พระพุทธพจน์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
วิภังคสูตร
[บางส่วน]
[๕]
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ
ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่
หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็
มรณะ
เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน
มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่
สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ
มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
[๗] ก็
ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง
๑ เกิด
๒
เกิดจำเพาะ
๓ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่
สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
[๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๓ - ๘๗. หน้าที่ ๒ - ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=33&Z=87&bgc=khaki&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=4&bgc=khaki
คำว่า ความหยั่งลง
๑ เกิด
๒ เกิดจำเพาะ
๓
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ กำเนิด ๔
[๑๖๙] ดูกรสารีบุตร กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ๔ ประการเป็นไฉน? คือ
อัณฑชะกำเนิด ชลาพุชะกำเนิด สังเสทชะกำเนิด โอปปาติกะกำเนิด
ดูกรสารีบุตร ก็อัณฑชะกำเนิดเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชำแรกเปลือก
แห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด(๑)
ดูกรสารีบุตร ชลาพุชะกำเนิดเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชำแรกไส้
[มดลูก] เกิด นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด(๑)
ดูกรสารีบุตร สังเสทชะกำเนิดเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใดย่อมเกิดใน
ปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ำครำ ในเถ้าไคล [ของสกปรก]
นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด(๒)
ดูกรสารีบุตร โอปปาติกะกำเนิดเป็นไฉน? เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำพวก
และเปรตบางจำพวก นี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกำเนิด(๓)
http://84000.org/tipitaka/read/?12/169/147
สมิทธสูตรที่ ๒
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระเจ้าข้า จึงเป็นสัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ
มีอยู่ ณ ที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ
ที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ณ ที่ใด
สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ
มีอยู่ ณ ที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ
มีอยู่ ณ ที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=845&Z=884
จากพระพุทธวจนข้างบน
สัตว์ ก็คือ ผู้ติดข้องในรูปารมณ์เป็นต้น
ซึ่งครอบคลุมทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรn
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาไม่ใช่หรือ?
ทำไมตรัสบุคคลกถา?
ศึกษาพระพุทธพจน์และคำอธิบายดังต่อไปนี้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อรหันตสูตรที่ ๕
[๖๔] ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มี
อาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา
ดังนี้บ้าง ฯ
[๖๕] ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มี
อาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้
บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติ
ที่พูดกัน ฯ
[๖๖] ท. ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะ
สิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติด
มานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย
อื่นพูดกะเรา ดังนี้บ้าง ฯ
[๖๗] ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละมานะ
เสียแล้ว มานะและคันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสียแล้วซึ่งความสำคัญ ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า
เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา
ดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตาม
สมมติที่พูดกัน ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๑๑ - ๔๓๐. หน้าที่ ๑๙ - ๒๐.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=411&Z=430&bgc=wheat&pagebreak=0
เนื้อความในอรรถกถา (บางส่วน)
บทว่า โวหารมตฺเตน แปลว่า กล่าวตามสมมติที่พูดกัน ได้แก่เมื่อละเว้นถ้อยคำอันอิงอาศัยความเห็นเป็นคนเป็นสัตว์แล้ว
ไม่นำคำที่พูดให้แตกต่างกัน จึงสมควรที่จะกล่าวว่า เรา ของเรา ดังนี้.
จริงอยู่ เมื่อเขากล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายย่อมบริโภค ขันธ์ทั้งหลายย่อมนั่ง บาตรของขันธ์ทั้งหลาย จีวรของขันธ์
ทั้งหลาย ดังนี้ ความแตกต่างกันแห่งคำพูดมีอยู่ แต่ใครๆ ก็ทราบไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระขีณาสพจึงไม่พูดเช่นนั้น
ย่อมพูดไปตามโวหารของชาวโลกนั่นแหละ.
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=64&bgc=wheat
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
มหาปุณณมสูตร
[บางส่วน]
[๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง
นี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจ
มีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๙๘๐ - ๒๑๘๖. หน้าที่ ๘๔ - ๙๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1980&Z=2186&bgc=lemonchiffon&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=120&bgc=lemonchiffon
เทศนา ๒
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่าง คือ
สมมติเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับสมมติ) และปรมัตถเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับปรมัตถ์)
สมมติเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า
บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มารเป็นต้น.
ส่วนปรมัตถเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐานเป็นต้น.
ในจำนวนเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนาแก่เหล่าพุทธเวไนยผู้ที่ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วย
เรื่องสมมติแล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้
ส่วนคนเหล่าใดฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องปรมัตถ์แล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้
พระองค์ก็ทรงแสดงปรมัตถเทศนาให้เขาฟัง.
เหตุตรัสบุคคลกถา ๘ ประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบุคคลกถา (ถ้อยคำระบุบุคคล) ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
๑. เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ
๒. เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
๓. เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว
๔. เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม
๕. เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม
๖. เพื่อทรงแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
๗. เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ
๘. เพื่อไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=53&p=1&bgc=7
คำว่า ปฏิจจสมุปบาท
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิจจสมุปบาท
"สัตว์" เกิด-ตาย ในปฏิจจสมุปบาท : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า "สัตว์ สัตว์" ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
วิภังคสูตร
[บางส่วน]
[๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ
ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่
หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ
เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน
มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ
มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง๑ เกิด๒
เกิดจำเพาะ๓ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
[๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๓ - ๘๗. หน้าที่ ๒ - ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=33&Z=87&bgc=khaki&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=4&bgc=khaki
คำว่า ความหยั่งลง๑ เกิด๒ เกิดจำเพาะ๓
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สมิทธสูตรที่ ๒
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระเจ้าข้า จึงเป็นสัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ
มีอยู่ ณ ที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ
ที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ณ ที่ใด
สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ
มีอยู่ ณ ที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ
มีอยู่ ณ ที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=845&Z=884
จากพระพุทธวจนข้างบน สัตว์ ก็คือ ผู้ติดข้องในรูปารมณ์เป็นต้น
ซึ่งครอบคลุมทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรn
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาไม่ใช่หรือ?
ทำไมตรัสบุคคลกถา?
ศึกษาพระพุทธพจน์และคำอธิบายดังต่อไปนี้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อรหันตสูตรที่ ๕
[๖๔] ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มี
อาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา
ดังนี้บ้าง ฯ
[๖๕] ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มี
อาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้
บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติ
ที่พูดกัน ฯ
[๖๖] ท. ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะ
สิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติด
มานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย
อื่นพูดกะเรา ดังนี้บ้าง ฯ
[๖๗] ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละมานะ
เสียแล้ว มานะและคันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสียแล้วซึ่งความสำคัญ ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา
ดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตาม
สมมติที่พูดกัน ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๑๑ - ๔๓๐. หน้าที่ ๑๙ - ๒๐.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=411&Z=430&bgc=wheat&pagebreak=0
เนื้อความในอรรถกถา (บางส่วน)
บทว่า โวหารมตฺเตน แปลว่า กล่าวตามสมมติที่พูดกัน ได้แก่เมื่อละเว้นถ้อยคำอันอิงอาศัยความเห็นเป็นคนเป็นสัตว์แล้ว
ไม่นำคำที่พูดให้แตกต่างกัน จึงสมควรที่จะกล่าวว่า เรา ของเรา ดังนี้.
จริงอยู่ เมื่อเขากล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายย่อมบริโภค ขันธ์ทั้งหลายย่อมนั่ง บาตรของขันธ์ทั้งหลาย จีวรของขันธ์
ทั้งหลาย ดังนี้ ความแตกต่างกันแห่งคำพูดมีอยู่ แต่ใครๆ ก็ทราบไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระขีณาสพจึงไม่พูดเช่นนั้น
ย่อมพูดไปตามโวหารของชาวโลกนั่นแหละ.
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=64&bgc=wheat
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
มหาปุณณมสูตร
[บางส่วน]
[๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง
นี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจ
มีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๙๘๐ - ๒๑๘๖. หน้าที่ ๘๔ - ๙๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1980&Z=2186&bgc=lemonchiffon&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=120&bgc=lemonchiffon
เทศนา ๒
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่าง คือ
สมมติเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับสมมติ) และปรมัตถเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับปรมัตถ์)
สมมติเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มารเป็นต้น.
ส่วนปรมัตถเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐานเป็นต้น.
ในจำนวนเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนาแก่เหล่าพุทธเวไนยผู้ที่ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วย
เรื่องสมมติแล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้
ส่วนคนเหล่าใดฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องปรมัตถ์แล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้
พระองค์ก็ทรงแสดงปรมัตถเทศนาให้เขาฟัง.
เหตุตรัสบุคคลกถา ๘ ประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบุคคลกถา (ถ้อยคำระบุบุคคล) ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
๑. เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ
๒. เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
๓. เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว
๔. เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม
๕. เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม
๖. เพื่อทรงแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
๗. เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ
๘. เพื่อไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=53&p=1&bgc=7
คำว่า ปฏิจจสมุปบาท
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิจจสมุปบาท