ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วอชิงตัน - สององค์กรสิทธิมนุษยชนออกรายงานโจมตีโดรนมะกัน ปลิดชีวิตพลเรือนจำนวนมากในปากีสถานและเยเมน คนรุดช่วยเหยื่อโดนถล่มด้วย ชี้บางกรณีอาจเข้าข่ายอาชญากรรมสงคราม
รายงานขององค์การสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่สองสวนการโจมตี้เป้าหมายต้องสงสัยก่อการร้ายโดยอากาศยานควบคุมระยะไกล (โดรน) ของสหรัฐ ในเขตวาซีรีสถานเหนือ ประเทศปากีสถาน และรายงานโดยฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ ที่ตรวจสอบการโจมตีในเยเมน ชี้ว่า การโจมตีด้วยอากาศยานติดขีปนาวุธในทั้งสองประเทศไม่ได้แม่นยำเหมือนกับที่บรรดาเจ้าหน้าที่สหรัฐกล่าวอ้าง และบางกรณีเป็นการสังหารที่ผิดกฎหมาย เข้าข่ายละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และอาจถือเป็นอาชญากรรมสงคราม
รายงานของทั้งสององค์กรที่รวบรวมจากคำบอกเล่าของผู้อยู่ในเหตุการณ์และผู้รอดชีวิตยังระบุด้วยว่า สหรัฐสังหารฝ่ายตรงข้ามทั้งที่มีความเป็นไปได้ที่สามารถใช้วิธีจับกุม และมุ่งโจมตี้คนที่รุดเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากการถูกถล่มครั้งแรกด้วย
แอมเนสตี้ซึ่งสอบสวนการโจมตีในปากีสถาน 9 ครั้งในปีนี้และปีที่แล้ว สรุปว่า มีผู้เสียชีวิตที่ไม่ใช่นักรบ 29 ราย ส่วนฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ ระบุว่า มีพลเรือนเสียชีวิต 57 รายจากการโจมตี 6 ระลอกในเยเมนช่วงปี 2552-2556 จำนวนนี้ 41 รายสังเวยการโจมตีด้วยขีปนาวุธที่อิงข่าวกรองผิดพลาดจากรัฐบาลเยเมน
รายงานของแอมเนสตี้ระบุชื่อเหยื่อหลายคนที่ปราศจากอาวุธและไม่ได้เป็นภัยต่อชีวิตผู้ใด โดยเฉพาะกรณีของนางมามานา บิบี วัย 68 ปี ถูกสังหารในปากีสถานเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว จากการโจมตีสองครั้งซ้อนขณะกำลังเก็บผักในสวนของครอบครัวที่มีหลานๆ อยู่รายล้อม
ผู้เขียนรายงานยอมรับว่า ในหลายกรณียากจะบอกได้ว่า ผู้ชายที่ถูกสังหารจากการโจมตีเป็นสมาชิกอัล-ไกดา หรือกองกำลังที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วม หรือกำลังวางแผนโจมตีผลประโยชน์สหรัฐหรือไม่ ญาติพี่น้องมักยืนยันว่าบุคคลอันเป็นที่รักที่ถูกปลิดชีพไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสุดโต่ง การแยกแยะข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีจึงยากจะทำได้ ขณะฝ่ายข่าวกรองอเมริกันและฝ่ายกำกับในสภาคองเกรสอ้างว่า การโจมตีเกือบทั้งหมดถูกเป้าหมายที่ถูกต้องชอบธรรม และแทบไม่มีพลเรือนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ
อย่างไรก็ดี กลุ่มสิทธิมนุษยชนแย้งว่า เพียงการเป็นสมาชิกองค์กรหนึ่ง หรือเคยมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเป็นศัตรูต่อสหรัฐ ตามกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ไม่ได้ทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นเป้าหมายสังหารอันชอบธรรม และทั้งที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้ให้คำมั่นว่า จะเพิ่มความโปร่งใสในการใช้ปฏิบัติการนี้ให้มากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าสังหารและเหตุผล จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินว่า การโจมตีชอบด้วยกฎหมายตามที่สหรัฐยืนกราน
ชี้ 'โดรน' อาชญากรรมสงคราม เผยปลิดชีพหญิงชราปากีขณะเก็บผัก
วอชิงตัน - สององค์กรสิทธิมนุษยชนออกรายงานโจมตีโดรนมะกัน ปลิดชีวิตพลเรือนจำนวนมากในปากีสถานและเยเมน คนรุดช่วยเหยื่อโดนถล่มด้วย ชี้บางกรณีอาจเข้าข่ายอาชญากรรมสงคราม
รายงานขององค์การสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่สองสวนการโจมตี้เป้าหมายต้องสงสัยก่อการร้ายโดยอากาศยานควบคุมระยะไกล (โดรน) ของสหรัฐ ในเขตวาซีรีสถานเหนือ ประเทศปากีสถาน และรายงานโดยฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ ที่ตรวจสอบการโจมตีในเยเมน ชี้ว่า การโจมตีด้วยอากาศยานติดขีปนาวุธในทั้งสองประเทศไม่ได้แม่นยำเหมือนกับที่บรรดาเจ้าหน้าที่สหรัฐกล่าวอ้าง และบางกรณีเป็นการสังหารที่ผิดกฎหมาย เข้าข่ายละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และอาจถือเป็นอาชญากรรมสงคราม
รายงานของทั้งสององค์กรที่รวบรวมจากคำบอกเล่าของผู้อยู่ในเหตุการณ์และผู้รอดชีวิตยังระบุด้วยว่า สหรัฐสังหารฝ่ายตรงข้ามทั้งที่มีความเป็นไปได้ที่สามารถใช้วิธีจับกุม และมุ่งโจมตี้คนที่รุดเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากการถูกถล่มครั้งแรกด้วย
แอมเนสตี้ซึ่งสอบสวนการโจมตีในปากีสถาน 9 ครั้งในปีนี้และปีที่แล้ว สรุปว่า มีผู้เสียชีวิตที่ไม่ใช่นักรบ 29 ราย ส่วนฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ ระบุว่า มีพลเรือนเสียชีวิต 57 รายจากการโจมตี 6 ระลอกในเยเมนช่วงปี 2552-2556 จำนวนนี้ 41 รายสังเวยการโจมตีด้วยขีปนาวุธที่อิงข่าวกรองผิดพลาดจากรัฐบาลเยเมน
รายงานของแอมเนสตี้ระบุชื่อเหยื่อหลายคนที่ปราศจากอาวุธและไม่ได้เป็นภัยต่อชีวิตผู้ใด โดยเฉพาะกรณีของนางมามานา บิบี วัย 68 ปี ถูกสังหารในปากีสถานเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว จากการโจมตีสองครั้งซ้อนขณะกำลังเก็บผักในสวนของครอบครัวที่มีหลานๆ อยู่รายล้อม
ผู้เขียนรายงานยอมรับว่า ในหลายกรณียากจะบอกได้ว่า ผู้ชายที่ถูกสังหารจากการโจมตีเป็นสมาชิกอัล-ไกดา หรือกองกำลังที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วม หรือกำลังวางแผนโจมตีผลประโยชน์สหรัฐหรือไม่ ญาติพี่น้องมักยืนยันว่าบุคคลอันเป็นที่รักที่ถูกปลิดชีพไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสุดโต่ง การแยกแยะข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีจึงยากจะทำได้ ขณะฝ่ายข่าวกรองอเมริกันและฝ่ายกำกับในสภาคองเกรสอ้างว่า การโจมตีเกือบทั้งหมดถูกเป้าหมายที่ถูกต้องชอบธรรม และแทบไม่มีพลเรือนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ
อย่างไรก็ดี กลุ่มสิทธิมนุษยชนแย้งว่า เพียงการเป็นสมาชิกองค์กรหนึ่ง หรือเคยมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเป็นศัตรูต่อสหรัฐ ตามกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ไม่ได้ทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นเป้าหมายสังหารอันชอบธรรม และทั้งที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้ให้คำมั่นว่า จะเพิ่มความโปร่งใสในการใช้ปฏิบัติการนี้ให้มากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าสังหารและเหตุผล จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินว่า การโจมตีชอบด้วยกฎหมายตามที่สหรัฐยืนกราน