนพิเศษน่าจะรู้ๆกันอยู่แล้วเนอะครับ
แทกห้อง ไกลบ้าน + ห้องสมุด = น่าจะเกี่ยวโดยตรงครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ประเทศที่เจริญมากๆก็มีโรงเรียนกวดวิชา เพราะเหนือฟ้าย่อมมีฟ้า  

ขนาดประเทศอังกฤษที่ครูสอนระดับมัธยมเป็นครูที่เก่งมากๆ แบบครูเดินเข้ามาสอนตัวเปล่าได้เลย (สอนได้ทั้งวิทย์ คณิต และภาษาอังกฤษและภาษาต่างชาติ รวมทั้งวิชาอื่นๆอีกตั้งมากมาย) โดยไม่ต้องใช้ตำราเรียน (เพราะครูรู้วิชาที่จะสอนแบบแตกฉานมากๆ และครูก็เก่งพอๆกับคนแต่งตำราเรียน) แต่ประเทศอังกฤษ ก็ยังมีโรงเรียนกวดวิชาตั้งมากมาย

เราเคยเรียนคณิตศาตร์กับครูฝรั่งระดับมัธยมนะ เรียนพอรู้เรื่อง แต่พอให้ติวเตอร์ฝรั่งสอนนะ โหไปกันคนละเรื่องเลย เรามองเห็นทางหนีทีไล่เยอะกว่าตั้งหลายเท่า  หลังจากนั้นเราไปเล่นหมากรุกฝรั่ง แล้วไปรู้จักชาว Canadian คนหนึ่งที่เขาบินจาก Canada มาเรียนที่ University of Cambridge ในประเทศอังกฤษจนจบปริญญาเอกสาขา mathematical physics นะ เราลองให้เค้าติวคณิตศาสตร์ ปี 1 มหาลัยให้เรา โห เรายิ่งตากลอกใหญ่เลยหละ เพราะวิธีคิดของเค้าเหนือเมฆสุดๆ แบบเซียนปราบเซียนเลยหละ เรากลับมาเมืองไทยแล้วค้นประวัติเค้า แล้วตกใจเมื่อพบว่าตอนเค้าจบปริญญาตรีที่ Canada ใหม่ๆเค้าแข่งคณิตศาสตร์ชนะทั่ว Canada เราจึงไม่เชื่อที่คนบางคน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจบครู) ที่ชอบเถียงในกระทู้การศึกษาใน pantip บอกว่า "ครูที่ดีไม่จำเป็นต้องเก่งแต่ต้องถ่ายทอดดี (เพราะเรียนครูมา) และคนเก่งๆ (ที่ไม่ได้เรียนครูมา) มักจะถ่ายทอดไม่เป็น"   เพื่อนเราชาว Canadian คนนี้นะ นั่งเล่นหมากรุกฝรั่งทั้งวัน ไม่เคยเรียนครู ไม่เป็นอาจารย์มหาลัย ไม่เป็นครู ไม่เป็นติวเตอร์ ไม่ทำอะไรทั้งนั้น วันๆนั่งๆนอนๆอยู่บนกองเงินกองทอง (เพราะพ่อแม่เค้าเป็นมหาเศรษฐี) เราขอให้เค้าติวให้เค้าถึงติวให้

ลองมาดูอีกตัวอย่างหนึ่งเรื่องภาษาอังกฤษกัน สมัยสอบ entrance แบบเก่าๆนะ น่าจะเมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว ข้อสอบภาษาอังกฤษเพื่อ entrance ตอนมันเพิ่งเปลี่ยนจากมี error identification ง่ายๆ กลายเป็น reading comprehension เยอะๆ นะ เล่นเอาครูสอนภาษาอังกฤษตามโรงเรียนกับติวเตอร์มือใหม่เสียศูนย์กันไปตามๆกัน มีครูสอนอังกฤษระดับมัธยมตามโรงเรียนทั่วๆไปทำเฉลยขาย ข้อสอบ 100 ข้อให้เวลาทำ 3 ชม. คุณเชื่อไหมว่าครูเฉลยผิด 30 กว่าแห่ง!   จากนั้นทีมนักเขียนฝรั่งใน The Nation กับ Bangkok Post ก็ทำเฉลยบ้าง แล้วทำถูกทุกข้อ แถมยังชี้แนะได้ด้วยว่าข้อสอบบางข้อมีคำตอบถูกมากกว่า 1 คำตอบ!  จากนั้นก็มีอาจารย์มหาลัยปิดดังๆ ที่เรียนจบเอกอังกฤษ แล้วเคยอยู่เมืองนอกนานๆระดมพลกันตั้งโรงเรียนกวดวิชา ทำเฉลยออกมา แล้วเฉลยถูกหมด

ถ้าเอาทีมงานนักเขียนฝรั่งใน The Nation กับ Bangkok Post (หลายๆคนพูดไทยได้) มาเปิดโรงเรียนกวดวิชาภาษาอังกฤษ กับเอาพวก อาจารย์มหาลัยปิดดังๆ ที่เรียนจบเอกอังกฤษ แล้วเคยอยู่เมืองนอกนานๆระดมพลกันเปิดโรงเรียนกวดวิชาภาษาอังกฤษ รับรองว่าคนเรียนจบครูจากมหาลัยระดับรองๆ (ซึ่งยังอ่านภาษาอังกฤษไม่แตกฉาน) ไม่มีทางสอนให้นักเรียนทำข้อสอบให้มากข้อ แข่งกับนักเรียนที่เรียนกับพวกฝรั่งกับอาจารย์มหาลัยปิดดังๆได้หรอก

ดังนั้น ขอให้คนที่เป็นครูโปรดเลิกพูดได้เลยว่า

"ครูที่ดีไม่จำเป็นต้องเก่งแต่ต้องถ่ายทอดดี (เพราะเรียนครูมา) และคนเก่งๆ (ที่ไม่ได้เรียนครูมา) มักจะถ่ายทอดไม่เป็น"

เหตุผลของการมีโรงเรียนกวดวิชา ก็เพราะว่า

ในเมืองไทยครูในแต่ละโรงเรียนเก่งมากเก่งน้อยระดับชั้นทิ้งกันไกลลิบไม่เห็นฝุ่น ส่วนใหญ่มักจะตัดสินกันที่ครูคนไหนจบมหาลัยระดับดีมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ให้เด็กเรียนพิเศษละก็ "ถ้าเด็กต้องเรียนแต่กับครูที่ไม่เก่งในโรงเรียนของตัวเอง เด็กก็โดนปิดประตูตีแมวดิ"

แต่ในประเทศที่เจริญแล้ว ก็เข้าข่าย "เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้า" ขนาดครูในโรงเรียนก็เก่งๆกันหมด แต่ก็ดันมีติวเตอร์เก่งกว่าครู และก็ดันมีคนที่ไม่ใช่ครูและไม่ใช่ติวเตอร์สอนเก่งกว่าครูและเก่งกว่าติวเตอร์ อย่างเช่นเพื่อนเราชาว Canadian ที่เรียนจบปริญญาเอก จาก University of Cambridge เป็นต้นที่วันๆไม่ทำงานอะไร มัวแต่เอาเวลาไปเรียนรู้ศาสตร์อะไรแปลกๆใหม่ๆเพราะความอยากรู้อยากเห็นของเค้า (เพราะพ่อแม่โอนเงินมาให้ใช้ทีหนึ่งเป็นล้านๆสบายๆ (เค้าซื้อคฤหาสน์หลังงามๆอยู่ในอังกฤษด้วยเงินสดอีกด้วย)) แต่ดันเก่งสุดๆ

ดังนั้น ขอให้ผู้บริหารการศึกษาของไทย "เลิกคิดได้เลยว่าจะจัดระบบการศึกษายังไงที่ทำให้เด็กเลิกเรียนพิเศษ" มันไม่มีทางเป็นไปได้อยู่แล้วหละ!
ความคิดเห็นที่ 6
ญี่ปุ่น เขามิได้เจาะจง วิชาใดวิชาหนึ่งคะ คําว่าเรียนพิเศษ ไม่ได้หมายถึงว่า ต้องเรียนเก่งอย่างเดียว
เขาเลิ้ยงลูกแบบหว่านแห ไม่เหมือนคนไทยเลี้ยงค่ะ

ปลาที่อยู่ในนํ้าไม่มีใครมองเห็นตัวปลาแน่นอน ไม่รู้ว่ามีปลาอะไรบ้าง เมื่อเราอยากได้ปลา เราต้องเอาแหไปหว่านเอา ตีวงแห ให้กว้างๆ
เมื่อเวลาจะเอาปลามากิน จะดึงแห ให้มันเล็กลง เพื่อให้ปลาติดเยอะๆ

วิชาชีพ ก็เหมือนกันค่ะ ในสังคม มีหลากหลายวิชาชีพ  ทั้งหมอ ทั้งทนาย ทั้งวิศว  ตรนดรี กีฬา มีมากมายอาชีพ
ทุกอาชีพ ล้วนแต่มีความสําคัญ

แต่เราไม่รู้ว่า ลูกเราชอบอาชีพไหน สนใจอาชีพอะไร ใจรักอะไร  เพราะฉะนั้น เราต้องหว่านแหออกไป

วันจันทร์ ให้ลูกเรียน พิเศษ กีฬา เผื่อลูกชอบ
วันอังคาร  ให้ลูกเรียน พิเศษ ตรนดรีเผื่อลูกมีใจรัก
วันพุธ ให้เรียน  พิเศษ วาดรูป   เผื่อลูกสนใจ
วันพฤหัส ให้เรียนพิเศษ คนิต  เผื่อเขาชอบงานแบ้งค์
วันศุกดิ์ให้เรียนพิเศษ  บันเล่  เผื่อมีแวว

ที่ญี่ปุ่น เขาจะแยกเรียนค่ะ   ไม่เอาอย่างเดียว  แล้วเด็ก มันจะไม่โกหกตามธรรมชาติ ของเด็ก  วิชาชีพ ที่ตัวเองใจไม่รักไม่ชอบ
เขาจะเลิกเรียน   จะเหลือวิชา ที่ตัวเองรักที่สุด เป็นวิชาสุดท้าย แล้วเราพ่อแม่จะรู้เลย ว่าลูกเราชอบแบบไหน ชอบแนวไหน
เขาไม่บังคับลูก  ให้เขาเลือกเอง ในสิ่งที่ตัวเองรักตัวเองชอบ  

ซึ่งไม่เหมือนคนไทย ที่ต้องสอบให้เรียน ให้เก่ง ต้องให้ได้เกียตินิยม อาชีพ มันเลยแคบ ค่ะในไทย ไม่กระจาย แบบญี่ปุ่นเขา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่