ประเด็นที่นายพานทองแท้ เขียนลงเฟสบุ๊ค เพื่อตอบโต้นายอานันท์ ในประเด็นว่า รัฐบาลนี้มีการทุจริตคอรัปชันมากที่สุด
โดยนายพานทองแท้ระบุว่าได้ค้นหาจากกูเกิล ได้ข้อมูลมาว่า
"ในสมัยนายกฯ อานันท์ฯ ได้มีการขายหุ้นของโรงกลั่นไทยออยล์ ให้กับเอกชนที่ชื่อเกษม จาติกวณิช เป็นเงิน 8,000 ล้านบาท โดยในการจ่ายเงินเป็นลักษณะเช็คเปล่าใบเดียว ในขณะที่มีบุคคลอื่น แสดงความจำนงค์จะขอซื้อหุ้นดังกล่าวในราคา 15,000ล้านบาทแต่กลับเอาสมบัติชาติไปขายถูก ๆ"
ด้วยความสงสัยในข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอย ผมจึงค้นหาข้อมูลบ้าง พบ ว่าข้อกล่าวหาที่นายพานทองแท้ และคนเสื้อแดงร่วมออกความเห็นมากมาย มีที่มาที่เดียวกัน คือจากกระทู้เก่าใน pantip ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2545 เป็นการเขียนหลังจากการเหตุการณ์ขายโรงกลั่นที่ทำในปี 2536 ถึง 9 ปี !!!
กระทู้ดังกล่าว ตาม link
http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.ppantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P1946930/P1946930.html
ประเด็นแรกที่ขอตั้งข้อสังเกตุ คือ อะไร คือแรงจูงใจ ให้ผู้ที่ตั้งกระทู้นั้น ขุดเอาเรื่องราวที่ผ่านไปแล้วถึง 9 ปี ขึ้นมาตั้งกระทู้ เชื่อได้ว่า ส่วนหนึ่งต้องมีความไม่พอใจทางใดทางหนึ่งต่อนายอานันท์ ที่ถูกโจมตีในกระทู้เก่านั้น ดังนั้น การมีอคติจึงเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้
กลับมาที่ประเด็นการกล่าวหา ที่ว่า นายอานันท์ขายหุ้นโรงกลั่นไทยออยล์ให้นายเกษม จาติกวณิช มีความจริงเป็นอย่างไร
ผมค้นเจอบทความ 2 ตอน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันปี 2536 เขียนโดย นายรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
บทความทั้ง 2 ตอน ตาม link
http://goo.gl/FavKQT
http://goo.gl/rCI5hS
พอสรุปประเด็นได้ดังนี้
1.บริษัทไทยออยล์ ก่อตั้งโดยเอกชน คือนายเชาว์ เชาว์ขวัญยืน เป็นผู้รับอนุญาตให้สร้างโรงกลั่น โดยมีข้อตกลงยกกรรมสิทธิ์ในโรงกลั่นให้เป็นของรัฐ (โดยกระทรวงอุตสาหกรรม)
2. มีการปรับปรุงโครงสร้างผู้ถือหุ้นในปี 2522 ถือหุ้นโดย ปตท 49% สำนักงานทรัพย์สิน 2% ที่เหลือเป็นภาคเอกชน โดยมีข้อตกลงสัญญาการร่วมทุนที่ทำในปี 2522 ระบุไว้ว่า หากไทยออยล์ต้องการเพิ่มทุนในอนาคต ต้องทำโดยการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
3. ปี 2531 รัฐบาลอนุมัติให้ไทยออยล์ขยายกำลังการผลิต เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
4. ปี 2533 ไทยออยล์ขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า ไม่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง และสัญญาเช่าเหลือเพียง 11 ปี
5. ปี 2534 เป็นสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ไทยออยล์ เสนอขอซื้อโรงกลั่น 2 แห่งจากกระทรวงอุตสาหกรรม และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการระดับกระทรวง
6. ปี 2534 เมื่อข้อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ถูกคัดค้านจากนายมีชัย ฤชุพันธ์ มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณา แต่รัฐบาลหมดวาระไปก่อน
7. ปี 2535 รัฐบาลอานันท์ 2 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงอุตสาหกรรมขายโรงกลั่น 2 แห่งให้แก่บริษัทไทยออยล์ ในราคา 8,764 ล้านบาท และต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินกรมธนารักษ์อีก 30 ปี
รายละเอียดยังมีอีกพอสมควร ใครอยากรู้ลองไปอ่าน
ประเด็นที่นายพานทองแท้ ระบุว่า นายอานันท์ขายหุ้นโรงกลั่นไทยออยล์ให้นายเกษม จาติกวณิช ในราคา 8,000 กว่าล้าน จึงเป็นความเข้าใจผิด เพราะ นายเกษม ขณะนั้นเป็นผู้บริหารของไทยออยล์
และผู้ขาย คือกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ซื้อคือ บริษัทไทยออยล์ ไม่ใช่นายเกษม
ส่วนราคา ที่ว่าขายถูก แค่ 8000 ล้าน ทั้งๆที่มีคนขอซื้อ 15000 ล้าน ก็ไม่เป็นความจริง
เพราะราคาจากผู้ประเมิฯ 4 ราย ให้ราคาสูงสุดแค่ 200ล้านเหรียญเท่านั้น
และเป็นนโยบายที่โรงกลั่นน้ำมันต้องอยู่ในความควบคุมของรัฐ ไม่สามารถขายให้เอกชน
รายละเอียดมีในเอกสารตอนที่ 2
http://goo.gl/rCI5hS
การขายโรงกลั่นไทยออยล์
โดยนายพานทองแท้ระบุว่าได้ค้นหาจากกูเกิล ได้ข้อมูลมาว่า
"ในสมัยนายกฯ อานันท์ฯ ได้มีการขายหุ้นของโรงกลั่นไทยออยล์ ให้กับเอกชนที่ชื่อเกษม จาติกวณิช เป็นเงิน 8,000 ล้านบาท โดยในการจ่ายเงินเป็นลักษณะเช็คเปล่าใบเดียว ในขณะที่มีบุคคลอื่น แสดงความจำนงค์จะขอซื้อหุ้นดังกล่าวในราคา 15,000ล้านบาทแต่กลับเอาสมบัติชาติไปขายถูก ๆ"
ด้วยความสงสัยในข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอย ผมจึงค้นหาข้อมูลบ้าง พบ ว่าข้อกล่าวหาที่นายพานทองแท้ และคนเสื้อแดงร่วมออกความเห็นมากมาย มีที่มาที่เดียวกัน คือจากกระทู้เก่าใน pantip ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2545 เป็นการเขียนหลังจากการเหตุการณ์ขายโรงกลั่นที่ทำในปี 2536 ถึง 9 ปี !!!
กระทู้ดังกล่าว ตาม link
http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.ppantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P1946930/P1946930.html
ประเด็นแรกที่ขอตั้งข้อสังเกตุ คือ อะไร คือแรงจูงใจ ให้ผู้ที่ตั้งกระทู้นั้น ขุดเอาเรื่องราวที่ผ่านไปแล้วถึง 9 ปี ขึ้นมาตั้งกระทู้ เชื่อได้ว่า ส่วนหนึ่งต้องมีความไม่พอใจทางใดทางหนึ่งต่อนายอานันท์ ที่ถูกโจมตีในกระทู้เก่านั้น ดังนั้น การมีอคติจึงเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้
กลับมาที่ประเด็นการกล่าวหา ที่ว่า นายอานันท์ขายหุ้นโรงกลั่นไทยออยล์ให้นายเกษม จาติกวณิช มีความจริงเป็นอย่างไร
ผมค้นเจอบทความ 2 ตอน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันปี 2536 เขียนโดย นายรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
บทความทั้ง 2 ตอน ตาม link
http://goo.gl/FavKQT
http://goo.gl/rCI5hS
พอสรุปประเด็นได้ดังนี้
1.บริษัทไทยออยล์ ก่อตั้งโดยเอกชน คือนายเชาว์ เชาว์ขวัญยืน เป็นผู้รับอนุญาตให้สร้างโรงกลั่น โดยมีข้อตกลงยกกรรมสิทธิ์ในโรงกลั่นให้เป็นของรัฐ (โดยกระทรวงอุตสาหกรรม)
2. มีการปรับปรุงโครงสร้างผู้ถือหุ้นในปี 2522 ถือหุ้นโดย ปตท 49% สำนักงานทรัพย์สิน 2% ที่เหลือเป็นภาคเอกชน โดยมีข้อตกลงสัญญาการร่วมทุนที่ทำในปี 2522 ระบุไว้ว่า หากไทยออยล์ต้องการเพิ่มทุนในอนาคต ต้องทำโดยการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
3. ปี 2531 รัฐบาลอนุมัติให้ไทยออยล์ขยายกำลังการผลิต เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
4. ปี 2533 ไทยออยล์ขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า ไม่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง และสัญญาเช่าเหลือเพียง 11 ปี
5. ปี 2534 เป็นสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ไทยออยล์ เสนอขอซื้อโรงกลั่น 2 แห่งจากกระทรวงอุตสาหกรรม และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการระดับกระทรวง
6. ปี 2534 เมื่อข้อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ถูกคัดค้านจากนายมีชัย ฤชุพันธ์ มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณา แต่รัฐบาลหมดวาระไปก่อน
7. ปี 2535 รัฐบาลอานันท์ 2 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงอุตสาหกรรมขายโรงกลั่น 2 แห่งให้แก่บริษัทไทยออยล์ ในราคา 8,764 ล้านบาท และต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินกรมธนารักษ์อีก 30 ปี
รายละเอียดยังมีอีกพอสมควร ใครอยากรู้ลองไปอ่าน
ประเด็นที่นายพานทองแท้ ระบุว่า นายอานันท์ขายหุ้นโรงกลั่นไทยออยล์ให้นายเกษม จาติกวณิช ในราคา 8,000 กว่าล้าน จึงเป็นความเข้าใจผิด เพราะ นายเกษม ขณะนั้นเป็นผู้บริหารของไทยออยล์
และผู้ขาย คือกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ซื้อคือ บริษัทไทยออยล์ ไม่ใช่นายเกษม
ส่วนราคา ที่ว่าขายถูก แค่ 8000 ล้าน ทั้งๆที่มีคนขอซื้อ 15000 ล้าน ก็ไม่เป็นความจริง
เพราะราคาจากผู้ประเมิฯ 4 ราย ให้ราคาสูงสุดแค่ 200ล้านเหรียญเท่านั้น
และเป็นนโยบายที่โรงกลั่นน้ำมันต้องอยู่ในความควบคุมของรัฐ ไม่สามารถขายให้เอกชน
รายละเอียดมีในเอกสารตอนที่ 2 http://goo.gl/rCI5hS