วันออกพรรษาปีนี้จริง ๆ คงจะตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม แต่ว่าวันทำบุญขึ้นวัดถือเอาวันเพ็ญ
ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 19 ตุลาคม
คำว่า ออกหว่า กับ ออกพรรษา มีความหมายเดียวกัน ออกหว่าเป็นคำเรียกคำว่าออกพรรษา
ของชาวไทยใหญ่ ซึ่งในท้องถิ่นที่สล่าปู่อยู่จะมีชุมชนพี่น้องชาวไทยใหญ่อยู่ส่วนหนึ่งและก็ได้
ยึดถือปฏิบัติ ประเพณีออกหว่านี้มาช้านาน ซึ่งจะมีความแตกต่างกับคนพื้นเมืองทั่วไปทางภาคเหนือ
ตามถนนหนทางจะมีการตกแต่งประดับประดา ซุ้มราชวัตร หน้าบ้านของตนเองอย่างสวยงาม
รายละเอียดสามารถดูได้จากลิงค์นี้เลยครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381986100&grpid=02&catid=02
ส่วนของสล่าปู่ ขอพูดถึงเรื่องการจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน เพื่อนำไปทำบุญถวายพระที่วัด และ
นำไปเป็นทานเพื่อขอพร จากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ ซึ่งจากเรียกว่า "ตานแกง ตานขนม"
ก่อนวันพระ 1 วัน ทางเหนือเรียกว่าวันดา หมายถึงวันเตรียมนั่นแหละ แทบทุกบ้านจะมีแกงหลัก ๆ
ที่นิยมทำกันคือแกงฮังเล ส่วนขนมนั้นก็จะเป็นขนมที่คนเหนือเรียกว่า ขนมจ๊อก
ของสล่าปู่ ทำแกงอย่างเดียว ส่วนขนมใช้วิธีสั่งเอา ปีนี้แกงฮังเลหม้อเล็ก ๆ 2 ก.ก. แค่พอไปทำบุญ
ดูโฉมแกงฮังเลเจ้าเก่า เจ้าเดิม สล่าปู่
สล่าปู่พยายามจะถามตัวเอง เราแก่หรือเปล่า เราเป็นผู้เฒ่าผู้แก่แล้วหรือไง หลักฐานมันฟ้องว่าเป็นอย่างนั้น
วันนี้ ลูกหลาน เอาอาหารคาวหวานมาทำบุญขอพร ซึ่งจะขออนุญาตพื้นที่ตรงนี้บันทึกไว้ และเพื่อบอกกล่าว
ว่าเขาทำบุญกันอย่างนี้ มันเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมายาวนานแล้ว
เจ้าเดียว มาแบบชุดใหญ่เลย มาจากครอบครัวที่ลูกหลานเยอะมาจากทั่วสารทิศ กับข้าวเลยเยอะ สล่าปู่
ก็เลยได้รับ ตานแกง ตานขนมเยอะไปด้วย
มาเป็นชุดใหญ่เต็มตระกร้าเลย
มีอะไรบ้าง
ขนมจ๊อก ข้าวต้มมัด
แกงอ่อมหมู
ไส้อั่ว
ลาบหมูคั่ว
ไส้หวาน หัวใจ ทอดกรอบ
กับข้าวทั้งหมด ถ้าเป็นครอบครัวใหญ่ และลูกหลานไปอยู่ต่างที่ต่างถิ่น จะถือว่าเป็น
เมนูคืนสู่เหย้าไปในตัว โดยลูกหลานจะออร์เดอร์ กับข้าวเมืองที่ตัวเองอยากกินมาให้
ล่วงหน้า
จบในส่วนของการนำเสนอเรื่องอาหารเพื่อการทำบุญ และเมนูคืนสู่เหย้าเรียบร้อย
สล่าปู่ขอเอาบรรยากาศ การจัดเตรียม เรื่องสถานที่ก่อนถึงวันจริงมาให้ชมสักเล็กน้อย
ขอบคุณที่ติดตามรับชม ฝากไว้สำหรับประเพณีที่ดีงามควรแก่กานช่วยกันอนุรักษ์ไว้
สวัสดีครับ
หมายเหตุ กับข้าวทั้งหมด ผ่านการทำบุญเรียบร้อย ชิมได้ทุกเมนูนะครับ
เชิญชวนเที่ยวงานออกหว่า และดูอาหารคาวหวานทำบุญวันออกพรรษา
ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 19 ตุลาคม
คำว่า ออกหว่า กับ ออกพรรษา มีความหมายเดียวกัน ออกหว่าเป็นคำเรียกคำว่าออกพรรษา
ของชาวไทยใหญ่ ซึ่งในท้องถิ่นที่สล่าปู่อยู่จะมีชุมชนพี่น้องชาวไทยใหญ่อยู่ส่วนหนึ่งและก็ได้
ยึดถือปฏิบัติ ประเพณีออกหว่านี้มาช้านาน ซึ่งจะมีความแตกต่างกับคนพื้นเมืองทั่วไปทางภาคเหนือ
ตามถนนหนทางจะมีการตกแต่งประดับประดา ซุ้มราชวัตร หน้าบ้านของตนเองอย่างสวยงาม
รายละเอียดสามารถดูได้จากลิงค์นี้เลยครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381986100&grpid=02&catid=02
ส่วนของสล่าปู่ ขอพูดถึงเรื่องการจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน เพื่อนำไปทำบุญถวายพระที่วัด และ
นำไปเป็นทานเพื่อขอพร จากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ ซึ่งจากเรียกว่า "ตานแกง ตานขนม"
ก่อนวันพระ 1 วัน ทางเหนือเรียกว่าวันดา หมายถึงวันเตรียมนั่นแหละ แทบทุกบ้านจะมีแกงหลัก ๆ
ที่นิยมทำกันคือแกงฮังเล ส่วนขนมนั้นก็จะเป็นขนมที่คนเหนือเรียกว่า ขนมจ๊อก
ของสล่าปู่ ทำแกงอย่างเดียว ส่วนขนมใช้วิธีสั่งเอา ปีนี้แกงฮังเลหม้อเล็ก ๆ 2 ก.ก. แค่พอไปทำบุญ
ดูโฉมแกงฮังเลเจ้าเก่า เจ้าเดิม สล่าปู่
สล่าปู่พยายามจะถามตัวเอง เราแก่หรือเปล่า เราเป็นผู้เฒ่าผู้แก่แล้วหรือไง หลักฐานมันฟ้องว่าเป็นอย่างนั้น
วันนี้ ลูกหลาน เอาอาหารคาวหวานมาทำบุญขอพร ซึ่งจะขออนุญาตพื้นที่ตรงนี้บันทึกไว้ และเพื่อบอกกล่าว
ว่าเขาทำบุญกันอย่างนี้ มันเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมายาวนานแล้ว
เจ้าเดียว มาแบบชุดใหญ่เลย มาจากครอบครัวที่ลูกหลานเยอะมาจากทั่วสารทิศ กับข้าวเลยเยอะ สล่าปู่
ก็เลยได้รับ ตานแกง ตานขนมเยอะไปด้วย
มาเป็นชุดใหญ่เต็มตระกร้าเลย
มีอะไรบ้าง
ขนมจ๊อก ข้าวต้มมัด
แกงอ่อมหมู
ไส้อั่ว
ลาบหมูคั่ว
ไส้หวาน หัวใจ ทอดกรอบ
กับข้าวทั้งหมด ถ้าเป็นครอบครัวใหญ่ และลูกหลานไปอยู่ต่างที่ต่างถิ่น จะถือว่าเป็น
เมนูคืนสู่เหย้าไปในตัว โดยลูกหลานจะออร์เดอร์ กับข้าวเมืองที่ตัวเองอยากกินมาให้
ล่วงหน้า
จบในส่วนของการนำเสนอเรื่องอาหารเพื่อการทำบุญ และเมนูคืนสู่เหย้าเรียบร้อย
สล่าปู่ขอเอาบรรยากาศ การจัดเตรียม เรื่องสถานที่ก่อนถึงวันจริงมาให้ชมสักเล็กน้อย
ขอบคุณที่ติดตามรับชม ฝากไว้สำหรับประเพณีที่ดีงามควรแก่กานช่วยกันอนุรักษ์ไว้
สวัสดีครับ
หมายเหตุ กับข้าวทั้งหมด ผ่านการทำบุญเรียบร้อย ชิมได้ทุกเมนูนะครับ