22ต.ค.2556 นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติการจัดทำและเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ 2. อนุมัติให้ รมว.ต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในความตกลงดังกล่าว และ 3.หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอ ครม.อีกครั้ง
โดยมีสาระสำคัญของร่างความตกลงฯดังนี้ 1.อนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของแต่ละฝ่ายสามารถเดินทางเข้าประเทศและพำนักในประเทศผู้รับได้เป็นเวลาไม่เกิน 14 วัน โดยยกเว้นการขอรับการตรวจลงตราล่วงหน้า 2.อนุญาตให้เดินทางเข้า-ออกผ่านท่าอากาศยานของไทยจำนวน 23 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต น่าน พิษณุโลก แม่สอด แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี กระบี่ ตรัง นราธิวาส ระนอง สุราษฎร์ธานี หัวหิน สมุย สุโขทัย และอู่ตะเภา ตามเกณฑ์ “ช่องทางอากาศของด่านตรวจคนเข้าเมือง” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกำหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. 2549 และฉบับที่กำลังเสนอแก้ไขเพิ่มเติม
3.การปฏิเสธการเข้าเมือง การลดระยะเวลา และการบอกเลิก การอนุญาตพำนัก สามารถทำได้โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผล 4.การระงับใช้ความตกลงฯ เป็นการชั่วคราวสามารถทำได้ เพื่อเหตุผลด้านความมั่นคงและด้านสาธารณสุข โดยต้องแจ้งอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูตอย่างน้อย 15 วัน 5. ไม่มีกำหนดอายุความตกลงฯ โดยจะมีผลบังคับใช้จนกว่าฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิกความตกลงฯ เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการยกเลิกจะมีผลหลังจากที่ได้มีหนังสือแจ้งผ่านช่องทางการทูตแล้วเป็นเวลา 60 วัน
ทั้งนี้ ร่างความตกลงฯ เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของ ครม.ก่อนการลงนามให้มีผลผูกพัน แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามมาตรา 190 วรรคสอง เนื่องจากไม่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศ หรือมีผลกระทบต่อความมั่งคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
Cr: Komchadluek.net
ครม.มีมติอนุมัติทำความตกลงยกเว้นวีซ่าพม่า
โดยมีสาระสำคัญของร่างความตกลงฯดังนี้ 1.อนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของแต่ละฝ่ายสามารถเดินทางเข้าประเทศและพำนักในประเทศผู้รับได้เป็นเวลาไม่เกิน 14 วัน โดยยกเว้นการขอรับการตรวจลงตราล่วงหน้า 2.อนุญาตให้เดินทางเข้า-ออกผ่านท่าอากาศยานของไทยจำนวน 23 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต น่าน พิษณุโลก แม่สอด แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี กระบี่ ตรัง นราธิวาส ระนอง สุราษฎร์ธานี หัวหิน สมุย สุโขทัย และอู่ตะเภา ตามเกณฑ์ “ช่องทางอากาศของด่านตรวจคนเข้าเมือง” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและช่องทางให้บุคคลเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรและกำหนดให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. 2549 และฉบับที่กำลังเสนอแก้ไขเพิ่มเติม
3.การปฏิเสธการเข้าเมือง การลดระยะเวลา และการบอกเลิก การอนุญาตพำนัก สามารถทำได้โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผล 4.การระงับใช้ความตกลงฯ เป็นการชั่วคราวสามารถทำได้ เพื่อเหตุผลด้านความมั่นคงและด้านสาธารณสุข โดยต้องแจ้งอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูตอย่างน้อย 15 วัน 5. ไม่มีกำหนดอายุความตกลงฯ โดยจะมีผลบังคับใช้จนกว่าฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิกความตกลงฯ เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการยกเลิกจะมีผลหลังจากที่ได้มีหนังสือแจ้งผ่านช่องทางการทูตแล้วเป็นเวลา 60 วัน
ทั้งนี้ ร่างความตกลงฯ เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของ ครม.ก่อนการลงนามให้มีผลผูกพัน แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามมาตรา 190 วรรคสอง เนื่องจากไม่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศ หรือมีผลกระทบต่อความมั่งคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
Cr: Komchadluek.net