เครดิตบทความโดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
มองดูการซื้อขายหุ้นระยะนี้ ผมพบว่า บางทีนักเล่นหุ้นบางกลุ่ม อาจกำลังเล่น Hunger Game กันอยู่ นั่นคือพวกเขากำลังเข้าไปเล่นหุ้นที่มีการเก็งกำไรรุนแรงมากที่ปรากฏตัวขึ้นมาแทบทุกวัน วันละไม่น้อยกว่า 3-4 ตัว หุ้นเหล่านี้เท่าที่ผมสังเกตและใช้วิจารณญาณส่วนตัว ก็พบว่าเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติร่วมอย่างน้อย 2-3 อย่าง ได้แก่
ข้อหนึ่ง เป็นหุ้นที่มี Free Float หรือหุ้นหมุนเวียนในตลาดน้อย หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดทั้งหมดของหุ้นต่ำถึงต่ำมาก สรุปก็คือ หุ้นทั้งหมดที่เล่นกันได้ของหุ้นตัวนั้น คิดตามราคาตลาดแล้ว ส่วนใหญ่มีไม่เกิน 4-500 ล้านบาท ที่ใหญ่หน่อยก็มีไม่เกิน 2-3,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเม็ดเงินของนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ๆ แล้ว ต้องบอกว่าน้อยมาก ขนาดที่ว่า ถ้า “ขาใหญ่” ต้องการ เขาคนเดียวก็กวาดซื้อหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดได้ทั้งหมด แต่จริงๆ แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะมีนักเล่นหุ้นจำนวนมาก ที่พร้อมจะเข้ามาซื้อกันคนละเล็กละน้อยก็เพียงพอที่จะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปสู่ “สวรรค์ชั้นดาวดึงส์” ได้แล้ว
ข้อสอง หุ้นเหล่านั้น ไม่มีสถิติราคาหุ้นในอดีตที่ยาวพอที่จะทำให้คน “ติดยึด” หรือถ้ามีราคาก็เป็นราคาที่ “เก่า” มาก ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ดังนั้น เวลาที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไป จึงไม่ค่อยมี “ข้อจำกัด”
ข้อสาม หุ้นที่จะวิ่งจริงๆ ส่วนใหญ่อยู่ในหุ้น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกที่ร้อนแรงที่สุดช่วงนี้คือ หุ้น IPO หรือหุ้นที่เข้าจดทะเบียนในตลาด โดยเฉพาะในตลาด MAI หุ้นกลุ่มที่สอง คือ กลุ่ม Turnaround หรือหุ้นที่ฟื้นตัวจากการล้มละลาย หรือปัญหารุนแรงทางธุรกิจ หรือการเงิน และกลุ่มสุดท้าย คือ หุ้นที่มีข่าวดี หรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของบริษัท เช่นจะมีคนมาเทคโอเวอร์ หรือเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทใหม่ จากธุรกิจที่ย่ำแย่เป็นธุรกิจ “แห่งอนาคต”
การที่หุ้นดังกล่าวทั้งสามกลุ่ม ปรับตัวขึ้นไปรุนแรงมาก เช่น หุ้น IPO เข้าตลาดวันแรกขึ้นไปแล้วจากราคาจองหลายสิบหรือบางตัวหลายร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น ถ้ามองจากข้อมูลพื้นฐานที่ที่ปรึกษาการเงินคิดคำนวณไว้ น่าจะเชื่อได้ว่า ไม่น่าเป็นราคาที่เหมาะสม เหนือสิ่งอื่นใด ประวัติศาสตร์หุ้นยาวนานก็บอกอยู่แล้วว่า หุ้น IPO นั้น “It Probably Overpriced” ความหมายคือ ราคาที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อขายให้ประชาชนนั้น จะสูงเกินพื้นฐาน หุ้นฟื้นตัวเอง บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงแรกของการฟื้นตัวอาจจะดูดีกว่าปกติ
แต่หลังจากนั้น อาจจะกลับไปสู่ “พื้นฐานที่แท้จริง” ของธุรกิจที่ว่ามันอาจจะไม่ใช่ธุรกิจที่ดี และถ้าจะเป็น
ข้อเตือนใจ คือ คำพูดของ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ที่ว่า “Turnarounds Seldom Turn Around” แปลว่าหุ้นฟื้นตัวนั้น น้อยครั้งจะฟื้น สุดท้ายคือหุ้นที่มีข่าวระดับ เปลี่ยนแปลงธุรกิจ หรือพื้นฐานของธุรกิจ นี่เป็นอะไรที่ต้องระวังมาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่กิจการจะประสบความสำเร็จในชั่วข้ามคืนในสิ่งที่ตนเพิ่งจะเริ่ม
การเข้าไปร่วมเล่น “Hunger Game” หรือที่ผมอยากจะเรียกว่า “เกมล่าหุ้น” ผมคิดว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะบ่อยครั้ง เราเข้าไปช่วงที่ราคาขึ้นไปมากแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด อาจมี “โปรดิวเซอร์” หรือคนจัดฉากและกำหนดพล็อตเรื่องไว้แล้ว โอกาสชนะอาจมีน้อยกว่าที่คิด
จริงอยู่ เกมอาจท้าทายน่าตื่นเต้น ผู้ชนะอาจเป็น “ฮีโร่” แต่นี่เป็นคนส่วนน้อย อาจไม่ใช่คนเดียวแบบในหนัง แต่ “คนตาย” อาจมีมากกว่า ถ้าเรารักจะเล่นก็ควรต้องมีกลยุทธ์ที่ดีเพื่อเอาตัวรอด แต่สำหรับผมแล้ว ผมปฏิเสธที่จะเล่น เราไม่ได้ถูกบังคับอย่างในภาพยนตร์ให้ต้องเข้าร่วมในเกมล่าหุ้นนี้ ผมเองเชื่อในสุภาษิตที่ว่า ความตื่นเต้นกับผลตอบแทนในตลาดหุ้นนั้น มักจะไปกันคนละทาง
Hunger Game เกมล่าหุ้น สำหรับนักล่าฝัน
เครดิตบทความโดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
มองดูการซื้อขายหุ้นระยะนี้ ผมพบว่า บางทีนักเล่นหุ้นบางกลุ่ม อาจกำลังเล่น Hunger Game กันอยู่ นั่นคือพวกเขากำลังเข้าไปเล่นหุ้นที่มีการเก็งกำไรรุนแรงมากที่ปรากฏตัวขึ้นมาแทบทุกวัน วันละไม่น้อยกว่า 3-4 ตัว หุ้นเหล่านี้เท่าที่ผมสังเกตและใช้วิจารณญาณส่วนตัว ก็พบว่าเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติร่วมอย่างน้อย 2-3 อย่าง ได้แก่
ข้อหนึ่ง เป็นหุ้นที่มี Free Float หรือหุ้นหมุนเวียนในตลาดน้อย หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดทั้งหมดของหุ้นต่ำถึงต่ำมาก สรุปก็คือ หุ้นทั้งหมดที่เล่นกันได้ของหุ้นตัวนั้น คิดตามราคาตลาดแล้ว ส่วนใหญ่มีไม่เกิน 4-500 ล้านบาท ที่ใหญ่หน่อยก็มีไม่เกิน 2-3,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเม็ดเงินของนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ๆ แล้ว ต้องบอกว่าน้อยมาก ขนาดที่ว่า ถ้า “ขาใหญ่” ต้องการ เขาคนเดียวก็กวาดซื้อหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดได้ทั้งหมด แต่จริงๆ แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะมีนักเล่นหุ้นจำนวนมาก ที่พร้อมจะเข้ามาซื้อกันคนละเล็กละน้อยก็เพียงพอที่จะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปสู่ “สวรรค์ชั้นดาวดึงส์” ได้แล้ว
ข้อสอง หุ้นเหล่านั้น ไม่มีสถิติราคาหุ้นในอดีตที่ยาวพอที่จะทำให้คน “ติดยึด” หรือถ้ามีราคาก็เป็นราคาที่ “เก่า” มาก ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ดังนั้น เวลาที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไป จึงไม่ค่อยมี “ข้อจำกัด”
ข้อสาม หุ้นที่จะวิ่งจริงๆ ส่วนใหญ่อยู่ในหุ้น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกที่ร้อนแรงที่สุดช่วงนี้คือ หุ้น IPO หรือหุ้นที่เข้าจดทะเบียนในตลาด โดยเฉพาะในตลาด MAI หุ้นกลุ่มที่สอง คือ กลุ่ม Turnaround หรือหุ้นที่ฟื้นตัวจากการล้มละลาย หรือปัญหารุนแรงทางธุรกิจ หรือการเงิน และกลุ่มสุดท้าย คือ หุ้นที่มีข่าวดี หรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของบริษัท เช่นจะมีคนมาเทคโอเวอร์ หรือเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทใหม่ จากธุรกิจที่ย่ำแย่เป็นธุรกิจ “แห่งอนาคต”
การที่หุ้นดังกล่าวทั้งสามกลุ่ม ปรับตัวขึ้นไปรุนแรงมาก เช่น หุ้น IPO เข้าตลาดวันแรกขึ้นไปแล้วจากราคาจองหลายสิบหรือบางตัวหลายร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น ถ้ามองจากข้อมูลพื้นฐานที่ที่ปรึกษาการเงินคิดคำนวณไว้ น่าจะเชื่อได้ว่า ไม่น่าเป็นราคาที่เหมาะสม เหนือสิ่งอื่นใด ประวัติศาสตร์หุ้นยาวนานก็บอกอยู่แล้วว่า หุ้น IPO นั้น “It Probably Overpriced” ความหมายคือ ราคาที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อขายให้ประชาชนนั้น จะสูงเกินพื้นฐาน หุ้นฟื้นตัวเอง บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงแรกของการฟื้นตัวอาจจะดูดีกว่าปกติ
แต่หลังจากนั้น อาจจะกลับไปสู่ “พื้นฐานที่แท้จริง” ของธุรกิจที่ว่ามันอาจจะไม่ใช่ธุรกิจที่ดี และถ้าจะเป็นข้อเตือนใจ คือ คำพูดของ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ที่ว่า “Turnarounds Seldom Turn Around” แปลว่าหุ้นฟื้นตัวนั้น น้อยครั้งจะฟื้น สุดท้ายคือหุ้นที่มีข่าวระดับ เปลี่ยนแปลงธุรกิจ หรือพื้นฐานของธุรกิจ นี่เป็นอะไรที่ต้องระวังมาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่กิจการจะประสบความสำเร็จในชั่วข้ามคืนในสิ่งที่ตนเพิ่งจะเริ่ม
การเข้าไปร่วมเล่น “Hunger Game” หรือที่ผมอยากจะเรียกว่า “เกมล่าหุ้น” ผมคิดว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะบ่อยครั้ง เราเข้าไปช่วงที่ราคาขึ้นไปมากแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด อาจมี “โปรดิวเซอร์” หรือคนจัดฉากและกำหนดพล็อตเรื่องไว้แล้ว โอกาสชนะอาจมีน้อยกว่าที่คิด
จริงอยู่ เกมอาจท้าทายน่าตื่นเต้น ผู้ชนะอาจเป็น “ฮีโร่” แต่นี่เป็นคนส่วนน้อย อาจไม่ใช่คนเดียวแบบในหนัง แต่ “คนตาย” อาจมีมากกว่า ถ้าเรารักจะเล่นก็ควรต้องมีกลยุทธ์ที่ดีเพื่อเอาตัวรอด แต่สำหรับผมแล้ว ผมปฏิเสธที่จะเล่น เราไม่ได้ถูกบังคับอย่างในภาพยนตร์ให้ต้องเข้าร่วมในเกมล่าหุ้นนี้ ผมเองเชื่อในสุภาษิตที่ว่า ความตื่นเต้นกับผลตอบแทนในตลาดหุ้นนั้น มักจะไปกันคนละทาง