โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
31 ปี ใต้ร่มเงา “ปตท.” “บวร วงศ์สินอุดม” แวะเวียนนั่งทำงานมาแล้วหลายตำแหน่ง อีก 1 ปี ก่อนเข้าวัยเกษียณ ขอหยุดชีวิต “มุนษย์เงินเดือน” ณ PTTG
นั่งควบ 2 ตำแหน่ง “ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร” และ “กรรมการผู้จัดการใหญ่” ใน บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC แทน “อนนต์ สิริแสงทักษิณ” ที่เพิ่งเกษียณอายุไปเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้เพียง 14 วัน “วร-บวร วงศ์สินอุดม” ดีกรีปริญญาตรีและปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท การจัดการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สั่งเคลียร์คิวจัดงานแถลงข่าวเปิดตัว
แม้ “บวร” จะเพิ่งเข้ามาเป็น “นายคนใหม่” ของ PTTGC แต่เขาอาศัย “ร่มเงา” ครอบครัวปตท.มานานถึง 31 ปี (2525-2556) เริ่มต้นจากตำแหน่ง “ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ” ก่อนโยกมานั่งเก้าอี้ “ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และคุณภาพ” ใน “ไทยออยล์” หรือ TOP ต่อด้วยตำแหน่ง “รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ปฏิบัติการและพาณิชยกิจ” ใน “โรงกลั่นน้ำมันระยอง” หรือ RRC
จากนั้นย้ายมาประจำการณ์ในเก้าอี้ “รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสปฏิบัติการและรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนพาณิชย์และพัฒนาธุรกิจ” บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น หรือ PTTAR ปิดท้ายด้วยตำแหน่งสุดท้ายใน PTTAR “ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่และรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสปฏิบัติการ”
“แม้จะมีหลายเรื่องใน PTTGC ที่ยังไม่เรียบร้อย แต่ผมก็อยากเล่าให้ทุกคนฟัง วันนี้จะพยายามตอบทุกคำถามที่พวกคุณอยากรู้” “บวร วงศ์สินอุดม” พูดกลางงานแถวข่าวเปิดตัว CEO คนใหม่
ที่ผ่านมา “พีทีที โกลบอล เคมิคอล” เจอมรสุมลูกใหญ่มากถึง 3 ลูก ไล่มาตั้งแต่ปิดซ่อมโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก LDPE 3 เดือนครึ่ง นับตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.2556 บริษัทประเมินว่า ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลต่อ “กำไรสุทธิ” 600 ล้านบาท ตามติดด้วยเรื่องท่อส่งน้ำรั่วไหลกลางทะเล จังหวัดระยอง ในเช้าวันที่ 27 ก.ค.2556
เหตุการณ์ครั้งนี้บริษัทต้องบันทึกสำรองความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการเยียวยาวงเงิน 700-1,000 ล้านบาท โดยจะบันทึกในงบการเงินไตรมาส 3/56 ปัจจุบันมียอดผู้ขอรับความช่วยเหลือ 16,000 ราย บริษัทได้จ่ายไปแล้วกว่า 5,000 ราย วงเงินประมาณ 500 ล้านบาท คาดว่า บริษัทประกันคงจะยังไม่จ่ายเงินชดเชยภายในปี 2556 สำหรับผลสอบยังไม่แล้วเสร็จ ต้องรอผลการทดสอบทางเทคนิคก่อน
เหตุการณ์สุดท้าย คือ เรื่องโรงแยกก๊าซที่ 5 ปิดซ่อมจากเหตุโดนฟ้าผ่าเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2556 ทำให้ต้องหยุดการผลิตไป 2 เดือน ปัจจุบันกลับมาเดินเครื่องได้แล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ คาดว่า รายได้อาจหายไปประมาณ 800 ล้านบาท แต่ในไตรมาส 3/2556 บริษัทจะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ส่วนหนึ่ง
“กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ถาม CEO คนใหม่ว่า จะสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนอย่างไรในเมื่อเวลานี้มีแต่ข่าวร้ายรุมล้อม “ชายวัย 59 ปี” ส่งยิ้มก่อนตอบว่า “ผมอยากให้นักลงทุนอดใจอีกนิด เดี๋ยวคุณรอดูผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปี 2556 รับรองไม่ธรรมดา โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วง “ไฮซีซั่น” ของธุรกิจ
“ทุกวันนี้ผมไม่ได้ “นั่งงอมืองอเท้า” เมื่อมีเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทไม่เคยปล่อยให้ทุกอย่างผ่านไปเฉยๆ อย่างตอนที่ปิดซ่อมโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก LDPE ผมไปขวนขวายหารายได้เสริมจากทางอื่นๆ ยิ่งเรื่องลดต้นทุนพลังงาน เราก็ทำจนสามารถประหยัดเงินได้มาก ถือเป็นเกาะป้องกันอย่างหนึ่ง”
โอ๊ย!! “ผมทำหลายอย่างมาก ทุกอย่างที่ทำต้องสร้างรายได้ให้บริษัท ไม่ใช่ยอมรับสภาพแล้ว “งอมืองอเท้า” อย่างเดียว สิ่งสำคัญที่ผลักดันธุรกิจให้ไปต่อ คือ พนักงานทุกคนของเราเก่ง” เขาไม่ลืมที่จะชื่นชม
ส่วนเรื่องราคาหุ้น PTTGC เขาออกตัวว่า เป็นคนไม่เล่นหุ้น ไม่ใช่งานถนัด ด้วยความที่ไม่มีเวลาต้องทำงานทุกวัน แต่ถ้าให้วิเคราะห์มองว่า เมื่อนำราคาหุ้น PTTGC มาเทียบกับปัจจัยพื้นฐานจะพบว่า ราคามีโอกาสไปต่อ สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์หลายสำนักบอกว่า ราคาเหมาะสมของหุ้น PTTGC น่าจะอยู่ในระดับ 80 บาทขึ้นไป ไม่มีใครที่บอกต่ำกว่าราคานี้เลย
เชื่อมั้ยนักวิเคราะห์บางรายบอกว่า ราคาระดับ 70 บาท ถือว่า “ต่ำ” ผมก็ไม่รู้เขามองตรงไหน แต่เขาบอกว่า ค่าP/E ของหุ้น PTTGC ยังต่ำ ฉะนั้นมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะไปได้อีกไกล เขาปิดท้ายเรื่องนี้ว่า “ไม่เอาแล้ว อย่าถามมาก เรื่องหุ้นไม่รู้เรื่องจริงๆ” (หัวเราะ)
“บิสวีค” ถาม “บวร” ต่อว่า วางเป้าหมาย PTTGC ในช่วง 1 ปีข้างหน้าอย่างไร หลังนั่งควบถึง 2 ตำแหน่ง? “มือบริหารฝีปากกล้า” หัวเราะก่อนตอบว่า ขอโทษที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย ในความเป็นจริงผมกับ “อนนต์ สิริแสงทักษิณ หรือแม้กระทั่ง “วีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล” เราเป็นทีมเดียวกันที่ทำงานสานต่อเนื่องกันเรื่อยมา
ฉะนั้นสิ่งที่คิดสิ่งที่ทำทุกอย่างมีการวางแผนร่วมกันมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นในแผนงานระยะสั้น-กลาง-ยาว ดังนั้นแนวทางการบริหารงานทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม เมื่อนั่งทบทวนจะพบว่า แผนงานยังดียังใช้ได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย
“ไม่มีอะไรที่อยากทำเป็นพิเศษใน PTTGC เพียงแต่เดินไปตามเส้นทางที่ขีดไว้ มีผลงานกลับมาให้เห็นทุกปี อย่าหยุดในการทำงาน ส่วนสิ่งที่เหนือกว่าแผนงานที่วางไว้ถือว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เป้าหมายมาเร็วขึ้น” “บวร” เชื่อเช่นนั้น
เขา แจกแจงแนวทางการเติบโตของ PTTGC ว่า เราจะแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 ข้อ ประกอบด้วย ข้อ 1.CORE UPLIFT มุ่นเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น เราคงทำโครงการ “ในบ้าน” ก่อน เพราะว่าสามารถทำเงินได้เร็วสุด ซึ่งโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการ By-Product Value Added ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าโดยรวม 88.6 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในไตรมาส 1/2557
โครงการก่อสร้างโรงงานฟีนอลแห่งที่ 2 อยู่ระหว่างการทำ Engineering และ Procurement ความคืบหน้า 14.1 เปอร์เซ็นต์ ,โครงการขยายกำลังการผลิตโรงงานอะโรเมติกส์ 2 ล่าสุดอยู่ระหว่างกระบวนการจัดจ้างผู้รับเหมาโครงการ คาดว่าจะเริ่มผลิตไตรมาส 3/2558 นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการขยายกำลังการผลิตโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 3 และโรงงานต่อเนื่องอีก
ข้อ 2. คือ 1-Step Adjacencies คือ การขยายธุรกิจต่อเนื่องไปสู่ภูมิภาคและผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ผ่านมาเรามีโอกาสพูดคุยกับต่างประเทศตลอด ปัจจุบันการลงทุนในต่างประเทศแบบ “ใกล้บ้าน” บริษัทได้ร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงการลงทุน ประกอบด้วย โครงการความร่วมมือกับ “Shinochem” ประเทศจีน ซึ่งได้มีการร่วมมือทางด้านการตลาดแล้ว คาดว่าปลายปี 2556 จะได้ข้อสรุปการร่วมทุนตั้งโรงงานในเมืองจีนที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย ซึ่งมีความต้องการและเติบโตสูง
นอกจากนั้นยังมีโครงการร่วมกับ “พีทีเปอร์ตามิน่า” หรือ PERTAMINA ของรัฐบาลอินโดนีเซียที่จะร่วมมือในโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านเหรียญ คาดว่าอย่างเร็วจะสรุปได้ปลายปีนี้ โดยได้มีการติดต่อหาพันธมิตรรายอื่นให้เข้ามาร่วมลงทุนด้วยแล้ว เดี๋ยวคงมีการเจรจาเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น รวมทั้งมีการศึกษาสถานที่จัดตั้งโรงงานและมูลค่าเงินลงทุน ปัจจุบัน PERTAMINA ถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 49 เปอร์เซ็นต์เป็นของ PTTGC
ส่วนโครงการร่วมมือกับ “ปิโตรนาส” หรือ Petronas ของประเทศมาเลเซีย และ ITOCHU คงต้องชะลอออกไปประมาณ 1 ปี โครงการนี้บริษัทต้องการ Feed stock จากมาเลเซีย เพื่อลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย และต้องการถือหุ้นในบริษัท Vencorex Holding เพื่อขยายการลงทุนธุรกิจ สายโพลียูรีเทน รวมถึงศึกษาธุรกิจ HDI derivatives
“การลงทุนในต่างประเทศ หากลงทุนวันนี้กว่าจะเสร็จต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปี ดังนั้น 5 ปีหลัง ถึงจะสร้างรายได้ให้กับบริษัท”
“ผู้นำ” เล่าถึงกลยทุธ์ข้อ 3 ต่อว่า Emerging Business Models คือ การเข้าสู่ Green Business เป็นการลงทุน “ไกลบ้าน” ที่ผ่านมาเราถือหุ้นบริษัท Nature Works LLC.จากประเทศสหรัฐอเมริกา ในสัดส่วน 50 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันบริษัท Nature Works มีโรงงานผลิต Poly Lactic Acid (PLA) ขนาดกำลังการผลิต 150,000 แสนตันต่อปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา
คาดว่าจะมีการจัดตั้งโรงงานผลิตไบโอพลาสติกกลุ่ม PLA ในนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จังหวัดระยอง ถือเป็นโรงงานแห่งแรกในเอเชียที่ใช้วัตถุดิบจากน้ำตาล เนื่องจากเมืองไทยถือเป็นประเทศที่มีน้ำตาลจำนวนมาก
“ถ้าเราสามารถเดินธุรกิจได้ตามแผนงานที่กำลังจะเล่าให้ฟัง ผมมั่นใจว่า อีก 10 ปีข้างหน้า (2556-2565) บริษัทจะมี “รายได้เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัว” เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีรายได้ 562,811 ล้านบาท” เขา พูดด้วยน้ำเสียงมั่นใจสุด
สำหรับแผนการลงทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2556-2560) เราจะใช้เงินลงทุน 4,500 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1.35 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนใหม่ๆ ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน และอินโดนีเซีย รวมถึงการขยายคอขวดในแต่ละหน่วยธุรกิจ และการต่อยอดธุรกิจไปในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ วันนี้บริษัทมีแค่ 20 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น ขณะที่ต่างประเทศมีเป็น "ร้อยผลิตภัณฑ์"
ส่วนแผนระยะยาว รายได้ในช่วง 10 ปีข้างหน้า (2556-2565) ต้องมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการลงทุนใหม่ๆ ต้องมีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเฉลี่ย 14 เปอร์เซ็นต์ต่อ 1 โครงการ ด้วยศักยภาพของ PTTGC สามารถทำตัวเลขได้มากกว่านี้ หากเราสามารถสร้างความเป็นเลิศในด้านประสิทธิภาพ การตลาด ต้นทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการมองหาโอกาสที่จะจับมือกับพันธมิตรใหม่ๆ
“นายคนใหม่” ทิ้งท้ายด้วยการทำนายแนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีว่า ปี 2557ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์คงไม่อ่อนตัวจากปี 2556 แม้ว่า สเปรดพาราไซลีนอาจอ่อนตัวลงเล็กน้อย แต่เชื่อว่า ธุรกิจอะโรเมติกส์ยังดีต่อเนื่องไปอีก 5-6 ปีข้างหน้า ส่วนราคาเบนซีนน่าจะแข็งแรง สำหรับโอเลฟินส์และโพลีเมอร์ ราคาอาจไต่ขึ้นมาเรื่อยๆ
“สบายใจได้ธุรกิจ PTTGC ปีหน้ายังสู้ได้”
สำหรับแนวโน้มในช่วงไตรมาส 4/56 ตลาดโดยรวมน่าจะดีขึ้น เพราะเป็นช่วงไฮซีซั่น ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลและราคาน้ำมันเครื่องบินน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาเบนซีนและพาราไซลีนยังดีต่อเนื่อง ส่วนโอลิฟินส์และโพลิเมอร์คาดว่า ส่วนต่างราคาจะดีขึ้น เขายังประเมิน ราคาน้ำมันดิบดูไบว่า อาจอยู่ระดับ 100-108 เหรียญต่อบาร์เรล ส่วนปี 2557 น่าจะอยู่ระดับ 102 เหรียญต่อบาร์เรล
“ปี 2556 เรายังคงเป้าหมายการเติบโตของ “กำไรก่อนหักภาษีค่าเสื่อม” หรือ EBITDA ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มี EBITDA 55,000 ล้านบาท ส่วนรายได้คงเป้าหมายเติบโต 10 เปอร์เซ็นต์”
ทะลุ 80 บาท "จุดนัดพบ" หุ้น PTTGC
31 ปี ใต้ร่มเงา “ปตท.” “บวร วงศ์สินอุดม” แวะเวียนนั่งทำงานมาแล้วหลายตำแหน่ง อีก 1 ปี ก่อนเข้าวัยเกษียณ ขอหยุดชีวิต “มุนษย์เงินเดือน” ณ PTTG
นั่งควบ 2 ตำแหน่ง “ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร” และ “กรรมการผู้จัดการใหญ่” ใน บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC แทน “อนนต์ สิริแสงทักษิณ” ที่เพิ่งเกษียณอายุไปเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้เพียง 14 วัน “วร-บวร วงศ์สินอุดม” ดีกรีปริญญาตรีและปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท การจัดการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สั่งเคลียร์คิวจัดงานแถลงข่าวเปิดตัว
แม้ “บวร” จะเพิ่งเข้ามาเป็น “นายคนใหม่” ของ PTTGC แต่เขาอาศัย “ร่มเงา” ครอบครัวปตท.มานานถึง 31 ปี (2525-2556) เริ่มต้นจากตำแหน่ง “ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ” ก่อนโยกมานั่งเก้าอี้ “ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และคุณภาพ” ใน “ไทยออยล์” หรือ TOP ต่อด้วยตำแหน่ง “รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ปฏิบัติการและพาณิชยกิจ” ใน “โรงกลั่นน้ำมันระยอง” หรือ RRC
จากนั้นย้ายมาประจำการณ์ในเก้าอี้ “รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสปฏิบัติการและรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนพาณิชย์และพัฒนาธุรกิจ” บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น หรือ PTTAR ปิดท้ายด้วยตำแหน่งสุดท้ายใน PTTAR “ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่และรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสปฏิบัติการ”
“แม้จะมีหลายเรื่องใน PTTGC ที่ยังไม่เรียบร้อย แต่ผมก็อยากเล่าให้ทุกคนฟัง วันนี้จะพยายามตอบทุกคำถามที่พวกคุณอยากรู้” “บวร วงศ์สินอุดม” พูดกลางงานแถวข่าวเปิดตัว CEO คนใหม่
ที่ผ่านมา “พีทีที โกลบอล เคมิคอล” เจอมรสุมลูกใหญ่มากถึง 3 ลูก ไล่มาตั้งแต่ปิดซ่อมโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก LDPE 3 เดือนครึ่ง นับตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.2556 บริษัทประเมินว่า ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลต่อ “กำไรสุทธิ” 600 ล้านบาท ตามติดด้วยเรื่องท่อส่งน้ำรั่วไหลกลางทะเล จังหวัดระยอง ในเช้าวันที่ 27 ก.ค.2556
เหตุการณ์ครั้งนี้บริษัทต้องบันทึกสำรองความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการเยียวยาวงเงิน 700-1,000 ล้านบาท โดยจะบันทึกในงบการเงินไตรมาส 3/56 ปัจจุบันมียอดผู้ขอรับความช่วยเหลือ 16,000 ราย บริษัทได้จ่ายไปแล้วกว่า 5,000 ราย วงเงินประมาณ 500 ล้านบาท คาดว่า บริษัทประกันคงจะยังไม่จ่ายเงินชดเชยภายในปี 2556 สำหรับผลสอบยังไม่แล้วเสร็จ ต้องรอผลการทดสอบทางเทคนิคก่อน
เหตุการณ์สุดท้าย คือ เรื่องโรงแยกก๊าซที่ 5 ปิดซ่อมจากเหตุโดนฟ้าผ่าเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2556 ทำให้ต้องหยุดการผลิตไป 2 เดือน ปัจจุบันกลับมาเดินเครื่องได้แล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ คาดว่า รายได้อาจหายไปประมาณ 800 ล้านบาท แต่ในไตรมาส 3/2556 บริษัทจะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ส่วนหนึ่ง
“กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ถาม CEO คนใหม่ว่า จะสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนอย่างไรในเมื่อเวลานี้มีแต่ข่าวร้ายรุมล้อม “ชายวัย 59 ปี” ส่งยิ้มก่อนตอบว่า “ผมอยากให้นักลงทุนอดใจอีกนิด เดี๋ยวคุณรอดูผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปี 2556 รับรองไม่ธรรมดา โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วง “ไฮซีซั่น” ของธุรกิจ
“ทุกวันนี้ผมไม่ได้ “นั่งงอมืองอเท้า” เมื่อมีเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทไม่เคยปล่อยให้ทุกอย่างผ่านไปเฉยๆ อย่างตอนที่ปิดซ่อมโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก LDPE ผมไปขวนขวายหารายได้เสริมจากทางอื่นๆ ยิ่งเรื่องลดต้นทุนพลังงาน เราก็ทำจนสามารถประหยัดเงินได้มาก ถือเป็นเกาะป้องกันอย่างหนึ่ง”
โอ๊ย!! “ผมทำหลายอย่างมาก ทุกอย่างที่ทำต้องสร้างรายได้ให้บริษัท ไม่ใช่ยอมรับสภาพแล้ว “งอมืองอเท้า” อย่างเดียว สิ่งสำคัญที่ผลักดันธุรกิจให้ไปต่อ คือ พนักงานทุกคนของเราเก่ง” เขาไม่ลืมที่จะชื่นชม
ส่วนเรื่องราคาหุ้น PTTGC เขาออกตัวว่า เป็นคนไม่เล่นหุ้น ไม่ใช่งานถนัด ด้วยความที่ไม่มีเวลาต้องทำงานทุกวัน แต่ถ้าให้วิเคราะห์มองว่า เมื่อนำราคาหุ้น PTTGC มาเทียบกับปัจจัยพื้นฐานจะพบว่า ราคามีโอกาสไปต่อ สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์หลายสำนักบอกว่า ราคาเหมาะสมของหุ้น PTTGC น่าจะอยู่ในระดับ 80 บาทขึ้นไป ไม่มีใครที่บอกต่ำกว่าราคานี้เลย
เชื่อมั้ยนักวิเคราะห์บางรายบอกว่า ราคาระดับ 70 บาท ถือว่า “ต่ำ” ผมก็ไม่รู้เขามองตรงไหน แต่เขาบอกว่า ค่าP/E ของหุ้น PTTGC ยังต่ำ ฉะนั้นมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะไปได้อีกไกล เขาปิดท้ายเรื่องนี้ว่า “ไม่เอาแล้ว อย่าถามมาก เรื่องหุ้นไม่รู้เรื่องจริงๆ” (หัวเราะ)
“บิสวีค” ถาม “บวร” ต่อว่า วางเป้าหมาย PTTGC ในช่วง 1 ปีข้างหน้าอย่างไร หลังนั่งควบถึง 2 ตำแหน่ง? “มือบริหารฝีปากกล้า” หัวเราะก่อนตอบว่า ขอโทษที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย ในความเป็นจริงผมกับ “อนนต์ สิริแสงทักษิณ หรือแม้กระทั่ง “วีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล” เราเป็นทีมเดียวกันที่ทำงานสานต่อเนื่องกันเรื่อยมา
ฉะนั้นสิ่งที่คิดสิ่งที่ทำทุกอย่างมีการวางแผนร่วมกันมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นในแผนงานระยะสั้น-กลาง-ยาว ดังนั้นแนวทางการบริหารงานทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม เมื่อนั่งทบทวนจะพบว่า แผนงานยังดียังใช้ได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย
“ไม่มีอะไรที่อยากทำเป็นพิเศษใน PTTGC เพียงแต่เดินไปตามเส้นทางที่ขีดไว้ มีผลงานกลับมาให้เห็นทุกปี อย่าหยุดในการทำงาน ส่วนสิ่งที่เหนือกว่าแผนงานที่วางไว้ถือว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เป้าหมายมาเร็วขึ้น” “บวร” เชื่อเช่นนั้น
เขา แจกแจงแนวทางการเติบโตของ PTTGC ว่า เราจะแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 ข้อ ประกอบด้วย ข้อ 1.CORE UPLIFT มุ่นเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น เราคงทำโครงการ “ในบ้าน” ก่อน เพราะว่าสามารถทำเงินได้เร็วสุด ซึ่งโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการ By-Product Value Added ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าโดยรวม 88.6 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในไตรมาส 1/2557
โครงการก่อสร้างโรงงานฟีนอลแห่งที่ 2 อยู่ระหว่างการทำ Engineering และ Procurement ความคืบหน้า 14.1 เปอร์เซ็นต์ ,โครงการขยายกำลังการผลิตโรงงานอะโรเมติกส์ 2 ล่าสุดอยู่ระหว่างกระบวนการจัดจ้างผู้รับเหมาโครงการ คาดว่าจะเริ่มผลิตไตรมาส 3/2558 นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการขยายกำลังการผลิตโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 3 และโรงงานต่อเนื่องอีก
ข้อ 2. คือ 1-Step Adjacencies คือ การขยายธุรกิจต่อเนื่องไปสู่ภูมิภาคและผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ผ่านมาเรามีโอกาสพูดคุยกับต่างประเทศตลอด ปัจจุบันการลงทุนในต่างประเทศแบบ “ใกล้บ้าน” บริษัทได้ร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงการลงทุน ประกอบด้วย โครงการความร่วมมือกับ “Shinochem” ประเทศจีน ซึ่งได้มีการร่วมมือทางด้านการตลาดแล้ว คาดว่าปลายปี 2556 จะได้ข้อสรุปการร่วมทุนตั้งโรงงานในเมืองจีนที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย ซึ่งมีความต้องการและเติบโตสูง
นอกจากนั้นยังมีโครงการร่วมกับ “พีทีเปอร์ตามิน่า” หรือ PERTAMINA ของรัฐบาลอินโดนีเซียที่จะร่วมมือในโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านเหรียญ คาดว่าอย่างเร็วจะสรุปได้ปลายปีนี้ โดยได้มีการติดต่อหาพันธมิตรรายอื่นให้เข้ามาร่วมลงทุนด้วยแล้ว เดี๋ยวคงมีการเจรจาเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น รวมทั้งมีการศึกษาสถานที่จัดตั้งโรงงานและมูลค่าเงินลงทุน ปัจจุบัน PERTAMINA ถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 49 เปอร์เซ็นต์เป็นของ PTTGC
ส่วนโครงการร่วมมือกับ “ปิโตรนาส” หรือ Petronas ของประเทศมาเลเซีย และ ITOCHU คงต้องชะลอออกไปประมาณ 1 ปี โครงการนี้บริษัทต้องการ Feed stock จากมาเลเซีย เพื่อลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย และต้องการถือหุ้นในบริษัท Vencorex Holding เพื่อขยายการลงทุนธุรกิจ สายโพลียูรีเทน รวมถึงศึกษาธุรกิจ HDI derivatives
“การลงทุนในต่างประเทศ หากลงทุนวันนี้กว่าจะเสร็จต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปี ดังนั้น 5 ปีหลัง ถึงจะสร้างรายได้ให้กับบริษัท”
“ผู้นำ” เล่าถึงกลยทุธ์ข้อ 3 ต่อว่า Emerging Business Models คือ การเข้าสู่ Green Business เป็นการลงทุน “ไกลบ้าน” ที่ผ่านมาเราถือหุ้นบริษัท Nature Works LLC.จากประเทศสหรัฐอเมริกา ในสัดส่วน 50 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันบริษัท Nature Works มีโรงงานผลิต Poly Lactic Acid (PLA) ขนาดกำลังการผลิต 150,000 แสนตันต่อปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา
คาดว่าจะมีการจัดตั้งโรงงานผลิตไบโอพลาสติกกลุ่ม PLA ในนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จังหวัดระยอง ถือเป็นโรงงานแห่งแรกในเอเชียที่ใช้วัตถุดิบจากน้ำตาล เนื่องจากเมืองไทยถือเป็นประเทศที่มีน้ำตาลจำนวนมาก
“ถ้าเราสามารถเดินธุรกิจได้ตามแผนงานที่กำลังจะเล่าให้ฟัง ผมมั่นใจว่า อีก 10 ปีข้างหน้า (2556-2565) บริษัทจะมี “รายได้เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัว” เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีรายได้ 562,811 ล้านบาท” เขา พูดด้วยน้ำเสียงมั่นใจสุด
สำหรับแผนการลงทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2556-2560) เราจะใช้เงินลงทุน 4,500 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1.35 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนใหม่ๆ ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน และอินโดนีเซีย รวมถึงการขยายคอขวดในแต่ละหน่วยธุรกิจ และการต่อยอดธุรกิจไปในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ วันนี้บริษัทมีแค่ 20 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น ขณะที่ต่างประเทศมีเป็น "ร้อยผลิตภัณฑ์"
ส่วนแผนระยะยาว รายได้ในช่วง 10 ปีข้างหน้า (2556-2565) ต้องมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการลงทุนใหม่ๆ ต้องมีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเฉลี่ย 14 เปอร์เซ็นต์ต่อ 1 โครงการ ด้วยศักยภาพของ PTTGC สามารถทำตัวเลขได้มากกว่านี้ หากเราสามารถสร้างความเป็นเลิศในด้านประสิทธิภาพ การตลาด ต้นทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการมองหาโอกาสที่จะจับมือกับพันธมิตรใหม่ๆ
“นายคนใหม่” ทิ้งท้ายด้วยการทำนายแนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีว่า ปี 2557ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์คงไม่อ่อนตัวจากปี 2556 แม้ว่า สเปรดพาราไซลีนอาจอ่อนตัวลงเล็กน้อย แต่เชื่อว่า ธุรกิจอะโรเมติกส์ยังดีต่อเนื่องไปอีก 5-6 ปีข้างหน้า ส่วนราคาเบนซีนน่าจะแข็งแรง สำหรับโอเลฟินส์และโพลีเมอร์ ราคาอาจไต่ขึ้นมาเรื่อยๆ
“สบายใจได้ธุรกิจ PTTGC ปีหน้ายังสู้ได้”
สำหรับแนวโน้มในช่วงไตรมาส 4/56 ตลาดโดยรวมน่าจะดีขึ้น เพราะเป็นช่วงไฮซีซั่น ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลและราคาน้ำมันเครื่องบินน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาเบนซีนและพาราไซลีนยังดีต่อเนื่อง ส่วนโอลิฟินส์และโพลิเมอร์คาดว่า ส่วนต่างราคาจะดีขึ้น เขายังประเมิน ราคาน้ำมันดิบดูไบว่า อาจอยู่ระดับ 100-108 เหรียญต่อบาร์เรล ส่วนปี 2557 น่าจะอยู่ระดับ 102 เหรียญต่อบาร์เรล
“ปี 2556 เรายังคงเป้าหมายการเติบโตของ “กำไรก่อนหักภาษีค่าเสื่อม” หรือ EBITDA ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มี EBITDA 55,000 ล้านบาท ส่วนรายได้คงเป้าหมายเติบโต 10 เปอร์เซ็นต์”