พอดีเพื่อน จขกท แจ้ง Link ข่าวนี้มาให้ เลยเอามาแบ่งปันสำหรับข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ค่ะ
ไม่ขอเรื่องดราม่าเกี่ยวกับการเมืองนะคะ ขอบคุณค่ะ^^
ปรับเพิ่มเงินเดือน/ค่าจ้าง 1 ม.ค.57 ( ขรก.พลเรือน+บุคลากรทาง กศ.อื่น ม.38 ค.(2), ลูกจ้างประจำ, พนักงานราชการ )
โดย นาย เอกชัย ยุติศรี
เอกชัย กศน.ผักไห่
รัฐบาลหาเสียง ให้วุฒิปริญญาตรี ได้เงินเดือน 15,000 บาท และกำหนดให้ปรับเพิ่มเงินเดือน 3 ปีติดต่อกัน จนเงินเดือนไม่รวมค่าครองชีพของวุฒิปริญญาตรี เป็น 15,000 บาท ( วุฒิอื่น ๆ ก็ปรับเพิ่มตามลำดับ ) ในวันที่ 1 ม.ค.57 นี้ จะปรับเพิ่มเป็นครั้งสุดท้ายของ 3 ปีแล้ว ซึ่งในวันที่ 1 ม.ค.57 นี้ ข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างจำที่วุฒิ ป.ตรี จะได้เฉพาะเงินเดือน/ค่าจ้าง 15,000 บาท โดยไม่ได้ค่าครองชีพแล้ว ( ใน 2 ปีที่ผ่านมา ใครที่วุฒิ ป.ตรี แล้วได้เงินเดือน/ค่าจ้าง ไม่ถึง 15,000 บาท ก็จะได้ค่าครองชีพให้รวมเป็น 15,000 บาท ฉะนั้นการปรับเพิ่มเงินเดือน/ค่าจ้างแต่ละครั้ง ถ้ารวมแล้วยังไม่เกิน 15,000 บาท ก็จะไม่ได้เงิน เพราะจะถูกหักค่าครองชีพคืนหมด )
สำหรับข้าราชการครู จะได้มากกว่า 15,000 บาทเล็กน้อย ส่วนพนักงานราชการ (พรก.) จะได้มากกว่า 15,000 บาท อีก 20 % รวมเป็น 18,000 บาท เพื่อ
- ชดเชยบำเหน็จบำนาญ 10 % เมื่อ พรก.เกษียณจะไม่มีบำเหน็จบำนาญอีก ( แต่อาจมีบำเหน็จบำนาญจากเงินประกันสังคม )
- ชดเชยสวัสดิการ 5 % ( จะเบิกค่าสวัสดิการเช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจสุขภาพ ค่าช่วยเหลือบุตร ค่าการศึกษาบุตรไม่ได้ แต่ก็เบิกจากระบบประกันสังคมได้ )
- ชดเชยเงินประกันสังคม 5 %
อัตรา 15,000 บาท หรือมากกว่า หรือ 18,000 บาท นี้ เป็นอัตราสำหรับผู้ที่บรรจุใหม่ตั้งแต่ 1 ม.ค.57 เป็นต้นไป ส่วนผู้ที่บรรจุอยู่ก่อนแล้ว ก็จะปรับเพิ่มให้ได้มากกว่า ดังต่อไปนี้
1. พนักงานราชการ
วันที่ 4 ต.ค.56 ผมเผยแพร่ข้อมูลเรื่องการปรับเพิ่มค่าตอบแทนแรกบรรจุของพนักงานราชการเป็น 18,000 บาท ลงในเฟซบุ๊ค ว่า
น่าอิจฉาพนักงานราชการ ( ปีนี้อย่าให้ช้านะ.. )
ในขณะที่ครู ศรช. กับ พนักงานจ้างเหมาบริการ ยังได้รับค่าจ้าง/ค่าตอบแทนเท่าเดิมอยู่ แต่พนักงานราชการได้เลื่อนค่าตอบแทนในวันที่ 1 ต.ค.56 และเดี๋ยว วันที่ 1 ม.ค.57 ก็จะได้ปรับเพิ่มค่าตอบแทนอีกครั้งหนึ่ง
บางจังหวัดเร็วมาก เช่น จ.พัทลุง ออกคำสั่งเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.56 เลย เก่งมากจริง ๆ ขอชื่นชม
จังหวัดไหนออกคำสั่งเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ 1 ต.ค.56 เสร็จแล้ว ก็ร่างคำสั่งปรับเพิ่มค่าตอบแทน 1 ม.ค.57 ไว้ได้เลย ปีที่แล้วตอนปรับเพิ่ม 1 ม.ค.56 บางจังหวัดไปได้ตกเบิกในเดือน มิ.ย.56 แน่ะ เพราะทุกฝ่ายไปเริ่มทำหลัง 1 ม.ค.56
ปีนี้รู้ล่วงหน้าแล้ว รู้แล้วด้วยว่าปรับเพิ่มเป็นเท่าไร ( ทุกคนใช้สูตรเดียวกันเพราะไม่ต้องประเมินผลงานอีก ) ปีนี้อย่าให้ช้านะ.. จังหวัดไหนสามารถทำให้ตกเบิกได้ภายใน มี.ค.57 ถือว่าเก่ง
เรื่องปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2556 ที่
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/GEIS/PrakardSalary6.pdf กำหนดว่า
1 ม.ค.57 พนักงานราชการกลุ่มบริหารทั่วไป ที่จ้างด้วยวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปีทุกสังกัดทุกตำแหน่งทุกคน ให้ปรับเพิ่มค่าตอบแทนแรกบรรจุ เป็น 18,000 บาท ( วุฒิอื่น ๆ ก็ปรับขึ้นตามลำดับ )
สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาอื่นตาม ม.38 ค. (2) ก็จะได้ปรับเพิ่มเช่นกัน ( ของข้าราชการครู ตอนปรับ 1 ม.ค.56 ยังไม่เสร็จเลย )
วิธีคำนวณว่าพนักงานราชการ ( ที่บรรจุอยู่ก่อน 1 ม.ค.57 ทุกคน ) คนใดจะได้ปรับเพิ่มค่าตอบแทนใหม่ในเดือน ม.ค.57 ( ให้ได้มากกว่าผู้ที่บรรจุใหม่ ) เป็นเท่าไร
ให้นำค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 แล้ว ลบด้วย 15,960 แล้วคูณด้วย 0.67จากนั้นนำไปบวกกับ 18,000 ได้เท่าไรปัดเศษขึ้นให้ลงท้ายด้วย 0 ( ต้องปัดเศษขึ้นไม่ถึง10 บาทนะ ) ก็จะเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57
ตามสูตรคือ = [(ค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 - 15,960) X 0.67] + 18,000 = ค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 ( ปัดเศษก่อน )
เช่น ถ้า น.ส.จุ๋มจิ๋ม ได้ค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 เป็น 16,000 บาท คำนวณดังนี้
= [(16,000 - 15,960) X 0.67] + 18,000
= [(40) X 0.67] + 18,000
= 26.8 + 18,000
= 18,026.8 ปัดเศษเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 = 18,030 บาท
ตัวอย่างที่ 2 ถ้า นายแหล่ ได้ค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 เป็น 16,310บาท
= [(16,310 - 15,960) X 0.67] + 18,000
= [(350) X 0.67] + 18,000
= 234.5 + 18,000
= 18,234.5 ปัดเศษเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 = 18,240 บาท
ปวส. = [(ค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 - 12,240) X 0.67] + 13,800 = ค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 ( ปัดเศษขึ้นก่อน )
หรือใช้ โปรแกรม Excel สำหรับคำนวณค่าตอบแทนพนักงานราชการ ม.ค.57 ดาวน์โหลดที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/moneyJan57.xls
( แค่ใส่ค่าตอบแทนหลังเลื่อน 1 ต.ค.56 ลงไปในช่องสีเขียว ก็จะได้ค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 ในช่องสีส้ม )
2. ลูกจ้างประจำ
ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของลูกจ้างประจำ ตั้งแต่ 1 ม.ค.57 ตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ดังนี้
1) วุฒิไม่เกิน ม.ปลาย = 8,690 บ.
2) วุฒิ ปวช. = 9,400 บ.
3) วุฒิ ปวท./ป.กศ.สูง = 10,840 บ.
4) วุฒิ ปวส. = 11,500 บ.
5) วุฒิอนุปริญญาหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน = 11,840 บ.
6) วุฒิปริญญาตรี = 15,000 บ.
7) วุฒิปริญญาโท = 17,500 บ.
8) วุฒิปริญญาเอก = 21,000 บ.
และ ปรับเพิ่มค่าจ้างลูกจ้างประจำ ที่บรรจุอยู่ก่อนวันที่ 1 ม.ค.57 ตามรายละเอียดที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/wageEmployees57.pdf
3. ข้าราชการพลเรือน และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) เช่นบรรณารักษ์, ข้าราชการใน สนง.กศน.จ. เงินเดือนผู้ที่บรรจุตั้งแต่ 1 ม.ค.57 เป็นต้นไป ดังนี้
- ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน จากเดิม 8,300 บาท
- ระดับ ปวส. 11,500 บาท/เดือน จากเดิม 10,200 บาท
- ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน จากเดิม 13,300 บาท
- ระดับปริญญาโททั่วไป 17,500 บาท/เดือน จากเดิม 16,400 บาท
- ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน จากเดิม 20,000 บาท
สำหรับ ขรก.พลเรือนและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่บรรจุอยู่ก่อน 1 ม.ค.57 ก็ปรับให้ได้เงินเดือนสูงกว่าผู้ที่จะบรรจุใหม่ ตั้งแต่ ม.ค.57 เช่นกัน
เช่น วุฒิปริญญาตรีจะเพิ่มให้ดังนี้
- ถ้าเงินเดือนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 อยู่ระหว่าง 13,300 ถึง 15,000 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,700 บาท รวมไม่เกิน 16,460 บาท
หมายความว่าถ้าเงินเดือน 13,300 บาท ก็ให้เพิ่มอีก 1,700 บาท รวมเป็น 15,000 บาท แต่ถ้าใครเพิ่ม 1,700 บาทแล้วเกิน 16,460 บาท ก็ให้ได้แค่ 16,460 บาท ( ซึ่งจะส่งผลให้บางขั้นเงินเดือนที่เคยต่างกัน กลายเป็นเงินเดือนเท่ากัน )
- ถ้าได้ 15,010 – 16,700 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,450 บาท รวมไม่เกิน 17,910 บาท
- ถ้าได้ 16,710 – 18,400 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,200 บาท รวมไม่เกิน 19,360 บาท
- ถ้าได้ 18,410 – 20,100 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 950 บาท รวมไม่เกิน 20,810 บาท
- ถ้าได้ 20,110 – 21,800 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 700 บาท รวมไม่เกิน 22,260 บาท
- ถ้าได้ 21,810 – 23,500 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 450 บาท รวมไม่เกิน 23,710บาท
- ถ้าได้ 23,510 – 25,300 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 200 บาท รวมไม่เกิน 25,310บาท
ถ้าได้เกิน 25,300 บาทแล้ว ไม่ปรับเพิ่ม
( ดูรายละเอียดที่ cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/865/003/original_W20_2555_final.pdf?1357193271 )
สำหรับหลักเกณฑ์การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการครู 1 ม.ค.57 ยังไม่ผ่าน ครม.
ส่วน ลูกจ้างชั่วคราว เฉพาะที่จ้างด้วยเงินงบประมาณที่เป็นงบบุคลากร ( มีเลขที่อัตรา ) ก็จะได้ปรับขึ้นเช่นกัน โดยสำนักงบประมาณจะจัดสรรเงินมาให้
แต่ถ้าจ้างด้วยงบอื่น เช่น ครู ศรช. และพนักงานจ้างเหมาบริการ 35 ตำแหน่ง เช่น ครูประจำกลุ่ม ปวช. บรรณารักษ์ ครูสอนคนพิการ ครูสอนเด็กเร่ร่อน ฯลฯ ให้แต่ละส่วนราชการใช้งบประมาณประจำปี ทั้งนี้ ให้ไปฟัง ( หรือถาม ) ในวันที่ 18 ต.ค.56 นะครับ
ที่มาของข่าว :
http://www.gotoknow.org/posts/550346
1 ม.ค.57 ปรับเพิ่มเงินเดือน/ค่าจ้าง (ขรก.พลเรือน+บุคลากรฯ ม.38 ค.(2), ลูกจ้างประจำ, พนักงานราชการ)
ไม่ขอเรื่องดราม่าเกี่ยวกับการเมืองนะคะ ขอบคุณค่ะ^^
ปรับเพิ่มเงินเดือน/ค่าจ้าง 1 ม.ค.57 ( ขรก.พลเรือน+บุคลากรทาง กศ.อื่น ม.38 ค.(2), ลูกจ้างประจำ, พนักงานราชการ )
โดย นาย เอกชัย ยุติศรี
เอกชัย กศน.ผักไห่
รัฐบาลหาเสียง ให้วุฒิปริญญาตรี ได้เงินเดือน 15,000 บาท และกำหนดให้ปรับเพิ่มเงินเดือน 3 ปีติดต่อกัน จนเงินเดือนไม่รวมค่าครองชีพของวุฒิปริญญาตรี เป็น 15,000 บาท ( วุฒิอื่น ๆ ก็ปรับเพิ่มตามลำดับ ) ในวันที่ 1 ม.ค.57 นี้ จะปรับเพิ่มเป็นครั้งสุดท้ายของ 3 ปีแล้ว ซึ่งในวันที่ 1 ม.ค.57 นี้ ข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างจำที่วุฒิ ป.ตรี จะได้เฉพาะเงินเดือน/ค่าจ้าง 15,000 บาท โดยไม่ได้ค่าครองชีพแล้ว ( ใน 2 ปีที่ผ่านมา ใครที่วุฒิ ป.ตรี แล้วได้เงินเดือน/ค่าจ้าง ไม่ถึง 15,000 บาท ก็จะได้ค่าครองชีพให้รวมเป็น 15,000 บาท ฉะนั้นการปรับเพิ่มเงินเดือน/ค่าจ้างแต่ละครั้ง ถ้ารวมแล้วยังไม่เกิน 15,000 บาท ก็จะไม่ได้เงิน เพราะจะถูกหักค่าครองชีพคืนหมด )
สำหรับข้าราชการครู จะได้มากกว่า 15,000 บาทเล็กน้อย ส่วนพนักงานราชการ (พรก.) จะได้มากกว่า 15,000 บาท อีก 20 % รวมเป็น 18,000 บาท เพื่อ
- ชดเชยบำเหน็จบำนาญ 10 % เมื่อ พรก.เกษียณจะไม่มีบำเหน็จบำนาญอีก ( แต่อาจมีบำเหน็จบำนาญจากเงินประกันสังคม )
- ชดเชยสวัสดิการ 5 % ( จะเบิกค่าสวัสดิการเช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจสุขภาพ ค่าช่วยเหลือบุตร ค่าการศึกษาบุตรไม่ได้ แต่ก็เบิกจากระบบประกันสังคมได้ )
- ชดเชยเงินประกันสังคม 5 %
อัตรา 15,000 บาท หรือมากกว่า หรือ 18,000 บาท นี้ เป็นอัตราสำหรับผู้ที่บรรจุใหม่ตั้งแต่ 1 ม.ค.57 เป็นต้นไป ส่วนผู้ที่บรรจุอยู่ก่อนแล้ว ก็จะปรับเพิ่มให้ได้มากกว่า ดังต่อไปนี้
1. พนักงานราชการ
วันที่ 4 ต.ค.56 ผมเผยแพร่ข้อมูลเรื่องการปรับเพิ่มค่าตอบแทนแรกบรรจุของพนักงานราชการเป็น 18,000 บาท ลงในเฟซบุ๊ค ว่า
น่าอิจฉาพนักงานราชการ ( ปีนี้อย่าให้ช้านะ.. )
ในขณะที่ครู ศรช. กับ พนักงานจ้างเหมาบริการ ยังได้รับค่าจ้าง/ค่าตอบแทนเท่าเดิมอยู่ แต่พนักงานราชการได้เลื่อนค่าตอบแทนในวันที่ 1 ต.ค.56 และเดี๋ยว วันที่ 1 ม.ค.57 ก็จะได้ปรับเพิ่มค่าตอบแทนอีกครั้งหนึ่ง
บางจังหวัดเร็วมาก เช่น จ.พัทลุง ออกคำสั่งเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.56 เลย เก่งมากจริง ๆ ขอชื่นชม
จังหวัดไหนออกคำสั่งเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ 1 ต.ค.56 เสร็จแล้ว ก็ร่างคำสั่งปรับเพิ่มค่าตอบแทน 1 ม.ค.57 ไว้ได้เลย ปีที่แล้วตอนปรับเพิ่ม 1 ม.ค.56 บางจังหวัดไปได้ตกเบิกในเดือน มิ.ย.56 แน่ะ เพราะทุกฝ่ายไปเริ่มทำหลัง 1 ม.ค.56
ปีนี้รู้ล่วงหน้าแล้ว รู้แล้วด้วยว่าปรับเพิ่มเป็นเท่าไร ( ทุกคนใช้สูตรเดียวกันเพราะไม่ต้องประเมินผลงานอีก ) ปีนี้อย่าให้ช้านะ.. จังหวัดไหนสามารถทำให้ตกเบิกได้ภายใน มี.ค.57 ถือว่าเก่ง
เรื่องปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2556 ที่ http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/GEIS/PrakardSalary6.pdf กำหนดว่า
1 ม.ค.57 พนักงานราชการกลุ่มบริหารทั่วไป ที่จ้างด้วยวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปีทุกสังกัดทุกตำแหน่งทุกคน ให้ปรับเพิ่มค่าตอบแทนแรกบรรจุ เป็น 18,000 บาท ( วุฒิอื่น ๆ ก็ปรับขึ้นตามลำดับ )
สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาอื่นตาม ม.38 ค. (2) ก็จะได้ปรับเพิ่มเช่นกัน ( ของข้าราชการครู ตอนปรับ 1 ม.ค.56 ยังไม่เสร็จเลย )
วิธีคำนวณว่าพนักงานราชการ ( ที่บรรจุอยู่ก่อน 1 ม.ค.57 ทุกคน ) คนใดจะได้ปรับเพิ่มค่าตอบแทนใหม่ในเดือน ม.ค.57 ( ให้ได้มากกว่าผู้ที่บรรจุใหม่ ) เป็นเท่าไร
ให้นำค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 แล้ว ลบด้วย 15,960 แล้วคูณด้วย 0.67จากนั้นนำไปบวกกับ 18,000 ได้เท่าไรปัดเศษขึ้นให้ลงท้ายด้วย 0 ( ต้องปัดเศษขึ้นไม่ถึง10 บาทนะ ) ก็จะเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57
ตามสูตรคือ = [(ค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 - 15,960) X 0.67] + 18,000 = ค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 ( ปัดเศษก่อน )
เช่น ถ้า น.ส.จุ๋มจิ๋ม ได้ค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 เป็น 16,000 บาท คำนวณดังนี้
= [(16,000 - 15,960) X 0.67] + 18,000
= [(40) X 0.67] + 18,000
= 26.8 + 18,000
= 18,026.8 ปัดเศษเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 = 18,030 บาท
ตัวอย่างที่ 2 ถ้า นายแหล่ ได้ค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 เป็น 16,310บาท
= [(16,310 - 15,960) X 0.67] + 18,000
= [(350) X 0.67] + 18,000
= 234.5 + 18,000
= 18,234.5 ปัดเศษเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 = 18,240 บาท
ปวส. = [(ค่าตอบแทนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 - 12,240) X 0.67] + 13,800 = ค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 ( ปัดเศษขึ้นก่อน )
หรือใช้ โปรแกรม Excel สำหรับคำนวณค่าตอบแทนพนักงานราชการ ม.ค.57 ดาวน์โหลดที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/moneyJan57.xls
( แค่ใส่ค่าตอบแทนหลังเลื่อน 1 ต.ค.56 ลงไปในช่องสีเขียว ก็จะได้ค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.57 ในช่องสีส้ม )
2. ลูกจ้างประจำ
ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของลูกจ้างประจำ ตั้งแต่ 1 ม.ค.57 ตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ดังนี้
1) วุฒิไม่เกิน ม.ปลาย = 8,690 บ.
2) วุฒิ ปวช. = 9,400 บ.
3) วุฒิ ปวท./ป.กศ.สูง = 10,840 บ.
4) วุฒิ ปวส. = 11,500 บ.
5) วุฒิอนุปริญญาหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน = 11,840 บ.
6) วุฒิปริญญาตรี = 15,000 บ.
7) วุฒิปริญญาโท = 17,500 บ.
8) วุฒิปริญญาเอก = 21,000 บ.
และ ปรับเพิ่มค่าจ้างลูกจ้างประจำ ที่บรรจุอยู่ก่อนวันที่ 1 ม.ค.57 ตามรายละเอียดที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/wageEmployees57.pdf
3. ข้าราชการพลเรือน และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) เช่นบรรณารักษ์, ข้าราชการใน สนง.กศน.จ. เงินเดือนผู้ที่บรรจุตั้งแต่ 1 ม.ค.57 เป็นต้นไป ดังนี้
- ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน จากเดิม 8,300 บาท
- ระดับ ปวส. 11,500 บาท/เดือน จากเดิม 10,200 บาท
- ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน จากเดิม 13,300 บาท
- ระดับปริญญาโททั่วไป 17,500 บาท/เดือน จากเดิม 16,400 บาท
- ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน จากเดิม 20,000 บาท
สำหรับ ขรก.พลเรือนและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่บรรจุอยู่ก่อน 1 ม.ค.57 ก็ปรับให้ได้เงินเดือนสูงกว่าผู้ที่จะบรรจุใหม่ ตั้งแต่ ม.ค.57 เช่นกัน
เช่น วุฒิปริญญาตรีจะเพิ่มให้ดังนี้
- ถ้าเงินเดือนหลังเลื่อนขั้น 1 ต.ค.56 อยู่ระหว่าง 13,300 ถึง 15,000 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,700 บาท รวมไม่เกิน 16,460 บาท
หมายความว่าถ้าเงินเดือน 13,300 บาท ก็ให้เพิ่มอีก 1,700 บาท รวมเป็น 15,000 บาท แต่ถ้าใครเพิ่ม 1,700 บาทแล้วเกิน 16,460 บาท ก็ให้ได้แค่ 16,460 บาท ( ซึ่งจะส่งผลให้บางขั้นเงินเดือนที่เคยต่างกัน กลายเป็นเงินเดือนเท่ากัน )
- ถ้าได้ 15,010 – 16,700 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,450 บาท รวมไม่เกิน 17,910 บาท
- ถ้าได้ 16,710 – 18,400 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,200 บาท รวมไม่เกิน 19,360 บาท
- ถ้าได้ 18,410 – 20,100 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 950 บาท รวมไม่เกิน 20,810 บาท
- ถ้าได้ 20,110 – 21,800 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 700 บาท รวมไม่เกิน 22,260 บาท
- ถ้าได้ 21,810 – 23,500 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 450 บาท รวมไม่เกิน 23,710บาท
- ถ้าได้ 23,510 – 25,300 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 200 บาท รวมไม่เกิน 25,310บาท
ถ้าได้เกิน 25,300 บาทแล้ว ไม่ปรับเพิ่ม
( ดูรายละเอียดที่ cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/865/003/original_W20_2555_final.pdf?1357193271 )
สำหรับหลักเกณฑ์การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการครู 1 ม.ค.57 ยังไม่ผ่าน ครม.
ส่วน ลูกจ้างชั่วคราว เฉพาะที่จ้างด้วยเงินงบประมาณที่เป็นงบบุคลากร ( มีเลขที่อัตรา ) ก็จะได้ปรับขึ้นเช่นกัน โดยสำนักงบประมาณจะจัดสรรเงินมาให้
แต่ถ้าจ้างด้วยงบอื่น เช่น ครู ศรช. และพนักงานจ้างเหมาบริการ 35 ตำแหน่ง เช่น ครูประจำกลุ่ม ปวช. บรรณารักษ์ ครูสอนคนพิการ ครูสอนเด็กเร่ร่อน ฯลฯ ให้แต่ละส่วนราชการใช้งบประมาณประจำปี ทั้งนี้ ให้ไปฟัง ( หรือถาม ) ในวันที่ 18 ต.ค.56 นะครับ
ที่มาของข่าว : http://www.gotoknow.org/posts/550346