“เจ๊มล” นฤมล ศิริวัฒน์ จวกการทำงานของ กกท. หย่อนยานไม่เต่งตึง ทำการเลือกตั้งนายกบอลวุ่นวายและเกิดความไม่โปร่งใส ส่วน กกท. พูดอย่างเดียว รอรายงานจากสมาคมฯ ก่อนพิจารณาว่ามีการกระทำผิดหรือไม่
“เจ๊มล” นางนฤมล ศิริวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการกฎหมาย สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ด้านการกีฬา สมาชิกวุฒิสภา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ที่อาคารรัฐสภา 3 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม มีวาระสำคัญคือ การติดตามปัญหาการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ หลังจากนายวรวีร์ มะกูดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมเป็นสมัยที่ 4 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม
ที่ประชุมได้เรียกฝ่ายกฎหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. เข้าร่วมชี้แจง โดยคณะอนุกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตใน 4 ประเด็นใหญ่เกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ที่อาจผิดข้อบังคับ หรือ ธรรมนูญฉบับใหม่ของสมาคมฟุตบอลฯ รวมถึงอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ประกอบด้วย 1.การเปลี้ยนตัวประธานกรรมการอุทธรณ์จากนายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ มาเป็น ผศ.วิวัฒน์ชัย กุลมาศ ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาเรื่องสิทธิของสโมสรสมาชิกที่จะได้ลงคะแนน 2.ประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจากธรรมนูญฉบับใหม่ในข้อ 21 (4) ที่ระบุว่า สภากรรมการ และเลขาธิการไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนขณะที่อยู่ในตำแหน่ง และจะต้องไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของสมาชิก โดยเฉพาะนายวรวีร์ที่เป็นตัวแทนของทีมบีอีซี เทโรศาสน และ"เสธ.ตุ้ม" พล.อ.ชินเสณ ทองโกมล ที่เป็นตัวแทนลงคะแนนของทีม ปตท. ระยอง ซึ่งพล.อ.ชินเสณ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการผู้ตัดสินอยู่ด้วย จึงถือว่าไม่เหมาะสม 3.ปัญหาที่ธรรมนูญฉบับใหม่นี้ อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการฟ้องร้องต่อศาล และ 4.การเปลี้ยนตัวประธานกรรมการอุทธรณ์จากนายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ มาเป็น ผศ.วิวัฒน์ชัย กุลมาศ ซึ่งควรจะต้องมีการให้ฝ่ายนายวิรัช ชาญพานิชย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งอีกรายได้รับทราบด้วย ซึ่งกรรมาธิการได้มีการสอบถามข้อสงสัยทั้งหมดไปยัง กกท.
"ในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า กกท.ทำงานแบบหย่อนยานเกินไป จนปล่อยให้มีการทำผิดธรรมนูญ และข้อบังคับแบบชัดเจน โดยเฉพาะกรณีของนายวรวีร์" นางนฤมลกล่าว
ขณะที่นายสมพร ไชยสงคราม ผู้อำนวยการกองนิติการ กกท. กล่าวชี้แจงว่า การเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการอุทธรณ์นั้น ไม่ได้มีระบุในธรรมนูญว่า หากมีการเปลี้ยนแปลงแล้วจะต้องทำอย่างไร ส่วนกรณีที่มีผู้มาใช้สิทธิจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับสโมสรนั้น ถือว่าเป็นข้อที่ธรรมนูญใหม่ระบุไว้ชัดเจน โดยหลังจากนี้ กกท.จะส่งหนังสือไปยังสมาคมฟุตบอลฯ เพื่อให้เร่งส่งรายงานการประชุมใหญ่พิเศษเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม มาให้ กกท.ตรวจสอบภายใน 15 วัน ซึ่งหากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับความผิดปกติ หรือ ข้อกฎหมาย ก็จะเรียกตัวแทนของสมาคมฟุตบอลฯ เข้ามาชี้แจงด้วย แต่ตอนนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่า การกระทำของสมาคมฟุตบอลฯ นั้นผิดตรงส่วนใด เพราะต้องดูรายงานการประชุมก่อน แต่หากมีส่วนที่ผิดข้อบังคับ หรือ ธรรมนูญของสมาคมฯเอง กกท.ก็ต้องใช้อำนาจพิจารณาบทลงโทษตามกฎหมาย
"ส่วนกรณีที่ธรรมนูญฉบับใหม่นี้ที่กรมการปกครองรับจดทะเบียนไปแล้ว แต่อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญในกรณีเรื่องการฟ้องศาลนั้น หากสโมสรสมาชิกมีการไปฟ้องร้องต่อศาล และศาลปกครองพิพากษาแล้วว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็แสดงว่าขัดจริง" นายสมพรกล่าว
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการได้เตรียมเรียกตัวแทนจากกรมการปกครอง และกกต.เลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลฯ เข้าชี้แจงในวันที่ 28 ตุลาคม เวลา 13.00 น.เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีนี้ต่อไป
“เจ๊มล” นฤมล ศิริวัฒน์ จวกการทำงานของ กกท. หย่อนยานไม่เต่งตึง ทำการเลือกตั้งนายกบอลวุ่นวายและเกิดความไม่โปร่งใส
“เจ๊มล” นางนฤมล ศิริวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการกฎหมาย สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ด้านการกีฬา สมาชิกวุฒิสภา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ที่อาคารรัฐสภา 3 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม มีวาระสำคัญคือ การติดตามปัญหาการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ หลังจากนายวรวีร์ มะกูดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมเป็นสมัยที่ 4 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม
ที่ประชุมได้เรียกฝ่ายกฎหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. เข้าร่วมชี้แจง โดยคณะอนุกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตใน 4 ประเด็นใหญ่เกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ที่อาจผิดข้อบังคับ หรือ ธรรมนูญฉบับใหม่ของสมาคมฟุตบอลฯ รวมถึงอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ประกอบด้วย 1.การเปลี้ยนตัวประธานกรรมการอุทธรณ์จากนายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ มาเป็น ผศ.วิวัฒน์ชัย กุลมาศ ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาเรื่องสิทธิของสโมสรสมาชิกที่จะได้ลงคะแนน 2.ประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจากธรรมนูญฉบับใหม่ในข้อ 21 (4) ที่ระบุว่า สภากรรมการ และเลขาธิการไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนขณะที่อยู่ในตำแหน่ง และจะต้องไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของสมาชิก โดยเฉพาะนายวรวีร์ที่เป็นตัวแทนของทีมบีอีซี เทโรศาสน และ"เสธ.ตุ้ม" พล.อ.ชินเสณ ทองโกมล ที่เป็นตัวแทนลงคะแนนของทีม ปตท. ระยอง ซึ่งพล.อ.ชินเสณ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการผู้ตัดสินอยู่ด้วย จึงถือว่าไม่เหมาะสม 3.ปัญหาที่ธรรมนูญฉบับใหม่นี้ อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการฟ้องร้องต่อศาล และ 4.การเปลี้ยนตัวประธานกรรมการอุทธรณ์จากนายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ มาเป็น ผศ.วิวัฒน์ชัย กุลมาศ ซึ่งควรจะต้องมีการให้ฝ่ายนายวิรัช ชาญพานิชย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งอีกรายได้รับทราบด้วย ซึ่งกรรมาธิการได้มีการสอบถามข้อสงสัยทั้งหมดไปยัง กกท.
"ในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า กกท.ทำงานแบบหย่อนยานเกินไป จนปล่อยให้มีการทำผิดธรรมนูญ และข้อบังคับแบบชัดเจน โดยเฉพาะกรณีของนายวรวีร์" นางนฤมลกล่าว
ขณะที่นายสมพร ไชยสงคราม ผู้อำนวยการกองนิติการ กกท. กล่าวชี้แจงว่า การเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการอุทธรณ์นั้น ไม่ได้มีระบุในธรรมนูญว่า หากมีการเปลี้ยนแปลงแล้วจะต้องทำอย่างไร ส่วนกรณีที่มีผู้มาใช้สิทธิจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับสโมสรนั้น ถือว่าเป็นข้อที่ธรรมนูญใหม่ระบุไว้ชัดเจน โดยหลังจากนี้ กกท.จะส่งหนังสือไปยังสมาคมฟุตบอลฯ เพื่อให้เร่งส่งรายงานการประชุมใหญ่พิเศษเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม มาให้ กกท.ตรวจสอบภายใน 15 วัน ซึ่งหากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับความผิดปกติ หรือ ข้อกฎหมาย ก็จะเรียกตัวแทนของสมาคมฟุตบอลฯ เข้ามาชี้แจงด้วย แต่ตอนนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่า การกระทำของสมาคมฟุตบอลฯ นั้นผิดตรงส่วนใด เพราะต้องดูรายงานการประชุมก่อน แต่หากมีส่วนที่ผิดข้อบังคับ หรือ ธรรมนูญของสมาคมฯเอง กกท.ก็ต้องใช้อำนาจพิจารณาบทลงโทษตามกฎหมาย
"ส่วนกรณีที่ธรรมนูญฉบับใหม่นี้ที่กรมการปกครองรับจดทะเบียนไปแล้ว แต่อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญในกรณีเรื่องการฟ้องศาลนั้น หากสโมสรสมาชิกมีการไปฟ้องร้องต่อศาล และศาลปกครองพิพากษาแล้วว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็แสดงว่าขัดจริง" นายสมพรกล่าว
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการได้เตรียมเรียกตัวแทนจากกรมการปกครอง และกกต.เลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลฯ เข้าชี้แจงในวันที่ 28 ตุลาคม เวลา 13.00 น.เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีนี้ต่อไป