เห็นด้วยกับนโยบาย "กีดกันคนนอก อุ้มชูคนใน" ของหลายๆ ประเทศไหมครับ?

หลังจากกรณีสตาร์บัคส์ VS สตาร์บัง ผมเห็นมีคนยก ตย. ด้วยว่าสตาร์บัคส์เคยไปฟ้องศาลจีน กรณี logo ล้อเลียนทำนองเดียวกับบัง ( ซึ่งผมว่าหนักว่าบังอีกนะ เพราะมันเป็นร้านกาแฟตรงๆ เลย มีสาขาด้วยไม่ใช่แค่รถเข็นเล็กๆ แบบบัง ) ปรากฏว่าสตาร์บัคส์แพ้ครับ ดังนั้นเราจึงเห็นอะไรทำนองนี้เกลื่อนประเทศจีนเป็นเรื่องปกติ

แล้วก็มีผู้วิจารณ์ต่อว่าเพราะกฏหมายจีน สร้างช่องทางไว้สำหรับคุ้มครองผู้ประกอบการจีนพอสมควร ส่วนทุนต่างชาติก็ได้แต่มองตาปริบๆ ก็ต้องลงทุนไปเครียดไป เพราะไปแตะเจ้าถิ่นก็ไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมเพราะตลาดจีนนั้นใหญ่มาก

( ไม่นับกลไกอื่นๆ ของรัฐบาลจีน ที่พยายามสร้างความเป็นชาตินิยมอยู่ตลอดเวลา เช่นการแปลตำรา - ศัพท์ต่างๆ ทุกอย่างเป็นภาษาจีน มองด้านหนึ่งมันคือการทำให้วิทยาการทุกแขนงเข้าถึงคนทุกระดับแม้กระทั่งชนบทห่างไกลที่ไม่ได้จบการศึกษาชั้นสูง แต่อีกด้านหนึ่งมันคือการป้องกันการหลงใหลในวัฒนธรรมต่างชาติได้เป็นอย่างดี เพราะการเรียนภาษา จะเรียนให้รู้เรื่องและสนุกกับมัน ก็ต้องให้ความสนใจเรื่องวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อของผู้ที่ใช้ภาษานั้นๆ ด้วย แน่นอนภาษาอังกฤษมาจากโลกตะวันตกอย่างอังกฤษและอเมริกัน ซึ่งเชิดชูทุนนิยม - บริโภคนิยม อันเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของจีน )

ทีนี้ผมไปเจอรายงานตัวหนึ่งของ TDRI ว่าด้วยมาตรการกีดกันต่างๆ ของชาติในอาเซียน ที่กระทำต่อสินค้านำเข้าทั้งหลาย

http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2013/09/OIE8_seminar-v1.pdf  ( ให้ดูตั้งแต่หน้า 20 เป็นต้นไป )

ปรากฏว่าอินโดนีเซียกับมาเลเซีย ยังเป็น 2 ชาติที่ใช้มาตรการทำนองนี้มากที่สุด และใช้ในหลายรูปแบบและหลายข้ออ้าง แต่จริงๆ แล้วคือการปกป้องธุรกิจในประเทศ ( ขณะที่ไทยแทบจะไม่ใช้เลย )

- มาเลเซียนี่ชัดมากกรณีรถยนต์ ถ้ายี่ห้ออื่นๆ ตั้งภาษีไว้สูงเวอร์ ส่วนที่ไม่ใช่ภาษีก็จะเป็นขั้นตอนที่จุกจิกยุ่งยาก ผลคือรถสัญชาติมาเลย์อย่าง Proton เลยอยู่ได้

- อินโดนีเซีย จะเน้นมาตรการจำพวกต้องเป็นหุ้นส่วนระหว่างต่างชาติกับอินโดบ้าง หรือผู้นำเข้าต้องเป็นผู้ผลิตในประเทศด้วยบ้าง ฯลฯ เป็นการบั่นทอนแรงจูงใจของคนอินโดที่จะไปร่วมลงทุนกับต่างประเทศ และทุนต่างประเทศที่จะเข้าไปในอินโด

จะถามว่าเห็นด้วยกันไหมครับ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่