updated: 17 ต.ค. 2556 เวลา 11:38:17 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อีกไม่ถึง 40 วัน คนการเมือง จำนวน 109 คนกำลังจะได้รับอิสรภาพ-กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งสมาชิกบ้านเลขที่ 109 ผู้ถูกพันธการเว้นวรรคทางการเมืองเมื่อ 5 ปีก่อน หลายคนยังปูเส้นทางกลับคืนสู่แสงไฟ ขณะอีกหลายคนยังคงเลือกที่จะหลบฉาก-เลิกเล่นการเมืองตลอดชีวิต
"น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชาชน อาจเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เลือกอยู่เบื้องหลังมากกว่าเบื้องหน้า
กว่า 5 ปีที่ถูกเว้นวรรค "น.พ.สุรพงษ์" มิได้แสวงอำนาจเหมือนคนอื่น ๆ กลับปลีกวิเวกเข้าวัด ปฏิบัติธรรม พร้อมนำเสนอโครงการทำนุบำรุงพุทธศาสนามากมาย
"น.พ.สุรพงษ์" ตอบปัญหาการเมืองตามที่ "ประชาชาติธุรกิจ" ร้องขอ เขาตอบแบบทางสายกลางตามวิถีพุทธ ไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งแนะวิธีบริหารการเมือง-เศรษฐกิจให้พรรคเพื่อไทย และชี้ช่องปฏิรูปให้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
เส้นทางสายกลางของทั้ง 2 พรรคใหญ่ควรเป็นอย่างไร โปรดติดตาม
- ทำไมถึงเลือกใช้ชีวิตแบบหันเข้าวัด
ทำบุญ เดินสายทำบุญ ชีวิตมันมีความสุขนะ ถ้าเทียบกับสมัยชีวิตปี 2544-2551 ชีวิตอย่างนั้นเป็นชีวิตที่...มันสูญเสียความเป็นส่วนตัว แล้วเรากำหนดตารางของชีวิตไม่ได้ แต่ละวันบอกไม่ได้เลยว่าวันหยุด
เราจะไปไหน และไปแบบไม่เป็นสุขหรอก มันเป็นชีวิตที่...อาจสนุกกับการทำงาน แต่ในเรื่องความเป็นส่วนตัวอะไรหลายอย่างรัดกุมมากจนเราไม่มีความสงบ
วันนี้ชีวิตสงบกว่าเยอะ เป็นส่วนตัว อยากไปทำบุญ อยากไปช่วยภรรยาทำงานก็ทำได้ อยากไปหาโอกาสเรียนรู้พัฒนาตัวเอง ดูนู่น ดูนี่ เราสามารถทำได้ตลอดเวลา ดังนั้น ใครถามผม ผมบอก...มีความสุขมาก Happy อาจเป็นเพราะเราผ่านมาหมดแล้ว ได้รู้แล้วว่าประสบการณ์ของการอยู่ในตำแหน่งเป็นอย่างไร สุดท้ายพวกนี้มันก็ไม่ได้ทำให้เรามีรู้สึกว่าเราสุขหรอก
- เรียกได้ว่าไม่กลับมาเล่นการเมืองแล้ว
ตอนปี 2544 ผมอายุ 44 ปี ตอนนี้อายุ 56 ปี ระยะเวลา 12 ปีมันทำให้เรื่องของสังขารไม่เหมือนเดิมหรอก ไม่ Fresh เท่าเดิม ร่างกายมันล้า ต้องใช้คนที่มีพลังในการผลักดันงาน ยกตัวอย่าง ท่านชัชชาติ (สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม) อยู่ในวัยที่มีพลัง เราอาจแนะนำได้เป็นที่ปรึกษาได้
- 8 ปีบนชีวิตการเมืองถือว่าพอแล้ว
พูดไว้นานแล้วและยังคิดอย่างนั้น เพราะผมรู้สึกว่าถ้าทุกคนตั้งเป้าหมาย ตั้งเวลาของเราไว้ชัดเจน และใช้เวลาที่เราตั้งไว้นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุ่มสุดตัว 8 ปี ของผมทุ่มสุดตัว หลังจากนั้นก็เป็นเวลาที่เราทำอย่างอื่น ไปทำบุญไปเรียนรู้โลก
- ชัด ๆ เลยคือรีไทร์ทางการเมือง
ผมเคยบอกกับทุกคนอยู่แล้ว ถ้าเป็นการเมืองในรูปลักษณ์เดิม ผมว่าไม่สอดคล้องกับสภาพของตัวเราในปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นการเมืองในสภาพที่ปรึกษา อย่างไรก็เกี่ยวข้องกับเราแน่ ผมก็อยากให้การเมืองเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ผมอยากเห็น ประเทศมีประชาธิปไตย มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีโอกาสที่ทำให้ทุก ๆ คนได้โอกาสนั้นอย่างเท่าเทียม ถ้าส่วนหนึ่งต้องใช้ประสบการณ์ผมก็โอเค...ยินดีทำ
- มองว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อสมาชิกบ้านเลขที่ 109 กำลังจะกลับมา
ก็คงเหมือนบ้านเลขที่ 111 คือ มีส่วนหนึ่งที่มาช่วยทำงาน ส่วนหนึ่งก็เป็นที่ปรึกษา ไม่จำเป็น 111 หรือ 109 พ้นจากการถูกตัดสิทธิจะต้องกลับมาทำงาน แล้วท่านที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันต้องออกไปเลยคงไม่ใช่ บางคนที่เขาทำงานได้ดีก็ควรส่งเสริมให้เขาทำงานต่อไป พวก 111 และ 109 สามารถอยู่ในบทบาทให้คำปรึกษา สนับสนุน อยู่เบื้องหลังก็ได้
- พรรคเพื่อไทยอาจพบศึกชิงเก้าอี้รัฐมนตรีจนฝุ่นตลบอีกครั้ง
ไม่มากมั้ง เพราะหลายท่านมาถึงจุดที่ตำแหน่งไม่ใช่เรื่องสำคัญอย่างท่านสมชาย (วงศ์สวัสดิ์) ที่ให้สัมภาษณ์ก็บอกว่าตำแหน่งไม่ใช่เรื่องสำคัญเลย ถามว่าจำเป็นไหมจะต้องไขว่คว้าทำอะไรก็ได้เพื่อให้ได้ไปอยู่ตรงนั้นอีกหรือเปล่า ผมว่าอาจจะไม่จำเป็น
ก็อย่างที่เรียนว่าไม่ทุกคนหรอกที่ดิ้นรนต้องหาตำแหน่ง คือ...ยิ่งพอมาเห็นยุคนี้ เห็นการเมืองแบบนี้ เราก็ยิ่งเข้าใจว่าเรื่องตำแหน่งมันเป็นเรื่องเล็กมาก ถ้าเปรียบเทียบกับปัญหาของบ้านเมือง
- มองสถานการณ์การเมืองช่วงนี้อย่างไร
เป็นการเมืองหลัง 19 กันยา ที่ปัญหายังคงยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน เหมือนกับยังไม่เห็นแสงสว่างชัดเจน ความพยายามปฏิรูปการเมืองของท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายามทำอยู่ ก็เป็นความตั้งใจดีที่อยากเห็นการปฏิรูปที่นำไปสู่การนำประเทศกลับมาสู่หนทางที่ควรจะเป็นอีกครั้ง แต่ต้องยอมรับว่ามันไม่ง่ายหรอก
ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ ณ วันนี้ เชื่อว่าทุกคนเบื่อความขัดแย้ง ทุกคนอยากให้ถึงบทสรุปที่เรากลับไปสู่ทิศทางการเมืองที่ถูกต้อง ดังนั้น เราจะเห็นพวกม็อบอาจไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน เพราะคนรู้สึกว่าเบื่อหน่ายแล้ว
ส่วนพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคคือ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กับพรรคเพื่อไทย ต้องยอมรับว่าลักษณะความนิยมของ ปชป.ลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ วิเคราะห์กันได้ว่า เพราะ ปชป.ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูปตัวเองเพื่อแข่งขันในยุคของการแข่งขันในการเมืองแบบใหม่ได้
ถ้าเราดูประสบการณ์ในประเทศอื่น ๆ เช่น อังกฤษคิดว่าเป็นบทเรียนที่สอนว่าเราอยากเห็นการเมืองที่มีการแข่งขันกันในการนำเสนอนโยบาย เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก
สมัยมาร์กาเรต แทตเชอร์ ครองอำนาจเป็นทศวรรษ คนคงนึกไม่ออกว่าพรรคเลเบอร์จะสู้อะไรได้ แต่ที่พรรคเลเบอร์สามารถชนะในยุคของโทนี่ แบลร์ เพราะมีการปฏิรูปพรรคอย่างจริงจัง เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เริ่มเข้ามานำพรรค และนำเสนอประเด็นที่โดนใจประชาชนอังกฤษคือเรื่องการศึกษา สุดท้ายเขาอยู่ในตำแหน่ง 2 สมัย
ถ้าวันนี้ ปชป.จะแข่งกับพรรคเพื่อไทย ก็ต้องเริ่มปฏิรูปจริง ๆ ที่สำคัญประการแรกคือ ต้องมีผู้นำคนใหม่ ต้องยอมรับว่าท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีปัญหาหลายอย่าง และสำคัญที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยไม่ยอมรับท่าน ก็คือปัญหาพฤษภาคม 2553 ที่ทำให้คนรู้สึกว่ารับไม่ได้
ดังนั้น ปชป.จะปฏิรูปก็ต้องทำอย่างจริงจังในเรื่องนโยบาย วันนี้หลายคนเห็นความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดหวังจากพรรคการเมืองที่มาแก้ไขปัญหาประเทศมี 3 เรื่อง 1.เศรษฐกิจมีปัญหาพอสมควรจากผลกระทบหลายอย่าง 2.การศึกษาทุกคนรู้สึกว่ามันถึงจุดที่ไม่มีการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง และ 3.คอร์รัปชั่น วันนี้ทุกคนพูดกันอย่างจริงจังมาก แต่ Solution (ทางแก้) คืออะไร ทุกคนอยากเห็น Solution ที่ชัดเจน ทุกวันนี้ที่ทำให้ผมคิดว่ามันไม่จริง มันยังมีสองมาตรฐานอยู่
เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทยได้รับอานิสงส์จากฝ่ายค้านไม่เข้มแข็ง พรรคเพื่อไทยอาจจะไม่มีการสปีดตัวเองในการพัฒนา คนอยากเห็นพรรคสปีดตัวเองให้เร็วกว่านี้ สมมติถ้าเกิด 2 พรรคไม่ปฏิรูปเลย อาจมีคนพูดถึงทางเลือกที่ 3 ซึ่งมีคนพูดมากขึ้นเรื่อย ๆ
- พรรคเพื่อไทยควรปฏิรูปอะไร
ถ้าพูดในสิ่งที่เราอยากเห็น จริง ๆ ในพรรคไทยรักไทยตอนปี 2548-2549 อยากจะสร้างพรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองแท้จริง มีระบบโครงสร้างชัดเจน มีการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ นโยบาย ในลักษณะองค์กร ตอนนั้นมีการพูดถึง Primary Vote จะทำอย่างไรให้มีสมาชิกแต่ละที่มีส่วนร่วม วันนี้ต้องยอมรับว่าตรงนั้นยังไม่เกิดก็ควรต้องทำ หรือการเลือกคนดี ๆ เข้ามาช่วยทำงานกรองที่เห็นการเปิดโอกาสให้มากขึ้นกว่านี้
- ปฏิรูปการเมืองด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นทางออกความขัดแย้ง
ถามว่ามันเป็นทางออกของความขัดแย้งหรือเปล่า...ไม่ เพราะความขัดแย้งในวันนี้มันเกินเลยจาก 3 มาตรานี้ไปแล้ว ต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีหลายอย่างต้องแก้ไข ที่ถูกคือควรร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาด้วยซ้ำไป จนวันนี้ใช้มา 6 ปีแล้ว เราได้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว
ถ้าเราจะทำรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดสำหรับปัจจุบันและเป็นที่ยอมรับ การร่างขึ้นมาใหม่น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุด แต่ตรงนั้นยังคาอยู่ในวาระ 3 ยังไปต่อไม่ได้ มันก็เหมือนกับระหว่างนี้ถ้ายังให้ยารักษาตามอาการไม่ได้ ก็ให้ยาบรรเทาไปก่อนแล้วกัน
- มอง 2 ปีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างไร
หลายอย่างก็สอดคล้องกับสภาพปัญหา ณ เวลานั้น แต่นายกฯยิ่งลักษณ์เข้ามาในช่วงที่ความขัดแย้งขึ้นสู่กระแสสูง เพราะฉะนั้น บุคลิกของนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่เป็นผู้ที่อดทนรับฟังความคิดเห็น อดทน และไม่โต้ตอบ ก็เป็นบุคลิกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
แต่ 2 ปีหลังจากนี้ ถ้าไม่มีอุบัติเหตุทางการเมืองเสียก่อน คนคาดหวังว่ารัฐบาลจะต้องทำอะไร ไม่เพียงแต่ช่วยทำให้สถานการณ์แต่จะต้องวางรากฐานการพัฒนาทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจกับการศึกษา จะต้องเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น เรื่องเศรษฐกิจระยะสั้นที่มันชะลอตัว ซึ่งวันนี้ต้องยอมรับ ถ้าเรายังไม่ยอมรับว่าเศรษฐกิจยังไม่ชะลอตัว...มันไม่ได้ เริ่มต้นต่อได้แล้วว่าเศรษฐกิจเรามีปัญหา เพราะฉะนั้น ระยะสั้นต้องทำอะไร มันต้องทำ ต้องมีอะไรบางอย่างที่ทำออกมาเพื่อให้มันไม่เกิดความรู้สึกว่าสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สูญเสียความเชื่อมั่นของนักลงทุน จึงต้องมีบางอย่างที่ทำ ผมเชื่อว่ามันทำได้ แล้วแง่ระยะยาวมันอาจเห็นผลในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เพราะต้องหวังผลตั้งแต่วันนี้ แต่ระยะสั้นไม่ทำไม่ได้ ต้องทำ
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
ติดต่อประชาชาติฯออนไลน์
prachachat.net@gmail.com
"หมอเลี๊ยบ" เช็กจุดอ่อนเพื่อไทย วัดไข้ปฏิรูป "ประชาธิปัตย์""ถ้าอยากชนะต้องเปลี่ยนตัวผู้นำ"...เค้าหมายถึง"หนีทหาร"นั่นเอง
updated: 17 ต.ค. 2556 เวลา 11:38:17 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อีกไม่ถึง 40 วัน คนการเมือง จำนวน 109 คนกำลังจะได้รับอิสรภาพ-กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งสมาชิกบ้านเลขที่ 109 ผู้ถูกพันธการเว้นวรรคทางการเมืองเมื่อ 5 ปีก่อน หลายคนยังปูเส้นทางกลับคืนสู่แสงไฟ ขณะอีกหลายคนยังคงเลือกที่จะหลบฉาก-เลิกเล่นการเมืองตลอดชีวิต
"น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชาชน อาจเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เลือกอยู่เบื้องหลังมากกว่าเบื้องหน้า
กว่า 5 ปีที่ถูกเว้นวรรค "น.พ.สุรพงษ์" มิได้แสวงอำนาจเหมือนคนอื่น ๆ กลับปลีกวิเวกเข้าวัด ปฏิบัติธรรม พร้อมนำเสนอโครงการทำนุบำรุงพุทธศาสนามากมาย
"น.พ.สุรพงษ์" ตอบปัญหาการเมืองตามที่ "ประชาชาติธุรกิจ" ร้องขอ เขาตอบแบบทางสายกลางตามวิถีพุทธ ไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งแนะวิธีบริหารการเมือง-เศรษฐกิจให้พรรคเพื่อไทย และชี้ช่องปฏิรูปให้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
เส้นทางสายกลางของทั้ง 2 พรรคใหญ่ควรเป็นอย่างไร โปรดติดตาม
- ทำไมถึงเลือกใช้ชีวิตแบบหันเข้าวัด
ทำบุญ เดินสายทำบุญ ชีวิตมันมีความสุขนะ ถ้าเทียบกับสมัยชีวิตปี 2544-2551 ชีวิตอย่างนั้นเป็นชีวิตที่...มันสูญเสียความเป็นส่วนตัว แล้วเรากำหนดตารางของชีวิตไม่ได้ แต่ละวันบอกไม่ได้เลยว่าวันหยุด
เราจะไปไหน และไปแบบไม่เป็นสุขหรอก มันเป็นชีวิตที่...อาจสนุกกับการทำงาน แต่ในเรื่องความเป็นส่วนตัวอะไรหลายอย่างรัดกุมมากจนเราไม่มีความสงบ
วันนี้ชีวิตสงบกว่าเยอะ เป็นส่วนตัว อยากไปทำบุญ อยากไปช่วยภรรยาทำงานก็ทำได้ อยากไปหาโอกาสเรียนรู้พัฒนาตัวเอง ดูนู่น ดูนี่ เราสามารถทำได้ตลอดเวลา ดังนั้น ใครถามผม ผมบอก...มีความสุขมาก Happy อาจเป็นเพราะเราผ่านมาหมดแล้ว ได้รู้แล้วว่าประสบการณ์ของการอยู่ในตำแหน่งเป็นอย่างไร สุดท้ายพวกนี้มันก็ไม่ได้ทำให้เรามีรู้สึกว่าเราสุขหรอก
- เรียกได้ว่าไม่กลับมาเล่นการเมืองแล้ว
ตอนปี 2544 ผมอายุ 44 ปี ตอนนี้อายุ 56 ปี ระยะเวลา 12 ปีมันทำให้เรื่องของสังขารไม่เหมือนเดิมหรอก ไม่ Fresh เท่าเดิม ร่างกายมันล้า ต้องใช้คนที่มีพลังในการผลักดันงาน ยกตัวอย่าง ท่านชัชชาติ (สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม) อยู่ในวัยที่มีพลัง เราอาจแนะนำได้เป็นที่ปรึกษาได้
- 8 ปีบนชีวิตการเมืองถือว่าพอแล้ว
พูดไว้นานแล้วและยังคิดอย่างนั้น เพราะผมรู้สึกว่าถ้าทุกคนตั้งเป้าหมาย ตั้งเวลาของเราไว้ชัดเจน และใช้เวลาที่เราตั้งไว้นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุ่มสุดตัว 8 ปี ของผมทุ่มสุดตัว หลังจากนั้นก็เป็นเวลาที่เราทำอย่างอื่น ไปทำบุญไปเรียนรู้โลก
- ชัด ๆ เลยคือรีไทร์ทางการเมือง
ผมเคยบอกกับทุกคนอยู่แล้ว ถ้าเป็นการเมืองในรูปลักษณ์เดิม ผมว่าไม่สอดคล้องกับสภาพของตัวเราในปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นการเมืองในสภาพที่ปรึกษา อย่างไรก็เกี่ยวข้องกับเราแน่ ผมก็อยากให้การเมืองเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ผมอยากเห็น ประเทศมีประชาธิปไตย มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีโอกาสที่ทำให้ทุก ๆ คนได้โอกาสนั้นอย่างเท่าเทียม ถ้าส่วนหนึ่งต้องใช้ประสบการณ์ผมก็โอเค...ยินดีทำ
- มองว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อสมาชิกบ้านเลขที่ 109 กำลังจะกลับมา
ก็คงเหมือนบ้านเลขที่ 111 คือ มีส่วนหนึ่งที่มาช่วยทำงาน ส่วนหนึ่งก็เป็นที่ปรึกษา ไม่จำเป็น 111 หรือ 109 พ้นจากการถูกตัดสิทธิจะต้องกลับมาทำงาน แล้วท่านที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันต้องออกไปเลยคงไม่ใช่ บางคนที่เขาทำงานได้ดีก็ควรส่งเสริมให้เขาทำงานต่อไป พวก 111 และ 109 สามารถอยู่ในบทบาทให้คำปรึกษา สนับสนุน อยู่เบื้องหลังก็ได้
- พรรคเพื่อไทยอาจพบศึกชิงเก้าอี้รัฐมนตรีจนฝุ่นตลบอีกครั้ง
ไม่มากมั้ง เพราะหลายท่านมาถึงจุดที่ตำแหน่งไม่ใช่เรื่องสำคัญอย่างท่านสมชาย (วงศ์สวัสดิ์) ที่ให้สัมภาษณ์ก็บอกว่าตำแหน่งไม่ใช่เรื่องสำคัญเลย ถามว่าจำเป็นไหมจะต้องไขว่คว้าทำอะไรก็ได้เพื่อให้ได้ไปอยู่ตรงนั้นอีกหรือเปล่า ผมว่าอาจจะไม่จำเป็น
ก็อย่างที่เรียนว่าไม่ทุกคนหรอกที่ดิ้นรนต้องหาตำแหน่ง คือ...ยิ่งพอมาเห็นยุคนี้ เห็นการเมืองแบบนี้ เราก็ยิ่งเข้าใจว่าเรื่องตำแหน่งมันเป็นเรื่องเล็กมาก ถ้าเปรียบเทียบกับปัญหาของบ้านเมือง
- มองสถานการณ์การเมืองช่วงนี้อย่างไร
เป็นการเมืองหลัง 19 กันยา ที่ปัญหายังคงยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน เหมือนกับยังไม่เห็นแสงสว่างชัดเจน ความพยายามปฏิรูปการเมืองของท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายามทำอยู่ ก็เป็นความตั้งใจดีที่อยากเห็นการปฏิรูปที่นำไปสู่การนำประเทศกลับมาสู่หนทางที่ควรจะเป็นอีกครั้ง แต่ต้องยอมรับว่ามันไม่ง่ายหรอก
ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ ณ วันนี้ เชื่อว่าทุกคนเบื่อความขัดแย้ง ทุกคนอยากให้ถึงบทสรุปที่เรากลับไปสู่ทิศทางการเมืองที่ถูกต้อง ดังนั้น เราจะเห็นพวกม็อบอาจไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน เพราะคนรู้สึกว่าเบื่อหน่ายแล้ว
ส่วนพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคคือ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กับพรรคเพื่อไทย ต้องยอมรับว่าลักษณะความนิยมของ ปชป.ลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ วิเคราะห์กันได้ว่า เพราะ ปชป.ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูปตัวเองเพื่อแข่งขันในยุคของการแข่งขันในการเมืองแบบใหม่ได้
ถ้าเราดูประสบการณ์ในประเทศอื่น ๆ เช่น อังกฤษคิดว่าเป็นบทเรียนที่สอนว่าเราอยากเห็นการเมืองที่มีการแข่งขันกันในการนำเสนอนโยบาย เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก
สมัยมาร์กาเรต แทตเชอร์ ครองอำนาจเป็นทศวรรษ คนคงนึกไม่ออกว่าพรรคเลเบอร์จะสู้อะไรได้ แต่ที่พรรคเลเบอร์สามารถชนะในยุคของโทนี่ แบลร์ เพราะมีการปฏิรูปพรรคอย่างจริงจัง เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เริ่มเข้ามานำพรรค และนำเสนอประเด็นที่โดนใจประชาชนอังกฤษคือเรื่องการศึกษา สุดท้ายเขาอยู่ในตำแหน่ง 2 สมัย
ถ้าวันนี้ ปชป.จะแข่งกับพรรคเพื่อไทย ก็ต้องเริ่มปฏิรูปจริง ๆ ที่สำคัญประการแรกคือ ต้องมีผู้นำคนใหม่ ต้องยอมรับว่าท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีปัญหาหลายอย่าง และสำคัญที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยไม่ยอมรับท่าน ก็คือปัญหาพฤษภาคม 2553 ที่ทำให้คนรู้สึกว่ารับไม่ได้
ดังนั้น ปชป.จะปฏิรูปก็ต้องทำอย่างจริงจังในเรื่องนโยบาย วันนี้หลายคนเห็นความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดหวังจากพรรคการเมืองที่มาแก้ไขปัญหาประเทศมี 3 เรื่อง 1.เศรษฐกิจมีปัญหาพอสมควรจากผลกระทบหลายอย่าง 2.การศึกษาทุกคนรู้สึกว่ามันถึงจุดที่ไม่มีการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง และ 3.คอร์รัปชั่น วันนี้ทุกคนพูดกันอย่างจริงจังมาก แต่ Solution (ทางแก้) คืออะไร ทุกคนอยากเห็น Solution ที่ชัดเจน ทุกวันนี้ที่ทำให้ผมคิดว่ามันไม่จริง มันยังมีสองมาตรฐานอยู่
เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทยได้รับอานิสงส์จากฝ่ายค้านไม่เข้มแข็ง พรรคเพื่อไทยอาจจะไม่มีการสปีดตัวเองในการพัฒนา คนอยากเห็นพรรคสปีดตัวเองให้เร็วกว่านี้ สมมติถ้าเกิด 2 พรรคไม่ปฏิรูปเลย อาจมีคนพูดถึงทางเลือกที่ 3 ซึ่งมีคนพูดมากขึ้นเรื่อย ๆ
- พรรคเพื่อไทยควรปฏิรูปอะไร
ถ้าพูดในสิ่งที่เราอยากเห็น จริง ๆ ในพรรคไทยรักไทยตอนปี 2548-2549 อยากจะสร้างพรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองแท้จริง มีระบบโครงสร้างชัดเจน มีการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ นโยบาย ในลักษณะองค์กร ตอนนั้นมีการพูดถึง Primary Vote จะทำอย่างไรให้มีสมาชิกแต่ละที่มีส่วนร่วม วันนี้ต้องยอมรับว่าตรงนั้นยังไม่เกิดก็ควรต้องทำ หรือการเลือกคนดี ๆ เข้ามาช่วยทำงานกรองที่เห็นการเปิดโอกาสให้มากขึ้นกว่านี้
- ปฏิรูปการเมืองด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นทางออกความขัดแย้ง
ถามว่ามันเป็นทางออกของความขัดแย้งหรือเปล่า...ไม่ เพราะความขัดแย้งในวันนี้มันเกินเลยจาก 3 มาตรานี้ไปแล้ว ต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีหลายอย่างต้องแก้ไข ที่ถูกคือควรร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาด้วยซ้ำไป จนวันนี้ใช้มา 6 ปีแล้ว เราได้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว
ถ้าเราจะทำรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดสำหรับปัจจุบันและเป็นที่ยอมรับ การร่างขึ้นมาใหม่น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุด แต่ตรงนั้นยังคาอยู่ในวาระ 3 ยังไปต่อไม่ได้ มันก็เหมือนกับระหว่างนี้ถ้ายังให้ยารักษาตามอาการไม่ได้ ก็ให้ยาบรรเทาไปก่อนแล้วกัน
- มอง 2 ปีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างไร
หลายอย่างก็สอดคล้องกับสภาพปัญหา ณ เวลานั้น แต่นายกฯยิ่งลักษณ์เข้ามาในช่วงที่ความขัดแย้งขึ้นสู่กระแสสูง เพราะฉะนั้น บุคลิกของนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่เป็นผู้ที่อดทนรับฟังความคิดเห็น อดทน และไม่โต้ตอบ ก็เป็นบุคลิกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
แต่ 2 ปีหลังจากนี้ ถ้าไม่มีอุบัติเหตุทางการเมืองเสียก่อน คนคาดหวังว่ารัฐบาลจะต้องทำอะไร ไม่เพียงแต่ช่วยทำให้สถานการณ์แต่จะต้องวางรากฐานการพัฒนาทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจกับการศึกษา จะต้องเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น เรื่องเศรษฐกิจระยะสั้นที่มันชะลอตัว ซึ่งวันนี้ต้องยอมรับ ถ้าเรายังไม่ยอมรับว่าเศรษฐกิจยังไม่ชะลอตัว...มันไม่ได้ เริ่มต้นต่อได้แล้วว่าเศรษฐกิจเรามีปัญหา เพราะฉะนั้น ระยะสั้นต้องทำอะไร มันต้องทำ ต้องมีอะไรบางอย่างที่ทำออกมาเพื่อให้มันไม่เกิดความรู้สึกว่าสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สูญเสียความเชื่อมั่นของนักลงทุน จึงต้องมีบางอย่างที่ทำ ผมเชื่อว่ามันทำได้ แล้วแง่ระยะยาวมันอาจเห็นผลในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เพราะต้องหวังผลตั้งแต่วันนี้ แต่ระยะสั้นไม่ทำไม่ได้ ต้องทำ
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
ติดต่อประชาชาติฯออนไลน์
prachachat.net@gmail.com