ทำไมคนเราถึงจำเรื่องราวตอนตัวเองเป็นทารกหรืออยู่ในท้องแม่ไม่ได้คะ

ตอนนี้เรากำลังตั้งท้องค่ะ
อ่านเจอมาว่าลูกจะสามารถจำเสียงพ่อ-แม่ได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง (20สัปดาห์++)

และถ้าเราอ่านนิทาน หรือเปิดเพลงให้เขาฟังในขณะที่ท้อง
ตอนที่เขาคลอดออกมาแล้วถ้าเราเปิดเพลงเดิมหรือเล่านิทานเรื่องเดิมเด็กก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง มากกว่าเพลงที่ไม่เคยฟัง

ก็เลยสงสัยว่าในเมื่อเราจำได้ตั้งแต่เราอยู่ในท้อง แล้วทำไมพอเราโตมาเราถึงลืมล่ะคะ
อย่างเรานึกย้อนไปได้ไกลสุดก็แค่ตอนก่อนเข้าโรงเรียนแปปเดียวเอง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
เคยอ่านหนังสือร่างกายของเรา เค้าบอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ คลอดก่อนกำหนด ค่ะ  

สังเกตสัตว์อื่นๆ พอออกมาปุ๊บจะเดินได้เลย แต่มนุษย์ทำไม่ได้ค่ะ ต้องปะคบปะหงมกันมากตอนคลอด

สาเหตุที่ธรรมชาติให้เราคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากเราเปลี่ยนจากเดิน 4 เท้ามายืน 2 เท้าหลังตรง  การทำเช่นนั้นทำให้สรีระเปลี่ยนค่ะ เชิงกรานแคบลง ถ้าเรารอจนครบกำหนด มนุษย์จะไม่สามารถคลอดลูกตามธรรมชาติได้และอาจจะต้องสูญพันธุ์  

การที่เราเปลี่ยนมายืน 2 เท้าทำให้สองมือที่เคยต้องเอาไปใช้แทนเท้านั้น สามารถหยิบจับ และทำอะไรได้หลายอย่างที่สัตว์ชนิดอื่นทำไม่ได้ และทำให้วิวัฒนาการของมนุษย์ก้าวไกลกว่าสัตว์อื่น ๆ ค่ะ

ถ้าเทียบว่าสัตว์อื่นพอคลอดปุ๊บก็วิ่งได้เลย แสดงว่าถ้าครบกำหนด เด็กที่เกิดมาแล้ววิ่งได้เลย น่าจะเป็นซัก 1.5-2 ขวบ นะคะ (อันนี้เดาเอง)  ซึ่งตอนนั้นเราก็จะรู้ความมากกว่านี้

ไม่รู้ตอบตรงคำถามหรือเปล่านะคะ แต่คิดว่าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งค่ะ
ความคิดเห็นที่ 11
เซลล์สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่เป็นอีกเหตุผลยิบย่อยหนึ่งเท่านั้นครับ จริงๆแล้วในมนุษย์นั้น จะมีสมองอยู่ส่วนหนึ่งที่จะจดจำในรูปแบบ long term memory อะไรก็ตามที่เรารู้สึกสุขใจ ตื่นเต้น ปลื้มใจ ตื้นตันใจ หรือใดๆก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกดีสุดขีด หรือกลัวสุดขีด ในส่วนนี้จะเก็บเอาไว้ไม่มีวันเสื่อมคลายครับ ในส่วนของสมอง Hippocampus วิธีการเก็บอาจเป็นการรับสัมผัสต่างๆเท่าที่มนุษย์เริ่มเข้าใจแล้วรับได้แต่ส่วนใหญ่จะจำเป็นภาพครับ ถ้าถามอีกว่า ตอนอยู่ในครรภ์ของแม่เนี่ยเรามองเห็นหรือไม่ มองเห็นนะครับ ในระยะ 7 เดือนเริ่มมองเห็นแล้วเมื่ออยู่มดลูก แต่ต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า ภาพนั้นจำเป็นกับทารกหรือไม่ในการดำรงชีวิต หรือ เราสนใจผนังมดลูกของแม่ว่ามันสำคัญจนควรจะเก็บไว้ในความทรงจำระยาวใน hippocampus ของเราหรือไม่ ข้อมูลทั้งหมดที่พานพบในชีวิตเรา เราจะไม่มีวันเก็บมันไว้ได้หมดหรอกครับแม้สมองเราจะมีประสิทธิภาพแค่ไหน เหมือนที่ผมบอกเหตุการณ์อะไรระทึกใจ หรือประทับใจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพ สมองมักจะจดจำส่วนนี้มากกว่า มันเหมือนกับอะไรที่เราชอบที่สุด รักที่สุด หรือเกลียดที่สุด จะสร้างแรงกระตุ้นเซลล์ประสาทได้ดีครับ ประมาณนี้ อย่างเช่น แฟนคุณเคยให้ดอกไม้แล้วคุณประทับใจอย่างมาก พ่อคุณเคยซื้อรถบังคับให้คุณดีใจมาก หรือ คุณรู้สึกกลัวตะขาบมากๆ รู้สึกกลัวงูมากๆ อะไรพวกนี้หละครับ มันจะจดจำได้ดีอย่างมาก ส่วนการฝันนั้นเป็นการช่วยในการเก็บและคัดเลือกข้อมูลของสมองครับ ว่า ส่วนใหญ่จะเป็น long term memory ส่วนไหนควรจะเป็น short term memory หรือส่วนใหญ่ควรจะทิ้งไป ไม่ควรเก็บไว้ใน memory การฝันจึงเป็นการจัดกระบวนการเรื่องราวความทรงจำนั่นเอง ส่วนใหญสิ่งที่คุณฝันก็มักจะเป็นสิ่งที่คุณเจอมาในหลายๆช่วงชีวิตนั่นหละครับ เพียงแต่นึกไม่ออกว่าตอนไหน จำไม่ได้ว่าช่วงไหน ไปฟังอะไรมา ไปเห็นอะไรมา พอเมื่อมารวมกัน เวลาเรานอน กระบวนการจัดมันก็ทำงานของเราไป ไม่มีใครไม่ฝันหรอกครับ อยู่ที่ว่าจำได้หรือจำไม่ได้ ช่วงฝันมักเกิดใน REM เป็นช่วงที่ตาภายใต้เปลือกตาที่ปิดจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วครับ นี่คือการจัดกระบวนการความทรงจำ โดยการจดจำเป็นภาพเป็นหลัก ในลิงเอป เช่น ชิมแปนซีก็มีแบบเราครับ การจดจำเป็นภาพ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่