http://zeawleng.wordpress.com/2013/10/12/review-the-butler/
ชื่อเต็มของหนังเรื่องนี้คือ Lee Daniels’ The Butler ซึ่งมีที่มาน่าสนใจเพราะเดิมหนังวางไว้ว่าจะใช้ชื่อ The Butler แต่เนื่องด้วยทาง Warner ได้ฟ้องว่าชื่อหนังไปซ้ำกับ The Butler หนังยุคก่อนที่ค่ายถือลิขสิทธิ์อยู่ งานนี้ผู้กำกับ Lee Daniels เลยแก้เผ็ดด้วยการเอาชื่อตัวเองแปะเข้าไปในชื่อหนังเลย จะได้รู้ว่านี่คือ The Butler ขอเขา ไม่ใช่ของ Warner นะ เป็นการตอบกลับที่ออกแนวเกรียนไม่น้อย
สำหรับเนื้อหาของ Lee Daniel’s The Butler นั้น เป็นเรื่องราวของ “Cecil Gaines” (Forest Whitaker) ชายผิวสีตั้งแต่เด็กจนกระทั่งได้มาทำงานเป็นพ่อบ้านในทำเนียบขาว ได้ทำงานกับประธานาธิบดีถึง 7 คน ตั้งแต่ Dwight D. Eisenhower ถึง Ronald Reagan และดำเนินชีวิตมาจนถึงสมัยประธานาธิบดี Barack Obama นอกทำเนียบขาวหนังยังเล่าเรื่องชีวิตครอบครัวของ ไปพร้อมๆ พัฒนาการการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มคนผิวสี ซึ่ง “Louis Gaines” (David Oyelowo) ลูกชายคนโตของ Cecil คือหนึ่งในกลุ่มเรียกร้องร้องนั้น โดย Lee Daniels’ The Butler ได้แรงบันดาลใจในการสร้างจากชีวิตของ “Eugene Allen” พ่อบ้านในทำเนียบขาวตัวจริง
เนื่องจากหนังดำเนินเรื่องกินช่วงระยะเวลาหลายสิบปี ผ่านช่วงประธานาธิบดีหลายคน ดังนั้น การพอจะมีพื้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ อยู่จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งแยกสีผิว ซึ่งจะช่วยให้ไม่งงกับเนื้อเรื่องนัก เพราะหนังเน้นเก็บประเด็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ให้ครบ มีการใช้ฟุตเทจจริงผสม การดู Lee Daniels’ The Butler จึงเหมือนการได้อ่านบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่ง ที่มีพ่อบ้านเป็นคนเขียน แต่ปัญหาคือการที่ตัวหนังเน้นเก็บประเด็นประวัติศาสตร์ให้ครบมากกว่าตีลึกลงไปในแต่ละประเด็น ทำให้เราขาดความความผูกพันกับตัวละคร และกลายเป็นไม่อินกับตัวหนังในที่สุด เหมือนนั่งอ่านอันบันทึกที่มีแต่บทสรุปสั้นๆ ในแต่ละบทให้อ่าน
ในส่วนเรื่องการแบ่งแยกสีผิว เมื่อเทียบกับหนังที่พูดประเด็นนี้เหมือนกันเรื่องอื่นๆ จุดสำคัญที่ทำให้ Lee Daniels’ The Butler คือ Cecil ที่แม้จะเป็นคนผิวสี แต่ก็เป็นคนผิวสีที่พอมีฐานะ ทำงานกับคนผิวขาวมานาน มองว่าการประท้วงเรียกร้องเป็นเรื่องอันตราย เขาพอใจในที่ทางที่มีอยู่ แม้ลึกๆ แล้วก็อยากเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แค่ลักษณะเช่นนี้ก็ทำให้ แตกต่างจากตัวเอกในหนังเรียกร้องสิทธิคนผิวสีทั่วไปที่มักเป็นผู้นำในการเรียกร้องแล้ว ยังคิดอยู่เลยว่าถ้า Cecil อยู่เมืองไทยตอนนี้ อาจโดนหาว่าเป็นสลิ่มก็ได้นะ
ภาพตรงข้ามของ Cecil ก็คือ Louis ลูกชายคนโตของเขาเอง ที่รู้สึกลึกๆ ว่าพ่อเข้าข้างคนขาวมากกว่าพวกเดียวกันเอง เขาเลือกเส้นทางกลุ่มเรียกร้องสิทธิ ทำให้มีปัญหากับพ่อตามมา เพราะ Cecil มองว่าเขากำลังหาเรื่องให้ตัวเอง แนวคิดที่ต่างกันระหว่างพ่อกับลูกนี้ดูน่าสนใจ แต่ด้วยการเร่งรีบในการเก็บเรื่องราวให้ครบ ทำให้ก็ยังไม่ค่อยอินเท่าไหร่ในความสัมพันธ์พ่อลูกคู่นี้ แต่อย่างน้อยหนังก็ทิ้งแง่คิดไว้ว่า แต่ละคนก็มีหนทางในการต่อสู้เรียกร้องที่ต่างกันออกไป ไม่มีใครผิดใครถูก ต่างฝ่ายต่างควรต้องทำความเข้าใจต่อกัน เพราะที่สุดแล้วการสุดโต่งไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น และการลองออกจากวัฏจักรชีวิตแบบเดิมๆ มองในอีกมุมหนึ่ง ก็ทำให้เราเห็นถึงปัญหาแท้จริงที่ซ่อนอยู่ได้
สิ่งหนึ่งที่ยังรู้สึกได้จากหนังเรื่องนี้คือ Lee Daniels คงจะชื่นชอบ Barack Obama ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบันรวมถึงพรรค Democrat ไม่น้อย นอกจากการชูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Obama ในตอนท้ายแล้ว ยังรู้สึกว่าหนังมอบบทบาทพระเอกให้กับประธานาธิบดีจากฝั่ง Democrat ขณะที่ฝั่ง Republican ดูจะออกแนวร้ายๆ และไม่จริงใจกับสิทธิคนผิวสีเท่าไหร่ โดยเฉพาะกับ Richard Nixon ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ที่ Obama จะชื่นชมหนังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
--------------------------------
------ ใครดูหนังแล้วลองมาให้คะแนนความชอบส่วนตัวกันดูค่ะ ---------------
ขอบคุณ เจ้าของ Blog นี้ด้วยนะคะพอดีอ่านแล้วชอบเพราะไปดูมาแล้วเลยอยากมาแนะนำหนังดีๆ แต่ไม่ค่อยมีกระแสและโรงน้อยในบ้านเราค่ะ
[Review] Lee Daniels’ The Butler – บันทึกชีวิตพ่อบ้านทำเนียบขาว
http://zeawleng.wordpress.com/2013/10/12/review-the-butler/
ชื่อเต็มของหนังเรื่องนี้คือ Lee Daniels’ The Butler ซึ่งมีที่มาน่าสนใจเพราะเดิมหนังวางไว้ว่าจะใช้ชื่อ The Butler แต่เนื่องด้วยทาง Warner ได้ฟ้องว่าชื่อหนังไปซ้ำกับ The Butler หนังยุคก่อนที่ค่ายถือลิขสิทธิ์อยู่ งานนี้ผู้กำกับ Lee Daniels เลยแก้เผ็ดด้วยการเอาชื่อตัวเองแปะเข้าไปในชื่อหนังเลย จะได้รู้ว่านี่คือ The Butler ขอเขา ไม่ใช่ของ Warner นะ เป็นการตอบกลับที่ออกแนวเกรียนไม่น้อย
สำหรับเนื้อหาของ Lee Daniel’s The Butler นั้น เป็นเรื่องราวของ “Cecil Gaines” (Forest Whitaker) ชายผิวสีตั้งแต่เด็กจนกระทั่งได้มาทำงานเป็นพ่อบ้านในทำเนียบขาว ได้ทำงานกับประธานาธิบดีถึง 7 คน ตั้งแต่ Dwight D. Eisenhower ถึง Ronald Reagan และดำเนินชีวิตมาจนถึงสมัยประธานาธิบดี Barack Obama นอกทำเนียบขาวหนังยังเล่าเรื่องชีวิตครอบครัวของ ไปพร้อมๆ พัฒนาการการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มคนผิวสี ซึ่ง “Louis Gaines” (David Oyelowo) ลูกชายคนโตของ Cecil คือหนึ่งในกลุ่มเรียกร้องร้องนั้น โดย Lee Daniels’ The Butler ได้แรงบันดาลใจในการสร้างจากชีวิตของ “Eugene Allen” พ่อบ้านในทำเนียบขาวตัวจริง
เนื่องจากหนังดำเนินเรื่องกินช่วงระยะเวลาหลายสิบปี ผ่านช่วงประธานาธิบดีหลายคน ดังนั้น การพอจะมีพื้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ อยู่จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งแยกสีผิว ซึ่งจะช่วยให้ไม่งงกับเนื้อเรื่องนัก เพราะหนังเน้นเก็บประเด็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ให้ครบ มีการใช้ฟุตเทจจริงผสม การดู Lee Daniels’ The Butler จึงเหมือนการได้อ่านบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่ง ที่มีพ่อบ้านเป็นคนเขียน แต่ปัญหาคือการที่ตัวหนังเน้นเก็บประเด็นประวัติศาสตร์ให้ครบมากกว่าตีลึกลงไปในแต่ละประเด็น ทำให้เราขาดความความผูกพันกับตัวละคร และกลายเป็นไม่อินกับตัวหนังในที่สุด เหมือนนั่งอ่านอันบันทึกที่มีแต่บทสรุปสั้นๆ ในแต่ละบทให้อ่าน
ในส่วนเรื่องการแบ่งแยกสีผิว เมื่อเทียบกับหนังที่พูดประเด็นนี้เหมือนกันเรื่องอื่นๆ จุดสำคัญที่ทำให้ Lee Daniels’ The Butler คือ Cecil ที่แม้จะเป็นคนผิวสี แต่ก็เป็นคนผิวสีที่พอมีฐานะ ทำงานกับคนผิวขาวมานาน มองว่าการประท้วงเรียกร้องเป็นเรื่องอันตราย เขาพอใจในที่ทางที่มีอยู่ แม้ลึกๆ แล้วก็อยากเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แค่ลักษณะเช่นนี้ก็ทำให้ แตกต่างจากตัวเอกในหนังเรียกร้องสิทธิคนผิวสีทั่วไปที่มักเป็นผู้นำในการเรียกร้องแล้ว ยังคิดอยู่เลยว่าถ้า Cecil อยู่เมืองไทยตอนนี้ อาจโดนหาว่าเป็นสลิ่มก็ได้นะ
ภาพตรงข้ามของ Cecil ก็คือ Louis ลูกชายคนโตของเขาเอง ที่รู้สึกลึกๆ ว่าพ่อเข้าข้างคนขาวมากกว่าพวกเดียวกันเอง เขาเลือกเส้นทางกลุ่มเรียกร้องสิทธิ ทำให้มีปัญหากับพ่อตามมา เพราะ Cecil มองว่าเขากำลังหาเรื่องให้ตัวเอง แนวคิดที่ต่างกันระหว่างพ่อกับลูกนี้ดูน่าสนใจ แต่ด้วยการเร่งรีบในการเก็บเรื่องราวให้ครบ ทำให้ก็ยังไม่ค่อยอินเท่าไหร่ในความสัมพันธ์พ่อลูกคู่นี้ แต่อย่างน้อยหนังก็ทิ้งแง่คิดไว้ว่า แต่ละคนก็มีหนทางในการต่อสู้เรียกร้องที่ต่างกันออกไป ไม่มีใครผิดใครถูก ต่างฝ่ายต่างควรต้องทำความเข้าใจต่อกัน เพราะที่สุดแล้วการสุดโต่งไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น และการลองออกจากวัฏจักรชีวิตแบบเดิมๆ มองในอีกมุมหนึ่ง ก็ทำให้เราเห็นถึงปัญหาแท้จริงที่ซ่อนอยู่ได้
สิ่งหนึ่งที่ยังรู้สึกได้จากหนังเรื่องนี้คือ Lee Daniels คงจะชื่นชอบ Barack Obama ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบันรวมถึงพรรค Democrat ไม่น้อย นอกจากการชูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Obama ในตอนท้ายแล้ว ยังรู้สึกว่าหนังมอบบทบาทพระเอกให้กับประธานาธิบดีจากฝั่ง Democrat ขณะที่ฝั่ง Republican ดูจะออกแนวร้ายๆ และไม่จริงใจกับสิทธิคนผิวสีเท่าไหร่ โดยเฉพาะกับ Richard Nixon ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ที่ Obama จะชื่นชมหนังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
--------------------------------
------ ใครดูหนังแล้วลองมาให้คะแนนความชอบส่วนตัวกันดูค่ะ ---------------
ขอบคุณ เจ้าของ Blog นี้ด้วยนะคะพอดีอ่านแล้วชอบเพราะไปดูมาแล้วเลยอยากมาแนะนำหนังดีๆ แต่ไม่ค่อยมีกระแสและโรงน้อยในบ้านเราค่ะ