• ๑๗-๑๐-๕๖.
หลักฐานที่กล่าวถึง**นั้น ปรากฏอยู่ใน
หนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๓ ภาค ๖ พ.ศ. ๒๔๕๘ กล่าวว่า...
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงมีพระปรารภว่า การแสดงความเคารพเป็นธรรมเนียมอันดี ภิกษุรู้จักทำให้สมควรแก่ตน แก่ท่าน แก่กาลเทศะ จัดว่าเป็น
ปริสัญญู ~ ผู้รู้จักบริษัท อาจยังความเลื่อมใสของบริษัทให้เกิดเป็นเกียรติของพระพุทธศาสนา.
จึงทรงวางระเบียบไว้เพื่อเป็นทางสำเนียกของภิกษุทั้งหลาย ให้ชื่อว่า "
ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ" ความในระเบียบสรุปได้ดังนี้
:-
การแสดงความเคารพในภาษาบาลีมี ๔ อย่าง คือ :-
อภิวาท หรือ วันทนะ คือกราบหรือไหว้
อุฏฐานะ คือลุกยืน
อัญชลีกรรม คือประนมมือ
และ สามีจิกรรม คือแสดงอัชฌาศัย.
อภิวาท หรือ วันทนะ ในบาลีพระสูตรไม่ได้กล่าวถึงท่าทางไว้ว่าทำอย่างไร มีแต่เพียงว่า แรกมาถึงทำก่อนนั่ง เมื่อกลับลุกจากที่นั่งก่อนจึงทำ และยังได้กล่าวว่า หมายถึงการหมอบฟุบแทบเท้าด้วย ฉะนั้นอภิวาทน่าจะได้แก่ยืนไหว้ ใช้เป็นการไหว้อย่างสูงได้เช่นเดียวกับการถวายบังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในกาลก่อนข้าราชการนั่งคุกเข่าท่าพรหม* ประนมมือยกขึ้นเหนือศีรษะสามคาบ หรือแสดงเคารพแก่เจ้านายใช้หมอบกราบ คือ หมอบลงประนมมือก้มศีรษะลงบนคาบเดียว
ในบาลีพระวินัยระบุว่า
วันทนะ หมายถึง กราบ เช่นกล่าวว่าให้วันทนะเท้าภิกษุทั้งหลาย
ฉะนั้น คำว่า อภิวาท และวันทนะ สองศัพท์นี้หมายถึง กราบก็ได้ ไหว้ก็ได้
โดยให้ทำแก่ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า และพระเถระผู้ใหญ่
อย่างเช่น ในเวลาไปหาท่านผู้ใหญ่ในสถานที่ใช้นั่งบนพื้น ควรใช้กราบสามหนด้วยเบญจางคประดิษฐ์คือจรดหน้าผาก ฝ่ามือทั้งสองและเข่าลงที่พื้น หรือใช้หมอบกราบฟุบแทบเท้า
แสดงอาการอย่างทำแก่เจ้านายไม่ใช้ทำในทางพระก็ได้ ดูไม่ขัดตา.
ถ้าเข้าหาท่านในสถานที่ใช้นั่งเก้าอี้ ควรใช้ยืนไหว้ ประนมมือยกขึ้นเหนือศีรษะหรือพอเสมอหน้า โดยฐานานุรูปของท่าน เป็นที่เคารพพอประมาณ ยกเสมอหน้า ก้มศีรษะลงน้อยหนึ่ง ทำคาบเดียว
อนึ่ง อภิวาทนี้ไม่ควรทำในบ้านและตามทางนอกอาราม ไม่ควรทำเมื่อห่มจีวรคลุมสองบ่า และขณะนั่งอยู่ในสำนักท่านผู้ใหญ่กว่า ก็ไม่ควรทำอภิวาทแก่ท่านผู้อื่น เว้นไว้แต่มีบทให้ทำ เช่น ขมาลงมาโดยลำดับ
อุฏฐานะ คือ ลุกยืน นั้นเป็นธรรมเนียมที่ใช้อยู่ครั้งพุทธกาล แต่ก่อนนี้ในเมืองเราใช้ธรรมเนียมหมอบคลานเป็นการแสดงความเคารพ ยืนไม่เคารพ จึงขัดกันอยู่ทำให้ไม่เข้าใจ
แต่ในปัจจุบันประเพณีเมืองเปลี่ยนใช้ยืนเป็นเคารพ เข้ารอยตรงกันแล้ว.
และการลุกยืนนี้ ควรใช้เมื่อเห็นพระเถระผู้ใหญ่กว่า มาในที่ไม่ได้ใช้นั่งบนพื้น โดยการยืนตรงตัวหันหน้าไปทางท่าน ท่านยังไม่นั่งลงเพียงใด อย่าเพิ่งนั่งลงเพียงนั้น ต่อท่านนั่งลงแล้ว จึงนั่งได้.
ในขณะเวลานั่งเข้าแถวหรือเข้าประชุมอยู่ในหมู่สงฆ์บนอาสนสงฆ์ หรือในสถานที่ใช้นั่งบนพื้นเห็นพระผู้ใหญ่กว่ามาไม่ควรลุกยืน หรืออยู่ในสำนักท่านผู้ใหญ่กว่าเห็นท่านผู้อื่นมาก็ไม่ควรลุกยืน.
อัญชลีกรรม คือ ประนมมือ นั้น ยกประนมขึ้นเพียงอกทำแก่ท่านผู้ใหญ่ใช้ได้ทั้งขณะยืนและนั่ง แต่ไม่จำเป็นต้องประนมอยู่ตลอด
ควรทำเวลาฟังคำสั่ง เวลากล่าวคำนมัสการพระสวดมนต์ ทำวินัยกรรม ฟังพระธรรมเทศนา และกิจอื่น ๆ อันควรแก่เคารพ.
แต่ถ้าใช้เพื่อการกราบไหว้ ประสิทธิพรให้ให้เขา ขมาโทษเขา ควรยกมือประนมขึ้นไม่ถึงอก.
อนึ่ง ถ้านับการไหว้เข้าใน อัญชลีกรรม* ด้วยเป็นอัญชลีกรรมอย่างสูง ควรทำเฉพาะแก่ผู้ใหญ่กว่า
และการประนมขึ้นไม่ถึงอก ใช้ทำได้ทั่วไป.
สามีจิกรรม คือ แสดงอัชฌาศัย เช่น เดินหลัง นั่งหลัง ให้ที่นั่ง หลีกทาง ลดร่ม ถอดรองเท้า
เป็นตัวอย่างพึงรู้จักทำแก่ผู้แก่กว่าและอ่อนกว่า โดยสมควรแห่งประเภทแห่งการบางอย่างควรทำแม้แก่คฤหัสถ์ เช่นมีเป็นวัตรของพระภิกษุ ไม่สรวมรองเท้า ไม่กั้นร่มเข้าไปในบ้าน
ในขณะนั่งเข้าแถวหรือนั่งประชุมอยู่ในหมู่สงฆ์ บนอาสนสงฆ์หรือในสถานที่ใช้นั่งบนพื้น เห็นท่านผู้ใหญ่กว่ามา พึงนั่งท่าตรง มีอาการสำรวม ทอดตาดูท่านแสดงมนสิการในท่าน ไม่ควรลุกยืน ไม่ควรอภิวาท
หากเดินไปตามทางพบท่านเข้า พึงหยุดยืนหันหน้าไปทางท่าน
มีอาการสำรวม ทอดตาดูท่าน แสดงมนสิการในท่านอาการเช่นนี้
เป็นปางถวายเนตร
กล่าวว่าสมเด็จพระศาสดาทรงแสดงความเคารพแก่ พระมหาโพธิพฤกษ์ ด้วยอาการอย่างนั้น.
อนึ่ง เมื่อเดินไปตามทางหากกางร่มอยู่พบท่าน พึงหุบลง หรือเบนจากศีรษะโดยฐานานุรูปของท่าน ถ้าสรวมรองท้าพึงถอดออก แต่ถ้าท่านสรวมด้วยก็ไม่จำเป็น และถ้านั่งอยู่ในที่ควรจะลุกให้ พึงลุกขึ้น หากพบพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่เสด็จผ่าน พึงหยุดยืนแสดงอาการถวายเนตร เช่นแสดงแก่พระเถระผู้ใหญ่ดังกล่าวข้างต้น
หากพบผู้อื่นแสดงความเคารพตามทาง ควรแสดงมนสิการตอบโดยยกมือขวาขึ้นหรือเบนร่ม แต่อย่าใช้พยักหน้า
หากไปพบศพ พึงหยุดยืนหรือนั่ง สุดแต่สถานที่ แสดงอาการดุษฎี คือ นิ่ง ทอดตาดูศพ นึกให้ส่วนบุญ หรือนั่งปลงกรรมฐาน.
**************************
ข้อมูลอ้างอิง :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์* ~: การแสดงความเคารพต่อกันของพระภิกษุ, นิตยสารศิลปากร (ก.ย. – ต.ค. ๒๕๔๕).
ก่องแก้ว วีระประจักษ์
ref. @ ๑
. ~ http://www.archives.su.ac.th/senior/sen36/KongKaew.pdf
๒
. ~ http://www.soc.soc.go.th/SLK/showlist3.asp?pagecode=2052&pdate=2001/12/18&pno=1&pagegroup=1
[note
: ๓.]
ท่านอาจารย์... ???
...~... *ไม่ทำ
อย่างที่สอน อย่ามาอ้อนเรียกอาจารย์* @
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ท่านอาจารย์เซนฯ ควรที่จะให้ความรู้ในส่วนของ การถวายความเคารพแก่กันและกันในศาสนกิจ-ศาสนพิธี ด้วย/โดยประเพณี-หลักสากลปฏิบัติแห่งพระสงฆ์ไทย ระหว่างสงฆ์-ระหว่างพระเถระ-พระเณร ฯ
คือ ท่านอาจารย์เซนฯ ควรที่จะให้การอบรมความรู้ส่วนนี้ ต่อผู้คน-หรือ-ศิษย์ร่วมสำนักฯ เพื่อให้พวกเขาได้หนักแน่นแม่นยำในความรู้พื้นฐานด้านคารวะ ฯ เพื่อจะได้ไม่เอาเรื่องแนวนี้มายกอ้างอย่าง เลยเถิด *จนกลายเป็นการเหยียบครูอาจารย์ตนเอง-ด้วยตนเอง-เพื่อ ยกภูมิของตนเอง-เจ้าสำนักตนเอง-กลุ่มพวกตนเอง ไปอย่างปัญญาเขลาเบาความ*
การกราบระหว่างพระสงฆ์ต่อพระสงฆ์-ด้วยเสมอฐานะ / ด้วยอาวุโสทางธรรม-อาวุโสทางอายุสังขาร-พรรษา / การรับไหว้-รับกราบขณะอยู่ในกิริยา นั่ง-ยืน นอน/อาพาธ ใดนั้น สงฆ์ใดๆก็ยังต้องถ้วนถี่และมี กาลเทศะ ตามประเพณีแบบแผนอันมีกำหนดวางไว้เหมาะสมดีแล้ว
และ-อันที่จะมีบุคคล ๑ หรือกลุ่มสำนัก ๑ อ้างอิงยกเรื่อง*กราบ-คารวะ*แนวนี้ขึ้นมาแสดง [เพื่อหวังผลให้เกิดเหตุ ๑ หรือมีผลเป็นประการใดๆขึ้นมา]อย่าง พล่อย-พล่อย นั้น สาธุชนที่เป็น ศาสนิกชน ในทั่วหล้าย่อมจะดูออกว่ากิริยานี้-การนี้ ถ่อย เกินงาน คือเป็นการยกอ้างอิงไว้พิงหลัง-ตั้งม้านั่งบนตั่งแบบหวังผลเกินฐานะแห่งตน-ไม่มองในตน ไม่เห็นเงาหัวตนเองเสียจริงๆ!!!
หากท่านอาจารย์เซนฯ มีเมตตา อบรมพร่ำสอนด้วย ธรรมตามจริง ในข้อคารวะฯ ที่ได้ยกมาสะกิดนี้ ก็ย่อมจักเป็น *ธรรมทาน* อันยิ่งด้วยอานิสงส์ ส่งผลถึงครู-อาจารย์ผู้ล่วงลับโลกไปแล้วได้เป็นอนันต์คุณแห่ง กตัญญุตกรรม คือได้รับกุศลกันทั้ง ๒ ฝ่ายยิ่งกว่าการทำอะไรๆ
ยกอ้างอะไรๆขึ้นมา อย่างเปิ่นเทิ่น-เลินเล่อ เลยเถิด เกินการ เยี่ยงนี้ !!!
๚ ข้าพเจ้าจักประกาศและปกป้องพระเกียรติคุณใน*พุทธธมฺโมวาท*แห่งพระผู้ทรงบริสุทธิ์ด้วย*ตถาคตโพธิสัทธา*ตามที่ปรากฏ ต่อไป ฯ:๛
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.
ทรงครอง วัดบวรนิเวศวิหาร (เจ้าอาวาส ) ลำดับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๓๕ ~ ๒๔๖๔
วัดบวรนิเวศวิหาร : http://www.watbowon.com/Monk/ja/03/
การแสดงความเคารพต่อกันนั้น เป็นธรรมเนียมมีแตกต่างกัน
หากแต่ละฝ่ายพึงทำตามระเบียบของตน ไม่เพิกเฉยเสียก็เป็นใช้ได้. ฯ:๛
~ ฯ :ว: ฯ ~
การแสดงความเคารพต่อกันของพระภิกษุนั้นมีอย่างไรบ้าง**
หลักฐานที่กล่าวถึง**นั้น ปรากฏอยู่ใน หนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๓ ภาค ๖ พ.ศ. ๒๔๕๘ กล่าวว่า...
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงมีพระปรารภว่า การแสดงความเคารพเป็นธรรมเนียมอันดี ภิกษุรู้จักทำให้สมควรแก่ตน แก่ท่าน แก่กาลเทศะ จัดว่าเป็น ปริสัญญู ~ ผู้รู้จักบริษัท อาจยังความเลื่อมใสของบริษัทให้เกิดเป็นเกียรติของพระพุทธศาสนา.
จึงทรงวางระเบียบไว้เพื่อเป็นทางสำเนียกของภิกษุทั้งหลาย ให้ชื่อว่า "ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ" ความในระเบียบสรุปได้ดังนี้ :-
การแสดงความเคารพในภาษาบาลีมี ๔ อย่าง คือ :-
อภิวาท หรือ วันทนะ คือกราบหรือไหว้
อุฏฐานะ คือลุกยืน
อัญชลีกรรม คือประนมมือ
และ สามีจิกรรม คือแสดงอัชฌาศัย.
อภิวาท หรือ วันทนะ ในบาลีพระสูตรไม่ได้กล่าวถึงท่าทางไว้ว่าทำอย่างไร มีแต่เพียงว่า แรกมาถึงทำก่อนนั่ง เมื่อกลับลุกจากที่นั่งก่อนจึงทำ และยังได้กล่าวว่า หมายถึงการหมอบฟุบแทบเท้าด้วย ฉะนั้นอภิวาทน่าจะได้แก่ยืนไหว้ ใช้เป็นการไหว้อย่างสูงได้เช่นเดียวกับการถวายบังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในกาลก่อนข้าราชการนั่งคุกเข่าท่าพรหม* ประนมมือยกขึ้นเหนือศีรษะสามคาบ หรือแสดงเคารพแก่เจ้านายใช้หมอบกราบ คือ หมอบลงประนมมือก้มศีรษะลงบนคาบเดียว
ในบาลีพระวินัยระบุว่า วันทนะ หมายถึง กราบ เช่นกล่าวว่าให้วันทนะเท้าภิกษุทั้งหลาย
ฉะนั้น คำว่า อภิวาท และวันทนะ สองศัพท์นี้หมายถึง กราบก็ได้ ไหว้ก็ได้ โดยให้ทำแก่ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า และพระเถระผู้ใหญ่
อย่างเช่น ในเวลาไปหาท่านผู้ใหญ่ในสถานที่ใช้นั่งบนพื้น ควรใช้กราบสามหนด้วยเบญจางคประดิษฐ์คือจรดหน้าผาก ฝ่ามือทั้งสองและเข่าลงที่พื้น หรือใช้หมอบกราบฟุบแทบเท้า แสดงอาการอย่างทำแก่เจ้านายไม่ใช้ทำในทางพระก็ได้ ดูไม่ขัดตา.
ถ้าเข้าหาท่านในสถานที่ใช้นั่งเก้าอี้ ควรใช้ยืนไหว้ ประนมมือยกขึ้นเหนือศีรษะหรือพอเสมอหน้า โดยฐานานุรูปของท่าน เป็นที่เคารพพอประมาณ ยกเสมอหน้า ก้มศีรษะลงน้อยหนึ่ง ทำคาบเดียว
อนึ่ง อภิวาทนี้ไม่ควรทำในบ้านและตามทางนอกอาราม ไม่ควรทำเมื่อห่มจีวรคลุมสองบ่า และขณะนั่งอยู่ในสำนักท่านผู้ใหญ่กว่า ก็ไม่ควรทำอภิวาทแก่ท่านผู้อื่น เว้นไว้แต่มีบทให้ทำ เช่น ขมาลงมาโดยลำดับ
อุฏฐานะ คือ ลุกยืน นั้นเป็นธรรมเนียมที่ใช้อยู่ครั้งพุทธกาล แต่ก่อนนี้ในเมืองเราใช้ธรรมเนียมหมอบคลานเป็นการแสดงความเคารพ ยืนไม่เคารพ จึงขัดกันอยู่ทำให้ไม่เข้าใจ แต่ในปัจจุบันประเพณีเมืองเปลี่ยนใช้ยืนเป็นเคารพ เข้ารอยตรงกันแล้ว.
และการลุกยืนนี้ ควรใช้เมื่อเห็นพระเถระผู้ใหญ่กว่า มาในที่ไม่ได้ใช้นั่งบนพื้น โดยการยืนตรงตัวหันหน้าไปทางท่าน ท่านยังไม่นั่งลงเพียงใด อย่าเพิ่งนั่งลงเพียงนั้น ต่อท่านนั่งลงแล้ว จึงนั่งได้.
ในขณะเวลานั่งเข้าแถวหรือเข้าประชุมอยู่ในหมู่สงฆ์บนอาสนสงฆ์ หรือในสถานที่ใช้นั่งบนพื้นเห็นพระผู้ใหญ่กว่ามาไม่ควรลุกยืน หรืออยู่ในสำนักท่านผู้ใหญ่กว่าเห็นท่านผู้อื่นมาก็ไม่ควรลุกยืน.
อัญชลีกรรม คือ ประนมมือ นั้น ยกประนมขึ้นเพียงอกทำแก่ท่านผู้ใหญ่ใช้ได้ทั้งขณะยืนและนั่ง แต่ไม่จำเป็นต้องประนมอยู่ตลอด ควรทำเวลาฟังคำสั่ง เวลากล่าวคำนมัสการพระสวดมนต์ ทำวินัยกรรม ฟังพระธรรมเทศนา และกิจอื่น ๆ อันควรแก่เคารพ.
แต่ถ้าใช้เพื่อการกราบไหว้ ประสิทธิพรให้ให้เขา ขมาโทษเขา ควรยกมือประนมขึ้นไม่ถึงอก.
อนึ่ง ถ้านับการไหว้เข้าใน อัญชลีกรรม* ด้วยเป็นอัญชลีกรรมอย่างสูง ควรทำเฉพาะแก่ผู้ใหญ่กว่า
และการประนมขึ้นไม่ถึงอก ใช้ทำได้ทั่วไป.
สามีจิกรรม คือ แสดงอัชฌาศัย เช่น เดินหลัง นั่งหลัง ให้ที่นั่ง หลีกทาง ลดร่ม ถอดรองเท้า
เป็นตัวอย่างพึงรู้จักทำแก่ผู้แก่กว่าและอ่อนกว่า โดยสมควรแห่งประเภทแห่งการบางอย่างควรทำแม้แก่คฤหัสถ์ เช่นมีเป็นวัตรของพระภิกษุ ไม่สรวมรองเท้า ไม่กั้นร่มเข้าไปในบ้าน
ในขณะนั่งเข้าแถวหรือนั่งประชุมอยู่ในหมู่สงฆ์ บนอาสนสงฆ์หรือในสถานที่ใช้นั่งบนพื้น เห็นท่านผู้ใหญ่กว่ามา พึงนั่งท่าตรง มีอาการสำรวม ทอดตาดูท่านแสดงมนสิการในท่าน ไม่ควรลุกยืน ไม่ควรอภิวาท
หากเดินไปตามทางพบท่านเข้า พึงหยุดยืนหันหน้าไปทางท่าน มีอาการสำรวม ทอดตาดูท่าน แสดงมนสิการในท่านอาการเช่นนี้
เป็นปางถวายเนตร
อนึ่ง เมื่อเดินไปตามทางหากกางร่มอยู่พบท่าน พึงหุบลง หรือเบนจากศีรษะโดยฐานานุรูปของท่าน ถ้าสรวมรองท้าพึงถอดออก แต่ถ้าท่านสรวมด้วยก็ไม่จำเป็น และถ้านั่งอยู่ในที่ควรจะลุกให้ พึงลุกขึ้น หากพบพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่เสด็จผ่าน พึงหยุดยืนแสดงอาการถวายเนตร เช่นแสดงแก่พระเถระผู้ใหญ่ดังกล่าวข้างต้น
หากพบผู้อื่นแสดงความเคารพตามทาง ควรแสดงมนสิการตอบโดยยกมือขวาขึ้นหรือเบนร่ม แต่อย่าใช้พยักหน้า
หากไปพบศพ พึงหยุดยืนหรือนั่ง สุดแต่สถานที่ แสดงอาการดุษฎี คือ นิ่ง ทอดตาดูศพ นึกให้ส่วนบุญ หรือนั่งปลงกรรมฐาน.
หากแต่ละฝ่ายพึงทำตามระเบียบของตน ไม่เพิกเฉยเสียก็เป็นใช้ได้ ... ฯ::๛
**************************
ข้อมูลอ้างอิง : ก่องแก้ว วีระประจักษ์* ~: การแสดงความเคารพต่อกันของพระภิกษุ, นิตยสารศิลปากร (ก.ย. – ต.ค. ๒๕๔๕).
ก่องแก้ว วีระประจักษ์
ref. @ ๑. ~ http://www.archives.su.ac.th/senior/sen36/KongKaew.pdf
๒. ~ http://www.soc.soc.go.th/SLK/showlist3.asp?pagecode=2052&pdate=2001/12/18&pno=1&pagegroup=1
การแสดงความเคารพต่อกันนั้น ก็เป็นตามระเบียบ~ธรรมเนียม มีแตกต่างกันตามหน้าที่ ตามฐานะระหว่างกันและกัน
แต่หากมีฝ่าย ๑ ไม่ทำตามฐานะตามหน้าที่ ไม่ทำตามระเบียบ~ตามธรรมเนียมของคณะของสังฆบริษัท คือทำตามแต่ธรรมเนียมฝ่ายตน
ทำอย่างเลินเล่อ เลยเถิด เกินการ เยี่ยงที่มีปรากฏให้เห็นนี้ ~ หากละเสียเพิกเฉยเสีย ไม่มีการตักเตือนกัน ก็เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ !!!
• ๑๗-๑๐-๕๖.
[note : ๓.] ท่านอาจารย์... ??? ...~... *ไม่ทำอย่างที่สอน อย่ามาอ้อนเรียกอาจารย์* @ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
๚:๛๚