สวทช. จุฬาฯ ม.เทคโนโลยีสุรนารี จับมือ CERN เข้าร่วมเครือข่ายวิจัยฟิสิกส์ระดับโลกเป็นแห่งแรกในอาเซียน

"ยกระดับการวิจัยฟิสิกส์ไทย สวทช. จุฬาฯ ม.เทคโนโลยีสุรนารี จับมือ CERN เข้าร่วมเครือข่ายวิจัยฟิสิกส์ระดับโลกเป็นแห่งแรกในอาเซียน หวังใช้ประสบการณ์มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิจัยประเทศ"




องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (อังกฤษ: European Organization for Nuclear Research; CERN; ฝรั่งเศส: Organisation européenne pour la recherche nucléaire) เรียกโดยทั่วไปว่า "เซิร์น" เป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
เมื่อแรกก่อตั้ง เซิร์น มีชื่อว่า "สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป" หรือ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (European Council for Nuclear Research)ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อ CERN
บทบาทหลักของเซิร์นคือ การจัดเตรียมเครื่องเร่งอนุภาคและโครงสร้างอื่นๆที่จำเป็นต่อการวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเป็นสถานที่ทำการทดลองมากมายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นต้นกำเนิดของเวิลด์ไวด์เว็บ สำนักงานหลักที่เขตเมแร็ง มีศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงมากเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง และเนื่องจากจำเป็นต้องทำให้นักวิจัยในสถานที่อื่นสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ จึงต้องมีฮับสำหรับข่ายงานบริเวณกว้างอีกด้วย


เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider - LHC) ภายในอุโมงค์ใต้ดินรูปวงแหวนขนาดเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ใต้ดินของประเทศฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก




เป้าหมายของเซิร์นคือการเข้าใจในความลับของธรรมชาติ แต่ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ระดับโลกกล่าวว่า นอกเหนือจากเป้าหมายแล้วยังเกิดผลพลอยได้ตามมาจากการศึกษาธรรมชาติอีกมาก เช่น www ที่ใช้กันทั่วโลก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กริด รวมถึงการรักษาทางการแพทย์ด้วยบำบัดทางรังสี
       
       ทั้งนี้ เซิร์นต้องการศึกษาย้อนกลับไปถึงภาวะหลังระเบิดบิกแบง (Big Bang) ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีอุณหภูมิร้อนจัดและอนุภาคมีพลังงานสูง ซึ่งการใช้กล้องโทรทรรศน์สำรวจออกไปยังเอกภพนั้นไม่สามารถเข้าไปไกลเหตุการณ์หลังระเบิดกำเนิดเอกภพได้ แต่สามารถทำได้ด้วยเครื่องเร่งอนุภาค ที่เร่งอนุภาคชนกันเพื่อจำลองสภาพหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โดยปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงเวลาใกล้ที่สุดหลังบิกแบงที่ 10-12 วินาที ด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (LHC) ที่จะเร่งให้อนุภาคมีพลังงานสูงและชนกัน
       
       ศ.ฮอยเออร์ กล่าวว่า ในอดีต เออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ได้ค้นพบโปรตอนในนิวเคลียสอะตอม แต่ปัจจุบันเราทราบว่าโปรตอนยังประกอบขึ้นจากควาร์กและกลูออน ซึ่งตามแบบจำลองมาตรฐานมีอนุภาคมูลฐาน 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ควาร์ก (quark) เลปตอน และอนุภาคที่เป็นสื่อนำแรง แต่มีคำถามว่าอนุภาคเหล่านี้ได้มวลมาจากไหน โดยมีนักวิทยาศาสตร์ 3 คน คือ โรเบิร์ต เบราต์ (Robert Brout) ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี 2011 แฟรงซัวส์ แองแกรต์ (Francois Englert) และ ปีเตอร์ ฮิกกส์ (Peter Higgs) นำเสนอทฤษฎี “อนุภาคฮิกกส์” ที่อธิบายถึงการได้มวลของอนุภาคมูลฐาน


“การมีมวลเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากไม่มีมวลแล้วอนุภาคต่างๆ จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก ทำให้ยากจะก่อตัวเป็นสสาร หรือตัวเรา ถ้าไม่มีฮิกกส์ก็ไม่มีเราทุกวันนี้” ศ.ฮอยเออร์กล่าว








CERN ต้องการศึกษาย้อนกลับไปถึงภาวะหลังระเบิดบิกแบง (BigBang) ในช่วงเวลาสั้นๆที่มีอุณหภูมิร้อนจัดและอนุภาคมีพลังงานสูง






“ผอ.เซิร์น” เยือนไทยสร้างความร่วมมือ “คอมพิวเตอร์กริด” เพื่อร่วมวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลจากการชนกันของอนุภาคในเครื่องเร่ง พร้อมเผยถึงความรู้สึกดีใจต่อรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปีล่าสุด เพราะการทดลองของเซิร์นเป็นสิ่งยืนยันทฤษฎี “อนุภาคฮิกกส์”

ศ.รอล์ฟ-ดีเตอร์ ฮอยเออร์ (Prof.Rolf-Dieter Heuer) ผู้อำนวยการใหญ่องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ (European Center for Nuclear Research) หรือเซิร์น (CERN) เดินทางมาเยือนไทยเพื่อร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาและใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์กริด WLCG (Worldwide LHC Computing Grid)
       
       ทั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างเซิร์นและหน่วยงานของไทยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการลงนามบันทึกความเข้าใจ

พร้อมกันนี้ ศ.ฮอยเออร์ได้บรรยายพิเศษถึงพันธกิจของเซิร์นระหว่างการแถลงข่าวการลงนามดังกล่าว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกล่าวว่าเซิร์นคือห้องปฏิบัติการของโลกและเป็นศูนย์รวมของทุกคน และมีภารกิจอยู่ 3 ด้าน คือ วิจัย สร้างนวัตกรรม และสร้างการศึกษาซึ่งเป็นที่สิ่งทำให้เกิดนวัตกรรม


    
       สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างองค์กรของไทยและเซิร์นครั้งนี้ เป็นความร่วมมือ ซึ่ง สวทช.จะดำเนินการร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และสมาชิกอื่นๆ ในเครือข่าย ติดตั้งและใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ WLCG ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ออกแบบมาเพื่อวิจัยฟิสิกส์อนุภาคโดยเฉพาะ และประกอบด้วยศูนย์คอมพิวเตอร์หลายแห่ง ที่แบ่งการทำงานเป็น 4 ระดับ คือ
       - “ศูนย์ระดับ 0” (Tier 0) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเซิร์นที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการทดลองโดยตรง แล้วส่งต่อไปยัง
       - “ศูนย์ระดับ 1” (Tier 1) ที่มี 11 แห่งใน 10 ประเทศ
       - และ “ศูนย์ระดับ 2” (Tier 2) ที่สำรองข้อมูลจากศูนย์ระดับ 1 เพื่อใช้งานในภูมิภาคต่างๆ 140 แห่งใน 40 ประเทศ
       - สุดท้ายคือ “ศูนย์ระดับ 3” (Tier 3) ซึ่งเป็นศูนย์สำหรับใช้งานภายในแต่ละหน่วยงาน
       
       สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ จุฬาฯ มทส.และ สวทช.จะร่วมกันดำเนินศูนย์ระดับสองจำนวน 3 ศูนย์ โดยติดตั้งที่ สวทช. 2 ศูนย์ และ มทส.อีก 1 ศูนย์ โดยไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนทีได้เข้าร่วมในเครือข่าย WLCG
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่