"ใครๆ ก็ย่อมสามารถเข้าใจได้ว่า ระบบการจัดให้มีสตรีบำเรอกามขึ้นมานั้น เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการระบายผ่อนคลายให้แก่กลุ่มผู้ชายที่ต้องมาอยู่รวมกันแบบเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ในบรรยากาศความตึงเครียดอันหยาบกระด้างและสับสนวุ่นวาย ขณะที่พวกเขากำลังเสี่ยงชีวิตของพวกเขาอย่างกล้าหาญท่ามกลางห่ากระสุน"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
‘ญี่ปุ่น’ยังคงล้มเหลวไม่สำนึกถึงความผิดพลาดของตนเองในอดีต
โดย วอลเดน เบลโล 1 มิถุนายน 2556 21:44 น
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Hashimoto echoes Japan’s past failure
By Walden Bello
23/05/2013
ผู้คนจำนวนมากในญี่ปุ่นต่างรู้สึกผิดหวังท้อแท้จากคำกล่าวของ โทรุ ฮาชิโมโตะ นายกเทศมนตรีนครโอซากา ที่ว่า การจัดให้มี “สตรีบำเรอกาม” ในกองทัพญี่ปุ่น เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับบำรุงขวัญทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม สามารถคาดหมายได้เลยว่าพวกขวาจัดในประเทศนี้จะต้องยิ่งส่งเสียงคำรามกึกก้องคำรามยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อได้รับกำลังใจจากท่าทีและนโยบายของคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ในปัจจุบัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงความล้มเหลวของแดนอาทิตย์อุทัยในการยอมรับสำนึกผิดและดำเนินการป้องกันไม่ให้อดีตอันมัวหมองของประเทศชาติของพวกเขาเกิดอุบัติซ้ำขึ้นมาอีก
คำพูดต่างๆ ของเขาช่างโจ่งแจ้งบาดหูเสียจนกระทั่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้กลับอย่างดุเดือดจากทั่วโลก โทรุ ฮาชิโมโตะ (Toru Hashimoto) นายกเทศมนตรีนครโอซากา ผู้ซึ่งสื่อมวลชนนานาชาติบรรยายว่าเป็นคน “พูดจาโผงผาง” และ “หุนหันพลันแล่น” อ้างว่า “สตรีบำเรอกาม” (comfort women) ซึ่งหมายถึงผู้หญิงชาวเอเชียนับหมื่นนับแสนคนที่ถูกบังคับให้เป็นโสเภณีบำเรอทหารญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เป็น “เรื่องจำเป็น” เพื่อบำรุงขวัญทหารเหล่านั้น
“ใครๆ ก็ย่อมสามารถเข้าใจได้ว่า ระบบการจัดให้มีสตรีบำเรอกามขึ้นมานั้น เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการระบายผ่อนคลายให้แก่กลุ่มผู้ชายที่ต้องมาอยู่รวมกันแบบเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ในบรรยากาศความตึงเครียดอันหยาบกระด้างและสับสนวุ่นวาย ขณะที่พวกเขากำลังเสี่ยงชีวิตของพวกเขาอย่างกล้าหาญท่ามกลางห่ากระสุน” ฮาชิโมโตะกล่าวเช่นนี้ ตามรายงานข่าวของ วอลล์สตรีทเจอร์นัล
ถึงแม้พรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party) แกนนำของคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบันของญี่ปุ่น ตลอดจนบุคคลทางการเมืองคนอื่นๆ ต่างรีบออกมาระบุว่าไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคำพูดดังกล่าวนี้ของฮาชิโมโตะ แต่กระนั้นนายกเทศมนตรีนครโอซากาผู้นี้ก็เพียงแค่เปิดปากเอ่ยอวดสิ่งที่พวกชนชั้นนำจำนวนมากของญี่ปุ่น ตลอดจนผู้คนจำนวนมากในหมู่สาธารณชนวงกว้างของญี่ปุ่น เชื่อกันอยู่แล้วว่าเป็นความจริง
น่าสังเกตด้วยว่า คำพูดของฮาชิโมโตะนี้ ยังออกมาในช่วงเวลาใกล้ๆกับที่เพิ่งเกิดกรณีอื้อฉาวคล้ายๆ กันอีกกรณีหนึ่ง กล่าวคือ มีสมาชิกรัฐสภาญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันจำนวนราว 170 คน รวมทั้งสมาชิกหลายคนในคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ ได้เดินทางกันเป็นหมู่คณะไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิ (Yasukuni Shrine) เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งต่างๆ ในญี่ปุ่น รวมทั้งผู้ถูกตัดสินมีความผิดฐานเป็นอาชญากรสงครามในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 14 คน ด้วยเหตุนี้ ผู้คนมากมายจึงประณามพิธีการสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิว่า เป็นสัญญาณแสดงถึงทัศนคติของประเทศนี้ที่ไม่ยินยอมรับผิด สำหรับความเลวร้ายทั้งหลายทั้งปวงที่ได้กระทำไปในระหว่างสงครามครั้งนั้น
**ความล้มเหลวที่จะเผชิญหน้ากับอดีตอันผิดพลาด**
ประสบการณ์ของญี่ปุ่นช่างตัดแย้งแตกต่างจากประสบการณ์ของเยอรมนี ซึ่งสังคมทั้งสังคมได้ดำเนินกระบวนการใน “การถอนพิษของลัทธินาซี” (denazification) โดยส่วนสำคัญที่สุดได้แก่การสร้างจิตสำนึกแห่งชาติขึ้นมาใหม่ ทำให้มีการยอมรับอย่างลึกล้ำฝังแน่นเกี่ยวกับความรับผิดชอบของเยอรมนีในยุคนาซีครองเมืองที่ได้เที่ยวก่อสงครามและกระทำการโหดร้ายป่าเถื่อนต่างๆ รวมทั้งการฆ่าล้างชาวพันธุ์ชาวยิว
ในญี่ปุ่นนั้น กลับตรงกันข้าม สหรัฐฯได้เข้าไปแสดงบทบาทในการเพาะเลี้ยงส่งเสริมให้ทั่วทั้งสังคมเกิดภาวะสูญเสียความจำเรื่องราวในอดีตกาล (historical amnesia) แทนที่จะปลดพระจักรพรรดิออกจากบัลลังก์ภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 วอชิงตันกลับยังคงให้จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ อยู่ในอำนาจต่อไปด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรักษาเสถียรภาพทางการเมือง สัญลักษณ์สำคัญที่สุดแห่งความทะเยอทะยานแบบลัทธิจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น จึงได้รับการยกเว้นไม่ถูกลงโทษตามความยุติธรรม และความหมายของท่าทีดังกล่าวนี้ก็มิได้รอดพ้นไปจากสายตาของชาวญี่ปุ่นเลย
ยิ่งไปกว่านั้น หน้าต่างแห่งโอกาสที่จะได้เห็นการปฏิรูปต่างๆ ชุดใหญ่ที่ผลักดันโดยสหรัฐฯ เพื่อทำลายกองทัพเก่าที่เป็นกองทัพจักรวรรดินิยมตลอดจนลดทอนอำนาจของพวกชนชั้นนำในระบบราชการและในแวดวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่น มีอันต้องปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสถานการณ์ของโลกที่ก้าวเข้าสู่สงครามเย็นและการปะทุขึ้นของสงครามเกาหลีในปี 1950
สหรัฐฯมองชนชั้นนำชาวญี่ปุ่นที่พ่ายแพ้สงครามว่าคือพันธมิตรของตนที่จะมาร่วมมือช่วยกันต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ อีกทั้งยังเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูบูรณะอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพื่อใช้เป็นฐานๆ หนึ่งสำหรับการผลิตอาวุธยุทธปัจจัยสำหรับสงคราม ด้วยเหตุนี้ วอชิงตันจึงยินยอมให้มีการฟื้นคืนฐานะแก่บุคคลสำคัญๆ ในกลไกสงครามของญี่ปุ่น กระบวนการเช่นนี้ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในปี 1957 เมื่อ โนบุสุเกะ คิชิ (Nobusuke Kishi) เจ้าหน้าที่ระดับท็อปคนหนึ่งในระบอบปกครองหุ่นแมนจูกัว (Manchurian puppet regime) แล้วต่อมาขึ้นเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในช่วงสงคราม ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของแดนอาทิตย์อุทัย เปรียบเทียบกันแล้ว สภาพเช่นนี้ก็เหมือนกับการเปิดทางให้ อัลเบิร์ต สเปเออร์ (Albert Speer) สมุนของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่เป็นมือเศรษฐกิจและมีชีวิตรอดมาจากสงคราม มีโอกาสก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในยุคหลังสงครามนั่นเอง แน่นอนทีเดียวว่า สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นในเยอรมนี
(มีต่อ)
WW2 การที่ญี่ปุ่นมี หญิงบำเรอกาม ให้ทหาร ถือว่า เป็นสิ่งจำเป็น เพราะนาย โทรุ ฮาชิโมโตะ นายกเทศมนตรี OSAKA กล่าวเช่นนั้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
‘ญี่ปุ่น’ยังคงล้มเหลวไม่สำนึกถึงความผิดพลาดของตนเองในอดีต
โดย วอลเดน เบลโล 1 มิถุนายน 2556 21:44 น
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Hashimoto echoes Japan’s past failure
By Walden Bello
23/05/2013
ผู้คนจำนวนมากในญี่ปุ่นต่างรู้สึกผิดหวังท้อแท้จากคำกล่าวของ โทรุ ฮาชิโมโตะ นายกเทศมนตรีนครโอซากา ที่ว่า การจัดให้มี “สตรีบำเรอกาม” ในกองทัพญี่ปุ่น เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับบำรุงขวัญทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม สามารถคาดหมายได้เลยว่าพวกขวาจัดในประเทศนี้จะต้องยิ่งส่งเสียงคำรามกึกก้องคำรามยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อได้รับกำลังใจจากท่าทีและนโยบายของคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ในปัจจุบัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงความล้มเหลวของแดนอาทิตย์อุทัยในการยอมรับสำนึกผิดและดำเนินการป้องกันไม่ให้อดีตอันมัวหมองของประเทศชาติของพวกเขาเกิดอุบัติซ้ำขึ้นมาอีก
คำพูดต่างๆ ของเขาช่างโจ่งแจ้งบาดหูเสียจนกระทั่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้กลับอย่างดุเดือดจากทั่วโลก โทรุ ฮาชิโมโตะ (Toru Hashimoto) นายกเทศมนตรีนครโอซากา ผู้ซึ่งสื่อมวลชนนานาชาติบรรยายว่าเป็นคน “พูดจาโผงผาง” และ “หุนหันพลันแล่น” อ้างว่า “สตรีบำเรอกาม” (comfort women) ซึ่งหมายถึงผู้หญิงชาวเอเชียนับหมื่นนับแสนคนที่ถูกบังคับให้เป็นโสเภณีบำเรอทหารญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เป็น “เรื่องจำเป็น” เพื่อบำรุงขวัญทหารเหล่านั้น
“ใครๆ ก็ย่อมสามารถเข้าใจได้ว่า ระบบการจัดให้มีสตรีบำเรอกามขึ้นมานั้น เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการระบายผ่อนคลายให้แก่กลุ่มผู้ชายที่ต้องมาอยู่รวมกันแบบเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ในบรรยากาศความตึงเครียดอันหยาบกระด้างและสับสนวุ่นวาย ขณะที่พวกเขากำลังเสี่ยงชีวิตของพวกเขาอย่างกล้าหาญท่ามกลางห่ากระสุน” ฮาชิโมโตะกล่าวเช่นนี้ ตามรายงานข่าวของ วอลล์สตรีทเจอร์นัล
ถึงแม้พรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party) แกนนำของคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบันของญี่ปุ่น ตลอดจนบุคคลทางการเมืองคนอื่นๆ ต่างรีบออกมาระบุว่าไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคำพูดดังกล่าวนี้ของฮาชิโมโตะ แต่กระนั้นนายกเทศมนตรีนครโอซากาผู้นี้ก็เพียงแค่เปิดปากเอ่ยอวดสิ่งที่พวกชนชั้นนำจำนวนมากของญี่ปุ่น ตลอดจนผู้คนจำนวนมากในหมู่สาธารณชนวงกว้างของญี่ปุ่น เชื่อกันอยู่แล้วว่าเป็นความจริง
น่าสังเกตด้วยว่า คำพูดของฮาชิโมโตะนี้ ยังออกมาในช่วงเวลาใกล้ๆกับที่เพิ่งเกิดกรณีอื้อฉาวคล้ายๆ กันอีกกรณีหนึ่ง กล่าวคือ มีสมาชิกรัฐสภาญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันจำนวนราว 170 คน รวมทั้งสมาชิกหลายคนในคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ ได้เดินทางกันเป็นหมู่คณะไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิ (Yasukuni Shrine) เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งต่างๆ ในญี่ปุ่น รวมทั้งผู้ถูกตัดสินมีความผิดฐานเป็นอาชญากรสงครามในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 14 คน ด้วยเหตุนี้ ผู้คนมากมายจึงประณามพิธีการสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิว่า เป็นสัญญาณแสดงถึงทัศนคติของประเทศนี้ที่ไม่ยินยอมรับผิด สำหรับความเลวร้ายทั้งหลายทั้งปวงที่ได้กระทำไปในระหว่างสงครามครั้งนั้น
**ความล้มเหลวที่จะเผชิญหน้ากับอดีตอันผิดพลาด**
ประสบการณ์ของญี่ปุ่นช่างตัดแย้งแตกต่างจากประสบการณ์ของเยอรมนี ซึ่งสังคมทั้งสังคมได้ดำเนินกระบวนการใน “การถอนพิษของลัทธินาซี” (denazification) โดยส่วนสำคัญที่สุดได้แก่การสร้างจิตสำนึกแห่งชาติขึ้นมาใหม่ ทำให้มีการยอมรับอย่างลึกล้ำฝังแน่นเกี่ยวกับความรับผิดชอบของเยอรมนีในยุคนาซีครองเมืองที่ได้เที่ยวก่อสงครามและกระทำการโหดร้ายป่าเถื่อนต่างๆ รวมทั้งการฆ่าล้างชาวพันธุ์ชาวยิว
ในญี่ปุ่นนั้น กลับตรงกันข้าม สหรัฐฯได้เข้าไปแสดงบทบาทในการเพาะเลี้ยงส่งเสริมให้ทั่วทั้งสังคมเกิดภาวะสูญเสียความจำเรื่องราวในอดีตกาล (historical amnesia) แทนที่จะปลดพระจักรพรรดิออกจากบัลลังก์ภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 วอชิงตันกลับยังคงให้จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ อยู่ในอำนาจต่อไปด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรักษาเสถียรภาพทางการเมือง สัญลักษณ์สำคัญที่สุดแห่งความทะเยอทะยานแบบลัทธิจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น จึงได้รับการยกเว้นไม่ถูกลงโทษตามความยุติธรรม และความหมายของท่าทีดังกล่าวนี้ก็มิได้รอดพ้นไปจากสายตาของชาวญี่ปุ่นเลย
ยิ่งไปกว่านั้น หน้าต่างแห่งโอกาสที่จะได้เห็นการปฏิรูปต่างๆ ชุดใหญ่ที่ผลักดันโดยสหรัฐฯ เพื่อทำลายกองทัพเก่าที่เป็นกองทัพจักรวรรดินิยมตลอดจนลดทอนอำนาจของพวกชนชั้นนำในระบบราชการและในแวดวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่น มีอันต้องปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสถานการณ์ของโลกที่ก้าวเข้าสู่สงครามเย็นและการปะทุขึ้นของสงครามเกาหลีในปี 1950
สหรัฐฯมองชนชั้นนำชาวญี่ปุ่นที่พ่ายแพ้สงครามว่าคือพันธมิตรของตนที่จะมาร่วมมือช่วยกันต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ อีกทั้งยังเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูบูรณะอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพื่อใช้เป็นฐานๆ หนึ่งสำหรับการผลิตอาวุธยุทธปัจจัยสำหรับสงคราม ด้วยเหตุนี้ วอชิงตันจึงยินยอมให้มีการฟื้นคืนฐานะแก่บุคคลสำคัญๆ ในกลไกสงครามของญี่ปุ่น กระบวนการเช่นนี้ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในปี 1957 เมื่อ โนบุสุเกะ คิชิ (Nobusuke Kishi) เจ้าหน้าที่ระดับท็อปคนหนึ่งในระบอบปกครองหุ่นแมนจูกัว (Manchurian puppet regime) แล้วต่อมาขึ้นเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในช่วงสงคราม ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของแดนอาทิตย์อุทัย เปรียบเทียบกันแล้ว สภาพเช่นนี้ก็เหมือนกับการเปิดทางให้ อัลเบิร์ต สเปเออร์ (Albert Speer) สมุนของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่เป็นมือเศรษฐกิจและมีชีวิตรอดมาจากสงคราม มีโอกาสก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในยุคหลังสงครามนั่นเอง แน่นอนทีเดียวว่า สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นในเยอรมนี
(มีต่อ)