ประวัติศาสตร์สะพานข้ามแม่น้ำแคว

ผมไปสะพานข้ามแม่น้ำแควมา แล้วได้ข้ามไปฝั่งวัดเจ้าแม่กวนอิม บังเอิญไปเห็นเหมือนจะเป็นอนุสาวรีย์ ตั้งอยู่อีกฝั่งของวัดตรงร้านขายของริมแม่น้ำ เลยลองเข้าไปดู ปรากฎว่า ผู้สร้างอ้างว่า อนุสาวรีย์นี้เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเฉลยชาวจีนที่ถูกจับเป็นเชลยในไทย ใจความที่เขียนอยู่ข้างอนุสาวรีย์มีอยู่ว่า คำบอกเล่าของจารึก ในสงครามโลกครั้งที่สอง ของทหารจีนที่ไปรบในเอเชียอาคเนย์ ได้ล้มตายไปแสนกว่านาย พวกเขาส่วนมากตายในสนามรบในพม่า แต่มีถูกจับเป็นเชลยไปสร้างทางรถไฟที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว ในเมืองไทยประมาณ 30,000 กว่านาย พวกเขาตายลงด้วยความหิว เป็นโรค ความเหนื่อยล้า และเมื่อพวกเขาตายหมด ก็ถูกพวกเราก็ลืมหมด ฝั่งตรงข้ามพิพิธภัณฑ์ยังมีเหลือข้อความอยู่ตอนหนึ่งเขียนไว้ว่า
"เพื่อเป็นการป้องกันการทิ้งระเบิดสะพาน ของเครื่องบินพันธมิตร ทหารญี่ปุ่นได้บังคับเชลยไปเป็นโล่มนุษย์บนสะพาน แต่มีอยู่ครั้งนึงเครื่องบินพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดอย่างแรงโดยไม่รู้ความ ทำให้มีผู้คนถูกระเบิดตายไปสามร้อยคน จนแม่น้ำกลายเป็นสีแดง และมีศพจมลงในแม่น้ำเป็นชั้นๆ ไม่สามรถลอยไปและไม่มีคนมาช่วยเก็บศพ ทำให้แม่น้ำเหม็นคาวเลือดไปหมด ทำให้ไม่มีคนกล้านำน้ำไปอุปโภคและบริโภค ศพที่ตายล้วนเป็นทหารจีนทั้งนั้น"
คำพูดเพียงไม่กี่คำก็สามารถบรรยายเหตุการณ์อันน่าสยดสยองที่เต็มไปด้วยคาวเลือดอย่างน่าอนาถยิ่ง ผ่านไปแล้ว หกสิบกว่าปี พวกทหารจีนได้พลีร่างเพื่อสันติสุขของมวลมนุษย์ ไม่มีใครเคยทำบุญไปให้ แต่มีสตรีไทย ที่เป็นชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง เธอได้ทำการขายทรัพย์สินบ้านช่องของเธอ เพื่อนำเงินมาสร้างศิลาจารึก ที่ชี้ขึ้นไปบนฟ้าที่ตั้งอยู่บนหลุมฝังศพของทหารจีนทั้ง300กว่านาย พวกเราจึงเรียกว่า "ศิลาจารึกแห่งการบุกรุกของทหารจีน" หรือเรียกว่า "ศิลาจารึกแห่งทหารที่เดียวดาย" "ศิลาจารึกทหารจีน" แต่ที่จริงแล้วมันคือศิลาจารึกแห่งมิตรภาพไทยจีน เป็นศิลาจารึกแห่งการต่อต้านสงครามของประชาชน สุดท้ายสตรีผู้นี้ได้สร้างสุสานทหารเดียวดาย นี้ด้วยตัวเองจนตัวตาย เพราะทั้งจนทั้งเป็นโรคและเหนื่อยตายในที่สุด ชนชาติจีนและบุคคลที่รักสันติภาพทั่วโลกต่างก็จดจำชื่อของสตรีผู้นี้ ชื่อของเธอคือ วรรณนิภา กวนด้วง

แต่ประเด็นที่ผมสงสัยคือ จริงหรือที่มีทหารจีนมารบในพม่าและถูกจับเป็นเชลยให้มาสร้างทางรถไฟ แต่ที่พวกเราศึกษากันมาเป็นทหารอังกฤษและสัมพันธมิตรไม่ใช่หรอ หรืออนุสาวรืย์แห่งนี้เป็นของหลอกลวง รบกวนผู้รู้แถลงไขที


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่