คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
หนี้ เป็นวิชาหลักและวิชาที่ยาก สำหรับการศึกษานิติศาสตร์
แต่ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ
หนี้ ก็คือ สิทธิเรียกร้อง ระหว่างบุคคลต่อบุคล
เรียกร้องอะไร อันนี้ก็คงต้องไปดูในตัวบทกฏหมายครับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะ ร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิด ช่องให้ทำเช่นนั้นได้
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้ เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับ ให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้อง ให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และ ให้จัดการอัน ควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่ง ถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่
มาตรา 214 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 733 เจ้าหนี้มี สิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวม ทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย
///////
หมายความว่า นอกจากฝ่ายเจ้าหนี้จะสามารถเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินจากลูกหนี้ได้แล้ว กรณีหนี้นั้นเป็นเรื่องให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำการหรือไม่กระทำการใดๆได้
ถ้าจะสรุปสั้นๆง่ายๆ หนี้ ก็คือ สิทธิเรียกร้องนั่นเอง
อันนั้นเป็นเพียงความเข้าใจเบี้องต้น เพราะ การศึกษาเรื่องหนี้ยังมีขอบเขตอีกมากมาย
ที่มาแห่งหนี้ เช่น นิติกรรมสัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ รวมไปถึง ภาษี ก็คือ ที่มาแห่งหนี้ทั้งสิ้น
ผลแห่งหนี้ หากไม่ชำระหนี้จะทำอย่างไร การรับช่วงสิทธิ ฯลฯ
คงต้องค่อยๆทำความเข้าใจและศึกษาไปครับ
หนังสือวิชาหนี้ ที่เขียนไว้ดีๆก็มีหลายเล่ม เช่น หนังสือคำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ ของท่านอาจารย์ จิ๊ด เศรษฐบุตร หนังสือคำบรรยายกฏหมายลักษณะหนี้ของ อ.โสภณ รัตนากร เป็นต้นครับ
แต่ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ
หนี้ ก็คือ สิทธิเรียกร้อง ระหว่างบุคคลต่อบุคล
เรียกร้องอะไร อันนี้ก็คงต้องไปดูในตัวบทกฏหมายครับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะ ร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิด ช่องให้ทำเช่นนั้นได้
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้ เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับ ให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้อง ให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และ ให้จัดการอัน ควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่ง ถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่
มาตรา 214 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 733 เจ้าหนี้มี สิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวม ทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย
///////
หมายความว่า นอกจากฝ่ายเจ้าหนี้จะสามารถเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินจากลูกหนี้ได้แล้ว กรณีหนี้นั้นเป็นเรื่องให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำการหรือไม่กระทำการใดๆได้
ถ้าจะสรุปสั้นๆง่ายๆ หนี้ ก็คือ สิทธิเรียกร้องนั่นเอง
อันนั้นเป็นเพียงความเข้าใจเบี้องต้น เพราะ การศึกษาเรื่องหนี้ยังมีขอบเขตอีกมากมาย
ที่มาแห่งหนี้ เช่น นิติกรรมสัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ รวมไปถึง ภาษี ก็คือ ที่มาแห่งหนี้ทั้งสิ้น
ผลแห่งหนี้ หากไม่ชำระหนี้จะทำอย่างไร การรับช่วงสิทธิ ฯลฯ
คงต้องค่อยๆทำความเข้าใจและศึกษาไปครับ
หนังสือวิชาหนี้ ที่เขียนไว้ดีๆก็มีหลายเล่ม เช่น หนังสือคำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ ของท่านอาจารย์ จิ๊ด เศรษฐบุตร หนังสือคำบรรยายกฏหมายลักษณะหนี้ของ อ.โสภณ รัตนากร เป็นต้นครับ
แสดงความคิดเห็น
เรื่อง กฎหมายลักษณะ หนี้
สำหรับวิชานี้ ผมเลยอยากขอคำแนะนำดีหน่อยครับเกี่ยวกับ วิชา หนี้