จากกระทู้นี้นะครับ ขออนุญาตตั้งกระทู้ตอบแล้วกันครับ
http://ppantip.com/topic/31136264
----------------------------------------------
ก่อนข้อ 1
สต๊อกข้าวคงเหลือ 14,000 ล้านตัน (ตัวเลขจาก คุณม้าเอง)
ตัวเลขนี้ของคุณยรรยงครับ ไม่ใช่ของผม ที่แกแถลงพร้อมกับตัวเลขคืนเงิน ธกส. แล้วบอกว่า มีสต๊อกเหลืออยู่ 14 ล้านตัน
---------------------------------------------
ข้อ 1 คุณม้าเคยคิดบ้างไหมว่า เงินที่รัฐใช้ไป 670,000 แล้วที่ คุณ หรือ หม่อมอุ๋ย กำลังบอกประชาชน
ว่ามันขาดทุน 425,000 ล้านนี่ มันคือการรับจำนำข้าวที่ขาดทุน 63.43% หรือ ขาดทุนตันละ 9,514 บาท
คุณคิดว่ามันน่าเชื่อได้หรือ
ตอบ อันนี้กระทู้เมื่อวาน ผมพยายามสื่อว่า เงินที่รัฐบาลจ่ายไม่ใช่แค่ 670,000 ล้าน หรือ 680,000 ล้าน แต่มีค่าใช้จ่ายอื่นอีก หลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น ถ้ามองเฉพาะส่วนของค่าข้าว สมมติขาดทุน 370,000 ล้านบาท ก็ประมาณ 55% หรือถ้าหากต้นทุนรัฐเป็น 24,000 บาท ก็ขายได้ราคา ประมาณ 11,000 บาท อันนี้ผมว่า แม้ดูแล้วเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นไปได้อยู่ เพราะมีข้าวบางกอง ที่รัฐบาลขายต่ำกว่า 8,000 บาท ไปทำข้าวถุง ดังนั้น เมื่อรวมกับการขาย G to G ที่เราไม่รู้ราคาขาย ก็อาจจะเป็นได้ว่า ขายในราคาขาดทุนประมาณ 50% ซึ่งก็คงทำให้ ผลขาดทุนทั้งหมด เป็นประมาณ 55% ได้
------------------------------------------------
ข้อ 2 ขออนุญาตไม่ก็อปโจทย์ ย่อหน้าแรก
วิธีคิด คุณม้า ไม่ได้พูดถึงเรื่อง เงินสดที่เก็บอยู่ที่ อคส./อตก. ที่ไม่ได้ส่งเงินมาคืน ธกส. ถ้าตัวเลขสต๊อก
คุณ ม้า ถูก คือ 14 ล้านตัน ซื้อข้าวมา 43.7 ล้านตัน ดังนั้นสต๊อกที่ระบายออกคือ 29.7 ล้านดัน สมมุติ
ว่า ระบายในราคาตลาด จะเป็นเงินจำนวน 326,700 ล้านบาท ผลต่างต้องอยู่ที่ อคส./อตก. ครับ (อมเงิน
เหมือน อมเงินขายข้าวปี 48/49 มาจ่าย ธกส. ปี 55)
ดังนั้น ซื้อ หัก เงินส่ง ธกส. หัก สต๊อก = ขาดทุน จึงไม่ถูก เพราะคุณม้า ยัง
ไม่ได้นับเงินที่ไม่ได้นำส่ง ธกส. ที่ อคส./อตก. เก็บไว้
ตอบ เรื่องเงินสดเก็บอยู่ที่ อคส./อตก. นั้น ตามหลักเกณฑ์แล้ว เมื่อได้รับชำระเงินแล้ว ต้องรีบนำเงินส่ง ธกส.ภายใน 3 วัน (หรือ 7 วัน) ตรงนี้เงินก็ไม่ควรค้างอยู่ที่ อคส./อตก.มากเกินไป แต่ถ้าจะคิด คุณโบกกรัก ก็ลองกำหนดตัวเลขแล้วเพิ่มตัวเลขเงิน จากที่ผมคิด เงินที่ได้รับ + สต๊อกคงเหลือ เป็นบวกเพิ่มเงินที่เหลือที่ อคส/อตก.ลงไปด้วยก็ได้
แต่เรื่องสต๊อกนั้น คุณโบกกรัก คงต้องทำความเข้าใจในประเด็นที่ว่า รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือก แต่ขายเป็นข้าวสารให้ดีก่อน
เพราะเริ่มต้นจาก รับจำนำข้าวมา 44 ล้านตัน แปลงเป็นข้าวสารได้ 28 ล้านตัน (ขอใช้ตัวเลขกลม ๆ แบบนี้เลยนะครับ เพราะตัวเลข 43.7 กับ 27.4 นั้น เก่าไปนิดนึง ตอนนี้ตัวเลขน่าจะเกิน 44 กับ 28 แล้ว)
ดังนั้น ถ้าสต๊อกตอนนี้เหลือ 14 ล้านตัน ก็แสดงว่า เหลือครึ่งนึง ก็คือขายไปครึ่งนึงแล้ว
ขายไปครึ่งนึง ผมบอกว่าได้เงินตามที่ได้คืน ก็คือ 130,000 ล้านบาท แ่ต่ถ้าคุณโบกกรัก จะบวกเงินค้างที่ อคส./ อตก. ก็ได้ ก็บวกเข้าไป
แต่ที่ผมคำนวณนั้น ผมบอกว่า ถ้าขายหมด จะได้เงิน 300,000 ล้าน คือนอกจากคูณสองไปเป็น 260,000 ล้านบาท แล้วก็ยังบวกเผื่อไปอีก 40,000 ล้านแล้วครับ
ลงทุนข้าวไป 680,000 ล้าน ขายหมดได้เงิน 300,000 ล้าน ก็ขาดทุน 380,000 ล้าน
อันนี้ผมว่าจุดนี้ น่าจะเคลียร์พอสมควรนะครับ
---------------------------------------------------------
ข้อ 3 ผมไม่เคยเห็น ค่าบริหารสินเชื่อที่ไหนที่เก็บแม้อัตราไหนของเงินต้น กู้แบงค์มานักต่อนัก แบงค์รวมค่า
ใช้จ่ายทั้งหมดซ่อนไว้ในอัตราดอกเบี้ยครับ คุณ ม้า มีก็เอามาแชร์นะครับว่า มันมีจริงกับการกู้ของรัฐกับ ธกส.
และ ในงบการเงินของ ธกส. ก็ไม่เคยมีรายได้ระบุในงบการเงินครับ
ตอบ จริง ๆ แล้วตัวนี้ มีการคำนวณในเอกสารที่ผมยกมาประกอบแล้ว คือ คิดจากวงเงินกู้ทั้งก้อน แล้วคิดอัตรา 2.5% เวลา 5 เดือน (ก็ประมาณ 1% นิดหน่อย) เป็นค่าบริหารสินเชื่อ
ตรงนี้ ผมว่าไม่น่าเข้าใจยากอะไรครับ เพราะถ้าคิดรวมกับดอกเบี้ยไปเลย ถ้ากู้นาน รัฐบาลก็จะจ่ายดอกเบี้ยมากเกินไป แต่อันนี้กำหนดไว้เป็นตัวเลขคงที่ว่าจะคิดค่าบริหารสินเชื่อนี้ ประมาณ 1% ที่ว่า แล้วดอกเบี้ย ก็เอาเป็นค่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของ 5 ธนาคารใหญ่ บวก 1% เป็นดอกเบี้ย (ตามเอกสาร ก็คิดแล้วได้อัตรา 3.406%)
สรุปคือ ถ้าหากรัฐบาลกู้ประมาณ 5 เดือน (ตรงนี้ก็มีที่มาที่ไปที่เข้าใจได้เหมือนกัน ก็คือ การจำนำข้าว มีกำหนดให้ไถ่ถอนภายใน 4 เดือน เมื่อไม่มาไถ่ถอน รัฐบาลก็จะขายทอดตลาดออกไปภายใน 1 เดือน (แต่คงทำไม่ได้)) ก็จะเสียดอกเบี้ยรวมค่าบริหารสินเชื่อเป็นประมาณ 4.5%
แต่ถ้ากู้เกิน 5 เดือน หลังจากนั้น ก็จะเสียดอกเบี้ย 3.4% ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะคืน ตรงนี้ รัฐบาลได้ประโยชน์มากกว่าคิดรวมกันไปเลย
-----------------------------------------------
ข้อ 4 ค่าบริหาร อคส. ตันละ 105 บาท ในนี้ มันมีอะไรบ้างครับ เห็น คุณม้าทำลิ๊งค์ แต่ ผม ไม่เข้าใจว่าอะไร
ข้าวเข้าโกดัง 100 ตัน อคส. คิดตันละ 105 บาท แม้จะเก็บข้าวไว้ในโกดัง 10-20 ปี เช่นนั้นหรือ
ตอบ ค่าบริหารนี้ เป็นขั้นตอนการรับข้าวเข้าโรงสีแค่นั้นครับ มีค่าใช้จ่ายในการรับฝาก เช่นขั้นตอนการชั่งน้ำหนัก วัดความชื้น ออกใบประทวน ตรงนี้ ต้องมีคนอคส.ร่วมด้วยกับคนของโรงสี
แต่ถ้าหากจะถามว่า จริง ๆ แล้วมันควรสูงขนาดนี้หรือไม่ อันนี้ผมคงตอบไม่ได้ เพราะรัฐบาลเป็นคนกำหนดตัวเลขพวกนี้ขึ้นมา ซึ่งก็คงมีการคำนวณมาอย่างดีแล้วว่า อันนี้เหมาะสมครับ
เพราะจะว่าไป ตัวเลขนี้ จริง ๆ น่าจะผลักภาระให้กับโรงสีไปได้ โดย อคส./ อตก.มีค่าใช้จ่ายด้านพนักงานประจำประจำโรงสีต่าง ๆ ถ้ามี พันโรงสี ก็พันคน เดือนละ 10,000 บาท ก็เดือนละ 10 ล้านบาทแค่นั้น รับจำนำ 6 เดือน ก็ไม่ถึง 100 ล้านบาท ดังนั้นกำหนดไว้ หลักพันล้าน ก็น่าจะสูงเกินไปจริง
-------------------------------------------------------
ข้อ 5 หน่วยงานของรัฐ มีตันทุนอะไรแบกรับเพิ่มหรือ ทุกวันนี้ ก็ไม่มีงานจะทำนั่งตบยุง เล่น ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค
กันแบบไม่อายประชาชน พักเที่ยงตัวไม่อยู่ เปิดหน้า facebook หรา แบบไม่อายคน แล้ว 498+209 เนี่ย มันเป็น
ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่วนไหน นอกเหนืองบประมาณของ กรม ๆ นั้น ครับ
ตอบ อันนี้ ก็เช่นกัน ก็คงต้องไปถามรัฐบาล ว่าเงินก้อนนี้จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่
แต่ถ้าพูดตามข้อเท็จจริงแล้ว ผมว่าก็มีการแจกแจงพอสมควรว่าจะใช้ทำอะไรบ้าง
ยังไงก็ต้องจ่ายแหละครับ แล้วที่ผมคำนวณไป ก็คิดแค่รอบเดียว ทั้ง ๆ ที่ค่าใช้จ่ายนี้ ดูแล้วต้องจ่ายเป็นรายปีครับ (คือที่เราคิดสองปี ก็ต้องคูณสอง) แต่เป็นเพราะคิดว่า ปีแรกอาจจะจ่ายไม่หมดตามนี้ ก็เลยถัว ๆ ไปว่า สองปีใช้เงินยอดนี้
---------------------------------------------------------------
ข้อ 6 อัตราดอกเบี้ยที่ ธกส. คิด ที่คุณบอกคือ 3.406% คุณคำนวณตัวเลขอยู่ที่ 14,500 ล้าน ขอวิธีคิดหน่อยครับ
ดอกเบี้ยจ่าย ผมคิดคร่าว ๆ น่าจะ20,000 +/-ล้าน แต่ ดอกเบี้ยรับกับเงินที่ อคส. อมไว้ 196,700 ล้าน คุณ
ไม่ได้นำมาคิดนะครับ
ตอบ เมื่อวานผมคิดแบบนี้ครับ
สิ้นปีแรก ใช้เงินไป 330,000 ล้านบาท แต่สิ้นปีแรกคืนเงิน ธกส.ไปแล้ว 30,000 ล้าน ก็เหลือยอด 300,000 ล้านบาท ผมคิดดอกเบี้ย 2 ปี (ตอนหลังผมหารสอง ก็สรุปคือคิด 1 ปี) 10,218 ล้านบาท
สิ้นปีสอง (ตอนนี้) เป็นหนี้ ธกส.อยู่ประมาณ 550,000 ล้านบาท ก็แสดงว่าปีที่สองใช้ยอดเงิน 250,000 ล้านบาท ผมคิดดอกเบี้ย 1 ปี (ตอนหลังผมหารสอง ก็สรุปคือคิด 6 เดือน) 8,515/2 = 4,257 ล้านบาท
รวมสองปี ก็เป็น 10,218+4,257 = 14,475 ล้านบาท ก็ปัดเป็น 14,500 ล้านบาท
ส่วนเงินที่ อคส.อมไว้นั้น น่าจะเป็นความเข้าใจผิด จากการคิดจำนวนขายมากเกินไปนะครับ และอย่างที่ผมพูด อคส.อมเงินไม่ได้หรอกครับ รับมาต้องรีบคืน
แล้วที่บอกว่า ปี 48/49 อมเงิน นั้นก็ไม่ถุกอีก เพราะตอนนั้นยังขายข้าวไม่หมด ก็ยังไม่ได้คืนเงิน ไม่ใช่ขายแล้วไม่คืนเงินครับ
---------------------------------------------
ข้อ 7 ต้นทุนค่าจัดเก็บ 126 บาท ต่อตันต่อเดือน คุณม้า จะคำนวณว่า ข้าวเต็มสต๊อกตลอดเวลา นับตั้งแต่เปิดโครง
การจำนำราคาข้าวไม่ได้ครับ ข้าวมันมีเข้ามีออก และมันต้องเริ่มจากวันแรก ที่ 0 กิโลกรัม คุณใช้ สต๊อกข้าว 11 ล้านตัน
ตั้งแต่วันแรก จนถึงวันสุดท้ายมันก็ทำให้ตัวเลขดูสูงเกินความเป็นจริง
ตอบ ตรงนี้เมื่อเช้าผมตอบไปทีนึงแล้ว ในกระทู้ผม ก็ตอบอีกทีนะครับ
ผมคิดจาก สิ้นปีแรก มีสต๊อก 11 ล้านตัน และสิ้นปีที่สองมีสต๊อก 15 ล้านตัน ซึ่งผมเชื่อว่า สต๊อกข้าวของรัฐ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผมเลยคิดที่ 11 ล้านตัน ระยะเวลา 1 ปี ซึ่งหมายความว่า ต้นทุนตัวนี้ คิดเฉพาะการเก็บข้าว 11 ล้านตัน ตั้งแต่สิ้นเดือน กันยายน 55 ถึงสิ้นเดือน กันยายน 56 เท่านั้น
ส่วนข้าวที่เก็บจากเริ่มโครงการ จนสิ้นปีที่หนึ่ง ไม่ได้คิด
ข้าวส่วนเกินที่เพิ่มมาในปีที่สอง ก็ไม่ได้คิดเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าหากในปีที่สอง มีช่วงเวลาที่สต๊อกของรัฐลดต่ำกว่า 11 ล้านตัน ผมว่า สองส่วนแรกที่ผมไม่ได้คิดนั้น น่าจะครอบคลุมได้แล้วครับ
ดังนั้นจุดนี้ ผมว่าผมคิดในขั้นต่ำแล้วครับ
--------------------------------------------------------------
ตอบคุณโบกกรัก : คำถามเรื่องตัวเลข
http://ppantip.com/topic/31136264
----------------------------------------------
ก่อนข้อ 1
สต๊อกข้าวคงเหลือ 14,000 ล้านตัน (ตัวเลขจาก คุณม้าเอง)
ตัวเลขนี้ของคุณยรรยงครับ ไม่ใช่ของผม ที่แกแถลงพร้อมกับตัวเลขคืนเงิน ธกส. แล้วบอกว่า มีสต๊อกเหลืออยู่ 14 ล้านตัน
---------------------------------------------
ข้อ 1 คุณม้าเคยคิดบ้างไหมว่า เงินที่รัฐใช้ไป 670,000 แล้วที่ คุณ หรือ หม่อมอุ๋ย กำลังบอกประชาชน
ว่ามันขาดทุน 425,000 ล้านนี่ มันคือการรับจำนำข้าวที่ขาดทุน 63.43% หรือ ขาดทุนตันละ 9,514 บาท
คุณคิดว่ามันน่าเชื่อได้หรือ
ตอบ อันนี้กระทู้เมื่อวาน ผมพยายามสื่อว่า เงินที่รัฐบาลจ่ายไม่ใช่แค่ 670,000 ล้าน หรือ 680,000 ล้าน แต่มีค่าใช้จ่ายอื่นอีก หลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น ถ้ามองเฉพาะส่วนของค่าข้าว สมมติขาดทุน 370,000 ล้านบาท ก็ประมาณ 55% หรือถ้าหากต้นทุนรัฐเป็น 24,000 บาท ก็ขายได้ราคา ประมาณ 11,000 บาท อันนี้ผมว่า แม้ดูแล้วเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นไปได้อยู่ เพราะมีข้าวบางกอง ที่รัฐบาลขายต่ำกว่า 8,000 บาท ไปทำข้าวถุง ดังนั้น เมื่อรวมกับการขาย G to G ที่เราไม่รู้ราคาขาย ก็อาจจะเป็นได้ว่า ขายในราคาขาดทุนประมาณ 50% ซึ่งก็คงทำให้ ผลขาดทุนทั้งหมด เป็นประมาณ 55% ได้
------------------------------------------------
ข้อ 2 ขออนุญาตไม่ก็อปโจทย์ ย่อหน้าแรก
วิธีคิด คุณม้า ไม่ได้พูดถึงเรื่อง เงินสดที่เก็บอยู่ที่ อคส./อตก. ที่ไม่ได้ส่งเงินมาคืน ธกส. ถ้าตัวเลขสต๊อก
คุณ ม้า ถูก คือ 14 ล้านตัน ซื้อข้าวมา 43.7 ล้านตัน ดังนั้นสต๊อกที่ระบายออกคือ 29.7 ล้านดัน สมมุติ
ว่า ระบายในราคาตลาด จะเป็นเงินจำนวน 326,700 ล้านบาท ผลต่างต้องอยู่ที่ อคส./อตก. ครับ (อมเงิน
เหมือน อมเงินขายข้าวปี 48/49 มาจ่าย ธกส. ปี 55)
ดังนั้น ซื้อ หัก เงินส่ง ธกส. หัก สต๊อก = ขาดทุน จึงไม่ถูก เพราะคุณม้า ยัง
ไม่ได้นับเงินที่ไม่ได้นำส่ง ธกส. ที่ อคส./อตก. เก็บไว้
ตอบ เรื่องเงินสดเก็บอยู่ที่ อคส./อตก. นั้น ตามหลักเกณฑ์แล้ว เมื่อได้รับชำระเงินแล้ว ต้องรีบนำเงินส่ง ธกส.ภายใน 3 วัน (หรือ 7 วัน) ตรงนี้เงินก็ไม่ควรค้างอยู่ที่ อคส./อตก.มากเกินไป แต่ถ้าจะคิด คุณโบกกรัก ก็ลองกำหนดตัวเลขแล้วเพิ่มตัวเลขเงิน จากที่ผมคิด เงินที่ได้รับ + สต๊อกคงเหลือ เป็นบวกเพิ่มเงินที่เหลือที่ อคส/อตก.ลงไปด้วยก็ได้
แต่เรื่องสต๊อกนั้น คุณโบกกรัก คงต้องทำความเข้าใจในประเด็นที่ว่า รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือก แต่ขายเป็นข้าวสารให้ดีก่อน
เพราะเริ่มต้นจาก รับจำนำข้าวมา 44 ล้านตัน แปลงเป็นข้าวสารได้ 28 ล้านตัน (ขอใช้ตัวเลขกลม ๆ แบบนี้เลยนะครับ เพราะตัวเลข 43.7 กับ 27.4 นั้น เก่าไปนิดนึง ตอนนี้ตัวเลขน่าจะเกิน 44 กับ 28 แล้ว)
ดังนั้น ถ้าสต๊อกตอนนี้เหลือ 14 ล้านตัน ก็แสดงว่า เหลือครึ่งนึง ก็คือขายไปครึ่งนึงแล้ว
ขายไปครึ่งนึง ผมบอกว่าได้เงินตามที่ได้คืน ก็คือ 130,000 ล้านบาท แ่ต่ถ้าคุณโบกกรัก จะบวกเงินค้างที่ อคส./ อตก. ก็ได้ ก็บวกเข้าไป
แต่ที่ผมคำนวณนั้น ผมบอกว่า ถ้าขายหมด จะได้เงิน 300,000 ล้าน คือนอกจากคูณสองไปเป็น 260,000 ล้านบาท แล้วก็ยังบวกเผื่อไปอีก 40,000 ล้านแล้วครับ
ลงทุนข้าวไป 680,000 ล้าน ขายหมดได้เงิน 300,000 ล้าน ก็ขาดทุน 380,000 ล้าน
อันนี้ผมว่าจุดนี้ น่าจะเคลียร์พอสมควรนะครับ
---------------------------------------------------------
ข้อ 3 ผมไม่เคยเห็น ค่าบริหารสินเชื่อที่ไหนที่เก็บแม้อัตราไหนของเงินต้น กู้แบงค์มานักต่อนัก แบงค์รวมค่า
ใช้จ่ายทั้งหมดซ่อนไว้ในอัตราดอกเบี้ยครับ คุณ ม้า มีก็เอามาแชร์นะครับว่า มันมีจริงกับการกู้ของรัฐกับ ธกส.
และ ในงบการเงินของ ธกส. ก็ไม่เคยมีรายได้ระบุในงบการเงินครับ
ตอบ จริง ๆ แล้วตัวนี้ มีการคำนวณในเอกสารที่ผมยกมาประกอบแล้ว คือ คิดจากวงเงินกู้ทั้งก้อน แล้วคิดอัตรา 2.5% เวลา 5 เดือน (ก็ประมาณ 1% นิดหน่อย) เป็นค่าบริหารสินเชื่อ
ตรงนี้ ผมว่าไม่น่าเข้าใจยากอะไรครับ เพราะถ้าคิดรวมกับดอกเบี้ยไปเลย ถ้ากู้นาน รัฐบาลก็จะจ่ายดอกเบี้ยมากเกินไป แต่อันนี้กำหนดไว้เป็นตัวเลขคงที่ว่าจะคิดค่าบริหารสินเชื่อนี้ ประมาณ 1% ที่ว่า แล้วดอกเบี้ย ก็เอาเป็นค่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของ 5 ธนาคารใหญ่ บวก 1% เป็นดอกเบี้ย (ตามเอกสาร ก็คิดแล้วได้อัตรา 3.406%)
สรุปคือ ถ้าหากรัฐบาลกู้ประมาณ 5 เดือน (ตรงนี้ก็มีที่มาที่ไปที่เข้าใจได้เหมือนกัน ก็คือ การจำนำข้าว มีกำหนดให้ไถ่ถอนภายใน 4 เดือน เมื่อไม่มาไถ่ถอน รัฐบาลก็จะขายทอดตลาดออกไปภายใน 1 เดือน (แต่คงทำไม่ได้)) ก็จะเสียดอกเบี้ยรวมค่าบริหารสินเชื่อเป็นประมาณ 4.5%
แต่ถ้ากู้เกิน 5 เดือน หลังจากนั้น ก็จะเสียดอกเบี้ย 3.4% ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะคืน ตรงนี้ รัฐบาลได้ประโยชน์มากกว่าคิดรวมกันไปเลย
-----------------------------------------------
ข้อ 4 ค่าบริหาร อคส. ตันละ 105 บาท ในนี้ มันมีอะไรบ้างครับ เห็น คุณม้าทำลิ๊งค์ แต่ ผม ไม่เข้าใจว่าอะไร
ข้าวเข้าโกดัง 100 ตัน อคส. คิดตันละ 105 บาท แม้จะเก็บข้าวไว้ในโกดัง 10-20 ปี เช่นนั้นหรือ
ตอบ ค่าบริหารนี้ เป็นขั้นตอนการรับข้าวเข้าโรงสีแค่นั้นครับ มีค่าใช้จ่ายในการรับฝาก เช่นขั้นตอนการชั่งน้ำหนัก วัดความชื้น ออกใบประทวน ตรงนี้ ต้องมีคนอคส.ร่วมด้วยกับคนของโรงสี
แต่ถ้าหากจะถามว่า จริง ๆ แล้วมันควรสูงขนาดนี้หรือไม่ อันนี้ผมคงตอบไม่ได้ เพราะรัฐบาลเป็นคนกำหนดตัวเลขพวกนี้ขึ้นมา ซึ่งก็คงมีการคำนวณมาอย่างดีแล้วว่า อันนี้เหมาะสมครับ
เพราะจะว่าไป ตัวเลขนี้ จริง ๆ น่าจะผลักภาระให้กับโรงสีไปได้ โดย อคส./ อตก.มีค่าใช้จ่ายด้านพนักงานประจำประจำโรงสีต่าง ๆ ถ้ามี พันโรงสี ก็พันคน เดือนละ 10,000 บาท ก็เดือนละ 10 ล้านบาทแค่นั้น รับจำนำ 6 เดือน ก็ไม่ถึง 100 ล้านบาท ดังนั้นกำหนดไว้ หลักพันล้าน ก็น่าจะสูงเกินไปจริง
-------------------------------------------------------
ข้อ 5 หน่วยงานของรัฐ มีตันทุนอะไรแบกรับเพิ่มหรือ ทุกวันนี้ ก็ไม่มีงานจะทำนั่งตบยุง เล่น ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค
กันแบบไม่อายประชาชน พักเที่ยงตัวไม่อยู่ เปิดหน้า facebook หรา แบบไม่อายคน แล้ว 498+209 เนี่ย มันเป็น
ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่วนไหน นอกเหนืองบประมาณของ กรม ๆ นั้น ครับ
ตอบ อันนี้ ก็เช่นกัน ก็คงต้องไปถามรัฐบาล ว่าเงินก้อนนี้จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่
แต่ถ้าพูดตามข้อเท็จจริงแล้ว ผมว่าก็มีการแจกแจงพอสมควรว่าจะใช้ทำอะไรบ้าง
ยังไงก็ต้องจ่ายแหละครับ แล้วที่ผมคำนวณไป ก็คิดแค่รอบเดียว ทั้ง ๆ ที่ค่าใช้จ่ายนี้ ดูแล้วต้องจ่ายเป็นรายปีครับ (คือที่เราคิดสองปี ก็ต้องคูณสอง) แต่เป็นเพราะคิดว่า ปีแรกอาจจะจ่ายไม่หมดตามนี้ ก็เลยถัว ๆ ไปว่า สองปีใช้เงินยอดนี้
---------------------------------------------------------------
ข้อ 6 อัตราดอกเบี้ยที่ ธกส. คิด ที่คุณบอกคือ 3.406% คุณคำนวณตัวเลขอยู่ที่ 14,500 ล้าน ขอวิธีคิดหน่อยครับ
ดอกเบี้ยจ่าย ผมคิดคร่าว ๆ น่าจะ20,000 +/-ล้าน แต่ ดอกเบี้ยรับกับเงินที่ อคส. อมไว้ 196,700 ล้าน คุณ
ไม่ได้นำมาคิดนะครับ
ตอบ เมื่อวานผมคิดแบบนี้ครับ
สิ้นปีแรก ใช้เงินไป 330,000 ล้านบาท แต่สิ้นปีแรกคืนเงิน ธกส.ไปแล้ว 30,000 ล้าน ก็เหลือยอด 300,000 ล้านบาท ผมคิดดอกเบี้ย 2 ปี (ตอนหลังผมหารสอง ก็สรุปคือคิด 1 ปี) 10,218 ล้านบาท
สิ้นปีสอง (ตอนนี้) เป็นหนี้ ธกส.อยู่ประมาณ 550,000 ล้านบาท ก็แสดงว่าปีที่สองใช้ยอดเงิน 250,000 ล้านบาท ผมคิดดอกเบี้ย 1 ปี (ตอนหลังผมหารสอง ก็สรุปคือคิด 6 เดือน) 8,515/2 = 4,257 ล้านบาท
รวมสองปี ก็เป็น 10,218+4,257 = 14,475 ล้านบาท ก็ปัดเป็น 14,500 ล้านบาท
ส่วนเงินที่ อคส.อมไว้นั้น น่าจะเป็นความเข้าใจผิด จากการคิดจำนวนขายมากเกินไปนะครับ และอย่างที่ผมพูด อคส.อมเงินไม่ได้หรอกครับ รับมาต้องรีบคืน
แล้วที่บอกว่า ปี 48/49 อมเงิน นั้นก็ไม่ถุกอีก เพราะตอนนั้นยังขายข้าวไม่หมด ก็ยังไม่ได้คืนเงิน ไม่ใช่ขายแล้วไม่คืนเงินครับ
---------------------------------------------
ข้อ 7 ต้นทุนค่าจัดเก็บ 126 บาท ต่อตันต่อเดือน คุณม้า จะคำนวณว่า ข้าวเต็มสต๊อกตลอดเวลา นับตั้งแต่เปิดโครง
การจำนำราคาข้าวไม่ได้ครับ ข้าวมันมีเข้ามีออก และมันต้องเริ่มจากวันแรก ที่ 0 กิโลกรัม คุณใช้ สต๊อกข้าว 11 ล้านตัน
ตั้งแต่วันแรก จนถึงวันสุดท้ายมันก็ทำให้ตัวเลขดูสูงเกินความเป็นจริง
ตอบ ตรงนี้เมื่อเช้าผมตอบไปทีนึงแล้ว ในกระทู้ผม ก็ตอบอีกทีนะครับ
ผมคิดจาก สิ้นปีแรก มีสต๊อก 11 ล้านตัน และสิ้นปีที่สองมีสต๊อก 15 ล้านตัน ซึ่งผมเชื่อว่า สต๊อกข้าวของรัฐ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผมเลยคิดที่ 11 ล้านตัน ระยะเวลา 1 ปี ซึ่งหมายความว่า ต้นทุนตัวนี้ คิดเฉพาะการเก็บข้าว 11 ล้านตัน ตั้งแต่สิ้นเดือน กันยายน 55 ถึงสิ้นเดือน กันยายน 56 เท่านั้น
ส่วนข้าวที่เก็บจากเริ่มโครงการ จนสิ้นปีที่หนึ่ง ไม่ได้คิด
ข้าวส่วนเกินที่เพิ่มมาในปีที่สอง ก็ไม่ได้คิดเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าหากในปีที่สอง มีช่วงเวลาที่สต๊อกของรัฐลดต่ำกว่า 11 ล้านตัน ผมว่า สองส่วนแรกที่ผมไม่ได้คิดนั้น น่าจะครอบคลุมได้แล้วครับ
ดังนั้นจุดนี้ ผมว่าผมคิดในขั้นต่ำแล้วครับ
--------------------------------------------------------------