ช่วงนี้มีพายุโจมตีประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งพายุไต้ฝุ่นนันมาดอลที่ถล่มฟิลิปปินส์ หรือพายุเฮอริเคนไอรีนที่พัดเข้าชายฝั่งของอเมริกา แล้วเคยสงสัยกันไหมว่า ชื่อเรียกพายุเหล่านี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร
พายุ หมายถึง ภาวะผิดปกติของบรรยากาศ เป็นปรากฎกาณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแสดงถึงสภาวะของอากาศไม่ดีและมีลมแรงจัด พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา มีกำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป เมื่อพัดผ่านที่ใดก็จะทำให้เกิดความเสียหาย โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด ดังนี้
- พายุเฮอร์ริเคน เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโกด้วย
- พายุไซโคลน เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี
- พายุไต้ฝุ่น เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
แต่หากพายุหมุนเขตร้อนอ่อนกำลังลงก็จะมีชื่อเรียกต่างหากว่า
- พายุโซนร้อน เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล ความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้
- พายุดีเปรสชัน เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก เป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. พายุทอร์นาโด เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม./ชม. ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน ซึ่งอาจสามารถพังทลายสิ่งก่อสร้างได้ เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ ทอร์นาโดแบ่งออกตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด
ที่มา:
http://www.unigang.com/Article/8269
ฝากเพจที่เฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world
ความหมายของชื่อเรียกพายุต่างๆ
ช่วงนี้มีพายุโจมตีประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งพายุไต้ฝุ่นนันมาดอลที่ถล่มฟิลิปปินส์ หรือพายุเฮอริเคนไอรีนที่พัดเข้าชายฝั่งของอเมริกา แล้วเคยสงสัยกันไหมว่า ชื่อเรียกพายุเหล่านี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร
พายุ หมายถึง ภาวะผิดปกติของบรรยากาศ เป็นปรากฎกาณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแสดงถึงสภาวะของอากาศไม่ดีและมีลมแรงจัด พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา มีกำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป เมื่อพัดผ่านที่ใดก็จะทำให้เกิดความเสียหาย โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด ดังนี้
- พายุเฮอร์ริเคน เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโกด้วย
- พายุไซโคลน เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี
- พายุไต้ฝุ่น เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
แต่หากพายุหมุนเขตร้อนอ่อนกำลังลงก็จะมีชื่อเรียกต่างหากว่า
- พายุโซนร้อน เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล ความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้
- พายุดีเปรสชัน เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก เป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. พายุทอร์นาโด เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม./ชม. ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน ซึ่งอาจสามารถพังทลายสิ่งก่อสร้างได้ เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ ทอร์นาโดแบ่งออกตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด
ที่มา: http://www.unigang.com/Article/8269
ฝากเพจที่เฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world