จากมติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง 63 ศาลอาญาออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีเผาซานติก้าผับ ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส์ (2003) จำกัด ผู้บริหารซานติก้าผับ, นายธวัชชัย ศรีทุมมา ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ, นายพงษ์เทพ จินดา ผจก.ฝ่ายบันเทิง, นายวุฒิพงศ์ ไวลย์ลิกรี ผจก.ฝ่ายการตลาด, นายสราวุธ อะริยะ นักร้องวงเบิร์น ผู้จุดพลุไฟ, บริษัท โพกัสไลท์ ซาวน์ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งรับจ้างติดตั้งการทำเอฟเฟ็กต์ซานติก้าผับ และนายบุญชู เหล่าสีนาท กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท โพกัสไลท์ฯ เป็นจำเลยที่ 1-7
ในความผิดฐานผู้ใดทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ผู้อื่น ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย และเป็นอันตรายกับชีวิตผู้อื่น, ผู้ใดกระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตามประมวลกฎหมาย มาตรา 225, 291, 300, 390 และกระทำผิด พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 16/1, 16/3.27 และ 28/1 ฐานเป็นผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการปล่อยปละละเลยให้บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ และปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ มาตรา 291
กรณีคืนวันที่ 31 ธ.ค. พ.ศ.2551 ต่อเนื่องวันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2552 พวกจำเลยได้กระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จัดให้มีงานรื่นเริงให้บริการจำหน่ายอาหารสุรา เครื่องดื่ม การแสดงดนตรี รวมทั้งการแสดงแสง สี เสียง ในโอกาสฉลองเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ภายในตัวอาคารซานติก้าผับ ย่านเอกมัย ภายในตัวอาคารไม่มีแบบแปลนแผนผังอาคารติดตั้งแสดงไว้ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ และไม่ได้ติดตั้งไฟฉุกเฉินให้มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถเปิดส่องสว่างแก่ลูกค้าเพื่อการหลบหนีออกจากตัวอาคารได้สะดวกและปลอดภัย
โดยอาคารมีพื้นที่ให้บริการลูกค้าที่สามารถจุคนได้ไม่เกิน 500 คน แต่ขณะเกิดเหตุมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยจำเลยที่ 5 ได้จุดพลุไฟที่บริเวณหน้าเวที ซึ่งมีความสูงประมาณ 5 เมตร จนเกิดลูกไฟขึ้นไปชนเพดานเวที ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นที่บริเวณเพดานเวทีและภายในตัวอาคาร เป็นเหตุให้ลูกค้าผู้เข้าไปใช้บริการในอาคารถึงแก่ความตาย 67 ราย บาดเจ็บสาหัส 32 คน บาดเจ็บอีก 71 คน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ.2554 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 7 คนละ 3 ปี และปรับจำเลยที่ 6 จำนวน 20,000 บาท และให้จำเลยที่ 6-7 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมรวม 8,700,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2-5 ให้ยกฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 1, 6-7 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง และโจทก์ยื่นอุทธรณ์จำเลยที่ 5
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 แล้วเห็นว่าไม่ใช่ผู้ที่กระทำประมาทโดยตรงที่จะทำให้เหตุเพลิงไหม้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 จะมีพฤติการณ์ดังกล่าวก็เป็นเรื่องของการไม่ได้ติดแบบแปลนแผนผังของอาคาร ป้ายบอกทางหนีไฟ และติดไฟฉุกเฉินให้เพียงพอที่เป็นข้อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดนั้นสืบเนื่องจากการจุดเอฟเฟ็กต์ด้วยระบบไฟฟ้าที่หน้าเวทีที่จำเลยที่ 6-7 ดูแล ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อมีการจุดเอฟเฟ็กต์แล้วประกายได้พุ่งขึ้นสู่เพดานจนเกิดเพลิงไหม้ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 6-7 กระทำประมาท
ส่วนนักร้องนำวงเบิร์น จำเลยที่ 5 หลักฐานจากแผ่นดีวีดีบันทึกภาพเหตุการณ์ที่ได้จากกล้องวิดีโอของพนักงานบริษัท ไม่ปรากฏภาพว่าจำเลยที่ 5 ได้ถือกระบอกพลุและเป็นผู้จุดพลุดังกล่าว ซึ่งภาพที่ปรากฏในแผ่นดีวีดีพบเพียงแค่จำเลยที่ 5 ยืนถือไมค์เพียงมือเดียว พยานหลักฐานโจทก์ยังมีความขัดแย้งกัน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกข้อหา และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2-5 โดยให้จำคุกจำเลยที่ 7 เป็นเวลา 3 ปี พร้อมให้จำเลยที่ 6-7 ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมเป็นเงิน 8.7 ล้านบาท
ด้าน น.ส.มาลี ถนอมปัญญารักษ์ ญาติผู้เสียหาย ให้สัมภาษณ์หลังศาลยกฟ้องนายวิสุขว่า ยืนยันจะยื่นฎีกาต่อ เพราะต้องการให้ผู้บริหารซานติก้าผับร่วมรับผิดชอบกับบริษัทที่ติดตั้งเอฟเฟ็กต์ด้วย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้อง"เสี่ยขาว"ไฟไหม้ซานติก้าผับ ยืนจำคุกเจ้าของบริษัททำพลุเอฟเฟ็กต์3ปี
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง 63 ศาลอาญาออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีเผาซานติก้าผับ ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส์ (2003) จำกัด ผู้บริหารซานติก้าผับ, นายธวัชชัย ศรีทุมมา ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ, นายพงษ์เทพ จินดา ผจก.ฝ่ายบันเทิง, นายวุฒิพงศ์ ไวลย์ลิกรี ผจก.ฝ่ายการตลาด, นายสราวุธ อะริยะ นักร้องวงเบิร์น ผู้จุดพลุไฟ, บริษัท โพกัสไลท์ ซาวน์ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งรับจ้างติดตั้งการทำเอฟเฟ็กต์ซานติก้าผับ และนายบุญชู เหล่าสีนาท กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท โพกัสไลท์ฯ เป็นจำเลยที่ 1-7
ในความผิดฐานผู้ใดทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ผู้อื่น ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย และเป็นอันตรายกับชีวิตผู้อื่น, ผู้ใดกระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และผู้ใดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตามประมวลกฎหมาย มาตรา 225, 291, 300, 390 และกระทำผิด พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 16/1, 16/3.27 และ 28/1 ฐานเป็นผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการปล่อยปละละเลยให้บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ และปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ มาตรา 291
กรณีคืนวันที่ 31 ธ.ค. พ.ศ.2551 ต่อเนื่องวันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2552 พวกจำเลยได้กระทำการโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จัดให้มีงานรื่นเริงให้บริการจำหน่ายอาหารสุรา เครื่องดื่ม การแสดงดนตรี รวมทั้งการแสดงแสง สี เสียง ในโอกาสฉลองเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ภายในตัวอาคารซานติก้าผับ ย่านเอกมัย ภายในตัวอาคารไม่มีแบบแปลนแผนผังอาคารติดตั้งแสดงไว้ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ และไม่ได้ติดตั้งไฟฉุกเฉินให้มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถเปิดส่องสว่างแก่ลูกค้าเพื่อการหลบหนีออกจากตัวอาคารได้สะดวกและปลอดภัย
โดยอาคารมีพื้นที่ให้บริการลูกค้าที่สามารถจุคนได้ไม่เกิน 500 คน แต่ขณะเกิดเหตุมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยจำเลยที่ 5 ได้จุดพลุไฟที่บริเวณหน้าเวที ซึ่งมีความสูงประมาณ 5 เมตร จนเกิดลูกไฟขึ้นไปชนเพดานเวที ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นที่บริเวณเพดานเวทีและภายในตัวอาคาร เป็นเหตุให้ลูกค้าผู้เข้าไปใช้บริการในอาคารถึงแก่ความตาย 67 ราย บาดเจ็บสาหัส 32 คน บาดเจ็บอีก 71 คน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ.2554 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 7 คนละ 3 ปี และปรับจำเลยที่ 6 จำนวน 20,000 บาท และให้จำเลยที่ 6-7 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมรวม 8,700,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2-5 ให้ยกฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 1, 6-7 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง และโจทก์ยื่นอุทธรณ์จำเลยที่ 5
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 แล้วเห็นว่าไม่ใช่ผู้ที่กระทำประมาทโดยตรงที่จะทำให้เหตุเพลิงไหม้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 จะมีพฤติการณ์ดังกล่าวก็เป็นเรื่องของการไม่ได้ติดแบบแปลนแผนผังของอาคาร ป้ายบอกทางหนีไฟ และติดไฟฉุกเฉินให้เพียงพอที่เป็นข้อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดนั้นสืบเนื่องจากการจุดเอฟเฟ็กต์ด้วยระบบไฟฟ้าที่หน้าเวทีที่จำเลยที่ 6-7 ดูแล ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อมีการจุดเอฟเฟ็กต์แล้วประกายได้พุ่งขึ้นสู่เพดานจนเกิดเพลิงไหม้ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 6-7 กระทำประมาท
ส่วนนักร้องนำวงเบิร์น จำเลยที่ 5 หลักฐานจากแผ่นดีวีดีบันทึกภาพเหตุการณ์ที่ได้จากกล้องวิดีโอของพนักงานบริษัท ไม่ปรากฏภาพว่าจำเลยที่ 5 ได้ถือกระบอกพลุและเป็นผู้จุดพลุดังกล่าว ซึ่งภาพที่ปรากฏในแผ่นดีวีดีพบเพียงแค่จำเลยที่ 5 ยืนถือไมค์เพียงมือเดียว พยานหลักฐานโจทก์ยังมีความขัดแย้งกัน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกข้อหา และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2-5 โดยให้จำคุกจำเลยที่ 7 เป็นเวลา 3 ปี พร้อมให้จำเลยที่ 6-7 ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมเป็นเงิน 8.7 ล้านบาท
ด้าน น.ส.มาลี ถนอมปัญญารักษ์ ญาติผู้เสียหาย ให้สัมภาษณ์หลังศาลยกฟ้องนายวิสุขว่า ยืนยันจะยื่นฎีกาต่อ เพราะต้องการให้ผู้บริหารซานติก้าผับร่วมรับผิดชอบกับบริษัทที่ติดตั้งเอฟเฟ็กต์ด้วย