การก่อเกิด‘โลกที่อเมริกันไม่ใช่มหาอำนาจสำคัญที่สุด(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)The birth of the 'de-Americanized' world By Pepe Escobar 15/10/2013
จีนประกาศออกมาแล้วว่าพอกันที บทบรรณาธิการของสำนักข่าวซินหวาพูดตรงไปตรงมาแบบถอดหน้ากากความสุภาพเรียบร้อยทางการทูตว่า ถึงเวลาที่จะต้องสร้างโลก “ที่อเมริกันไม่ใช่มหาอำนาจสำคัญที่สุด” อีกต่อไป โดยที่มี “สกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่” ใช้แทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับ “ฟางเส้นสุดท้าย” ที่ทำให้ “มังกร” หลังหัก จนต้องออกมาประกาศโผงผางเช่นนี้ ก็คือ “วิกฤตชัตดาวน์ของสหรัฐฯ” ซึ่งเป็นภาพอันโดดเด่นคมชัดที่แสดงให้เห็นว่าความเสื่อมโทรมถดถอยของสหรัฐฯเป็นสิ่งที่ไม่อาจแก้ไขทัดทานได้ ในขณะที่จีนกำลังสยายปีกของตนเพื่อก้าวขึ้นเป็นนายใหญ่ในยุคโพสต์โมเดิร์นแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21
เรื่องราวก็เป็นเช่นนี้แหละ จีนประกาศออกมาแล้วว่าพอกันที หน้ากากความสุภาพเรียบร้อยแบบนักการทูตถูกถอดโยนทิ้ง มันถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้างโลก “ที่อเมริกันไม่ใช่มหาอำนาจสำคัญที่สุด” ('de-Americanized' world) อีกต่อไป มันถึงเวลาแล้วที่จะต้องมี “สกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่” ใช้แทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งหมดอยู่ในนี้ ในบทบรรณาธิการของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน (อ่านบทบรรณาธิการชิ้นนี้ได้ที่
http://news.xinhuanet.com/english/indepth/2013-10/13/c_132794246.htm ) เป็นคำพูดโดยตรงจากปากของ “มังกร” เองทีเดียว และปีนี้ก็เพิ่งจะปี 2013 เท่านั้น รัดเข็มขัดที่นั่งของพวกคุณเอาไว้ให้แน่นเถอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกชนชั้นนำในวอชิงตันทั้งหมด มันจะต้องเป็นการเดินทางที่เต็มไปด้วยการปะทะการกระแทกพุ่งชนกันโครมครามอย่างแน่นอน
ยุคสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้เตือนให้แดนมังกรต้อง “คอยก้มตัวต่ำ คอยระมัดระวังตัวเอาไว้” ได้ผ่านพ้นไปแล้ว บทบรรณาธิการของซินหวาชิ้นนี้สามารถสรุปความได้ว่า “ฟางเส้นสุดท้ายได้ทำให้มังกรหลังหักเสียแล้ว” และ “ฟางเส้นสุดท้าย” นี้ก็คือ วิกฤตหน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯต้องพากันปิดตัวลง เนื่องจากไม่มีงบประมาณใช้จ่าย เมื่อรัฐสภาอเมริกันตกลงผ่านร่างงบประมาณแผ่นดินกันไม่ได้ วิกฤตชัตดาวน์นี้ปรากฏขึ้นมา หลังจากที่ได้เกิดวิกฤตภาคการเงินโดยที่มีวอลล์สตรีทเป็นตัวการ, หลังจากที่ได้เกิดสงครามในอิรัก, และ “โลกกำลังปั่นป่วนวุ่นวายไปหมด” อย่างที่ถูกระบุเอาไว้ในบทบรรณาธิการชิ้นนี้ ดังนั้น จึงถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลง และไม่ใช่แต่เฉพาะจีนเท่านั้นหรอกที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง
ย่อหน้าต่อไปนี้ในบทบรรณาธิการของซินหวา วาดภาพออกมาอย่างชัดเจนกระจะตามากว่า “แทนที่จะยึดมั่นกระทำหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นมหาอำนาจชั้นนำที่มีความรับผิดชอบของโลก วอชิงตันที่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองกลับใช้อำนาจในฐานะที่เป็นอภิมหาอำนาจของตนไปในทางมิชอบ และนำเอาความวุ่นวายโกลาหลหนักข้อยิ่งขึ้นเข้ามาสู่โลก ทั้งด้วยการโยกเอาความเสี่ยงทางการเงินต่างๆ ไปไว้ในต่างแดน, ด้วยการยุแหย่กระตุ้นให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีกรณีพิพาททางดินแดนกันอยู่, และด้วยการเข้าสู้รบในสงครามที่ไร้ความชอบธรรมแต่ฉาบบังปกปิดด้วยคำโกหกพกลมโดยสิ้นเชิง”
หนทางออกสำหรับสภาวการณ์เช่นนี้นะรึ ปักกิ่งเสนอว่า จะต้อง “ถอดอเมริกันออกจากความเป็นมหาอำนาจสำคัญที่สุด” ในสมการภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบัน เริ่มต้นด้วยการทำให้พวกชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และชาติกำลังพัฒนามีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก เพื่อนำไปสู่ “การสร้างสกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่ขึ้นมา ซึ่งจะเข้าแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อยู่ในฐานะครอบงำโลกอยู่ในตอนนี้”
มีข้อน่าสังเกตว่า ปักกิ่งไม่ได้กำลังป่าวร้องให้ทำลายทุบทิ้งระบบแบรตตันวู้ดส์ (Bretton Woods system) ให้แหลกลาญ อย่างน้อยก็ไม่ใช่ทุบทิ้งกันในตอนนี้ หากแต่เรียกร้องให้ได้รับอำนาจในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ข้อเรียกร้องเช่นนี้สมเหตุสมผล เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ภายในโครงสร้างไอเอ็มเอฟขณะนี้ จีนมีคะแนนเสียงมากกว่าอิตาลีเพียงนิดเดียวเท่านั้น อันที่จริงแล้วมีการเรียกร้องให้ดำเนิน “การปฏิรูป” ไอเอ็มเอฟกันอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2010 ทว่าวอชิงตันคอยใช้อำนาจวีโต้ทัดทานการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญทุกสิ่งอัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไร
แล้วสำหรับการปรับเปลี่ยนยุติการอิงอาศัยเงินดอลลาร์สหรัฐฯนั้น แท้ที่จริงก็มีความเคลื่อนไหวเช่นนั้นอยู่แล้วในหลายๆ อาณาบริเวณ โดยที่มีระดับอัตราความเร็วแตกต่างกันไป แต่ที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ ย่อมได้แก่การค้าในระหว่างชาติสมาชิกของกลุ่มบริกส์ (BRICS ซึ่งได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็น 5 ชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่รายใหญ่ของโลก) ด้วยกัน ซึ่งเวลานี้มีการใช้สกุลเงินตราของพวกเขาเองกันอย่างคึกคัก เงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงกำลังถูกแทนที่ด้วยตะกร้าของเงินตราหลายๆ สกุล มันเป็นการแทนที่ซึ่งดำเนินไปอย่างช้าๆ ทว่าแน่นอน
“กระบวนการถอดอเมริกาออกจากการเป็นมหาอำนาจสำคัญที่สุด” ("De-Americanization") ก็กำลังบังเกิดขึ้นอยู่แล้วเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเมื่อต้นเดือนตุลาคมนี้ซึ่งแดนมังกรเปิดฉากรุกโปรยเสน่ห์ทางการค้าไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ภูมิภาคนี้ก็กำลังมีแนวโน้มอันฉลาดหลักแหลม ในทิศทางของการมีปฏิบัติการเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกกับหุ้นส่วนทางการค้ารายสำคัญที่สุดของพวกตน ซึ่งก็คือ จีน ดังจะเห็นได้ว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของแดนมังกร สามารถที่จะบรรลุข้อตกลงจำนวนมากกับอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ตลอดจนออสเตรเลีย ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่บรรลุข้อตกลงจำนวนมากกับพวกประเทศที่มีชื่อลงท้ายด้วย “สถาน” ทั้งหลายในเอเชียกลาง
ความมุ่งมั่นของฝ่ายจีนที่จะปรับปรุงยกระดับเครือข่าย “เส้นทางสายไหมเหล็กกล้า” (Iron Silk Road) กำลังโหมแรงอย่างที่สุด โดยที่ราคาหุ้นของพวกบริษัทรถไฟจีนกำลังพุ่งทะยานทะลุหลังคา ท่ามกลางโอกาสความเป็นไปได้ที่จะมีการสร้างโครงข่ายรางรถไฟไฮสปีดที่เชื่อมโยงและตัดผ่านประเทศไทย ส่วนในเวียดนาม นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ประสบความสำเร็จในการสร้างความเข้าใจว่าการทะเลาะพิพาทชิงดินแดนในทะเลจีนใต้ของประเทศทั้งสองนั้น จะไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องการค้าการทำธุรกิจระหว่างกัน การค้าและการทำธุรกิจกันมีแต่จะเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำไป ความเคลื่อนไหวต่างๆ เช่นนี้แหละจึงค่อยสมควรที่จะเรียกขานว่า “การปักหลุด” (pivoting) ในเอเชีย
**บทบาทของเงินหยวน** ทุกๆ คนต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่าปักกิ่งถือครองพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯเอาไว้อย่างมหาศาลชนิดสามารถนำมากองกันให้สูงเป็นภูเขาหิมาลัยทีเดียว ทั้งนี้ต้องขอบคุณการได้เปรียบดุลการค้าอันมโหฬารซึ่งสะสมเพิ่มพูนมาเรื่อยๆ ตลอด 3 ทศวรรษหลังนี้ และบวกด้วยนโยบายของทางการแดนมังกรที่มุ่งรักษาให้เงินหยวนค่อยๆ ปรับค่าเพิ่มขึ้นอย่างช้ามากๆ ทว่าแน่นอนมั่นคงมาก
ในเวลาเดียวกันนั้น ปักกิ่งก็กำลังมีการลงมือปฏิบัติการด้วย ดังจะเห็นได้ว่าเงินหยวนกำลังค่อยๆ กลายเป็นสกุลเงินตราที่สามารถแลกเปลี่ยนในตลาดระหว่างประเทศได้อย่างช้าๆ แต่แน่นอนขึ้นทุกที (เพียงเมื่อต้นเดือนตุลาคมนี้เอง ธนาคารกลางของยุโรป และธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน ซึ่งก็คือแบงก์ชาติของแดนมังกร ได้ตกลงกันตั้งวงเงินสว็อปเงินตราระหว่างกันที่มีมูลค่า 45,000 – 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันจะเป็นการเพิ่มเสริมความแข็งแกร่งในทางระหว่างประเทศให้แก่เงินหยวน และเวลาเดียวกันก็ทำให้สามารถเข้าถึงเงินหยวนได้ง่ายขึ้นมากเมื่อจะใช้เงินตราสกุลนี้เพื่อสนับสนุนการค้าในพื้นที่ของสกุลเงินยูโร)
กำหนดเวลาอย่างไม่เป็นทางการที่สกุลเงินหยวนจะสามารถแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินตราอื่นได้ทุกหนทุกแห่งนั้น คาดหมายกันว่าน่าจะอยู่ในระหว่างปี 2017 ถึงปี 2020 ขณะที่เป้าหมายของปักกิ่งก็มีความชัดเจนมาก นั่นคือการถอยออกมาจากการสะสมถือครองตราสารหนี้สหรัฐฯ ซึ่งนี่ย่อมมีนัยต่อไปว่า มองกันในระยะยาว ปักกิ่งกำลังถอยตัวเองออกจากตลาดตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมเปิดทางให้บังเกิดสถานการณ์ที่สหรัฐฯจะต้องเสียดอกเบี้ยแพงขึ้นในเวลาที่จะกู้ยืมในอนาคต ทั้งนี้คณะผู้นำร่วมในปักกิ่งได้ตัดสินใจอย่างแน่นอนแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ และกำลังดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น
ความเคลื่อนไหวในทิศทางสู่การทำให้เงินหยวนกลายเป็นสกุลเงินตราที่สามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเรื่องที่ไม่มีทางยับยั้งทัดทานได้ พอๆ กับแนวโน้วที่กลุ่มบริกส์เคลื่อนตัวไปสู่การใช้ระบบตะกร้าเงินตราหลายๆ สกุลกันมากขึ้นๆ เพื่อให้เป็นสกุลเงินตราในทุนสำรองระหว่างประเทศของพวกตนสืบแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เราสามารถคาดหมายต่อไปอีกว่า ด้วยทิศทางแนวโน้มเช่นนี้ ในที่สุดก็จะเกิดเหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและรุนแรง กล่าวคือ “หยวนน้ำมัน” (petroyuan) จะขยายตัวจนแซงหน้า “ดอลลาร์น้ำมัน” (petrodollar) ในทันทีที่พวกราชอาณาจักรร่ำรวยน้ำมันในอ่าวเปอร์เซียทั้งหลาย มองเห็นแล้วว่าลมแห่งประวัติศาสตร์กำลังโบกพัดไปในทิศทางไหนกันแน่ หลังจากนั้นเราก็จะก้าวเข้าสู่เกมแห่งภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
เราอาจจะยังต้องเดินกันไปอีกไกลกว่าจะถึงจุดดังกล่าว ทว่าสิ่งที่แน่นอนแล้วก็คือคำชี้แนะอันมีชื่อเสียงของเติ้ง เสี่ยวผิง กำลังค่อยๆ ถูกทอดทิ้งไปเรื่อยๆ ทั้งนี้คำชี้แนะดังกล่าวบอกให้พวกผู้นำจีน “รักษาที่มั่นของเราเอาไว้อย่างมั่นคง, รับมือกับกิจการต่างๆ ด้วยความสงบ, เก็บงำซุกซ่อนศักยภาพของเราและรอคอยโอกาสของเรา, ต้องมีความชำนาญในการคอยก้มตัวให้ต่ำคอยระมัดระวังเอาไว้อย่าให้เป็นที่จับตา, และไม่อวดอ้างที่จะเป็นผู้นำ”
คำชี้แนะนี้เป็นส่วนผสมระหว่างการระมัดระวังตัวกับการลวงพราง ซึ่งมีพื้นฐานอิงอยู่กับความเชื่อมั่นต่อประวัติศาสตร์ของจีน และก็คำนึงถึงความมุ่งมาดปรารถนาในระยะยาวของตนเองด้วย นี่คือการปฏิบัติตามหลักพิชัยสงครามของ “ซุนวู” โดยแท้ จวบจนกระทั่งถึงตอนนี้ ปักกิ่งยังคงกำลังก้มตัวให้ต่ำ ปล่อยให้ปรปักษ์กระทำความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงถึงชีวิต (และก็ดูเอาเถิด ความผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่าที่ทำมาเมื่อรวมกันก็มีมูลค่าระดับหลายล้านล้านดอลลาร์แล้ว...) และทำการสั่งสม “เงินทุน”
บัดนี้ จังหวะเวลาที่สมควรใช้สอยหาประโยชน์จากสิ่งที่สะสมเอาไว้ กำลังมาถึงแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่เมื่อราวปี 2009 หลังจากเกิดวิกฤตทางการเงินที่ก่อขึ้นโดยวอลล์สตรีทแล้ว ก็มีเสียงไม่พอใจอึงคะนึงจากฝ่ายจีนแล้ว เกี่ยวกับ “การที่โมเดลแบบตะวันตกไม่สามารถทำงานให้ถูกต้องเป็นปกติ” และในที่สุดก็กลายเป็นการวิพากษ์ “การที่วัฒนธรรมตะวันตกไม่สามารถทำงานให้ถูกต้องเป็นปกติ” ปักกิ่งจะต้องเคยฟังเพลง “The Times They Are a-Changin” ของ บ็อบ ดิแลน (Bob Dylan) และลงความเห็นว่า เนื้อหาของเพลงนี้กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว เวลาคือสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่สหรัฐฯไม่มีความก้าวหน้าทั้งทางสังคม, เศรษฐกิจ, และการเมืองใดๆ เลยในอนาคตอันใกล้นี้ วิกฤตชัตดาวน์จึงเป็นเพียงการสะท้อนภาพอันชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่า การไหลรูดลงของสหรัฐฯคือสิ่งที่ไม่อาจขัดขืนทัดทาน เช่นเดียวกับการที่จีนค่อยๆ สยายปีกของตนเพื่อก้าวขึ้นเป็นนายใหญ่ในยุคโพสต์โมเดิร์นแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้อย่าได้ผิดพลาดจนถึงกับไม่เข้าใจว่า ถึงอย่างไรชนชั้นนำในวอชิงตันก็จะต้องต่อสู้ต้านทานสภาวการณ์เช่นนี้อย่าสุดฤทธิ์ แต่กระนั้น คำกล่าวอันลึกซึ้งคมคายของ อันโตนิโอ กรัมซี (Antonio Gramsci) ที่ว่า “วิกฤตนั้นย่อมประกอบขึ้นมาอย่างแยบยลด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ฝ่ายเก่ากำลังตายจากไป ส่วนฝ่ายใหม่ก็ยังไม่สามารถถือกำเนิดขึ้นมา” เห็นทีจะต้องอัปเกรดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยพูดเสียใหม่ว่า “ระเบียบใหม่เพิ่งตายจากไป และระเบียบใหม่ก็ขยับใกล้เข้ามาอีกก้าวหนึ่งก่อนที่จะถือกำเนิดขึ้นมา” เปเป้ เอสโคบาร์ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Globalistan: How the Globalized World is Dissolving into Liquid War (Nimble Books, 2007), Red Zone
ขนาดฝรั่งม้นยังเชื่อเลยว่าจีนจะมา
จีนประกาศออกมาแล้วว่าพอกันที บทบรรณาธิการของสำนักข่าวซินหวาพูดตรงไปตรงมาแบบถอดหน้ากากความสุภาพเรียบร้อยทางการทูตว่า ถึงเวลาที่จะต้องสร้างโลก “ที่อเมริกันไม่ใช่มหาอำนาจสำคัญที่สุด” อีกต่อไป โดยที่มี “สกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่” ใช้แทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับ “ฟางเส้นสุดท้าย” ที่ทำให้ “มังกร” หลังหัก จนต้องออกมาประกาศโผงผางเช่นนี้ ก็คือ “วิกฤตชัตดาวน์ของสหรัฐฯ” ซึ่งเป็นภาพอันโดดเด่นคมชัดที่แสดงให้เห็นว่าความเสื่อมโทรมถดถอยของสหรัฐฯเป็นสิ่งที่ไม่อาจแก้ไขทัดทานได้ ในขณะที่จีนกำลังสยายปีกของตนเพื่อก้าวขึ้นเป็นนายใหญ่ในยุคโพสต์โมเดิร์นแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21
เรื่องราวก็เป็นเช่นนี้แหละ จีนประกาศออกมาแล้วว่าพอกันที หน้ากากความสุภาพเรียบร้อยแบบนักการทูตถูกถอดโยนทิ้ง มันถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้างโลก “ที่อเมริกันไม่ใช่มหาอำนาจสำคัญที่สุด” ('de-Americanized' world) อีกต่อไป มันถึงเวลาแล้วที่จะต้องมี “สกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่” ใช้แทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งหมดอยู่ในนี้ ในบทบรรณาธิการของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน (อ่านบทบรรณาธิการชิ้นนี้ได้ที่ http://news.xinhuanet.com/english/indepth/2013-10/13/c_132794246.htm ) เป็นคำพูดโดยตรงจากปากของ “มังกร” เองทีเดียว และปีนี้ก็เพิ่งจะปี 2013 เท่านั้น รัดเข็มขัดที่นั่งของพวกคุณเอาไว้ให้แน่นเถอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกชนชั้นนำในวอชิงตันทั้งหมด มันจะต้องเป็นการเดินทางที่เต็มไปด้วยการปะทะการกระแทกพุ่งชนกันโครมครามอย่างแน่นอน
ยุคสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้เตือนให้แดนมังกรต้อง “คอยก้มตัวต่ำ คอยระมัดระวังตัวเอาไว้” ได้ผ่านพ้นไปแล้ว บทบรรณาธิการของซินหวาชิ้นนี้สามารถสรุปความได้ว่า “ฟางเส้นสุดท้ายได้ทำให้มังกรหลังหักเสียแล้ว” และ “ฟางเส้นสุดท้าย” นี้ก็คือ วิกฤตหน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯต้องพากันปิดตัวลง เนื่องจากไม่มีงบประมาณใช้จ่าย เมื่อรัฐสภาอเมริกันตกลงผ่านร่างงบประมาณแผ่นดินกันไม่ได้ วิกฤตชัตดาวน์นี้ปรากฏขึ้นมา หลังจากที่ได้เกิดวิกฤตภาคการเงินโดยที่มีวอลล์สตรีทเป็นตัวการ, หลังจากที่ได้เกิดสงครามในอิรัก, และ “โลกกำลังปั่นป่วนวุ่นวายไปหมด” อย่างที่ถูกระบุเอาไว้ในบทบรรณาธิการชิ้นนี้ ดังนั้น จึงถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลง และไม่ใช่แต่เฉพาะจีนเท่านั้นหรอกที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง
ย่อหน้าต่อไปนี้ในบทบรรณาธิการของซินหวา วาดภาพออกมาอย่างชัดเจนกระจะตามากว่า “แทนที่จะยึดมั่นกระทำหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นมหาอำนาจชั้นนำที่มีความรับผิดชอบของโลก วอชิงตันที่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองกลับใช้อำนาจในฐานะที่เป็นอภิมหาอำนาจของตนไปในทางมิชอบ และนำเอาความวุ่นวายโกลาหลหนักข้อยิ่งขึ้นเข้ามาสู่โลก ทั้งด้วยการโยกเอาความเสี่ยงทางการเงินต่างๆ ไปไว้ในต่างแดน, ด้วยการยุแหย่กระตุ้นให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีกรณีพิพาททางดินแดนกันอยู่, และด้วยการเข้าสู้รบในสงครามที่ไร้ความชอบธรรมแต่ฉาบบังปกปิดด้วยคำโกหกพกลมโดยสิ้นเชิง”
หนทางออกสำหรับสภาวการณ์เช่นนี้นะรึ ปักกิ่งเสนอว่า จะต้อง “ถอดอเมริกันออกจากความเป็นมหาอำนาจสำคัญที่สุด” ในสมการภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบัน เริ่มต้นด้วยการทำให้พวกชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และชาติกำลังพัฒนามีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก เพื่อนำไปสู่ “การสร้างสกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่ขึ้นมา ซึ่งจะเข้าแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อยู่ในฐานะครอบงำโลกอยู่ในตอนนี้”
มีข้อน่าสังเกตว่า ปักกิ่งไม่ได้กำลังป่าวร้องให้ทำลายทุบทิ้งระบบแบรตตันวู้ดส์ (Bretton Woods system) ให้แหลกลาญ อย่างน้อยก็ไม่ใช่ทุบทิ้งกันในตอนนี้ หากแต่เรียกร้องให้ได้รับอำนาจในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ข้อเรียกร้องเช่นนี้สมเหตุสมผล เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ภายในโครงสร้างไอเอ็มเอฟขณะนี้ จีนมีคะแนนเสียงมากกว่าอิตาลีเพียงนิดเดียวเท่านั้น อันที่จริงแล้วมีการเรียกร้องให้ดำเนิน “การปฏิรูป” ไอเอ็มเอฟกันอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2010 ทว่าวอชิงตันคอยใช้อำนาจวีโต้ทัดทานการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญทุกสิ่งอัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไร
แล้วสำหรับการปรับเปลี่ยนยุติการอิงอาศัยเงินดอลลาร์สหรัฐฯนั้น แท้ที่จริงก็มีความเคลื่อนไหวเช่นนั้นอยู่แล้วในหลายๆ อาณาบริเวณ โดยที่มีระดับอัตราความเร็วแตกต่างกันไป แต่ที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ ย่อมได้แก่การค้าในระหว่างชาติสมาชิกของกลุ่มบริกส์ (BRICS ซึ่งได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็น 5 ชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่รายใหญ่ของโลก) ด้วยกัน ซึ่งเวลานี้มีการใช้สกุลเงินตราของพวกเขาเองกันอย่างคึกคัก เงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงกำลังถูกแทนที่ด้วยตะกร้าของเงินตราหลายๆ สกุล มันเป็นการแทนที่ซึ่งดำเนินไปอย่างช้าๆ ทว่าแน่นอน
“กระบวนการถอดอเมริกาออกจากการเป็นมหาอำนาจสำคัญที่สุด” ("De-Americanization") ก็กำลังบังเกิดขึ้นอยู่แล้วเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเมื่อต้นเดือนตุลาคมนี้ซึ่งแดนมังกรเปิดฉากรุกโปรยเสน่ห์ทางการค้าไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ภูมิภาคนี้ก็กำลังมีแนวโน้มอันฉลาดหลักแหลม ในทิศทางของการมีปฏิบัติการเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกกับหุ้นส่วนทางการค้ารายสำคัญที่สุดของพวกตน ซึ่งก็คือ จีน ดังจะเห็นได้ว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของแดนมังกร สามารถที่จะบรรลุข้อตกลงจำนวนมากกับอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ตลอดจนออสเตรเลีย ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่บรรลุข้อตกลงจำนวนมากกับพวกประเทศที่มีชื่อลงท้ายด้วย “สถาน” ทั้งหลายในเอเชียกลาง
ความมุ่งมั่นของฝ่ายจีนที่จะปรับปรุงยกระดับเครือข่าย “เส้นทางสายไหมเหล็กกล้า” (Iron Silk Road) กำลังโหมแรงอย่างที่สุด โดยที่ราคาหุ้นของพวกบริษัทรถไฟจีนกำลังพุ่งทะยานทะลุหลังคา ท่ามกลางโอกาสความเป็นไปได้ที่จะมีการสร้างโครงข่ายรางรถไฟไฮสปีดที่เชื่อมโยงและตัดผ่านประเทศไทย ส่วนในเวียดนาม นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ประสบความสำเร็จในการสร้างความเข้าใจว่าการทะเลาะพิพาทชิงดินแดนในทะเลจีนใต้ของประเทศทั้งสองนั้น จะไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องการค้าการทำธุรกิจระหว่างกัน การค้าและการทำธุรกิจกันมีแต่จะเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำไป ความเคลื่อนไหวต่างๆ เช่นนี้แหละจึงค่อยสมควรที่จะเรียกขานว่า “การปักหลุด” (pivoting) ในเอเชีย
**บทบาทของเงินหยวน** ทุกๆ คนต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่าปักกิ่งถือครองพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯเอาไว้อย่างมหาศาลชนิดสามารถนำมากองกันให้สูงเป็นภูเขาหิมาลัยทีเดียว ทั้งนี้ต้องขอบคุณการได้เปรียบดุลการค้าอันมโหฬารซึ่งสะสมเพิ่มพูนมาเรื่อยๆ ตลอด 3 ทศวรรษหลังนี้ และบวกด้วยนโยบายของทางการแดนมังกรที่มุ่งรักษาให้เงินหยวนค่อยๆ ปรับค่าเพิ่มขึ้นอย่างช้ามากๆ ทว่าแน่นอนมั่นคงมาก
ในเวลาเดียวกันนั้น ปักกิ่งก็กำลังมีการลงมือปฏิบัติการด้วย ดังจะเห็นได้ว่าเงินหยวนกำลังค่อยๆ กลายเป็นสกุลเงินตราที่สามารถแลกเปลี่ยนในตลาดระหว่างประเทศได้อย่างช้าๆ แต่แน่นอนขึ้นทุกที (เพียงเมื่อต้นเดือนตุลาคมนี้เอง ธนาคารกลางของยุโรป และธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน ซึ่งก็คือแบงก์ชาติของแดนมังกร ได้ตกลงกันตั้งวงเงินสว็อปเงินตราระหว่างกันที่มีมูลค่า 45,000 – 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันจะเป็นการเพิ่มเสริมความแข็งแกร่งในทางระหว่างประเทศให้แก่เงินหยวน และเวลาเดียวกันก็ทำให้สามารถเข้าถึงเงินหยวนได้ง่ายขึ้นมากเมื่อจะใช้เงินตราสกุลนี้เพื่อสนับสนุนการค้าในพื้นที่ของสกุลเงินยูโร)
กำหนดเวลาอย่างไม่เป็นทางการที่สกุลเงินหยวนจะสามารถแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินตราอื่นได้ทุกหนทุกแห่งนั้น คาดหมายกันว่าน่าจะอยู่ในระหว่างปี 2017 ถึงปี 2020 ขณะที่เป้าหมายของปักกิ่งก็มีความชัดเจนมาก นั่นคือการถอยออกมาจากการสะสมถือครองตราสารหนี้สหรัฐฯ ซึ่งนี่ย่อมมีนัยต่อไปว่า มองกันในระยะยาว ปักกิ่งกำลังถอยตัวเองออกจากตลาดตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมเปิดทางให้บังเกิดสถานการณ์ที่สหรัฐฯจะต้องเสียดอกเบี้ยแพงขึ้นในเวลาที่จะกู้ยืมในอนาคต ทั้งนี้คณะผู้นำร่วมในปักกิ่งได้ตัดสินใจอย่างแน่นอนแล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ และกำลังดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น
ความเคลื่อนไหวในทิศทางสู่การทำให้เงินหยวนกลายเป็นสกุลเงินตราที่สามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเรื่องที่ไม่มีทางยับยั้งทัดทานได้ พอๆ กับแนวโน้วที่กลุ่มบริกส์เคลื่อนตัวไปสู่การใช้ระบบตะกร้าเงินตราหลายๆ สกุลกันมากขึ้นๆ เพื่อให้เป็นสกุลเงินตราในทุนสำรองระหว่างประเทศของพวกตนสืบแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เราสามารถคาดหมายต่อไปอีกว่า ด้วยทิศทางแนวโน้มเช่นนี้ ในที่สุดก็จะเกิดเหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและรุนแรง กล่าวคือ “หยวนน้ำมัน” (petroyuan) จะขยายตัวจนแซงหน้า “ดอลลาร์น้ำมัน” (petrodollar) ในทันทีที่พวกราชอาณาจักรร่ำรวยน้ำมันในอ่าวเปอร์เซียทั้งหลาย มองเห็นแล้วว่าลมแห่งประวัติศาสตร์กำลังโบกพัดไปในทิศทางไหนกันแน่ หลังจากนั้นเราก็จะก้าวเข้าสู่เกมแห่งภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
เราอาจจะยังต้องเดินกันไปอีกไกลกว่าจะถึงจุดดังกล่าว ทว่าสิ่งที่แน่นอนแล้วก็คือคำชี้แนะอันมีชื่อเสียงของเติ้ง เสี่ยวผิง กำลังค่อยๆ ถูกทอดทิ้งไปเรื่อยๆ ทั้งนี้คำชี้แนะดังกล่าวบอกให้พวกผู้นำจีน “รักษาที่มั่นของเราเอาไว้อย่างมั่นคง, รับมือกับกิจการต่างๆ ด้วยความสงบ, เก็บงำซุกซ่อนศักยภาพของเราและรอคอยโอกาสของเรา, ต้องมีความชำนาญในการคอยก้มตัวให้ต่ำคอยระมัดระวังเอาไว้อย่าให้เป็นที่จับตา, และไม่อวดอ้างที่จะเป็นผู้นำ”
คำชี้แนะนี้เป็นส่วนผสมระหว่างการระมัดระวังตัวกับการลวงพราง ซึ่งมีพื้นฐานอิงอยู่กับความเชื่อมั่นต่อประวัติศาสตร์ของจีน และก็คำนึงถึงความมุ่งมาดปรารถนาในระยะยาวของตนเองด้วย นี่คือการปฏิบัติตามหลักพิชัยสงครามของ “ซุนวู” โดยแท้ จวบจนกระทั่งถึงตอนนี้ ปักกิ่งยังคงกำลังก้มตัวให้ต่ำ ปล่อยให้ปรปักษ์กระทำความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงถึงชีวิต (และก็ดูเอาเถิด ความผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่าที่ทำมาเมื่อรวมกันก็มีมูลค่าระดับหลายล้านล้านดอลลาร์แล้ว...) และทำการสั่งสม “เงินทุน”
บัดนี้ จังหวะเวลาที่สมควรใช้สอยหาประโยชน์จากสิ่งที่สะสมเอาไว้ กำลังมาถึงแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่เมื่อราวปี 2009 หลังจากเกิดวิกฤตทางการเงินที่ก่อขึ้นโดยวอลล์สตรีทแล้ว ก็มีเสียงไม่พอใจอึงคะนึงจากฝ่ายจีนแล้ว เกี่ยวกับ “การที่โมเดลแบบตะวันตกไม่สามารถทำงานให้ถูกต้องเป็นปกติ” และในที่สุดก็กลายเป็นการวิพากษ์ “การที่วัฒนธรรมตะวันตกไม่สามารถทำงานให้ถูกต้องเป็นปกติ” ปักกิ่งจะต้องเคยฟังเพลง “The Times They Are a-Changin” ของ บ็อบ ดิแลน (Bob Dylan) และลงความเห็นว่า เนื้อหาของเพลงนี้กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว เวลาคือสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่สหรัฐฯไม่มีความก้าวหน้าทั้งทางสังคม, เศรษฐกิจ, และการเมืองใดๆ เลยในอนาคตอันใกล้นี้ วิกฤตชัตดาวน์จึงเป็นเพียงการสะท้อนภาพอันชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่า การไหลรูดลงของสหรัฐฯคือสิ่งที่ไม่อาจขัดขืนทัดทาน เช่นเดียวกับการที่จีนค่อยๆ สยายปีกของตนเพื่อก้าวขึ้นเป็นนายใหญ่ในยุคโพสต์โมเดิร์นแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้อย่าได้ผิดพลาดจนถึงกับไม่เข้าใจว่า ถึงอย่างไรชนชั้นนำในวอชิงตันก็จะต้องต่อสู้ต้านทานสภาวการณ์เช่นนี้อย่าสุดฤทธิ์ แต่กระนั้น คำกล่าวอันลึกซึ้งคมคายของ อันโตนิโอ กรัมซี (Antonio Gramsci) ที่ว่า “วิกฤตนั้นย่อมประกอบขึ้นมาอย่างแยบยลด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ฝ่ายเก่ากำลังตายจากไป ส่วนฝ่ายใหม่ก็ยังไม่สามารถถือกำเนิดขึ้นมา” เห็นทีจะต้องอัปเกรดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยพูดเสียใหม่ว่า “ระเบียบใหม่เพิ่งตายจากไป และระเบียบใหม่ก็ขยับใกล้เข้ามาอีกก้าวหนึ่งก่อนที่จะถือกำเนิดขึ้นมา” เปเป้ เอสโคบาร์ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Globalistan: How the Globalized World is Dissolving into Liquid War (Nimble Books, 2007), Red Zone