เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสไปร่วมในงาน Thailand's 4th National Conference on Collective Action Against Corruption ในตอนที่ชื่อว่า Working Models for Governance in Corporate Operations and Infrastructure Projects" (8 ตุลาคม 2556 ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ)
รายการนี้มีผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และสถาบันชั้นนำในสังคมและธุรกิจมาร่วมกันมากมาย รวมถึงผู้ชำนาญการจากต่าง ๆ ประเทศ โดยรวมเนื้อหาก็คือจะทำอย่างไรให้ "ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ" ในแวดวงราชการและธุรกิจลดน้อยถอยลง องค์กรหลัก ๆ ได้แก่ "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)", "คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต", "หอการค้าไทย", "สภาอุตสาหกรรมไทย" และ "IOD" เป็นต้น
จากการรับฟังในครั้งนี้ และได้ลองพิจารณาตามในแต่ละช่วงของการสัมมนา สิ่งที่เป็นปัญหาคาใจ ก็คือ
1. ต้นตอปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ
คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามที่หลายคนตอบว่า "เกิดจากความไม่พอเพียง" ของคนที่ทำทุจริต "เกิดจากอุบัติเหตุและความจำเป็น" และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่หากว่าด้วยหลักศาสนาแล้วผมเห็นว่า "เกิดจากความมีกิเลส" ซึ่งหากสรุปเป็นประเด็นตามความเห็นของผมก็จะพิจารณาได้ว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก ๆ พระศาสดาของหลายศาสนาในโลกล้วนแต่มุ่งมั่นให้ศาสนิกลดละกิเลส และความอยากได้ใคร่มี รวมถึงให้ความส่งเสริมและเกื้อหนุน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสังคม ซึ่งทุกพระศาสดาสามารถทำได้สำเร็จเป็นอย่างสูง แต่ยังไม่สามารถทำให้มนุษย์ทุกผู้ทุกนามลดละกิเลสได้ทั้งหมด จึงยังคงทำให้ปัญหานี้ยังคงมีอยู่ และยังคงจะมีอยู่ตลอดไปตราบกระทั่งทุกชีวิตแจ่มชัดและยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนาตน
ประเด็นนี้คงจะต้องให้ช่วยกันถกเพื่อลองดูความเห็นว่าเห็นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
2. อะไรคือแนวทางแก้ไขการทุจริตและประพฤติมิชอบ
สืบเนื่องจากคำถามแรก กรณีที่เรามองปัญหาการทุจริตเกิดจาก "กิเลส" คงจะต้องแก้ไขที่ต้นตอได้ยาก แต่จะทำให้ลดโอกาสการเกิด (Preventive) และลดผลกระทบของการเกิด (Protective & Mitigation) น่าจะเป็นไปได้ โดยคำคำหนึ่งที่ผมมักจะใช้ก็คือ "มนุษย์ทุกคนล้วนเป็นคนดี และจำเป็นจะต้องมีระบบคอยกำกับและควบคุม เพื่อป้องกันมิให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี" และหากมองจากมุมดังกล่าวเมื่อเทียบกลับมาหากรูปแบบการดำเนินการของประเทศไทย จะพบว่าปัจจุบันมีกลไกและหน่วยงานอิสระอย่างน้อย 4 หน่วยงานที่คอยควบคุมกำกับดูแลในเรื่องนี้ กล่าวคือ (หากผมสำคัญผิดประการใด โปรดช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ จักขอบคุณยิ่ง)
1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งมีหน้าที่ทั้งในแนว "ป้องกัน (Preventive)" และในแนว "ปราบปราม (Protective)"
2. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีหน้าที่ในเชิง "ปราบปราม (Mitigation)"
3. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มีหน้าที่ในเชิง "ปราบปราม (Protective)"
4. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหน้าที่ในเชิง "ป้องกัน (Preventive)"
เมื่อมองกลับมาหาคำว่า "ป้องกันมิให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี" เราจะพบว่าหากกลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วแล้ว จะทำให้ผู้ที่คิดจะทำการทุจริตและประพฤติมิชอบมีความเกรงกลัวได้ไม่มากก็น้อย และน่าจะเป็นแนวทางในการแก้ไขเพื่อทำให้โอกาสในการทุจริตและประพฤติมิชอบลดน้อยถอยลงไปได้
เมื่อวานนี้วิทยากรท่านหนึ่งได้ยกกรณีของประเทศเกาหลีใต้ โดยระบุว่ามีการทำการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตในภาครัฐ โดยมีการกำหนด KPI (Key Performance Indicator) ไว้ในหลายระดับตั้งแต่ระดับภาคนโยบายของรัฐส่วนกลาง รัฐส่วนท้องถิ่น และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และมีการติดตามตรวจสอบ (Monitor) KPI เหล่านั้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้ปัญหาการทุจริตในระดับเจ้าพนักงานลดน้อยถอยลงไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังคงมีปัญหาในระดับนโยบายและองค์กรขนาดใหญ่อยู่
จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาทุจริตที่สำคัญก็คือ "ต้องไม่เปิดโอกาสให้มีการทุจริต" และหากเมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้นแล้ว "จะต้องดำเนินการตรวจสอบ" อย่างรวดเร็วเป็นธรรม จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาและทำให้ผู้ที่มีเจตนา หรือ ไม่มีเจตนาได้เกิดความยับหยั่งชั่งใจได้มากพอควร
แต่หากเรามุ่งมั่นที่จะแก้ไขที่ คน หรือ มนุษย์ หรือ กลุ่มคน หรือ พรรคการเมือง ความเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่า "จะเป็นไปได้ยากและยากยิ่ง" และโอกาสที่จะทำได้สำเร็จจะมีได้น้อยและต้องใช้เวลาอีกยาวนาน
ไม่ทราบว่าท่านอื่น ๆ มีความคิดและความเห็นกับประเด็นคำถามทั้งสองข้ออย่างไร สามารถแสดงความเห็นอย่างสุภาพและไม่กล่าวหาผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ครับ เชิญครับ
การทุจริต ต้นตอของปัญหา? แนวทางแก้ไข?
รายการนี้มีผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และสถาบันชั้นนำในสังคมและธุรกิจมาร่วมกันมากมาย รวมถึงผู้ชำนาญการจากต่าง ๆ ประเทศ โดยรวมเนื้อหาก็คือจะทำอย่างไรให้ "ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ" ในแวดวงราชการและธุรกิจลดน้อยถอยลง องค์กรหลัก ๆ ได้แก่ "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)", "คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต", "หอการค้าไทย", "สภาอุตสาหกรรมไทย" และ "IOD" เป็นต้น
จากการรับฟังในครั้งนี้ และได้ลองพิจารณาตามในแต่ละช่วงของการสัมมนา สิ่งที่เป็นปัญหาคาใจ ก็คือ
1. ต้นตอปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ
คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามที่หลายคนตอบว่า "เกิดจากความไม่พอเพียง" ของคนที่ทำทุจริต "เกิดจากอุบัติเหตุและความจำเป็น" และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่หากว่าด้วยหลักศาสนาแล้วผมเห็นว่า "เกิดจากความมีกิเลส" ซึ่งหากสรุปเป็นประเด็นตามความเห็นของผมก็จะพิจารณาได้ว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก ๆ พระศาสดาของหลายศาสนาในโลกล้วนแต่มุ่งมั่นให้ศาสนิกลดละกิเลส และความอยากได้ใคร่มี รวมถึงให้ความส่งเสริมและเกื้อหนุน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสังคม ซึ่งทุกพระศาสดาสามารถทำได้สำเร็จเป็นอย่างสูง แต่ยังไม่สามารถทำให้มนุษย์ทุกผู้ทุกนามลดละกิเลสได้ทั้งหมด จึงยังคงทำให้ปัญหานี้ยังคงมีอยู่ และยังคงจะมีอยู่ตลอดไปตราบกระทั่งทุกชีวิตแจ่มชัดและยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนาตน
ประเด็นนี้คงจะต้องให้ช่วยกันถกเพื่อลองดูความเห็นว่าเห็นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
2. อะไรคือแนวทางแก้ไขการทุจริตและประพฤติมิชอบ
สืบเนื่องจากคำถามแรก กรณีที่เรามองปัญหาการทุจริตเกิดจาก "กิเลส" คงจะต้องแก้ไขที่ต้นตอได้ยาก แต่จะทำให้ลดโอกาสการเกิด (Preventive) และลดผลกระทบของการเกิด (Protective & Mitigation) น่าจะเป็นไปได้ โดยคำคำหนึ่งที่ผมมักจะใช้ก็คือ "มนุษย์ทุกคนล้วนเป็นคนดี และจำเป็นจะต้องมีระบบคอยกำกับและควบคุม เพื่อป้องกันมิให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี" และหากมองจากมุมดังกล่าวเมื่อเทียบกลับมาหากรูปแบบการดำเนินการของประเทศไทย จะพบว่าปัจจุบันมีกลไกและหน่วยงานอิสระอย่างน้อย 4 หน่วยงานที่คอยควบคุมกำกับดูแลในเรื่องนี้ กล่าวคือ (หากผมสำคัญผิดประการใด โปรดช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ จักขอบคุณยิ่ง)
1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งมีหน้าที่ทั้งในแนว "ป้องกัน (Preventive)" และในแนว "ปราบปราม (Protective)"
2. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีหน้าที่ในเชิง "ปราบปราม (Mitigation)"
3. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มีหน้าที่ในเชิง "ปราบปราม (Protective)"
4. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหน้าที่ในเชิง "ป้องกัน (Preventive)"
เมื่อมองกลับมาหาคำว่า "ป้องกันมิให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี" เราจะพบว่าหากกลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วแล้ว จะทำให้ผู้ที่คิดจะทำการทุจริตและประพฤติมิชอบมีความเกรงกลัวได้ไม่มากก็น้อย และน่าจะเป็นแนวทางในการแก้ไขเพื่อทำให้โอกาสในการทุจริตและประพฤติมิชอบลดน้อยถอยลงไปได้
เมื่อวานนี้วิทยากรท่านหนึ่งได้ยกกรณีของประเทศเกาหลีใต้ โดยระบุว่ามีการทำการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตในภาครัฐ โดยมีการกำหนด KPI (Key Performance Indicator) ไว้ในหลายระดับตั้งแต่ระดับภาคนโยบายของรัฐส่วนกลาง รัฐส่วนท้องถิ่น และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และมีการติดตามตรวจสอบ (Monitor) KPI เหล่านั้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้ปัญหาการทุจริตในระดับเจ้าพนักงานลดน้อยถอยลงไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังคงมีปัญหาในระดับนโยบายและองค์กรขนาดใหญ่อยู่
จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาทุจริตที่สำคัญก็คือ "ต้องไม่เปิดโอกาสให้มีการทุจริต" และหากเมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้นแล้ว "จะต้องดำเนินการตรวจสอบ" อย่างรวดเร็วเป็นธรรม จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาและทำให้ผู้ที่มีเจตนา หรือ ไม่มีเจตนาได้เกิดความยับหยั่งชั่งใจได้มากพอควร
แต่หากเรามุ่งมั่นที่จะแก้ไขที่ คน หรือ มนุษย์ หรือ กลุ่มคน หรือ พรรคการเมือง ความเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่า "จะเป็นไปได้ยากและยากยิ่ง" และโอกาสที่จะทำได้สำเร็จจะมีได้น้อยและต้องใช้เวลาอีกยาวนาน
ไม่ทราบว่าท่านอื่น ๆ มีความคิดและความเห็นกับประเด็นคำถามทั้งสองข้ออย่างไร สามารถแสดงความเห็นอย่างสุภาพและไม่กล่าวหาผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ครับ เชิญครับ