ttp://www.bangkokbiznews.com/home/d...%E0%B8%97.html
12 ปี บนโลกการลงทุนแนว VI “วิบูลย์ พึงประเสริฐ” เจ้าของพอร์ตหลักสิบล้าน โกยกำไรมาแล้วเฉลี่ยปีละ 30%จากนี้ไปขอ “โตพอเพียง” ปีละ 15%
“รวยหุ้น” แต่ไม่จำเป็นลาออกจากงานประจำ “บูลย์-วิบูลย์ พึงประเสริฐ” เจ้าของพอร์ตลงทุน “หลักสิบล้านบาท” บุรุษผู้โลดแล่นในตลาดหุ้นมา 16 ปี แต่เพิ่งหันมาเป็น “นักลงทุนเน้นคุณค่า” หรือ Value Investor(VI) ในช่วง 12 ปีหลัง คิดเช่นนั้น..
“ความแก่กล้าวิชาหุ้น VI” ทำให้ “วิบูลย์” เคยถูกทาบทามให้มานั่งเป็น “นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)” รุ่น 2 ต่อจาก “ไก่-ธันวา เลาหศิริวงศ์” แต่เขาส่ายหัวไม่รับตำแหน่ง เพราะมีงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ
ปัจจุบัน “ชายวัย 44 ปี” นั่งทำงานอยู่ที่ “Nature Works Asia Pacific Ltd.” บริษัทร่วมทุนระหว่าง “พีทีที โกลบอล เคมิคอล” (PTTGC) และพันธมิตรจากประเท ศ สหรัฐอเมริกา บริษัทนี้เป็นแห่งที่ 4 ที่เขาใช้ชีวิตมุนษย์เงินเดือน
ต้นปี 2540 ก่อนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง “วิบูลย์” ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 29 ปี และเพิ่งเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ประสานงานโครงการ บริษัท เชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด หลังเรียนจบปริญญาโท MBA ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจควัก “ทุนตั้งต้น” เล่นหุ้นครั้งแรก 100,000 บาท ตามคำชักชวนของเพื่อนมาร์เก็ตติ้ง ณ บล.ธนสยาม 1 ในไฟแนนซ์ที่ปิดตัวไปในช่วงวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง”
เขาฉายเดี่ยว ทุ่มเงินทั้งก้อน “สอย” หุ้น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เพียงตัวเดียว ไม้แรกต้นทุน 100 บาท ผ่านไป 2 วัน ปล่อยออก 104 บาท ไม้สอง 106 บาท ผ่านไป 2 วัน ขายออก 110 บาท “ที่สุดแห่งความดีใจ” ทำให้ “บูลย์” ช้อนไม้ 3 ราคา 120 บาท โดยหารู้ไม่ว่า “หายนะทางเศรษฐกิจกำลังมาเยือน”
ซื้อหุ้น BBL ไม้สุดท้ายได้ไม่นาน ราคาหุ้น BBL และ SET INDEX “ดิ่งหนัก” เขาอดทนถือหุ้น BBL ต่อไป ด้วยความหวังว่า “กาลเวลาจะนำพาความร่ำรวยคืนมา” ผ่านมา 3 ปี ราคาหุ้น BBL ลดเหลือ 30 บาท “ขาดทุน” ทันที 70 เปอร์เซ็นต์ จากทุน “หนึ่งแสนบาท” เหลือเพียง 30,000 บาท
“วิบูลย์” หวนคืนตลาดหุ้นอีกครั้ง ด้วยเงินก้อนใหม่ 300,000 บาท คราวนี้มาแนว “นักลงทุนเน้นคุณค่า” หลังเพื่อนคนหนึ่งยื่นกระดาษซีร็อกซ์ “หนังสือ ศาสตร์แห่งบัฟเฟตต์” หรือ Buffettology ของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” มาให้ช่วยแปล
เขาใช้เวลาอ่านหนังสือการลงทุนของต่างประเทศไม่เกิน 4 เดือน ก่อนตัดสินใจคัด 3 หุ้นที่ดีที่สุดเข้าพอร์ต นั่นคือ หุ้น เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ,หุ้น ผลิตไฟฟ้า (EGCO) และ หุ้น ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
ถือไม่นานเขาขายหุ้น 2 ตัวแรก เพื่อโยกเงินมาซื้อหุ้น PTTEP ตัวเดียวในราคา 110 บาท พาร์ 5 บาท เทียบเท่า 22 บาท พาร์ 1 บาท เพราะเชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ราคาหุ้นจะทะยาน ผ่านมาแค่ 6 เดือน ราคาหุ้น PTTEP ขึ้นไป 220 บาท พาร์ 1 บาเขาตัดสินใจขายได้กำไร 1,000 เปอร์เซ็นต์ พลิกพอร์ตลงทุนจากเงินตั้งต้น “หลักแสน” สู่ “8 หลัก” ทันที (ก่อนกำไรหุ้น PTTEP เขาเติมเงินเข้าพอร์ตตลอด)
“เซียนหุ้นวีไอ” ในฐานะนักเขียนประจำคอลัมน์ Value Way ของหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพธุรกิจ BIZ Week” และเจ้าของหนังสือ “คัมภีร์ VI ลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่า (เขียนร่วมกับ “มนตรี นิพิฐวิทยา) เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันมีหุ้นในพอร์ตประมาณ 5 ตัว อาทิเช่น หุ้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) หุ้น พฤกษา เรียลเอสเตท (PS) หุ้น ซีพี ออลล์ (CPALL) หุ้น กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) และหุ้น บ้านปู (BANPU)
ตั้งแต่ลงทุนแนว VI มา 12 ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์บวกลบ ไม่เคยมีปีไหนที่ได้กำไรสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ คนที่สามารถโกยกำไรได้สูงขนาดนั้น คือ นักลงทุนที่เปิดบัญชีเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือบัญชีมาจิน (Margin Account) และนักลงทุนที่ลงทุนหุ้นน้อยตัว
“ผมไม่โลภจากนี้ขอให้พอร์ตโตปีละ 10-15 เปอร์เซ็นต์ เท่านี้ชีวิตมีสุขแล้ว”
เขา เล่าว่า หลังโกยกำไร 10 เท่า จากหุ้น ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เริ่มขยับไปลงทุนหุ้นหลายตัว ขอยกตัวอย่างเฉพาะ “ตัวไฮไลท์” ไล่มาตั้งแต่ หุ้น ซีพี ออลล์ หรือ CPALL ต้นทุน 4 บาท ทั้งๆที่ตอนนั้นงบการเงินของบริษัทมีปัญหา เพราะขาดทุนจากซูเปอร์มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส เมืองจีน แต่เราเห็นว่า บริษัทกำลังจะตัดตัวปัญหาออกไปจากงบการเงิน ด้วยการขายให้เครือซีพี ฉะนั้นอนาคตน่าจะสวย
ถือหุ้น ซีพี ออลล์ ได้ 1 ปี ราคาเฉลี่ย 11-12 บาท คิดจากราคาพาร์เก่า 5 บาท ดันเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2551 ราคาหุ้น ซีพี ออลล์ ลดลงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เหลือประมาณ 7 บาท หลังราคาทยอยขึ้นมาก่อนหน้านี้ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ช่วงนั้นบริษัทประกาศซื้อหุ้นคืน เพราะเขามีเงินสดในมือมากถึง 20,000 ล้านบาท ทำให้ราคาหุ้น ซีพี ออลล์ “หยุดไหล”
“ผมยังคงถือหุ้น ซีพี ออลล์ ต้นทุน 4 บาทเหมือนเดิม ตอนนี้ราคาขึ้นไปซื้อขาย 38 บาทแล้ว หากคิดจากราคาพาร์ใหม่ 1 บาท แต่ถ้าคิดจากราคาพาร์เก่า ราคาหุ้น ซีพี ออลล์ จะอยู่ที่ประมาณ 76 บาท”
ช้อนหุ้นอะไรต่อ? เขาหัวเราะหลังได้ยินคำถาม ช่วงเริ่มต้นในการลงทุนแนว VI มีโอกาสได้อ่านหนังสือจของ “ปีเตอร์ ลินช์” เขาสอนให้หาหุ้นที่เรามองเห็น วันหนึ่งไปเดินเทสโก้ โลตัส เห็นคนต่อคิวยาวยืด เพื่อจ่ายเงินค่าผ่อนสินค้าของ “อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์)” หรือ AEONTS
“ธุรกิจนี้ต้องดีมากแน่ๆ” ความคิดนี้ผุดขึ้นในหัวทันที
กลับถึงบ้านรีบดูราคาหุ้น AEONTS เปิดมาเจอราคา 250 บาท ขณะนั้นหุ้น AEONTS มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือค่า P/E ประมาณ 25 เท่า สูงกว่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรของตลาด SET INDEX ที่อยู่เพียง 7 เท่า “ผมตัดใจไม่ซื้อ เพราะแพงเกินไป ณ เวลานั้นทำได้แค่รอเวลา”
ผ่านไป 3 เดือน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมากำหนดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตเหลือ 18 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ส่งผลให้ราคาหุ้น AEONTS ไหลลงเรื่อยๆจนเหลือ 150 บาท ใช้เวลาเพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้น ทุกคนคิดว่า บริษัทต้องมีผลประกอบการลดลงแน่ๆ แต่หลังจากเราเข้าไปดูรายละเอียดพบว่า ตอนนั้นบริษัทไม่ได้ทำบัตรเครดิตมีเพียงบัตรเงินผ่อนเท่านั้น
“ผมรีบเข้าไปซื้อหุ้น AEONTS ตอนราคา 120 บาท ครอบครองไม่นานราคาหุ้นตกเหลือ 80 บาท แต่ผมไม่ขาย เพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดี อดทนถือต่อ 6 เดือน บริษัทประกาศงบการเงินผลปรากฎว่า มีอัตราเติบโตขึ้น คราวนี้ราคาหุ้นวิ่งกลับมาอยู่ 250 บาท ใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น ผมไม่รีรอรีบปล่อยของทันที”
“นักลงทุนวีไอ” เล่าต่อว่า หุ้นตัวต่อไปที่สร้างผลตอบแทนอย่างงาม คือ หุ้น พฤกษา เรียลเอสเตท (PS) ปลายปี 2554 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ โครงการของบริษัทกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ราคาหุ้น PS จากที่เคยขึ้นไปยืน “จุดสูงสุด” 25 บาท ลดลงเหลือแค่ 10 บาท นั่นหละ “จุดช้อนหุ้นของผม”
น้ำคงไม่ท่วมทุกปี แถมพฤติกรรมคนไทยไม่ค่อยย้ายถิ่นฐาน ต่อให้บริเวณนั้นเสี่ยงต่อการที่น้ำจะท่วมอีกก็ตาม ยิ่งบริษัทมีการพัฒนาระบบมากขึ้น รับรองไม่เกิน 3 ปี ราคาหุ้น PS ต้องกลับมา หัวสมองคิดเช่นนั้น สุดท้ายใช้เวลาแค่ 1 ปี ราคาหุ้น PS ดีดกลับมายืน 25 บาทเหมือนเคย
ครั้งหนึ่งราคาหุ้น PS เคยขึ้นไปสร้างสถิติสูงสุดที่ 35 บาท “สูงมากแต่ไม่ขาย” เพราะเชื่อว่าโอกาสไปต่อมีแน่ โมเดลธุรกิจไม่หยุดอยู่แค่ในเมืองไทย เขาจะมุ่งหน้าโกอินเตอร์ ถ้าเขาไม่ออกไปเติบโตนอกบ้าน เราอาจขายหุ้นออก แต่หากราคาหุ้น PS ลดลงมาอยู่ที่ 10 บาทอีกครั้ง “จะซื้ออีก”
มีหุ้นตัวอื่นอีกมั้ย? เขาทำท่าคิด ก่อนตอบว่า หุ้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ซื้อมา 5-6 ปีแล้ว “ต้นทุน 15 บาท ตอนนี้ราคา 80 บาทแล้ว”!!
เหตุผลที่ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะว่า ช่วงหนึ่งมีข่าวว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ติดอันดับ 1 ใน 10 โรงพยาบาลระดับโลก เมื่อเป็นเช่นนั้นอนาคตคนไข้ต่างชาติต้องสูงขึ้นจาก 30 เปอร์เซ็นต์แน่นอน ผ่านมาตอนนี้สัดส่วนต่างชาติเปลี่ยนเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เขาสามารถขยายเพดานได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ อนาคตคงกลายเป็นโรงพยาบาลต่างชาติ (หัวเราะ)
ฃครั้งหนึ่งเคยใช้บริการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ค่าห้องธรรมดาตกวันละ 3,000 บาทต่อคืน ตอนนี้ปาเข้าไป 8,000 บาทต่อคืน ส่วนห้องวีไอพี 15,000 บาทต่อคืน เรื่องระบบของโรงพยาบาลของเขากินขาดที่อื่นสู้ไม่ได้จริงๆ ล่าสุดเขากำลังจะสร้างโรงพยาบาลอีกแห่งบนถนนเพชรบุรี และจะลงทุนสร้างโรงพยาบาลในเมืองจีน และเวียดนาม
“เจ้าของพอร์ต 8 หลัก” เล่าว่า พึ่งซื้อ หุ้น บ้านปู หรือ BANPU ต้นทุน 300 บาท ซื้อก่อนที่บริษัทจะเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จาก 10 บาท เหลือ 1 บาท แตกครั้งหนึ่งราคาหุ้นเคยพุ่งสูงถึง 700 บาท ก่อนราคาจะทยอยลดลง หลังราคาถ่านหินลดลงจาก 140 เหรียญต่อตัน เหลือ 70 เหรียญต่อตัน แถมยังมาแพ้คดีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ เมืองหงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต้องจ่ายค่าปรับ 30,000 ล้านบาท ภายในเวลา 30 ปี
“ถ่านหินไม่มีวันตาย” ระยะสั้นจะไม่ถูกทดแทนด้วย “เชลล์แก๊ส” (Shale Gas) ยกเว้นแถบอเมริกาเหนือ ตั้งใจจะถือหุ้น บ้านปู ประมาณ 3 ปี โอกาสจะขึ้นไป 700 บาท คงยาก ราคานั้นได้เห็น เพราะเขาขายเหมืองเมืองจีน ราคาถึงเด้งขึ้นมา แต่เป็นเพราะระยะสั้นเท่านั้น
หากตัดเรื่องนั้นออกไปราคาเหมาะสมของหุ้น บ้านปู จะอยู่ที่ 400-500 บาท “ผมหวังว่าจะเห็นราคานี้ภายใน 3 ปีข้างหน้า” นี่คิดจากโมเดลที่เขากำลังเปลี่ยนมาทำโรงไฟฟ้ามากขึ้น สัดส่วนอนาคตน่าจะเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ จาก 30 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) เพิ่งซื้อเมื่อปี 2555 ต้นทุน 110 บาท เขามีแผนงานที่ชัดเจน เป้าหมายอยู่ที่ไหนเขาอธิบายได้ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลประมาณ 30 แห่ง ภายใน 3 ปีข้างหน้า เขาอยากมีโรงพยาบาล 50 แห่ง และมียอดขายเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว “ผมขอยืดแผนธุรกิจเขาออกไปอีก 2 ปี” ฉะนั้นภายใน 5 ปีข้างหน้า ราคาหุ้น BGH อาจขึ้นไปซื้อขาย 200 บาท ถามว่า เขาจะหาเงินลงทุนจากไหน เงินสดเขาเยอะ แถมอัตราหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ต่ำแค่ 0.5 เท่า
โรงพยาบาลในเครือกรุงเทพ ตอนนี้ยังมีส่วนแบ่งการตลาดในแง่ของเตียงคนไข้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นโอกาสขยายตัวในต่างจังหวัดยังมีอีกเยอะ แถมอัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจโรงพยาบาลยังสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ นั่นแปลว่า หากเขาจะสร้างโรงพยาบาลใหม่จะสามารถคืนทุนได้ภายใน 4-5 ปี ตั้งใจจะถือหุ้น BGH ประมาณ 10 ปี หากหุ้นลงจะซื้อเพิ่ม
ไม่อยากบอกว่า กำลังเล็งจะช้อนหุ้นตัวไหน เอาเป็นว่า ดัชนีลงจาก 1,600 จุด เหลือ 1,200 จุด ทำให้มีหุ้นหลายตัวน่าสนใจ อาทิเช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มค้าปลีก คุณลองไปดูสิมีราคาหุ้นมากมายที่ลดลงแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆที่พื้นฐานไม่เปลี่ยนสักนิด
“ทุกครั้งที่ได้กำไรจากการลงทุน ผมมักจะนำไป “ทบต้น” หรือเก็บเป็นเงินสด เมื่อมีจังหวะจะนำเงินเหล่านั้นออกมาซื้อหุ้น เงินเดือนจากการทำงานส่วนใหญ่จะนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บางเดือนผมใช่ไม่หมด”
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุน? เขาบอกว่า ส่วนใหญ่จะเน้นดู ประการที่หนึ่ง“โครงการธุรกิจ” และแผนงานในอนาคต “พูดแล้วทำได้จริงหรือไม่ หรือแค่ราคาคุย” ประการที่สอง “งบการเงิน” เรื่องนี้สำคัญ เราต้องดูว่า เขามีเงินสดเท่าไร ไม่ได้กำหนดว่า ต้องมีมากแค่ไหน ขอแค่เพียงพอสำหรับการลงทุนและทำธุรกิจพอ
ดูอย่าง “บมจ.บ้านปู” เขามีเงินสดมากถึง 20,000 ล้านบาท บริษัทแบ่งมาซื้อหุ้นคืน 4,000 ล้านบาท และจ่ายค่าปรับโครงการหงสา แค่นี้เรื่อง “จิ๊บจ๊อย” เงินเยอะขนาดนี้ไม่มีทาง “ล้มละลาย”
ตัวเลขหนึ่งใน “งบการเงิน” ที่นักลงทุนต้องใส่ใจ นั่นคือ “อัตราหนี้สินต่อทุน” หรือ D/E บริษัทที่ดีไม่ควรมีอัตราเกิน 1 เท่า บางครั้งทฤษฎีนี้ไม่สามารถใช้ได้ตายตัว เพราะต้องดูก่อนว่า บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร
ถามว่า ก่อนจะซื้อหุ้นสักตัว จำเป็นต้องดู “อัตราส่วนราคาต่อกำไร” หรือค่า P/E ย้อนหลังหรือไม่ ส่วนตัวไม่ค่อยเน้นเท่าไร เพราะชอบคำนวณ “อัตราส่วนราคาต่อกำไร” ล่วงหน้ามากกว่า แต่จะทำอย่างนั้นได้ เราต้องรู้ก่อนว่า บริษัทวางธุรกิจในอนาคตอย่างไร หุ้นตัวไหนมีค่า P/E และ “มูลค่าตามบัญชี” หรือ P/BV ยิ่งต่ำยิ่งดี ส่วน “อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น” หรือ ROE เน้น “ยิ่งสูงยิ่งดี
"วิบูลย์ พึงประเสริฐ" เซียน VI ต้นทุนหุ้น BH 15 บาท
12 ปี บนโลกการลงทุนแนว VI “วิบูลย์ พึงประเสริฐ” เจ้าของพอร์ตหลักสิบล้าน โกยกำไรมาแล้วเฉลี่ยปีละ 30%จากนี้ไปขอ “โตพอเพียง” ปีละ 15%
“รวยหุ้น” แต่ไม่จำเป็นลาออกจากงานประจำ “บูลย์-วิบูลย์ พึงประเสริฐ” เจ้าของพอร์ตลงทุน “หลักสิบล้านบาท” บุรุษผู้โลดแล่นในตลาดหุ้นมา 16 ปี แต่เพิ่งหันมาเป็น “นักลงทุนเน้นคุณค่า” หรือ Value Investor(VI) ในช่วง 12 ปีหลัง คิดเช่นนั้น..
“ความแก่กล้าวิชาหุ้น VI” ทำให้ “วิบูลย์” เคยถูกทาบทามให้มานั่งเป็น “นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)” รุ่น 2 ต่อจาก “ไก่-ธันวา เลาหศิริวงศ์” แต่เขาส่ายหัวไม่รับตำแหน่ง เพราะมีงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ
ปัจจุบัน “ชายวัย 44 ปี” นั่งทำงานอยู่ที่ “Nature Works Asia Pacific Ltd.” บริษัทร่วมทุนระหว่าง “พีทีที โกลบอล เคมิคอล” (PTTGC) และพันธมิตรจากประเท ศ สหรัฐอเมริกา บริษัทนี้เป็นแห่งที่ 4 ที่เขาใช้ชีวิตมุนษย์เงินเดือน
ต้นปี 2540 ก่อนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง “วิบูลย์” ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 29 ปี และเพิ่งเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ประสานงานโครงการ บริษัท เชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด หลังเรียนจบปริญญาโท MBA ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจควัก “ทุนตั้งต้น” เล่นหุ้นครั้งแรก 100,000 บาท ตามคำชักชวนของเพื่อนมาร์เก็ตติ้ง ณ บล.ธนสยาม 1 ในไฟแนนซ์ที่ปิดตัวไปในช่วงวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง”
เขาฉายเดี่ยว ทุ่มเงินทั้งก้อน “สอย” หุ้น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เพียงตัวเดียว ไม้แรกต้นทุน 100 บาท ผ่านไป 2 วัน ปล่อยออก 104 บาท ไม้สอง 106 บาท ผ่านไป 2 วัน ขายออก 110 บาท “ที่สุดแห่งความดีใจ” ทำให้ “บูลย์” ช้อนไม้ 3 ราคา 120 บาท โดยหารู้ไม่ว่า “หายนะทางเศรษฐกิจกำลังมาเยือน”
ซื้อหุ้น BBL ไม้สุดท้ายได้ไม่นาน ราคาหุ้น BBL และ SET INDEX “ดิ่งหนัก” เขาอดทนถือหุ้น BBL ต่อไป ด้วยความหวังว่า “กาลเวลาจะนำพาความร่ำรวยคืนมา” ผ่านมา 3 ปี ราคาหุ้น BBL ลดเหลือ 30 บาท “ขาดทุน” ทันที 70 เปอร์เซ็นต์ จากทุน “หนึ่งแสนบาท” เหลือเพียง 30,000 บาท
“วิบูลย์” หวนคืนตลาดหุ้นอีกครั้ง ด้วยเงินก้อนใหม่ 300,000 บาท คราวนี้มาแนว “นักลงทุนเน้นคุณค่า” หลังเพื่อนคนหนึ่งยื่นกระดาษซีร็อกซ์ “หนังสือ ศาสตร์แห่งบัฟเฟตต์” หรือ Buffettology ของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” มาให้ช่วยแปล
เขาใช้เวลาอ่านหนังสือการลงทุนของต่างประเทศไม่เกิน 4 เดือน ก่อนตัดสินใจคัด 3 หุ้นที่ดีที่สุดเข้าพอร์ต นั่นคือ หุ้น เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ,หุ้น ผลิตไฟฟ้า (EGCO) และ หุ้น ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
ถือไม่นานเขาขายหุ้น 2 ตัวแรก เพื่อโยกเงินมาซื้อหุ้น PTTEP ตัวเดียวในราคา 110 บาท พาร์ 5 บาท เทียบเท่า 22 บาท พาร์ 1 บาท เพราะเชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ราคาหุ้นจะทะยาน ผ่านมาแค่ 6 เดือน ราคาหุ้น PTTEP ขึ้นไป 220 บาท พาร์ 1 บาเขาตัดสินใจขายได้กำไร 1,000 เปอร์เซ็นต์ พลิกพอร์ตลงทุนจากเงินตั้งต้น “หลักแสน” สู่ “8 หลัก” ทันที (ก่อนกำไรหุ้น PTTEP เขาเติมเงินเข้าพอร์ตตลอด)
“เซียนหุ้นวีไอ” ในฐานะนักเขียนประจำคอลัมน์ Value Way ของหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพธุรกิจ BIZ Week” และเจ้าของหนังสือ “คัมภีร์ VI ลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่า (เขียนร่วมกับ “มนตรี นิพิฐวิทยา) เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันมีหุ้นในพอร์ตประมาณ 5 ตัว อาทิเช่น หุ้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) หุ้น พฤกษา เรียลเอสเตท (PS) หุ้น ซีพี ออลล์ (CPALL) หุ้น กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) และหุ้น บ้านปู (BANPU)
ตั้งแต่ลงทุนแนว VI มา 12 ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์บวกลบ ไม่เคยมีปีไหนที่ได้กำไรสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ คนที่สามารถโกยกำไรได้สูงขนาดนั้น คือ นักลงทุนที่เปิดบัญชีเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือบัญชีมาจิน (Margin Account) และนักลงทุนที่ลงทุนหุ้นน้อยตัว
“ผมไม่โลภจากนี้ขอให้พอร์ตโตปีละ 10-15 เปอร์เซ็นต์ เท่านี้ชีวิตมีสุขแล้ว”
เขา เล่าว่า หลังโกยกำไร 10 เท่า จากหุ้น ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เริ่มขยับไปลงทุนหุ้นหลายตัว ขอยกตัวอย่างเฉพาะ “ตัวไฮไลท์” ไล่มาตั้งแต่ หุ้น ซีพี ออลล์ หรือ CPALL ต้นทุน 4 บาท ทั้งๆที่ตอนนั้นงบการเงินของบริษัทมีปัญหา เพราะขาดทุนจากซูเปอร์มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส เมืองจีน แต่เราเห็นว่า บริษัทกำลังจะตัดตัวปัญหาออกไปจากงบการเงิน ด้วยการขายให้เครือซีพี ฉะนั้นอนาคตน่าจะสวย
ถือหุ้น ซีพี ออลล์ ได้ 1 ปี ราคาเฉลี่ย 11-12 บาท คิดจากราคาพาร์เก่า 5 บาท ดันเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2551 ราคาหุ้น ซีพี ออลล์ ลดลงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เหลือประมาณ 7 บาท หลังราคาทยอยขึ้นมาก่อนหน้านี้ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ช่วงนั้นบริษัทประกาศซื้อหุ้นคืน เพราะเขามีเงินสดในมือมากถึง 20,000 ล้านบาท ทำให้ราคาหุ้น ซีพี ออลล์ “หยุดไหล”
“ผมยังคงถือหุ้น ซีพี ออลล์ ต้นทุน 4 บาทเหมือนเดิม ตอนนี้ราคาขึ้นไปซื้อขาย 38 บาทแล้ว หากคิดจากราคาพาร์ใหม่ 1 บาท แต่ถ้าคิดจากราคาพาร์เก่า ราคาหุ้น ซีพี ออลล์ จะอยู่ที่ประมาณ 76 บาท”
ช้อนหุ้นอะไรต่อ? เขาหัวเราะหลังได้ยินคำถาม ช่วงเริ่มต้นในการลงทุนแนว VI มีโอกาสได้อ่านหนังสือจของ “ปีเตอร์ ลินช์” เขาสอนให้หาหุ้นที่เรามองเห็น วันหนึ่งไปเดินเทสโก้ โลตัส เห็นคนต่อคิวยาวยืด เพื่อจ่ายเงินค่าผ่อนสินค้าของ “อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์)” หรือ AEONTS
“ธุรกิจนี้ต้องดีมากแน่ๆ” ความคิดนี้ผุดขึ้นในหัวทันที
กลับถึงบ้านรีบดูราคาหุ้น AEONTS เปิดมาเจอราคา 250 บาท ขณะนั้นหุ้น AEONTS มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือค่า P/E ประมาณ 25 เท่า สูงกว่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรของตลาด SET INDEX ที่อยู่เพียง 7 เท่า “ผมตัดใจไม่ซื้อ เพราะแพงเกินไป ณ เวลานั้นทำได้แค่รอเวลา”
ผ่านไป 3 เดือน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมากำหนดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตเหลือ 18 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ส่งผลให้ราคาหุ้น AEONTS ไหลลงเรื่อยๆจนเหลือ 150 บาท ใช้เวลาเพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้น ทุกคนคิดว่า บริษัทต้องมีผลประกอบการลดลงแน่ๆ แต่หลังจากเราเข้าไปดูรายละเอียดพบว่า ตอนนั้นบริษัทไม่ได้ทำบัตรเครดิตมีเพียงบัตรเงินผ่อนเท่านั้น
“ผมรีบเข้าไปซื้อหุ้น AEONTS ตอนราคา 120 บาท ครอบครองไม่นานราคาหุ้นตกเหลือ 80 บาท แต่ผมไม่ขาย เพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดี อดทนถือต่อ 6 เดือน บริษัทประกาศงบการเงินผลปรากฎว่า มีอัตราเติบโตขึ้น คราวนี้ราคาหุ้นวิ่งกลับมาอยู่ 250 บาท ใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น ผมไม่รีรอรีบปล่อยของทันที”
“นักลงทุนวีไอ” เล่าต่อว่า หุ้นตัวต่อไปที่สร้างผลตอบแทนอย่างงาม คือ หุ้น พฤกษา เรียลเอสเตท (PS) ปลายปี 2554 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ โครงการของบริษัทกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ราคาหุ้น PS จากที่เคยขึ้นไปยืน “จุดสูงสุด” 25 บาท ลดลงเหลือแค่ 10 บาท นั่นหละ “จุดช้อนหุ้นของผม”
น้ำคงไม่ท่วมทุกปี แถมพฤติกรรมคนไทยไม่ค่อยย้ายถิ่นฐาน ต่อให้บริเวณนั้นเสี่ยงต่อการที่น้ำจะท่วมอีกก็ตาม ยิ่งบริษัทมีการพัฒนาระบบมากขึ้น รับรองไม่เกิน 3 ปี ราคาหุ้น PS ต้องกลับมา หัวสมองคิดเช่นนั้น สุดท้ายใช้เวลาแค่ 1 ปี ราคาหุ้น PS ดีดกลับมายืน 25 บาทเหมือนเคย
ครั้งหนึ่งราคาหุ้น PS เคยขึ้นไปสร้างสถิติสูงสุดที่ 35 บาท “สูงมากแต่ไม่ขาย” เพราะเชื่อว่าโอกาสไปต่อมีแน่ โมเดลธุรกิจไม่หยุดอยู่แค่ในเมืองไทย เขาจะมุ่งหน้าโกอินเตอร์ ถ้าเขาไม่ออกไปเติบโตนอกบ้าน เราอาจขายหุ้นออก แต่หากราคาหุ้น PS ลดลงมาอยู่ที่ 10 บาทอีกครั้ง “จะซื้ออีก”
มีหุ้นตัวอื่นอีกมั้ย? เขาทำท่าคิด ก่อนตอบว่า หุ้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ซื้อมา 5-6 ปีแล้ว “ต้นทุน 15 บาท ตอนนี้ราคา 80 บาทแล้ว”!!
เหตุผลที่ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะว่า ช่วงหนึ่งมีข่าวว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ติดอันดับ 1 ใน 10 โรงพยาบาลระดับโลก เมื่อเป็นเช่นนั้นอนาคตคนไข้ต่างชาติต้องสูงขึ้นจาก 30 เปอร์เซ็นต์แน่นอน ผ่านมาตอนนี้สัดส่วนต่างชาติเปลี่ยนเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เขาสามารถขยายเพดานได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ อนาคตคงกลายเป็นโรงพยาบาลต่างชาติ (หัวเราะ)
ฃครั้งหนึ่งเคยใช้บริการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ค่าห้องธรรมดาตกวันละ 3,000 บาทต่อคืน ตอนนี้ปาเข้าไป 8,000 บาทต่อคืน ส่วนห้องวีไอพี 15,000 บาทต่อคืน เรื่องระบบของโรงพยาบาลของเขากินขาดที่อื่นสู้ไม่ได้จริงๆ ล่าสุดเขากำลังจะสร้างโรงพยาบาลอีกแห่งบนถนนเพชรบุรี และจะลงทุนสร้างโรงพยาบาลในเมืองจีน และเวียดนาม
“เจ้าของพอร์ต 8 หลัก” เล่าว่า พึ่งซื้อ หุ้น บ้านปู หรือ BANPU ต้นทุน 300 บาท ซื้อก่อนที่บริษัทจะเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จาก 10 บาท เหลือ 1 บาท แตกครั้งหนึ่งราคาหุ้นเคยพุ่งสูงถึง 700 บาท ก่อนราคาจะทยอยลดลง หลังราคาถ่านหินลดลงจาก 140 เหรียญต่อตัน เหลือ 70 เหรียญต่อตัน แถมยังมาแพ้คดีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ เมืองหงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต้องจ่ายค่าปรับ 30,000 ล้านบาท ภายในเวลา 30 ปี
“ถ่านหินไม่มีวันตาย” ระยะสั้นจะไม่ถูกทดแทนด้วย “เชลล์แก๊ส” (Shale Gas) ยกเว้นแถบอเมริกาเหนือ ตั้งใจจะถือหุ้น บ้านปู ประมาณ 3 ปี โอกาสจะขึ้นไป 700 บาท คงยาก ราคานั้นได้เห็น เพราะเขาขายเหมืองเมืองจีน ราคาถึงเด้งขึ้นมา แต่เป็นเพราะระยะสั้นเท่านั้น
หากตัดเรื่องนั้นออกไปราคาเหมาะสมของหุ้น บ้านปู จะอยู่ที่ 400-500 บาท “ผมหวังว่าจะเห็นราคานี้ภายใน 3 ปีข้างหน้า” นี่คิดจากโมเดลที่เขากำลังเปลี่ยนมาทำโรงไฟฟ้ามากขึ้น สัดส่วนอนาคตน่าจะเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ จาก 30 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) เพิ่งซื้อเมื่อปี 2555 ต้นทุน 110 บาท เขามีแผนงานที่ชัดเจน เป้าหมายอยู่ที่ไหนเขาอธิบายได้ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลประมาณ 30 แห่ง ภายใน 3 ปีข้างหน้า เขาอยากมีโรงพยาบาล 50 แห่ง และมียอดขายเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว “ผมขอยืดแผนธุรกิจเขาออกไปอีก 2 ปี” ฉะนั้นภายใน 5 ปีข้างหน้า ราคาหุ้น BGH อาจขึ้นไปซื้อขาย 200 บาท ถามว่า เขาจะหาเงินลงทุนจากไหน เงินสดเขาเยอะ แถมอัตราหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ต่ำแค่ 0.5 เท่า
โรงพยาบาลในเครือกรุงเทพ ตอนนี้ยังมีส่วนแบ่งการตลาดในแง่ของเตียงคนไข้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นโอกาสขยายตัวในต่างจังหวัดยังมีอีกเยอะ แถมอัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจโรงพยาบาลยังสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ นั่นแปลว่า หากเขาจะสร้างโรงพยาบาลใหม่จะสามารถคืนทุนได้ภายใน 4-5 ปี ตั้งใจจะถือหุ้น BGH ประมาณ 10 ปี หากหุ้นลงจะซื้อเพิ่ม
ไม่อยากบอกว่า กำลังเล็งจะช้อนหุ้นตัวไหน เอาเป็นว่า ดัชนีลงจาก 1,600 จุด เหลือ 1,200 จุด ทำให้มีหุ้นหลายตัวน่าสนใจ อาทิเช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มค้าปลีก คุณลองไปดูสิมีราคาหุ้นมากมายที่ลดลงแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆที่พื้นฐานไม่เปลี่ยนสักนิด
“ทุกครั้งที่ได้กำไรจากการลงทุน ผมมักจะนำไป “ทบต้น” หรือเก็บเป็นเงินสด เมื่อมีจังหวะจะนำเงินเหล่านั้นออกมาซื้อหุ้น เงินเดือนจากการทำงานส่วนใหญ่จะนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บางเดือนผมใช่ไม่หมด”
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุน? เขาบอกว่า ส่วนใหญ่จะเน้นดู ประการที่หนึ่ง“โครงการธุรกิจ” และแผนงานในอนาคต “พูดแล้วทำได้จริงหรือไม่ หรือแค่ราคาคุย” ประการที่สอง “งบการเงิน” เรื่องนี้สำคัญ เราต้องดูว่า เขามีเงินสดเท่าไร ไม่ได้กำหนดว่า ต้องมีมากแค่ไหน ขอแค่เพียงพอสำหรับการลงทุนและทำธุรกิจพอ
ดูอย่าง “บมจ.บ้านปู” เขามีเงินสดมากถึง 20,000 ล้านบาท บริษัทแบ่งมาซื้อหุ้นคืน 4,000 ล้านบาท และจ่ายค่าปรับโครงการหงสา แค่นี้เรื่อง “จิ๊บจ๊อย” เงินเยอะขนาดนี้ไม่มีทาง “ล้มละลาย”
ตัวเลขหนึ่งใน “งบการเงิน” ที่นักลงทุนต้องใส่ใจ นั่นคือ “อัตราหนี้สินต่อทุน” หรือ D/E บริษัทที่ดีไม่ควรมีอัตราเกิน 1 เท่า บางครั้งทฤษฎีนี้ไม่สามารถใช้ได้ตายตัว เพราะต้องดูก่อนว่า บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร
ถามว่า ก่อนจะซื้อหุ้นสักตัว จำเป็นต้องดู “อัตราส่วนราคาต่อกำไร” หรือค่า P/E ย้อนหลังหรือไม่ ส่วนตัวไม่ค่อยเน้นเท่าไร เพราะชอบคำนวณ “อัตราส่วนราคาต่อกำไร” ล่วงหน้ามากกว่า แต่จะทำอย่างนั้นได้ เราต้องรู้ก่อนว่า บริษัทวางธุรกิจในอนาคตอย่างไร หุ้นตัวไหนมีค่า P/E และ “มูลค่าตามบัญชี” หรือ P/BV ยิ่งต่ำยิ่งดี ส่วน “อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น” หรือ ROE เน้น “ยิ่งสูงยิ่งดี